จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2548
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
22 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 

กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 - ภาค 2 สอบสวน

ลักษณะ1 หลักทั่วไป

มาตรา 120**: ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดย มิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน

มาตรา 121**: พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ

มาตรา 122*: พนักงานสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนในกรณี ต่อไปนี้ก็ได้
(1) เมื่อผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ แต่ไม่ยอมร้องทุกข์ตาม ระเบียบ
(2) เมื่อผู้เสียหายฟ้องคดีเสียเองโดยมิได้ร้องทุกข์ก่อน
(3) เมื่อมีหนังสือกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์ หรือบุคคลที่กล่าว
โทษด้วยปากไม่ยอมบอกว่าเขาคือใคร หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อ ในคำกล่าวโทษหรือบันทึกคำกล่าวโทษ

มาตรา 123*: ผู้เสียหายอาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ คำร้องทุกข์นั้นต้องปรากฏชื่อ และที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์ลักษณะ แห่งความผิดพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ความ เสียหายที่ได้รับและชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำผิดเท่าที่จะบอกได้
คำร้องทุกข์นี้จะทำเป็นหนังสือหรือร้องด้วยปากก็ได้ ถ้าเป็น หนังสือต้องมีวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของผู้ร้องทุกข์ ถ้าร้อง ด้วยปากให้พนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ลงวัน เดือน ปี และลงลาย มือชื่อผู้บันทึกกับผู้ร้องทุกข์ในบันทึกนั้น

มาตรา 124*: ผู้เสียหายจะร้องทุกข์ต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่รองหรือเหนือพนักงานสอบสวนและเป็นผู้ ซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยตามกฎหมายก็ได้
เมื่อมีหนังสือร้องทุกข์ยื่นต่อเจ้าพนักงานเช่นกล่าวแล้ว ให้รีบ จัดการส่งไปยังพนักงานสอบสวน และจะจดหมายเหตุอะไรไปบ้าง เพื่อประโยชน์ของพนักงานสอบสวนก็ได้
เมื่อมีคำร้องทุกข์ด้วยปาก ให้รีบจัดการให้ผู้เสียหายไปพบกับ พนักงานสอบสวนเพื่อจดบันทึกคำร้องทุกข์นั้นดั่งบัญญัติใน มาตรา ก่อน ในกรณีเร่งร้อนเจ้าพนักงานนั้นจะจดบันทึกเสียเองก็ได้ แต่แล้วให้
รีบส่งไปยังพนักงานสอบสวน และจะจดหมายเหตุอะไรไปบ้างเพื่อ ประโยชน์ของพนักงานสอบสวนก็ได้
ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 133ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่ การจดบันทึกคำร้องทุกข์ในคดีที่ผู้เสียหายเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี
หมายเหตุ แก้ไขครั้งสุดท้าย โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.20) พ.ศ.2542

มาตรา 125: เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจได้กระทำการสืบสวนหรือสอบสวนไปทั้งหมด หรือแต่ส่วนหนึ่ง ส่วนใดตามคำขอร้องให้ช่วยเหลือ ให้ตกเป็นหน้าที่ของพนักงานนั้น จัดการให้มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตามบทบัญญัติแห่ง มาตรา 123 และ 124

มาตรา 126: ผู้ร้องทุกข์จะแก้คำร้องทุกข์ระยะใด หรือจะถอน คำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้
ในคดีซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การถอนคำร้องทุกข์เช่นนั้นย่อม ไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวน หรือพนักงานอัยการที่ จะฟ้องคดีนั้น

มาตรา 127: ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 123 ถึง 126 มาบังคับ โดยอนุโลมในเรื่องคำกล่าวโทษ
เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำกล่าวโทษจะไม่บันทึกคำกล่าวโทษ ในกรณีต่อไปนี้ก็ได้
(1) เมื่อผู้กล่าวโทษไม่ยอมแจ้งว่าเขาคือใคร
(2) เมื่อคำกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์
คำกล่าวโทษซึ่งบันทึกแล้ว แต่ผู้กล่าวโทษไม่ยอมลงลายมือชื่อ เจ้าพนักงานผู้รับคำกล่าวโทษจะไม่จัดการแก่คำกล่าวโทษนั้นก็ได้

มาตรา 128: พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้เจ้าพนักงานอื่นทำการ แทนดั่งต่อไปนี้
(1) การใดในการสอบสวนอยู่นอกเขตอำนาจของตนมีอำนาจส่ง ประเด็นไปให้พนักงานสอบสวนซึ่งมีอำนาจทำการนั้นจัดการได้
(2) การใดเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวน ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจข องตนไม่ว่าทำเองหรือจัดการตามประเด็น มีอำนาจสั่งให้ผู้อยู่ใต้บังคับ บัญชาทำแทนได้ แต่ทั้งนี้เมื่อประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น มิได้เจาะจงให้ทำด้วยตนเอง

มาตรา 129: ให้ทำการสอบสวนรวมทั้งการชันสูตรพลิกศพ ในกรณีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญา ดั่งที่บัญญัติ ไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ ถ้าการ ชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหายังศาล

ลักษณะ2 การสอบสวน

หมวด1 การสอบสวนสามัญ

มาตรา 130: ให้เริ่มการสอบสวนโดยมิชักช้า จะทำการในที่ใด เวลาใดแล้วแต่จะเห็นสมควร โดยผู้ต้องหาไม่จำต้องอยู่ด้วย

มาตรา 131: ให้พนักงานสอบสวนรวบรวม หลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถ จะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา และเพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิด และพิสูจน์ให้เห็นความผิด

มาตรา 132: เพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐานให้พนักงาน สอบสวนมีอำนาจดั่งต่อไปนี้
(1) ตรวจตัวผู้เสียหายเมื่อผู้นั้นยินยอม หรือตรวจตัวผู้ต้องหา หรือตรวจสิ่งของหรือที่ทางอันสามารถอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ให้รวมทั้งทำภาพถ่าย แผนที่ หรือภาพวาด จำลองหรือพิมพ์ลาย นิ้วมือ ลายมือหรือลายเท้ากับให้บันทึกรายละเอียดทั้งหลายซึ่งน่า จะกระทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น
(2) ค้นเพื่อพบสิ่งของ ซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการ กระทำผิด หรือได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดหรือซึ่งอาจ ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องปฏิบัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่า ด้วยค้น
(3) หมายเรียกบุคคลซึ่งครอบครองสิ่งของ ซึ่งอาจใช้เป็นพยาน หลักฐานได้ แต่บุคคลที่ถูกหมายเรียกไม่จำต้องมาเองเมื่อจัดส่งสิ่ง ของมาตามหมายแล้ว ให้ถือเสมือนได้ปฏิบัติตามหมาย
(4) ยึดไว้ซึ่งสิ่งของที่ค้นพบหรือส่งมาดั่งกล่าวไว้ใน มาตรา (2) และ (3)

มาตรา 133*: พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียหาย หรือบุคคลใดซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าถ้อยคำของเขาอาจเป็นประโยชน์ แก่คดี ให้มาตามเวลาและสถานที่ในหมาย แล้วให้ถามปากคำบุคคล นั้นไว้
การถามปากคำนั้น พนักงานสอบสวนจะให้ผู้ให้ถ้อยคำสาบาน หรือปฏิญาณตัวเสียก่อนก็ได้ และต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยพยานบุคคล
ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนตักเตือน พูดให้ท้อใจหรือใช้กลอุบาย อื่นเพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำ ซึ่งอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ

มาตรา 133ทวิ* ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไป
หรือในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึงสามปีและผู้เสียหายหรือพยาน ซึ่งเป็นเด็กร้องขอหรือในคดีทำร้ายร่างกายเด็ดอายุไม่เกินสิบแปดปี การ ถามปากคำเด็กไว้ในฐานะเป็นผู้เสียหายหรือพยาน ให้แยกกระทำเป็นส่วน สัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสง เคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปาก คำนั้นด้วย
ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องแจ้งให้นักจิตวิทยาหรือ นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงายอัยการทราบ
นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ หรือพนักงานอัยการที่เข้าร่วมใน การถามปากคำอาจถูกผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กตั้งรังเกียจได้ หาก มีกรณีดังกล่าวให้เปลี่ยนตัวผู้นั้น
ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 139 การถามปากคำเด็กตามวรรคหนึ่ง ให้ พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงการถามปากคำดังกล่าว ซึ่งสามารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้เป็นพยาน
ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วม ในการถามปากคำพร้อมกันได้ ให้พนักงานสอบสวนถามปากคำเด็กโดย มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามวรรคหนึ่งอยู่ร่วมด้วยก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุที่ ไม่อาจรอบุคคลอื่นไว้ในสำนวนการสอบสวน และมิให้ถือว่าการถามปาก คำผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กในกรณีดังกล่าวที่ได้กระทำไปแล้วไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย
หมายเหตุ แก้ไขครั้งสุดท้าย โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.20) พ.ศ.2542

มาตรา 133ตรี* ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องจัด ให้เด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีในฐานะเป็นผู้เสียหายหรือพยานชี้ตัวผู้ ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการชี้ตัวผู้ต้องหาในสถานที่ที่ เหมาะสมและสามารถจะป้องกันมิให้ผู้ต้องหาเห็นตัวผู้เสียหายเสีย พยาน การชี้ตัวผู้ต้องหาดังกล่าวให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคม สงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วย และ ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 133ทวิ วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
หมายเหตุ แก้ไขครั้งสุดท้าย โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.20) พ.ศ.2542

มาตรา 134*: เมื่อผู้ต้องหาถูกเรียก หรือส่งตัวมา หรือเข้าหา พนักงานสอบเอง หรือปรากฏว่าผู้ใดซึ่งมาอยู่ต่อหน้าเจ้าพนักงาน เป็นผู้ต้องหา ให้ถามชื่อตัว นามสกุล ชาติบังคับบิดามารดา อายุ อาชีพ ที่อยู่ ที่เกิด และแจ้งข้อหาให้ทราบและต้องบอกให้ทราบ ก่อนว่า ถ้อยคำที่ผู้ต้องหากล่าวนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันเขา ในการพิจารณาได้ เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคำให้ การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลย ก็ให้บันทึกไว้

มาตรา 134ทวิ* ให้คดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงาน สอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหา ทนายความให้
การจัดหาทนายความตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวน ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้ทนายความที่รัฐจัดหามาให้ได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายตาม ระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจาก กระทรวงการคลัง
หมายเหตุ แก้ไขครั้งสุดท้าย โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.20) พ.ศ.2542

มาตรา 134ตรี* ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 133ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกินสิบแปดปี
หมายเหตุ แก้ไขครั้งสุดท้าย โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.20) พ.ศ.2542

มาตรา 135: ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำหรือจัดให้ทำการใด ๆ ซึ่งเป็นการล่อลวง หรือขู่เข็ญ หรือให้สัญญากับผู้ต้องหาเพื่อจูงใจให้ เขาให้การอย่างใด ๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น

มาตรา 136: พนักงานสอบสวนจะจับและควบคุม หรือจัดการให้จับหรือควบคุมผู้ต้องหาหรือบุคคลใด ซึ่งในระหว่างสอบสวนปรากฏ ว่าเป็นผู้กระทำผิดหรือจะปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีประกันเลย หรือมี ประกันและหลักประกันด้วยหรือปล่อยไปตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายนี้ในเรื่องนั้นๆ ก็ได้

มาตรา 137: พนักงานสอบสวนขณะทำการอยู่ในบ้านเรือนหรือ ในสถานที่อื่น ๆ มีอำนาจสั่งมิให้ผู้ใดออกไปจากที่นั้น ๆ ชั่วเวลา เท่าที่จำเป็น

มาตรา 138: พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนเองหรือส่ง ประเด็นไปสอบสวนเพื่อทราบความเป็นมาแห่งชีวิตและความ ประพฤติอันเป็นอาจิณของผู้ต้องหา แต่ต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบ ข้อความทุกข้อที่ได้มา

มาตรา 139: ให้พนักงานสอบสวนบันทึกการสอบสวนตามหลัก ทั่วไปในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการสอบสวนและให้เอาบันทึก เอกสารอื่นซึ่งได้มาอีกทั้งบันทึกเอกสารทั้งหลาย ซึ่งเจ้าพนักงานอื่น ผู้สอบสวนคดีเดียวกันนั้นส่งมารวมเข้าสำนวนไว้
เอกสารที่ยื่นเป็นพยานให้รวมเข้าสำนวน ถ้าเป็นสิ่งของอย่างอื่น ให้ทำบัญชีรายละเอียดรวมเข้าสำนวนไว้

มาตรา 140: เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวน เห็นว่าการสอบเสร็จแล้ว ให้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งต่อไปนี้
(1) ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด และความผิดนั้น มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี ให้พนักงานสอบสวนงดการ สอบสวนและบันทึกเหตุที่งดนั้นไว้ แล้วให้ส่งบันทึกพร้อมกับสำนวน ไปยังพนักงานอัยการ
ถ้าอัตราโทษอย่างสูงเกินกว่าสามปี ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวน ไปยังพนักงานอัยการพร้อมทั้งความเห็นที่ควรให้งดการสอบสวน
ถ้าพนักงานอัยการสั่งให้งด หรือให้ทำการสอบสวนต่อไปให้พนักงาน สอบสวนปฏิบัติตามนั้น
(2) ถ้ารู้ตัวผู้กระทำผิด ให้ใช้บทบัญญัติในสี่ มาตรา ต่อไปนี้

มาตรา 141: ถ้ารู้ตัวผู้กระทำความผิด แต่เรียกหรือจับตัวยังไม่ได้ เมื่อได้ความตามทางสอบสวนอย่างใด ให้ทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้อง หรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมกับสำนวนยังพนักงานอัยการ
ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบด้วยว่าควรสั่งไม่ฟ้อง ให้ยุติการ สอบสวนโดยสั่งไม่ฟ้อง และให้แจ้งคำสั่งนี้ให้พนักงานสอบสวนทราบ
ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าควรสอบสวนต่อไป ก็ให้สั่งพนักงาน สอบสวนปฏิบัติเช่นนั้น
ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าควรสั่งฟ้อง ก็ให้จัดการอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหามา ถ้าผู้ต้องหาอยู่ต่างประเทศให้ พนักงานอัยการจัดการเพื่อขอให้ส่งตัวข้ามแดนมา

มาตรา 142: ถ้ารู้ตัวผู้กระทำความผิดและผู้นั้นถูกควบคุมหรือ ขังอยู่ หรือปล่อยชั่วคราว หรือเชื่อว่าคงได้ตัวมาเมื่อออกหมายเรียก ให้พนักงานสอบสวนทำความเห็นตามท้องสำนวนการสอบสวน ว่า ควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปยังพนักงานอัยการพร้อมด้วยสำนวน
ในกรณีที่เสนอความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ให้ส่งแต่สำนวนพร้อม ด้วยความเห็นไปยังพนักงานอัยการ ส่วนตัวผู้ต้องหาให้พนักงาน สอบสวนมีอำนาจปล่อยหรือปล่อยชั่วคราว ถ้าผู้ต้องหาถูกขังอยู่ให้ ขอเองหรือขอให้พนักงานอัยการขอต่อศาลให้ปล่อย
ในกรณีที่เสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวน พร้อมกับผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ เว้นแต่ผู้ต้องหานั้นถูกขัง อยู่แล้ว
แต่ถ้าเป็นความผิดซึ่งพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบได้และผู้ กระทำความผิดได้ปฏิบัติตามเปรียบเทียบนั้นแล้ว ให้บันทึกการ เปรียบเทียบนั้นไว้ แล้วส่งไปให้พนักงานอัยการพร้อมด้วยสำนวน

มาตรา 143: เมื่อได้รับความเห็นและสำนวนจากพนักงานสอบสวน ดั่งกล่าวใน มาตรา ก่อน ให้พนักงานอัยการปฏิบัติดั่งต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่มีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ให้ออกคำสั่งไม่ฟ้อง แต่ ถ้าไม่เห็นชอบด้วย ก็ให้สั่งฟ้องและแจ้งให้พนักงานสอบสวนส่งผู้ต้องหา มาเพื่อฟ้องต่อไป
(2) ในกรณีมีความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้ออกคำสั่งฟ้องและฟ้อง ผู้ต้องหาต่อศาล ถ้าไม่เห็นชอบด้วย ก็ให้สั่งไม่ฟ้อง
ในกรณีหนึ่งกรณีใดข้างต้น พนักงานอัยการมีอำนาจ
(ก) สั่งตามที่เห็นควร ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวน เพิ่มเติม หรือส่งพยานคนใดมาให้ซักถามเพื่อสั่งต่อไป
(ข) วินิจฉัยว่าควรปล่อยผู้ต้องหา ปล่อยชั่วคราว ควบคุมไว้ หรือขอให้ศาลขัง แล้วแต่กรณี และจัดการหรือสั่งการให้เป็นไปตามนั้น
ในคดีฆาตกรรม ซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติ ราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุม ของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ อธิบดีกรมอัยการ หรือผู้รักษาการแทนเท่านั้นมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง

มาตรา 144: ในกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้อง ถ้าความผิดนั้น เป็นความผิดซึ่งอาจเปรียบเทียบได้ ถ้าเห็นสมควรพนักงานอัยการ มีอำนาจดั่งต่อไปนี้
(1) สั่งให้พนักงานสอบสวนพยานเปรียบเทียบคดีนั้นแทนการที่ จะส่งผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ
(2) เมื่อผู้ต้องหาถูกส่งมายังพนักงานอัยการแล้ว สั่งให้ส่งผู้ต้องหา พร้อมด้วยสำนวนกลับไปยังพนักงานสอบสวนให้พยายามเปรียบเทียบ คดีนั้น หรือถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้พนักงานสอบสวนอื่นที่มีอำนาจ จัดการเปรียบเทียบให้ก็ได้

มาตรา 145: ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้อง และคำสั่งนั้นไม่ใช่ของอธิบดีกรมอัยการ ถ้าในนครหลวงกรุงเทพธนบุรี ให้รีบส่งสำนวนการสอบสวน พร้อมกับคำสั่งไปเสนออธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจ หรือ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ ถ้าในจังหวัดอื่นให้รีบส่งสำนวนการสอบสวน พร้อมกับคำสั่งไปเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ทั้งนี้มิได้ตัดอำนาจ พนักงานอัยการที่จะจัดการอย่างใดแก่ผู้ต้องหาดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 143
ในกรณีที่อธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้ช่วยอธิบดี กรมตำรวจในนครหลวงกรุงเทพธนบุรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดใน จังหวัดอื่นแย้งคำสั่งของพนักงานอัยการ ให้ส่งสำนวนพร้อมกับความ เห็นที่แย้งกันไปยังอธิบดีกรมอัยการเพื่อชี้ขาด แต่ถ้าคดีจะขาด อายุความหรือมีเหตุอย่างอื่นอันจำเป็นจะต้องรีบฟ้องก็ให้ฟ้องคดีนั้น ตามความเห็นของอธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีกรมตำรวจ ผู้ช่วย อธิบดีกรมตำรวจ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดไปก่อน
บทบัญญัติใน มาตรานี้ ให้นำมาบังคับในการที่พนักงานอัยการ จะอุทธรณ์ฎีกา หรือถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์และถอนฎีกาโดยอนุโลม

มาตรา 146: ให้แจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีให้ผู้ต้องหาและผู้ร้อง ทุกข์ทราบ ถ้าผู้ต้องหาถูกควบคุมหรือขังอยู่ ให้จัดการปล่อยตัวไป หรือขอให้ศาลปล่อยแล้วแต่กรณี

มาตรา 147: เมื่อมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีแล้ว ห้ามมิให้มีการ สอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก เว้นแต่จะได้พยาน หลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดี ซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้

หมวด2 การชันสูตรพลิกศพ

มาตรา 148*: เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลใด ตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของ เจ้าพนักงาน ให้มีการชันสูตรพลิกศพเว้นแต่ตายโดยการประหาร ชีวิตตามกฎหมาย
การตายโดยผิดธรรมชาตินั้น คือ
(1) ฆ่าตัวตาย
(2) ถูกผู้อื่นทำให้ตาย
(3) ถูกสัตว์ทำร้ายตาย
(4) ตายโดยอุบัติเหตุ
(5) ตายโดยยังมิปรากฏเหตุ

มาตรา 149: ความตายผิดธรรมชาติเกิดมีขึ้น ณ ที่ใด ให้เป็นหน้าที่ ของสามีภริยา ญาติ มิตรสหายหรือผู้ปกครองของผู้ตายที่รู้เรื่องการ ตายเช่นนั้นจัดการดั่งต่อไปนี้
(1) เก็บศพไว้ ณ ที่ซึ่งพบนั้นเองเพียงเท่าที่จะทำได้
(2) ไปแจ้งความแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจโดยเร็วที่สุด หน้าที่ดั่งกล่าวในวรรคต้นนั้นมีตลอดถึงผู้อื่น ซึ่งได้พบศพในที่ซึ่ง ไม่มีสามีภริยา ญาติ มิตรสหายหรือผู้ปกครองของผู้ตายอยู่ในที่นั้นด้วย
ผู้ใดละเลยไม่กระทำหน้าที่ดังบัญญัติไว้ใน มาตรานี้ ต้องระวาง โทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
หมายเหตุ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ.(ฉบับที่ 21) รก. เล่ม 116 ตอนที่ 137 ก ลว. 30 ธ.ค. 42

มาตรา 150*: ในกรณีที่จะต้องมีการชันสูตรพลิกศพ ให้พนักงาน สอบสวนแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่กับแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ซึ่งได้รับ วุฒิบัตรหรือได้รับหนังสืออนุมัติจากแพทยสภา ทำการชันสูตรพลิกศพ โดยเร็ว ถ้าแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ดังกล่าวไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติ หน้าที่ได้ ให้แพทย์ประจำโรงพยาบาลของรัฐปฏิบัติหน้าที่ ถ้าแพทย์ ประจำโรงพยาบาลของรัฐไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แพทย์ ประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปฏิบัติหน้าที่ ถ้าแพทย์ประจำ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดไม่มีหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แพทย์ ประจำโรงพยาบาลของเอกชนหรือแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ขึ้นทะเบียนเป็นแพทย์อาสาสมัครตามระเบียบของกระทรวง สาธารณสุขปฏิบัติหน้าที่ และในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ให้แพทย์ ประจำโรงพยาบาลของเอกชนหรือแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้นั้น เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ทั้งนี้ ให้พนักงาน สอบสวนและแพทย์ดังกล่าวทำบันทึกรายละเอียดแห่งการชันสูตร พลิกศพทันที และให้แพทย์ดังกล่าวทำรายงานแนบท้ายบันทึกราย ละเอียดแห่งการชันสูตรพลิกศพด้วยภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับ แจ้งเรื่อง ถ้ามีความจำเป็นให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสอง ครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและความจำเป็น ในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสำนวนชันสูตรพลิกศพ รายงาน ดังกล่าวให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนชันสูตรพลิกศพ และในกรณีที่ ความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญา ให้พนักงานสอบสวน ส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพไปยังพนักงานอัยการเมื่อเสร็จสิ้นการ ชันสูตรพลิกศพโดยเร็วและให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไปตาม มาตรา 156
ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนแจ้งแก่ผู้มีหน้าที่ไปทำการ ชันสูตรพลิกศพทราบ และก่อนการชันสูตรพลิกศพ ให้พนักงานสอบ สวนแจ้งให้สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือญาติของผู้ตายอย่างน้อยหนึ่งคนทราบเท่าที่จะทำได้
ในกรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความ ควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ ให้ พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ระดับปลัด อำเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่เป็นผู้ชันสูตรพลิก ศพร่วมกับพนักงานสอบสวนและแพทย์ตามวรรคหนึ่ง และให้นำ บทบัญญัติในวรรคสองมาใช้บังคับ
เมื่อได้มีการชันสูตรพลิกศพตามวรรคสามแล้วให้พนักงานสอบ สวนทำสำนวนชันสูตรพลิกศพแล้วส่งไปยังพนักงานอัยการภายใน สามสิบวัน นับแต่วันที่ได้ทราบเรื่อง ถ้ามีความจำเป็นให้ขยายระยะ เวลาออกไปได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้องบันทึก เหตุผลและความจำเป็นในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสำนวน ชันสูตรพลิกศพ
เมื่อได้รับสำนวนชันสูตรพลิกศพแล้ว ให้พนักงานอัยการทำ คำร้องขอต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ เพื่อให้ศาลทำการไต่ สวนและทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึง เหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ถ้าตายโดยคนทำร้ายให้กล่าวว่าใครเป็น ผู้กระทำร้ายเท่าที่จะทราบได้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ สำนวน ถ้ามีความจำเป็น ให้ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกินสอง ครั้ง ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและความจำเป็น ในการขยายระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสำนวนชันสูตรพลิกศพ
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง วรรคสาม วรรคสี่ และ วรรคห้า ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานอัยการ
ในการไต่สวนตามวรรคห้า ให้ศาลปิดประกาศแจ้งกำหนดวันที่ จะทำการไต่สวนไว้ที่ศาล และให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ศาลส่งสำเนาคำร้องและแจ้งกำหนดวันนัดไต่สวนให้สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรมผู้อนุบาล หรือญาติของ ผู้ตายตามลำดับอย่างน้อยหนึ่งคนเท่าที่จะทำได้ทราบก่อนวันนัด ไต่สวนไม่น้อยกว่าสิบห้าวันและให้พนักงานอัยการนำพยานหลักฐาน ทั้งปวงที่แสดงถึงการตายมาสืบ
เมื่อศาลได้ปิดประกาศแจ้งกำหนดวันที่จะทำการไต่สวนแล้ว และก่อนการไต่สวนเสร็จสิ้น สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล หรือญาติของผู้ตายมีสิทธิยื่น คำร้องต่อศาลขอเข้ามาซักถามพยานที่พนักงานอัยการนำสืบ และ นำสืบพยานหลักฐานอื่นได้ด้วย เพื่อการนี้ สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือญาติของผู้ตายมีสิทธิ แต่งตั้งทนายความดำเนินการแทนได้ หากไม่มีทนายความที่ได้รับ การแต่งตั้งจากบุคคลดังกล่าวเข้ามาในคดี ให้ศาลตั้งทนายความขึ้น เพื่อทำหน้าที่ทนายความฝ่ายญาติผู้ตาย
เมื่อศาลเห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจะ เรียกพยานที่นำสืบมาแล้วมาสืบเพิ่มเติม หรือเรียกพยานหลักฐานอื่น มาสืบก็ได้และศาลอาจขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความ เห็นเพื่อประกอบการไต่สวนและทำคำสั่ง แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิของผู้ นำสืบพยานหลักฐานตามวรรคแปดที่จะขอให้เรียกผู้ทรงคุณวุฒิหรือ ผู้เชี่ยวชาญอื่นมาให้ความเห็นโต้แย้งหรือเพิ่มเติมความเห็นของผู้ ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว
คำสั่งของศาลตาม มาตรานี้ ให้ถึงที่สุด แต่ไม่กระทบกระเทือนถึง สิทธิฟ้องร้องและการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล หากพนักงาน อัยการหรือบุคคลอื่นได้ฟ้อง หรือจะฟ้องคดีเกี่ยวกับการตายนั้น
เมื่อศาลได้มีคำสั่งแล้ว ให้ส่งสำนวนการไต่สวนของศาลไปยัง พนักงานอัยการเพื่อส่งแก่พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป
แพทย์ตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานผู้ได้ทำการชันสูตรพลิกศพ และผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่ศาลขอให้มาให้ความเห็นตาม มาตรานี้ มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน หรือค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พัก ตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยความ เห็นชอบของกระทรวงการคลัง ส่วนทนายความที่ศาลตั้งตามมาตรนี้ มีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกับทนายความที่ศาลตั้ง ตาม มาตรา 173

มาตรา 150ทวิ ผู้ใดกระทำการใดๆ แก่ศพหรือสภาพแวดล้อม ในบริเวณที่พบศพก่อนการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้น ในประการที่น่า จะทำให้การชันสูตรพลิกศพหรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่ จำเป็นต้องกระทำเพื่อป้องกันอันตรายแก่อนามัยของประชาชนหรือ เพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำโดยทุจริต หรือเพื่ออำพรางคดีผู้กระทำ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษ ที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

มาตรา 151: ในเมื่อมีการจำเป็นเพื่อพบเหตุของการตาย เจ้า พนักงานผู้ทำการชันสูตรพลิกศพมีอำนาจสั่งให้ผ่าศพแล้วแยกธาตุ ส่วนใด หรือจะให้ส่งทั้งศพหรือบางส่วนไปยังแพทย์หรือพนักงาน แยกธาตุของรัฐบาลก็ได้

มาตรา 152: ให้แพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐบาลปฏิบัติดั่งนี้
(1) ทำรายงานถึงสภาพของศพ หรือส่วนของศพ ตามที่พบเห็น
หรือตามที่ปรากฏจากการตรวจพร้อมทั้งความเห็นในเรื่องนั้น
(2) แสดงเหตุที่ตายเท่าที่จะทำได้
(3) ลงวันเดือนปีและลายมือชื่อในรายงาน แล้วจัดการส่งไปยัง เจ้าพนักงานผู้ทำการชันสูตรพลิกศพ

มาตรา 153: ถ้าศพฝังไว้แล้ว ให้ผู้ชันสูตรพลิกศพจัดให้ขุดศพ ขึ้นเพื่อตรวจดู เว้นแต่จะเห็นว่าไม่จำเป็นหรือจะเป็นอันตรายแก่ อนามัยของประชาชน

มาตรา 154: ให้ผู้ชันสูตรพลิกศพทำความเห็นเป็นหนังสือแสดง เหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด ถ้าตาย โดยคนทำร้าย ให้กล่าวว่าใครหรือสงสัยว่าใครเป็นผู้กระทำผิด เท่าที่จะทราบได้

มาตรา 155: ให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการ สอบสวนมาใช้แก่การชันสูตรพลิกศพโดยอนุโลม
ให้นำบทบัญญัติใน มาตรา 172ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การ ไต่สวนของศาลตาม มาตรา 150 ในคดีที่พยานเป็นเด็กอายุไม่เกิน สิบแปดปี

มาตรา 156: ให้ส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตาย มิได้เป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญาไปยังข้าหลวงประจำจังหวัด




 

Create Date : 22 ตุลาคม 2548
12 comments
Last Update : 22 ตุลาคม 2548 16:20:41 น.
Counter : 2004 Pageviews.

 

^ข้างบนจะเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้ามาแล้วเห็นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมานะคะ

 

โดย: ไร้นาม 22 ตุลาคม 2548 16:09:30 น.  

 

วันนี้เจอคนหัวหมอ มาถาม รู้จัก common law หรือเปล่า ไปศึกษาซะ

 

โดย: noom_no1 22 ตุลาคม 2548 19:09:05 น.  

 

^
^
ผมคงต้องมาทบทวนที่นี่แล้วมั้งครับ หนังสือหนังหาเก่าๆ เป็นปุ๋ยไปหมดแล้ว

 

โดย: noom_no1 22 ตุลาคม 2548 19:10:06 น.  

 

--- คุณ noom_no1 ---

โห... มีคนมาลองของด้วย สู้ๆ ค่ะ

Note: common law ก็เป็นระบบกฏหมายที่ไม่มีประมวลกฏหมาย แต่ใช้หลักจารีตประเพณี (มติลูกขุน) เป็นหลัก เช่นอังกฤษ อเมริกา ฯลฯ

 

โดย: ไร้นาม 23 ตุลาคม 2548 11:36:19 น.  

 

thanks

 

โดย: noom_no1 25 ตุลาคม 2548 18:32:14 น.  

 

you're welcome ka

 

โดย: ไร้นาม 25 ตุลาคม 2548 19:48:41 น.  

 

 

โดย: วอ IP: 202.28.124.35 19 กุมภาพันธ์ 2549 10:19:00 น.  

 

ผมอยากเรียนเก่งกฏหมายอยางพี่มั้งทำอย่างไงคับบอกหน่อย

 

โดย: โอ <กบร> IP: 61.19.220.5 20 พฤศจิกายน 2549 22:14:32 น.  

 

+++ คุณวอ +++

:)


+++ คุณโอ +++

อ่านเยอะๆ ค่ะ

 

โดย: ไร้นาม 26 สิงหาคม 2550 11:56:48 น.  

 

สวัสดีคะ วิชานี้ก็เรียนอีกครั้งหนึ่ง วันพุธ จบการบรรยาย

 

โดย: ฟูลคอน IP: 58.11.32.123 23 กันยายน 2550 23:34:52 น.  

 

สำหรับกฏหมายวิธีพิจารณาความนั้น เหลืออยู่เพียงเล่มเดียวคือ

lw 308 ลงเรียนหลายรอบแล้วเช่นกันทำไงให้เข้าใจถึงวิธีการ

ช่วยบอกด้วยนะคับ ยังมีอีกหลายวิชาที่ทำหัวหมุนเลย

 

โดย: Jknote IP: 203.113.67.37 22 ธันวาคม 2550 20:29:19 น.  

 

ด้วยความหวังดีค่ะ
มาตรา134เค้าแก้ไขแล้วนะค่ะ
อัฟใหม่ด้วยนะค่ะให้เป็น134,134/1ถึง134/4ค่ะ

 

โดย: law IP: 192.168.10.59, 10.112.100.99, 202.28.35.3 13 พฤษภาคม 2552 19:05:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.