จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
9 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 
We vote NO

มี website ใหม่ที่รู้สึกว่าค่อนข้างจะจัดทำได้น่าสนใจคือ (We vote NO)

//www.wevoteno.net

โดยใน website จะมีคู่มือ "โหวตล้มรัฐธรรมนูญคณะรัฐประหาร" อยู่ (คู่มือเล่มนี้จัดทำโดยเครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร - ขนาด ~1MB)



+++

คงเป็นที่ทราบกันทั่วว่าตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 มาตรา 29 วรรค 2 ความว่า

    "เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ และจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ..."

ประกอบกับมาตรา 32

    "ในกรณีที่... หรือ... ประชาชนโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ดี ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงและให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป"

สรุปได้คือการโหวต NO นั้นไม่ได้เป็นการขัดขวางกระบวนการเลือกตั้งและการมีประชามติไม่รับรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้เองก็มีมาตรการรองรับเพื่อการเลือกตั้งอยู่แล้ว (i.e. รัฐธรรมนูญฉบับเก่ามาปรับใช้ - แต่ยังมิรู้ว่าจะเป็นฉบับใด)

+++

คราวนี้คงต้องมาดูกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2550 นี้ที่กำลังรอมติจากประชาชนโดยที่หลายๆ คนไม่ถูกใจนักจนมีการรณรงค์กันนั้นมีอะไรบ้าง? จุดแรกคือการที่ให้คนจำนวนน้อยลงสามารถลงชื่อถอดถอนบุคคลสำคัญออกจากตำแหน่งได้:

    มาตรา ๑๖๔ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๗๔ ให้ถอดถอนบุคคลตามมาตรา ๒๗๐ ออกจากตำแหน่งได้...

    มาตรา ๒๗๐ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด...
    บทบัญญัติวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ด้วย คือ
    (๑) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
    (๒) ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง...

ในข้อนี้เป็นการลดจากเดิม "ห้าหมื่น" เป็น "สองหมื่น" คน ข้อนี้ค่อนข้างอันตรายหรือไม่ต่อความมั่นคงของภาครัฐในอนาคต? รัฐธรรมนูญมิใช่ของเล่น ถ้ารับก็ต้องใช้กันไปตลอด (เพราะคงจะไม่ล้มกันบ่อยๆ ) การที่ให้คนจำนวนเพียงสองหมื่นคนลงชื่อเห็นด้วยเป็นทางเดียวกันนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าต่อไปมีนักการเมืองที่ดี แต่ไปขัดแย้งกับพวกผู้ทรงอิทธิพล การระดมกันลงชื่อล้มนักการเมืองผู้นั้นก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายไปหรือไม่?

จุดที่สองเป็นที่น่าแปลกใจคือมีการตราเรื่อง "จริยธรรม" ขึ้นมาเป็นหมวดพิเศษหมวดหนึ่ง ต่างหากขึ้นมา (หมวด 13)

    มาตรา ๒๗๙ มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น
    มาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรายงานต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี และหากเป็นการกระทำผิดร้ายแรงให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาดำเนินการโดยให้ถือเป็นเหตุที่จะถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามมาตรา ๒๗๐
    การพิจารณา สรรหา กลั่นกรอง หรือแต่งตั้งบุคคลใด เข้าสู่ตำแหน่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งการโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษบุคคลนั้นจะต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าวด้วย

    มาตรา ๒๘๐ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะหรือให้คำแนะนำในการจัดทำหรือปรับปรุงประมวลจริยธรรมตามมาตรา ๒๗๙ วรรคหนึ่ง และส่งเสริมให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีจิตสำนึกในด้านจริยธรรม รวมทั้งมีหน้าที่รายงานการกระทำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมเพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบในการบังคับการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมตามมาตรา ๒๗๙ วรรคสาม
    ในกรณีที่การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมมีลักษณะร้ายแรงหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการดำเนินการของผู้รับผิดชอบจะไม่เป็นไปด้วยความเป็นธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินจะไต่สวนและเปิดเผยผลการไต่สวนต่อสาธารณะก็ได

ซึ่งเป็นมาตราที่คลุมเครือ (เป็น subjective) และให้อำนาจผู้ตรวจราชการแผ่นดินเกินไปในการกำหนดกฏเกณฑ์ขึ้นมา ถ้าวันหนึ่งบ้านเมืองเราประเหมาะเคราะห์ร้ายได้ผู้ตรวจราชการแผ่นดินที่ไม่ยุติธรรม หรือฟังความข้างเดียว ก็อาจใช้อำนาจตรงนี้จัดการทำอะไรใครก็ได้โดยอ้างหลักจริยธรรม (คือตราเรื่องนั้นๆ ขึ้นมาในประมวลจริยธรรมและดำเนินการเอาผิดได้เอง) หรือไม่?

จุดที่สามเรื่องการรักษาอำนาจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในบทเฉพาะกาลคือ

    มาตรา ๒๙๓ ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ทำหน้าที่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้จนกว่าจะมีการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา ๑๒๗
    ในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่ง ถ้าบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
    ในวาระเริ่มแรก หากปรากฏว่าเมื่อต้องมีการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกตามมาตรา ๑๒๗ แล้ว แต่ยังไม่มีวุฒิสภา ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่วุฒิสภาต่อไป...
    มิให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙๓ มาตรา ๙๔ มาตรา ๑๐๑ มาตรา ๑๐๒ มาตรา ๑๐๖ มาตรา ๑๐๙ มาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๔ มาตรา ๑๑๕ มาตรา ๑๑๙ มาตรา ๑๒๐ มาตรา ๑๙๗ วรรคสี่ มาตรา ๒๖๑ และบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ห้ามมิให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

อ่านแล้วก็รู้สึกว่าเป็นกฏหมายที่ปกป้องและให้สิทธิ์สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ที่ประชาชนไม่ได้เลือก) มากเกินไป คือมีสิทธิ์เป็นเสมือวุฒิสมาชิก รับเงินเดือนภาษีประชาชนต่อไป แล้วก็ได้รับอภิสิทธิ์จากการถอดถอนต่างๆ

อีกจุดหนึ่ง(เยอะจัง) คือการออกมาตรการรักษาสถานของผู้ตรวจการแผ่นดิน และ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ (ซึ่งจะขึ้นเป็นศาลรัฐธรรมนูญเลยตามรัฐธรรมนูณฉบับนี้) โดยถ้าอ่านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไป-มา จะพบว่าเป็นสองกลุ่มที่มีอำนาจในการทำอะไรๆ ค่อนข้างมากตามสิทธิ์ที่บัญญัติขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับนี้

    มาตรา ๒๙๙ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และให้คงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดวาระ...

    มาตรา ๓๐๐ ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ เป็นศาลรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้...

อีกทั้ง!

    มาตรา ๓๐๙ บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและ การกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้


งานนี้แสดงว่ารวมถึงมาตรานี้ด้วย (จากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 - มาตราที่ให้อำนาจคณะรัฐประหาร /ประกาศ คำสั่ง รวมถึง นิรโทษกรรม?)

    มาตรา 36 บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ได้ประกาศ หรือสั่งไว้ ในระหว่างสันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศ หรือสั่ง ให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป และให้ถือว่า ประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งนั้น จะกระทำก่อน หรือหลัง วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติ ที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

    มาตรา 37 บรรดาการกระทำทั้งหลาย ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึด และควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ของหัวหน้า และคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว หรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้า หรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันได้กระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อน หรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง


พออ่านรัฐธรรมนูญ 2550 จบ... ก็ขอสรุปว่า... เลยต้องขอเป็นแนวร่วม "We vote NO" อีกคนค่ะ


Create Date : 09 กรกฎาคม 2550
Last Update : 9 กรกฎาคม 2550 22:32:03 น. 12 comments
Counter : 514 Pageviews.

 
คุกๆๆ อืมช่วงนี้เป็นหวัดไอเสียงแปลกๆ


โดย: กวินทรากร วันที่: 10 กรกฎาคม 2550 เวลา:17:04:38 น.  

 
+++ คุณกวินทรากร +++

ไม่ได้รณรงค์ให้คนไม่ไปลงประชามตินะคะ เพียงแต่เขียนเหตุผลว่าเหตุใดไร้นามถึงไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญนี้ และจะไปโหวต no เท่านั้น

ยังไงๆ ประชาชนไทยเราก็มีสิทธิเสรีภาพระดับหนึ่งในการออกเสียงค่ะ (อิอิ) อ้างอิงจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549

    มาตรา 3 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับความคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และตามพันธกรณีแห่งประเทศ ที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้



โดย: ไร้นาม วันที่: 10 กรกฎาคม 2550 เวลา:17:35:02 น.  

 
เพิ่มเติมค่ะ ส่วนที่เห็นว่าแปลกอีกอัน (จากคุณศักดินา Can do no Wrong! @ ห้องเฉพาะกิจ รธน 50 นี่เอง)

    มาตรา ๘๒ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    มาตรา ๘๓ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้

    (๑) สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด...


พออ่านแล้วก็เห็นเหมือนคุณศักดินาฯ บอกคือ มาตรา 82 กับ มาตรา 83 ขัดแย้งกันเอง เพราะเศรษฐกิจเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด จะมีพื้นฐานเป็นทุนนิยม ซึ่งมิใช่เศรษฐกิจตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มิใช่หรือ?


โดย: ไร้นาม วันที่: 10 กรกฎาคม 2550 เวลา:20:21:43 น.  

 
เป็นประชาธิปไตยบนเส้นขนาน งัยครับ


โดย: กวินทรากร IP: 61.7.149.109 วันที่: 11 กรกฎาคม 2550 เวลา:8:28:39 น.  

 
+++ กวินทรากร +++

จริงด้วยค่ะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 11 กรกฎาคม 2550 เวลา:18:21:17 น.  

 
No idea with this first draft Krub, however, my query is why Sor Wor being selected, not from voted, who knows?

By the way na, I got a F in this summer session of constitution, ho !!!!!!!!!!!!




โดย: khon na derm IP: 124.120.79.120 วันที่: 13 กรกฎาคม 2550 เวลา:21:25:28 น.  

 
whatsoever i'll vote no for sure!


โดย: cottonbook วันที่: 13 กรกฎาคม 2550 เวลา:22:32:21 น.  

 
+++ K. Khon na derm +++

Not sure about the Sor Wor part as well ka ^^'

Got P from the constitution (but on term 2/2). So surprise because I wrote some negative critics about the strange of the temp constitutions ('49 one) in the exam paper ^^'.


+++ K. cottonbook +++

Same as lots of my friends (no matter what has been written -- they plan to vote no).


โดย: ไร้นาม วันที่: 16 กรกฎาคม 2550 เวลา:17:06:46 น.  

 
NO VOTE ครับ


โดย: สามขีด ||| IP: 61.4.103.194 วันที่: 17 กรกฎาคม 2550 เวลา:16:15:18 น.  

 
อืม..ม..


โดย: Ja~ IP: 203.113.33.8 วันที่: 17 กรกฎาคม 2550 เวลา:22:51:14 น.  

 



Good name is bettter that riches.
มีชื่อเสียงดี ดีกว่ามีทรัพย์



♣♣♣♣♣♣♣♣

สวัสดีค่ะ วันนี้มาเยี่ยมกันแต่เช้าเลย
เมือ่วานได้นอนแต่หัวค่ำ ขอบคุณเพื่อนๆ
ทุกคนมากน่ะค่ะ ที่ยังไปเยี่ยมเยียนอย่าง
สม่ำเสมอ โดยส่วนแล้วดีใจมากๆ เลยค่ะ
มีความสุขมากๆ น่ะค่ะ

รายาสุรีย์ โทณะวณิก (เจี๊ยบ)
วันที่ ๒๒ กรกฏาคม ๒๕๕๐

♣♣♣♣♣♣♣♣



โดย: Jeab (rayasuree2526 ) วันที่: 22 กรกฎาคม 2550 เวลา:7:16:41 น.  

 
+++ คุณสามขีด +++

วันก่อนเห็นใบลงประชามติแว๊บๆ
รู้สึกจะไม่มีช่อง NO Vote ค่ะ (มีแต่ รับ กับ ไม่รับ)


+++ Ja~ +++

ฮะ ฮะ เดี๋ยวลงภาพ Singapore 3 แล้วจ้า
(พาเที่ยวสลับกันกับบรรยากาศการเมือง)


+++ คุณ rayasuree2526 +++

ขอบคุณสำหรับข้อความสวยๆ เหมือนกันค่ะ


โดย: ไร้นาม วันที่: 23 กรกฎาคม 2550 เวลา:11:38:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.