จินตนาการจากความว่างเปล่า
Imagination from the emptiness
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2548
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
17 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 

กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1 - ลักษณะ 1-4

ลักษณะ1 หลักทั่วไป

มาตรา 1: ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าคำใดมีคำอธิบายไว้แล้วให้ถือตาม ความหมายดั่งได้อธิบายไว้ เว้นแต่ข้อความในตัวบทจะขัดกับคำอธิบายนั้น

มาตรา 2*: ในประมวลกฎหมายนี้
(1) "ศาล" หมายความถึงศาลยุติธรรมหรือผู้พิพากษาซึ่งมีอำนาจ ทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา
(2) "ผู้ต้องหา" หมายความถึงบุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล
(3) "จำเลย" หมายความถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดย ข้อหาว่าได้กระทำความผิด
(4**) "ผู้เสียหาย" หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจ จัดการแทนได้ดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 4 , 5 และ 6
(5) "พนักงานอัยการ" หมายความถึงเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้อง ผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้เป็นข้าราชการในกรมอัยการหรือเจ้าพนักงาน อื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้
(6) "พนักงานสอบสวน" หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมาย ให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน
(7*) "คำร้องทุกข์" หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อ เจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความ ผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้เสียหายและการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนา จะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
(8) "คำกล่าวโทษ" หมายความถึงการที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย ได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดีได้กระทำความผิด อย่างหนึ่งขึ้น
(9) "หมายอาญา" หมายความถึงหนังสือบงการซึ่งออกตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการ จับ ขัง จำคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จำเลยหรือนักโทษ หรือให้ทำการค้น รวมทั้งสำเนาหมายเช่นนี้อันได้รับรองว่าถูกต้อง และคำบอกกล่าว ทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับแล้วดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 77
(10) "การสืบสวน" หมายความถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงและ หลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจ และหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่ จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด
(11) "การสอบสวน" หมายความถึงการรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่ จะทราบข้อเท็จจริงหรือการพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำ ผิดมาฟ้องลงโทษ
(12) "การไต่สวนมูลฟ้อง" หมายความถึงกระบวนไต่สวนของศาล เพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีซึ่งจำเลยต้องหา
(13) "ที่รโหฐาน" หมายความถึงที่ต่าง ๆ ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถาน ดั่งบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา
(14) "โจทก์" หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหาย ซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหาย เป็นโจทก์ร่วมกัน
(15) "คู่ความ" หมายความถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีก ฝ่ายหนึ่ง
(16) "พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ" หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าพนักงาน อื่น ๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิด กฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม
(17) "พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่" หมายความ ถึงเจ้าพนักงาน ดังต่อไปนี้
(ก) ปลัดกระทรวงมหาดไทย
(ข) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
(ค) ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย
(ฆ) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย
(ง) อธิบดีกรมการปกครอง
(จ) รองอธิบดีกรมการปกครอง
(ฉ) ผู้อำนวยการกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
(ช) หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้างานในกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
(ซ) ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง
(ฌ) ผู้ว่าราชการจังหวัด
(ญ) รองผู้ว่าราชการจังหวัด
(ฎ) ปลัดจังหวัด
(ฏ) นายอำเภอ
(ฐ) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
(ฑ) อธิบดีกรมตำรวจ
(ฒ) รองอธิบดีกรมตำรวจ
(ณ) ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
(ด) ผู้บัญชาการตำรวจ
(ต) รองผู้บัญชาการตำรวจ
(ถ) ผู้ช่วยบัญชาการตำรวจ
(ท) ผู้บังคับการตำรวจ
(ธ) รองผู้บังคับการตำรวจ
(น) หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด
(บ) รองหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด
(ป) ผู้กำกับการตำรวจ
(ผ) ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต
(ฝ) รองผู้กำกับการตำรวจ
(พ) รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต
(ฟ) สารวัตรใหญ่ตำรวจ
(ภ) สารวัตรตำรวจ
(ม) ผู้บังคับกองตำรวจ
(ย) หัวหน้าสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือ เทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
(ร) หัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือ เทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ทั้งนี้ หมายความรวมถึงผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานดังกล่าว แล้วแต่ผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานใน (ม) (ย) และ (ร) ต้องมียศ ตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปด้วย
(18) "สิ่งของ" หมายความถึงสังหาริมทรัพย์ใด ซึ่งอาจใช้เป็น พยานหลักฐานในคดีอาญาได้ ให้รวมทั้งจดหมายโทรเลขและเอกสาร อย่างอื่น ๆ
(19) "ถ้อยคำสำนวน" หมายความถึงหนังสือใดที่ศาลจดเป็น หลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น
(20) "บันทึก" หมายความถึงหนังสือใดที่พนักงานฝ่ายปกครอง หรือจดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึก คำร้องทุกข์และคำกล่าวโทษด้วย
(21) "ควบคุม" หมายถึงการควบคุมหรือกักขังผู้ถูกจับโดย พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในระหว่างสืบสวนและสอบสวน
(22) "ขัง" หมายความถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล

มาตรา 3: บุคคลดั่งระบุไว้ใน มาตรา 4 , 5 และ 6 มีอำนาจจัดการต่อ ไปนี้แทนผู้เสียหายตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน มาตรา นั้น ๆ
(1) ร้องทุกข์
(2) เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้ารวมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
(3) เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
(4) ถอนฟ้องคดีอาญาหรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
(5) ยอมความในคดีความผิดส่วนตัว

มาตรา 4*: ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นหญิงมีสามี หญิงนั้นมีสิทธิ ฟ้องคดีได้เอง โดยมิต้องได้รับอนุญาตของสามีก่อน
ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 5 (2) สามีมีสิทธิฟ้องคดีอาญาแทน ภริยาได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา

มาตรา 5**: บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
(1**) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่ง ได้กระทำต่อผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
(2**) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิด อาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะ จัดการเองได้
(3) ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิด ซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น

มาตรา 6*: ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดย ชอบธรรมหรือเป็นผู้วิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถ ไม่มีผู้อนุบาล หรือซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทำการตาม หน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถนั้น ๆ ญาติของผู้นั้นหรือผู้มีประโยชน์ เกี่ยวข้องอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้
เมื่อได้ไต่สวนแล้วให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ซึ่งยินยอมตาม ที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดี เมื่อไม่มีบุคคลใดเป็นผู้แทนให้ ศาลตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน
ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดี

มาตรา 7: ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่ นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือ ผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี
ถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จะออกหมายจับผู้นั้นมาก็ได้ แต่ห้ามมิให้ใช้บทบัญญัติว่าด้วยปล่อย ชั่วคราว ขังหรือจำคุกแก่ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล ในคดีที่ นิติบุคคลนั้นเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย

มาตรา 7ทวิ ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมหรือขัง มีสิทธิ ดังต่อไปนี้
(1) พบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายสองต่อสอง
(2) ได้รับการเยี่ยมตามสมควร
(3) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
ห้ามพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือ ผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหานั้นทราบถึงสิทธิตาม วรรคหนึ่ง

มาตรา 8: นับแต่เวลาที่ยื่นฟ้องแล้ว จำเลยมีสิทธิดั่งต่อไปนี้
(1) แต่งทนายแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาในศาลชั้นต้น ตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
(2) พูดจากับทนายหรือผู้ที่จะเป็นทนายสองต่อสอง
(3) ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาล และคัด สำเนาหรือขอสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม
(4) ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐาน และคัดสำเนาหรือถ่ายรูป สิ่งนั้นๆ
ถ้าจำเลยมีทนาย ๆ นั้นย่อมมีสิทธิทำนองเดียวกับจำเลยดั่งกล่าว มาแล้วนั้นด้วย

มาตรา 9: บันทึกต้องระบุสถานที่ วันเดือนปีที่ทำ นาม และตำแหน่ง ของเจ้าพนักงานผู้ทำ
เมื่อเจ้าพนักงานทำบันทึกโดยรับคำสั่งจากศาลหรือโดยคำสั่งหรือ คำขอของเจ้าพนักงานอื่น ให้เจ้าพนักงานนั้นกล่าวไว้ด้วยว่าได้รับ คำสั่งหรือคำขอเช่นนั้น และแสดงด้วยว่าได้ทำไปอย่างใด
ห้ามเจ้าพนักงานผู้ทำบันทึกลงลายมือชื่อของตนในบันทึกนั้น

มาตรา 10: ถ้อยคำสำนวนต้องระบุชื่อศาล สถานที่ และวันเดือนปี ที่จด ถ้าศาลจดถ้อยคำสำนวนตามคำสั่งหรือประเด็นของศาลอื่น ให้กล่าวเช่นนั้นและแสดงด้วยว่าได้ทำไปอย่างใด
ผู้พิพากษาที่จดถ้อยคำสำนวน ต้องลงลายมือชื่อของตนในถ้อย คำสำนวนนั้น

มาตรา 11: บันทึกหรือถ้อยคำสำนวนนั้น ให้เจ้าพนักงานหรือศาล อ่านให้ผู้ให้ถ้อยคำฟัง ถ้ามีข้อความแก้ไข ทักท้วง หรือเพิ่มเติม ให้ แก้ให้ถูกต้องหรือมิฉะนั้นก็ให้บันทึกไว้ และให้ผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อ รับรองว่าถูกต้องแล้ว
ถ้าบุคคลที่ต้องลงลายมือชื่อในบันทึกหรือถ้อยคำสำนวนไม่สามารถ หรือไม่ยอมลง ให้บันทึกหรือรายงานเหตุนั้นไว้

มาตรา 12: เอกสารซึ่งศาลหรือเจ้าพนักงานเป็นผู้ทำ คำร้องทุกข์ คำกล่าวโทษ คำให้การจำเลยหรือคำร้องซึ่งยื่นต่อเจ้าพนักงานหรือ ศาลจักต้องเขียนด้วยน้ำหมึกหรือพิมพ์ดีดหรือพิมพ์ ถ้ามีผิดที่ใดห้าม มิให้ลบออก ให้เพียงแต่ขีดฆ่าคำผิดนั้นแล้วเขียนใหม่ ผู้พิพากษา เจ้าพนักงานหรือบุคคลผู้แก้ไขเช่นนั้นต้องลงนามย่อรับรองไว้ที่ข้าง กระดาษ
ถ้อยคำตกเติมในเอกสารดั่งบรรยายใน มาตรานี้ ต้องลงนามย่อ ของผู้พิพากษา เจ้าพนักงานหรือบุคคลผู้ซึ่งตกเติมนั้นกำกับไว้

มาตรา 12ทวิ ในการร้องทุกข์ การสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง และการพิจารณาถ้าบทบัญญัติใดกำหนดให้มีนักจิตวิทยาหรือ นักสังคมสงเคราะห์เข้าร่วมด้วยแล้ว นักจิตวิทยาหรือนักสังคม สงเคราะห์ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งได้รับค่า ตอบแทนตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยได้รับความ เห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ แก้ไขครั้งสุดท้าย โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉ.20) พ.ศ.2542

มาตรา 13: การสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ให้ใช้ ภาษาไทยแต่ถ้ามีการจำเป็นต้องแปลภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ หรือภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ก็ให้ใช้ล่ามแปล
เมื่อมีล่ามแปลคำให้การ คำพยานหรืออื่น ๆ ล่ามต้องแปลให้ ถูกต้องล่ามต้องสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะทำหน้าที่โดยสุจริตใจ จะไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล
ห้ามล่ามลงลายมือชื่อในคำแปลนั้น
ในกรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยานไม่สามารถพูดหรือ เข้าใจภาษาไทยได้และไม่มีล่าม ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลจัดหาล่ามให้โดยมิชักช้า
ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลสั่งจ่ายค่าป่วยการ แก่ล่ามที่จัดหาให้ตามามตรานี้ตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทย สำนักงานอัยการสูงสุด หรือกระทรวงยุติธรรม แล้วแต่กรณี กำหนด โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2539

มาตรา 13ทวิ ในกรณีผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยาน ไม่สามารถพูดหรือได้ยิน หรือสื่อความหมายได้และไม่มีล่ามภาษามือ ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลจัดหาล่ามภาษามือให้ หรือจัดให้ถาม ตอบหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่นที่เห็นสมควร
ห้ามพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลสั่งจ่ายค่าป่วยการ แก่ล่ามภาษามือที่จัดหาให้ตาม มาตรานี้ ตามระเบียบที่กระทรวง มหาดไทย สำนักงานอัยการสูงสุด หรือกระทรวงยุติธรรม แล้วแต่กรณี กำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง"
หมายเหตุ แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2539

มาตรา 14: ในระหว่างทำการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริต และไม่สามารถ ต่อสู้คดีได้ให้พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี สั่งให้ พนักงานแพทย์ตรวจผู้นั้น เสร็จแล้วให้เรียกพนักงานแพทย์ผู้นั้นมา ให้ถ้อยคำ หรือให้การว่าตรวจได้ผลประการใด
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้งดการสอบสวนไต่สวน มูลฟ้องหรือพิจารณาไว้จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะ ต่อสู้คดีได้ และให้มีอำนาจส่งตัวผู้นั้นไปยังโรงพยาบาลโรคจิต หรือมอบให้แก่ผู้อนุบาลข้าหลวงประจำจังหวัดหรือผู้อื่นที่เต็มใจรับ ไปดูแลรักษาก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร
กรณีที่ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาดั่งบัญญัติไว้ใน วรรคก่อนศาลสั่งจำหน่ายคดีเสียชั่วคราวก็ได้

มาตรา 15**: วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติ ไว้โดยเฉพาะ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้

ลักษณะ2 อำนาจพนักงานสอบสวนและศาล

หมวด1 ลักษณะทั่วไป

มาตรา 16: อำนาจศาล อำนาจผู้พิพากษา อำนาจพนักงานอัยการ และอำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ในการที่จะปฏิบัติ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมาย และข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยการจัดตั้งศาลยุติธรรม และระบุ อำนาจและหน้าที่ของผู้พิพากษา หรือซึ่งว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ ของพนักงานอัยการหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจนั้น ๆ

หมวด2 อำนาจสืบสวนและสอบสวน

มาตรา 17: พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการ สืบสวนคดีอาญาได้

มาตรา 18*: ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัด ธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และ ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่า นายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหา มีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้
สำหรับในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ข้าราชการตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรี ขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือ เชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับ ภายในเขตอำนาจของตนได้
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน มาตรา 19 มาตรา 20 และ มาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดย ปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้น เป็นผู้รับผิดชอบในการ สอบสวนความผิดนั้น ๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือ เพื่อความสะดวก จึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่ อยู่หรือถูกจับ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบสวน
ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคน การดำเนินการ สอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้า ในท้องที่นั้นหรือผู้รักษาการแทน

มาตรา 19*: ในกรณีดั่งต่อไปนี้
(1) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดใน ระหว่างหลายท้องที่
(2) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่มีอีกส่วนหนึ่ง ในอีกท้องที่หนึ่ง
(3) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกัน ในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป
(4) เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน
(5) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง
(6) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง
พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจ สอบสวนได้
ในกรณีข้างต้นพนักงานสอบสวนต่อไปนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการ สอบสวน
(ก) ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับ ได้อยู่ในเขตอำนาจ
(ข) ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้ คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการ กระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจ

มาตรา 20*: ถ้าความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลง นอกราชอาณาจักรไทย ให้อธิบดีกรมอัยการหรือผู้รักษาการแทน เป็นพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่นั้นให้ พนักงานสอบสวนคนใดก็ได้
ในกรณีจำเป็น พนักงานสอบสวนต่อไปนี้ มีอำนาจสอบสวนใน
ระหว่างรอคำสั่งจากอธิบดีกรมอัยการหรือผู้รักษาการแทน
(1) พนักงานสอบสวน ซึ่งผู้ต้องหาถูกจับในเขตอำนาจ
(2) พนักงานสอบสวน ซึ่งรัฐบาลประเทศอื่นหรือบุคคลที่ได้รับ
ความเสียหายได้ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา

มาตรา 21*: ในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัด เดียวกันควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้ข้าหลวงประจำ จังหวัดนั้นมีอำนาจชี้ขาด แต่ในจังหวัดพระนครและธนบุรี ให้ผู้บังคับ บัญชาของพนักงานสอบสวนซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่รองอธิบดีกรมตำรวจ ขึ้นไปเป็นผู้ชี้ขาด
ในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในระหว่างหลายจังหวัด ควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้อธิบดีกรมอัยการหรือ ผู้ทำการแทนเป็นผู้ชี้ขาด
การรอคำชี้ขาด ไม่เป็นเหตุให้งดการสอบสวน

หมวด3 อำนาจศาล

มาตรา 22*: เมื่อความผิดเกิดขึ้น อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้น แต่ถ้า
(1) เมื่อจำเลยมีที่อยู่หรือถูกจับในท้องที่หนึ่งหรือเมื่อเจ้าพนักงาน ทำการสอบสวนในท้องที่หนึ่งนอกเขตของศาลดั่งกล่าวแล้ว จะชำระ ที่ศาลซึ่งท้องที่นั้น ๆ อยู่ในเขตอำนาจก็ได้
(2) เมื่อความผิดเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรไทย ให้ชำระคดีนั้น ที่ศาลอาญา ถ้าการสอบสวนได้กระทำลงในท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ในเขต ของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้นได้ด้วย

มาตรา 23*: เมื่อศาลแต่สองศาลขึ้นไปต่างมีอำนาจชำระคดี ถ้าได้ ยื่นฟ้องคดีนั้นต่อศาลหนึ่งซึ่งตามฟ้องความผิดมิได้เกิดในเขต โจทก์ หรือจำเลยจะร้องขอให้โอนคดีไปชำระที่ศาลอื่นซึ่งความผิดได้เกิด ในเขตก็ได้
ถ้าโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลซึ่งความผิดเกิดในเขต แต่ต่อมาความ ปรากฏแก่โจทก์ว่าการพิจารณาคดีจะสะดวกยิ่งขึ้นถ้าให้อีกศาลหนึ่ง ซึ่งมีอำนาจชำระคดีได้พิจารณาคดีนั้น โจทก์จะยื่นคำร้องต่อศาลซึ่ง คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาขอโอนคดีไปยังอีกศาลหนึ่งก็ได้ แม้ว่าจำเลยจะคัดค้านก็ตามเมื่อศาลเห็นสมควรจะโอนคดีหรือ ยกคำร้องเสียก็ได้

มาตรา 24*: เมื่อความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันโดยเหตุหนึ่งเหตุใด เป็นต้น
(1) ปรากฏว่าความผิดหลายฐาน ได้กระทำลงโดยผู้กระทำผิด คนเดียวกัน หรือผู้กระทำผิดหลายคนเกี่ยวพันกันในการกระทำความ ผิดฐานหนึ่งหรือหลายฐาน จะเป็นตัวการ ผู้สมรู้หรือรับของโจรก็ตาม
(2) ปรากฏว่าความผิดหลายฐานได้กระทำลงโดยมีเจตนาอย่างเดียว กัน หรือโดยผู้กระทำผิดทั้งหลายได้คบคิดกันมาแต่ก่อนแล้ว
(3) ปรากฏว่าความผิดฐานหนึ่งเกิดขึ้น โดยมีเจตนาช่วยผู้ กระทำผิดอื่นให้พ้นจากรับโทษในความผิดอย่างอื่นซึ่งเขาได้กระทำไว้
ดั่งนี้จะฟ้องคดีทุกเรื่อง หรือฟ้องผู้กระทำความผิดทั้งหมดต่อศาล ซึ่งมีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าไว้ก็ได้
ถ้าความผิดอันเกี่ยวพันกันมีอัตราโทษอย่างสูงเสมอกัน ศาลซึ่ง มีอำนาจชำระ ก็คือศาลซึ่งรับฟ้องเรื่องหนึ่งเรื่องใดในความผิด เกี่ยวพันกันนั้นไว้ก่อน

มาตรา 25: ศาลซึ่งรับฟ้องคดีเกี่ยวพันกันไว้จะพิจารณาพิพากษา รวมกันไปก็ได้
ถ้าศาลซึ่งรับฟ้องคดีเกี่ยวพันกันไว้ เห็นว่าเป็นการสมควรที่ความ ผิดฐานหนึ่ง ควรได้ชำระในศาลซึ่งตามปกติมีอำนาจจะชำระ ถ้า หากว่าคดีนั้นไม่เกี่ยวกับคดีเกี่ยวพันกัน เมื่อศาลเดิมได้ตกลงกับอีก ศาลหนึ่งแล้ว จะสั่งให้ไปฟ้องยังศาลอื่นนั้นก็ได้

มาตรา 26*: หากว่าตามลักษณะของความผิด ฐานะของจำเลย จำนวนจำเลย ความรู้สึกของประชาชนส่วนมากแห่งท้องถิ่นนั้น หรือ เหตุผลอย่างอื่น อาจมีการขัดขวางต่อการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา หรือน่ากลัวว่าจะเกิดความไม่สงบหรือเหตุร้ายอย่างอื่นขึ้น เมื่อ โจทก์หรือจำเลยยื่นเรื่องราวต่ออธิบดีศาลฎีกา ขอให้โอนคดีไปศาลอื่น ถ้าอธิบดีศาลฎีกาอนุญาตตามคำขอนั้นก็ให้สั่งโอนคดีไปยังศาลดั่งที่ อธิบดีศาลฎีการะบุไว้
คำสั่งของอธิบดีศาลฎีกาอย่างใด ย่อมเด็ดขาดเพียงนั้น

มาตรา 27: ผู้พิพากษาในศาลใดซึ่งชำระคดีอาญา จะถูกตั้งรังเกียจ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติ ไว้ในเรื่องนั้นก็ได้

ลักษณะ3 การฟ้องคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา

หมวด1 การฟ้องคดีอาญา

มาตรา 28**: บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล
(1) พนักงานอัยการ
(2) ผู้เสียหาย

มาตรา 29**: เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบ สันดานสามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้
ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้เยาว์ ผู้วิกลจริต หรือผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้แทนเฉพาะคดีได้ยื่นฟ้อง แทนไว้แล้ว ผู้ฟ้องแทนนั้นจะว่าคดีต่อไปก็ได้

มาตรา 30**: คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่าง พิจารณาก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้

มาตรา 31*: คดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหาย ยื่นฟ้องแล้ว พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ใน ระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดก็ได้

มาตรา 32*: เมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าผู้เสียหายจะกระทำให้คดีของอัยการเสียหาย โดยกระทำหรือละเว้นกระทำการใด ๆ ในกระบวนพิจารณา พนักงาน อัยการมีอำนาจร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายกระทำหรือละเว้นกระทำ การนั้น ๆ ได้

มาตรา 33*: คดีอาญาเรื่องเดียวกันซึ่งทั้งพนักงานอัยการและ ผู้เสียหายต่างได้ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นศาลเดียวกันหรือต่างศาลกัน ศาลนั้น ๆ มีอำนาจสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน เมื่อศาล เห็นชอบโดยพลการหรือโดยโจทก์ยื่นคำร้องในระยะใดก่อนมี คำพิพากษา
แต่ทว่าจะมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับความยินยอม ของศาลอื่นนั้นก่อน

มาตรา 34**: คำสั่งไม่ฟ้องคดี หาตัดสิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีโดยตนเองไม่

มาตรา 35*: คำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญาจะยื่นเวลาใดก่อนมี คำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือมิอนุญาต ให้ถอนก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรประการใด ถ้าคำร้องนั้นได้ยื่น ในภายหลังเมื่อจำเลยให้การแก้คดีแล้ว ให้ถามจำเลยว่าจะคัดค้าน หรือไม่ แล้วให้ศาลจดคำแถลงของจำเลยไว้ ในกรณีที่จำเลยคัดค้าน การถอนฟ้อง ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย
คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใด ก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แต่ถ้าจำเลยคัดค้าน ให้ศาลยกคำร้องขอถอน ฟ้องนั้นเสีย

มาตรา 36**: คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว จะนำมาฟ้อง อีกหาได้ไม่ เว้นแต่จะเข้าอยู่ในข้อยกเว้นต่อไปนี้
(1) ถ้าพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อ ส่วนตัวไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นไป การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหาย ที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่
(2) ถ้าพนักงานอัยการถอนคดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวไปโดย มิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย การถอนนั้นไม่ตัด สิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่
(3) ถ้าผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีอาญาไว้แล้ว ได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ เว้นแต่ คดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว

มาตรา 37**: คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้
(1) ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่า ปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน ศาลพิจารณา
(2) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดที่มีอัตราโทษ ไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูง ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับ ตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว
(3) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดที่มีอัตราโทษ ไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูง ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทซึ่งเกิดในกรุงเทพมหานคร เมื่อผู้ต้องหาชำระ ค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทำการในตำแหน่งนั้น ๆ ได้เปรียบ เทียบแล้ว
(4) ในคดีซึ่งเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อผู้ต้องหาได้ ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว

มาตรา 38**: ความผิดตามอนุ มาตรา (2) ,(3) และ (4) แห่งก่อน ถ้าเจ้าพนักงานดั่งกล่าวใน นั้นเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับ โทษถึงจำคุก ให้มีอำนาจเปรียบเทียบดั่งนี้
(1) ให้กำหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึงชำระ ถ้าผู้ต้องหาและ ผู้เสียหายยินยอมตามนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวน ที่เจ้าหน้าที่กำหนดให้ภายในเวลาอันสมควร แต่ไม่เกินสิบห้าวันแล้ว คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาด
ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้ว ไม่ชำระเงินค่าปรับภายในเวลากำหนดในวรรคก่อน ให้ดำเนินคดีต่อไป
(2) ในคดีมีค่าทดแทน ถ้าผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมให้ เปรียบเทียบให้เจ้าหน้าที่กะจำนวนตามที่เห็นควรหรือตามที่คู่ความ ตกลงกัน

มาตรา 39**: สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้
(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด
(2**) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
(3) เมื่อคดีเลิกกันตาม มาตรา 37
(4**) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
(5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิด เช่นนั้น
(6) เมื่อคดีขาดอายุความ
(7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ

หมวด2 การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา

มาตรา 40*: การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะฟ้องต่อ ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาหรือต่อศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้ การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 41*: ถ้าการพิจารณาคดีแพ่งจักทำให้การพิจารณาคดีอาญา เนิ่นช้าหรือติดขัด ศาลมีอำนาจสั่งให้แยกคดีแพ่งออกจากคดีอาญา และพิจารณาต่างหากโดยศาลที่มีอำนาจชำระ

มาตรา 42*: ในการพิจารณาคดีแพ่ง ถ้าพยานหลักฐานที่นำสืบแล้ว ในคดีอาญายังไม่เพียงพอ ศาลจะเรียกพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติม อีกก็ได้
ในกรณีเช่นนั้น ศาลจะพิพากษาคดีอาญาไปทีเดียว ส่วนคดีแพ่ง จะพิพากษาในภายหลังก็ได้

มาตรา 43**: คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอกหรือรับของโจร ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะ เรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคา แทนผู้เสียหายด้วย

มาตรา 44: การเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนตาม มาตรา ก่อนพนักงาน อัยการจะขอรวมไปกับคดีอาญาหรือจะยื่นคำร้องในระยะใดระหว่าง ที่คดีอาญากำลังพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นก็ได้
คำพิพากษาในส่วนเรียกทรัพย์สินหรือราคา ให้รวมเป็นส่วนหนึ่ง แห่งคำพิพากษาในคดีอาญา

มาตรา 45*: คดีเรื่องใดถึงแม้ว่าได้ฟ้องในทางอาญาแล้วก็ไม่ตัดสิทธิ ผู้เสียหายที่จะฟ้องในทางแพ่งอีก

มาตรา 46**: ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริง ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

มาตรา 47: คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้อง คำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่
ราคาทรัพย์สินที่สั่งให้จำเลยใช้แก่ผู้เสียหาย ให้ศาลกำหนดตาม ราคาอันแท้จริง ส่วนจำนวนเงินค่าทดแทนที่ผู้เสียหายจะได้รับนั้น ให้ศาลกำหนดให้ตามความเสียหายแต่ต้องไม่เกินคำขอ

มาตรา 48: เมื่อศาลพิพากษาให้คืนทรัพย์สิน แต่ยังไม่ปรากฏตัว เจ้าของเมื่อใดปรากฏตัวเจ้าของแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ซึ่งรักษาของคืน ของนั้นให้แก่เจ้าของไป
ในกรณีที่ปรากฏตัวเจ้าของ ให้ศาลพิพากษาสั่งให้เจ้าหน้าที่ซึ่ง รักษาของคืนของนั้นให้แก่เจ้าของไป
เมื่อมีการโต้แย้งกัน ให้บุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าของอันแท้จริงใน ทรัพย์สินนั้นฟ้องเรียกร้องยังศาลที่มีอำนาจชำระ

มาตรา 49: แม้จะไม่มีฟ้องคดีส่วนแพ่งก็ตาม เมื่อพิพากษาคดี ส่วนอาญาศาลจะสั่งให้คืนทรัพย์สินของกลางแก่เจ้าของก็ได้

มาตรา 50: ในกรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาแก่ผู้ เสียหายตาม มาตรา 43 และ 44 ให้ถือว่าผู้เสียหายนั้นเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษา

มาตรา 51*: ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องทางอาญา สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้อง ทางแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดเวลาดั่งที่ กฎหมายลักษณะอาญาบัญญัติไว้ในเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญา แม้ถึงว่าผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตใน มาตรา 183 แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์จะเป็นผู้ฟ้องหรือได้ฟ้องต่างหากจากคดีอาญาก็ตาม
ถ้าคดีอาญาใดได้ฟ้องต่อศาลแล้ว แต่คดียังไม่เด็ดขาดอายุความ ซึ่งผู้เสียหายมีสิทธิจะฟ้องคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตาม มาตรา 79 แห่งกฎหมายลักษณะอาญา
ถ้าโจทก์ได้ฟ้องคดีอาญาและศาลพิพากษาลงโทษจำเลยจนคดี เด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้อง คดีแพ่งย่อมมีตามกำหนดอายุความใน มาตรา 168 แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ถ้าโจทก์ได้ฟ้องคดีอาญาและศาลพิพากษายกฟ้องปล่อยจำเลย จนคดีเด็ดขาดแล้วก่อนที่ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่ง สิทธิของผู้เสียหายจะ ฟ้องคดีแพ่งย่อมมีอายุความตามหลักทั่วไปในเรื่องอายุความแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ลักษณะ 4 หมายเรียกและหมายอาญา

หมวด1 หมายเรียก

มาตรา 52: การที่จะให้บุคคลใดมาที่พนักงานสอบสวนหรือมาที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่หรือมาศาลเนื่องในการ สอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาคดี หรือการอย่างอื่นตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้จักต้องมีหมายเรียกของพนักงาน สอบสวนหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือของศาล แล้วแต่กรณี
แต่ในกรณีที่พนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ไปทำการสอบสวนด้วยตนเอง ย่อมมีอำนาจที่ จะเรียกผู้ต้องหาหรือพยานมาได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียก

มาตรา 53: หมายเรียกต้องทำเป็นหนังสือ และมีข้อความดั่งต่อไปนี้
(1) สถานที่ออกหมาย
(2) วันเดือนปีที่ออกหมาย
(3) ชื่อและตำบลที่อยู่ของบุคคลที่ออกหมายเรียกให้มา
(4) เหตุที่ต้องเรียกผู้นั้นมา
(5) สถานที่ วันเดือนปีและเวลาที่จะให้ผู้นั้นไปถึง
(6) ลายมือชื่อและประทับตราของศาล หรือลายมือชื่อและตำแหน่ง เจ้าพนักงานผู้ออกหมาย

มาตรา 54: ในการกำหนดวันและเวลาที่จะให้มาตามหมายเรียกนั้น ให้พึงระลึกถึงระยะทางใกล้ไกล เพื่อให้ผู้ถูกเรียกมีโอกาสมาถึงตาม วันเวลากำหนดในหมาย

มาตรา 55: การส่งหมายเรียกแก่ผู้ต้องหา จะส่งให้แก่บุคคลผู้อื่น ซึ่งมิใช่สามีภริยา ญาติหรือผู้ปกครองของผู้รับหมายรับแทนนั้นไม่ได้

มาตรา 56: เมื่อบุคคลที่รับหมายเรียกอยู่ต่างท้องที่กับท้องที่ซึ่ง ออกหมายเป็นหมายศาลก็ให้ส่งไปศาล เป็นหมายพนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจที่มีอำนาจออกหมายเรียกซึ่งผู้ถูกเรียกอยู่ใน ท้องที่ เมื่อศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับหมาย เช่นนั้นแล้วก็ให้สลักหลังหมายแล้วจัดการส่งแก่ผู้รับต่อไป

หมวด2 หมายอาญา

ส่วนที่1 หลักทั่วไป

มาตรา 57**: ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน มาตรา 78 , 79 , 80 , 92 และ 94 แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะจับ ขัง จำคุกหรือค้นในที่รโหฐาน หาตัวคนหรือสิ่งของ ต้องมีหมายอาญาสำหรับการนั้น
บุคคลที่ต้องขังหรือจำคุกตามหมายศาล จะปล่อยไปได้ก็เมื่อ มีหมายปล่อยของศาล

มาตรา 58*: เจ้าพนักงานและศาลมีอำนาจออกหมายอาญาได้ ภายในเขตอำนาจดั่งต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นหมายจับผู้ต้องหาที่มิได้อยู่ในอำนาจศาล ได้แก่พนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่
(2) ถ้าเป็นหมายจับจำเลยหรือผู้ต้องหาที่อยู่ในอำนาจศาลได้ แก่ศาล
(3) ถ้าเป็นหมายค้น ได้แก่ศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือ ตำรวจชั้นผู้ใหญ่
(4) ถ้าเป็นหมายขัง จำคุกหรือปล่อย ได้แก่ศาล

มาตรา 59*: เจ้าพนักงานหรือศาลผู้มีอำนาจออกหมายจับหมายค้น หรือหมายขัง จะออกหมายนั้นโดยพลการหรือโดยมีผู้ร้องขอก็ได้
ในกรณีที่มีผู้ร้องขอ เจ้าพนักงานหรือศาลผู้ออกหมายจะต้องสอบ ให้ปรากฏเหตุผลสมควรที่จะออกหมายนั้นเสียก่อน เหตุผลนี้จะได้ มาจากคำแจ้งความโดยสาบานตัวหรือจากพฤติการณ์อย่างอื่นก็ได้

มาตรา 60*: หมายจับ ค้น ขัง จำคุกหรือปล่อย ต้องทำเป็นหนังสือ และมีข้อความดั่งต่อไปนี้
(1) สถานที่ที่ออกหมาย
(2) วันเดือนปีที่ออกหมาย
(3) เหตุที่ต้องออกหมาย
(4) (ก) ในกรณีออกหมายจับต้องระบุชื่อหรือรูปพรรณของบุคคล ที่จะจับ
(ข) ในกรณีออกหมายขัง จำคุกหรือปล่อย ต้องระบุชื่อบุคคล ที่จะถูกขัง จำคุกหรือปล่อย
(ค) ในกรณีออกหมายค้น ให้ระบุสถานที่ที่จะค้นและชื่อหรือ รูปพรรณบุคคล หรือลักษณะสิ่งของที่ต้องการค้นกำหนด วันเวลาที่จะทำการค้น และชื่อกับตำแหน่งของเจ้าพนักงาน ผู้จะทำการค้นนั้น
(5) (ก) ในกรณีออกหมายจับ หมายขังหรือหมายค้นให้ระบุความผิด
(ข) ในกรณีออกหมายจำคุก ให้ระบุความผิดและกำหนดโทษ ตามคำพิพากษา
(ค) ในกรณีออกหมายขังหรือจำคุก ให้ระบุสถานที่ซึ่งจะให้ขัง หรือจำคุก
(ง) ในกรณีออกหมายปล่อย ให้ระบุเหตุที่ให้ปล่อย
(6) ลายมือชื่อและประทับตราของศาล หรือลายมือชื่อและ ตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้ออกหมาย

มาตรา 61*: ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 97 พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจมีอำนาจและหน้าที่จัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา ซึ่ง ได้มอบหรือส่งมาให้จัดการภายในอำนาจของเขา
หมายอาญาใดซึ่งศาลได้ออกหรือสลักหลัง จะมอบหรือส่งไปยัง พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งอยู่ภายในเขตอำนาจของศาล ดั่งระบุในหมาย หรือแก่หัวหน้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ประจำจังหวัดหรืออำเภอ ซึ่งจะให้จัดการให้เป็นไปตามหมายนั้นก็ได้
ในกรณีหลัง เจ้าพนักงานผู้ได้รับหมายต้องรับผิดชอบในการจัดการ ตามหมายนั้น จะจัดการเองหรือสั่งให้เจ้าพนักงานรองลงไปจัดการ ให้ก็ได้ หรือจะมอบหรือส่งสำเนาหมายอันรับรองว่าถูกต้องให้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจคนอื่นซึ่งมีหน้าที่จัดการตามหมาย ซึ่งตนได้รับนั้นก็ได้ ถ้าหมายนั้นได้มอบส่งให้แก่เจ้าพนักงานตั้งแต่ สองนายขึ้นไป เจ้าพนักงานจะจัดการตามหมายนั้นแยกกันหรือร่วมกัน ก็ได้
หมายอาญาใดซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็น ผู้ออก เจ้าพนักงานนั้นจะจัดการตามหมายด้วยตนเองภายในเขต อำนาจหรือจะจัดการให้เป็นไปดั่งบัญญัติไว้ในวรรค 2 และ 3 ก็ได้

มาตรา 62: ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวล กฎหมายนี้ซึ่งว่าด้วยการจับและค้น เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมาย นั้นต้องแจ้งข้อความในหมายให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบและถ้ามีคำขอร้อง ให้ส่งหมายนั้นให้เขาตรวจดู
การแจ้งข้อความในหมาย การส่งหมายให้ตรวจดูและวันเดือนปี ที่จัดการเช่นนั้น ให้บันทึกไว้ในหมายนั้น

มาตรา 63: เมื่อเจ้าพนักงานได้จัดการตามหมายอาญาแล้วให้ บันทึกรายละเอียดในการจัดการนั้น ถ้าจัดการตามหมายไม่ได้ให้ บันทึกพฤติการณ์ไว้ แล้วให้ส่งบันทึกนั้นไปยังเจ้าหน้าที่ผู้ออกหมาย โดยเร็ว

มาตรา 64: ถ้าบุคคลที่มีชื่อในหมายอาญาถูกจับ หรือบุคคลหรือ สิ่งของที่มีหมายให้ค้นได้พบแล้ว ถ้าสามารถจะทำได้ ก็ให้ส่งบุคคล หรือสิ่งของนั้นโดยด่วนไปยังผู้ออกหมายเว้นแต่จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

มาตรา 65: ถ้าบุคคลที่ถูกจับตามหมายหลบหนีหรือมีผู้ช่วยให้ หนีไปได้เจ้าพนักงานผู้จับมีอำนาจติดตามจับกุมผู้นั้นโดยไม่ต้องมี หมายอีก

ส่วนที่ 2 หมายจับ

มาตรา 66**: เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดั่งต่อไปนี้
(1) เมื่อผู้ต้องหาซึ่งถูกสงสัยโดยมีเหตุอันควร หรือจำเลยเป็น ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
(2) เมื่อความผิดที่ผู้ต้องหาถูกสงสัยโดยมีเหตุอันควรหรือที่จำเลย ถูกฟ้องนั้น มีอัตราโทษอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไป
(3) เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งไม่ได้ถูกควบคุมหรือขังอยู่ไม่มา ตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรก็ดี ได้หนีไปก็ดี มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะหลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน โดยทางตรง หรือทางอ้อมก็ดี
(4) เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลย ซึ่งถูกปล่อยชั่วคราวมิสามารถทำ สัญญาประกันให้จำนวนเงินสูงกว่าเดิมหรือหาหลักประกันมาเพิ่ม หรือให้ดีกว่าเดิมตาม มาตรา 115

มาตรา 67: จะออกหมายจับบุคคลที่ยังไม่รู้จักชื่อก็ได้แต่ต้องบอก รูปพรรณของผู้นั้นให้ละเอียดเท่าที่จะทำได้

มาตรา 68: หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิด อาญาตามหมายนั้นขาดอายุความ หรือเจ้าพนักงานหรือศาลผู้ออก หมายนั้นได้ถอนหมายคืน

ส่วนที่3 หมายค้น

มาตรา 69**: เหตุที่จะออกหมายค้นได้มีดั่งต่อไปนี้
(1) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานประกอบการ สอบสวนไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา
(2) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยผิด กฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือตั้งใจจะใช้ในการกระทำ ความผิด
(3) เพื่อพบและช่วยบุคคลซึ่งได้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(4) เพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ
(5) เพื่อพบและยึดสิ่งของตามคำพิพากษาหรือตามคำสั่งศาล ในกรณีที่จะพบหรือจะยึดโดยวิธีอื่นไม่ได้แล้ว

มาตรา 70: หมายค้นซึ่งออกเพื่อพบและจับบุคคลนั้นห้ามมิให้ออก เว้นแต่จะมีหมายจับบุคคลนั้นด้วย และเจ้าพนักงานซึ่งจะจัดการตาม หมายค้นนั้นต้องมีทั้งหมายค้นและหมายจับ

ส่วนที่ 4 หมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย

มาตรา 71*: เมื่อจับผู้ต้องหาหรือจำเลยได้มาแล้ว ในระยะใด ระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขัง ผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ก็ได้
ในระหว่างสอบสวน พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนมี อำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังตามความใน มาตรา 87
ในระหว่างไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขัง โดยพลการหรือโดยโจทก์ยื่นคำร้องก็ได้
หมายขังคงใช้ได้อยู่จนกว่าศาลจะได้เพิกถอน โดยออกหมาย ปล่อยหรือออกหมายจำคุกแทน

มาตรา 72: หมายปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งต้องขังอยู่ตาม หมายศาลให้ออกในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อศาลสั่งปล่อยชั่วคราว
(2) เมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนขอให้ศาลปล่อย โดยเห็นว่าไม่จำเป็นต้องขังไว้ระหว่างสอบสวน
(3) เมื่อพนักงานอัยการร้องต่อศาลว่าได้ยุติการสอบสวนแล้ว
โดยคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา
(4) เมื่อพนักงานอัยการไม่ฟ้องผู้ต้องหาในเวลาที่ศาลกำหนด
(5) เมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลและสั่งให้ยกฟ้อง เว้นแต่เมื่อโจทก์ร้องขอและศาลเห็นสมควรให้ขังจำเลยไว้ระหว่าง อุทธรณ์ฎีกา
(6) เมื่อโจทก์ถอนฟ้องหรือมีการยอมความในคดีความผิดต่อ ส่วนตัว หรือเมื่อศาลพิจารณาแล้วพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ยกฟ้อง เว้นแต่ศาลเห็นสมควรให้ขังจำเลยไว้ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา
(7) เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษจำเลยอย่างอื่นซึ่งไม่ใช่โทษ ประหารชีวิตจำคุก หรือให้อยู่ภายในเขตที่อันมีกำหนดถ้าโทษ อย่างอื่นนั้นเป็นโทษปรับเมื่อจำเลยได้เสียค่าปรับแล้ว หรือศาล ให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีกำหนดวันเพื่อให้จำเลยหาเงินค่าปรับมา ชำระต่อศาล

มาตรา 73: คดีใดอยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกา ถ้าจำเลยต้องควบคุม หรือขังมาแล้วเท่ากับหรือเกินกว่ากำหนดจำคุก หรือกำหนดจำคุก แทนตามคำพิพากษาให้ศาลออกหมายปล่อยจำเลย เว้นแต่จะเห็น สมควรเป็นอย่างอื่นในกรณีที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ

มาตรา 74: ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 73 และ 185 วรรค 2 เมื่อ ผู้ใดต้องคำพิพากษาให้จำคุกหรือประหารชีวิตหรือจะต้องจำคุกแทน ค่าปรับ ให้ศาลออกหมายจำคุกผู้นั้นไว้

มาตรา 75: เมื่อผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุกถูกจำครบกำหนดแล้ว หรือได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ปล่อย หรือมีคำวินิจฉัยให้ปล่อย ตัวไปโดยมีเงื่อนไขหรือมีกฎหมายยกเว้นโทษหรือโทษจำคุกนั้น หมดไปโดยเหตุอื่น ให้ศาลออกหมายปล่อยผู้นั้นไป

มาตรา 76: หมายขัง หมายจำคุก หรือหมายปล่อย ต้องจัดการ ตามนั้นโดยพลัน




 

Create Date : 17 ตุลาคม 2548
16 comments
Last Update : 18 ตุลาคม 2548 0:29:06 น.
Counter : 1397 Pageviews.

 

^ข้างบนจะเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้ามาแล้วเห็นเปลี่ยนไปเปลี่ยนมานะคะ

 

โดย: ไร้นาม 18 ตุลาคม 2548 0:07:20 น.  

 

เริ่มมีการตกแต่งเปลี่ยนแปลงบางประการจาก blog นี้

 

โดย: noom_no1 19 ตุลาคม 2548 0:28:44 น.  

 

หนูอุ๊ ไปดูหนังสือที่เราซื้อมาจากงานหนังสือได้ที่ blog เราจ้า

คิดถึงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ถ้ามีอะไรไม่สบายใจ บอกเราได้นะจ๊ะ ถึงตัวจะห่าง แต่ใจอยู่ใกล้หนูอุ๊เสมอ หุ หุ หุ

 

โดย: ชาบุ 19 ตุลาคม 2548 19:11:46 น.  

 

--- คุณ noom_no1 ---

ดีจัง มีคนสังเกตุว่าเราแต่ง blog

--- ชาบุ ---

มีไม่สบายตัวจ้า เป็นไข้ ไอจาม ตัวร้อน นอนซม
พรุ่งนี้สอบอีกละ อ่านหนังสือก็มึนๆ (จากไข้)
ตายแน่เลย ฮือๆ

หมายเหตุ: ทำน้องไกรติดไข้ด้วย เป็นพี่ที่ดีจริงจริ๊ง
ไม่รู้จะพากันผ่าน หรือพากันตกล่ะงานนี้

 

โดย: ไร้นาม 19 ตุลาคม 2548 19:43:56 น.  

 

เราเองก็สังเกตเห็นจ้ะ
ชอบรูปตรงมุมข้างบนจัง
เรียบง่ายสบายใจ

 

โดย: Wirincity 20 ตุลาคม 2548 1:35:35 น.  

 

--- คุณ wirincity ---

ขอบคุณสำหรับรูปสวยๆ ที่นำมาฝากทุกทีนะคะ

 

โดย: ไร้นาม 20 ตุลาคม 2548 19:59:29 น.  

 

น่ารัก

 

โดย: noom_no1 20 ตุลาคม 2548 23:51:02 น.  

 

รักษาสุขภาพนะจ๊ะ

อย่าหักโหมมากนักน้า เก็บแรงไว้ไปเที่ยวกับเราดีกว่า

 

โดย: ชาบุ 21 ตุลาคม 2548 8:31:07 น.  

 

อุ๊สอบเป็นไงมั่ง สู้สู้นะจ๊ะ

คิดถึงซาเหมอ...
(เมื่อวานน้องเปาโทรมา่ึคุยบอกว่าพี่ๆเพื่อนๆไปงานกันหลายคน พี่ชมพู่ก็ไปนะ)

 

โดย: เป่าจิน 21 ตุลาคม 2548 13:59:12 น.  

 

--- คุณ noom_no1 ---

จะกินกระต่ายข้างบนหรือคะ บรื้อๆ


--- ชาบุ ---

ไปๆ
ฮัดเช้ย (ยังป่วยอยู่)


--- เป่าจิน ---

สอบไปสามวิชา เหลืออีกหก
เฉลี่ย แล้ว อ่านสองวันก่อนสอบ
พรุ่งเช้านี้สอบวิชาปีสี่ จะผ่านไหมเนี่ย...

 

โดย: ไร้นาม 21 ตุลาคม 2548 21:38:12 น.  

 

หนุ่ม

 

โดย: 19 พฤศจิกายน 2548 IP: 12:27:20 61.19.29.4 น.  

 

--- คุณหนุ่ม ---

สวัสดีค่ะ :)

 

โดย: ไร้นาม 16 มกราคม 2549 7:53:23 น.  

 

เป็นกำลังใจให้คนอ่านหนังสือเตรียมสอบเนติฯทุกคนนะ

 

โดย: ant IP: 202.57.174.70 21 กุมภาพันธ์ 2550 11:13:27 น.  

 

ขอบคุณมากๆ ที่ทำประมวลกฎหมายมาให้พวกเราอ่าน มีประโยชน์มากๆ เลย

ant

 

โดย: ant IP: 202.57.174.70 21 กุมภาพันธ์ 2550 11:22:01 น.  

 

+++ คุณ ant +++

You're welcome ka

 

โดย: ไร้นาม 26 สิงหาคม 2550 11:57:21 น.  

 

 

โดย: เอก IP: 124.120.9.194 7 ธันวาคม 2550 16:43:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ไร้นาม
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]





"อ่านคนอ่านที่ความคิด
หาใช่ชื่อเสียงเรียงนาม"
Friends' blogs
[Add ไร้นาม's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.