มีดต้องหมั่นลับจึงจะแหลมคม ความรักก็ต้องถูกทดสอบโดยอุปสรรคจึงจะมั่นคง เรียนรู้มัน อยู่กับมัน รักมัน ขอบคุณความเก็บกดกดดัน ขอบคุณ ความทะเยอทะยาน ชีวิตต้องเดินหน้าต่อไป
Group Blog
 
 
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
3 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
" กำเนิดแสตมป์ไทย "




กิจการไปรษณีย์มีจุดเริ่มต้นและเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2426 จวบจนถึงปีนี้ พุทธศักราช 2551 จึงเป็นปีที่บรรจบครบรอบ 125 ปีของกิจการ “ไปรษณีย์ไทย”






แสตมป์ไทยมีกำเนิดมาพร้อมกับกิจการไปรษณีย์ไทยเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือนเก้า ปีมะแม เบญจศก จุลศักราช 1245 ตรงกับวันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2426พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า ทรงสถาปนากิจการไปรษณีย์นับเป็นครั้งแรกในบ้านเมืองเราที่ราษฏร สามารถส่งข่าวสารได้อย่างมีระบบและสะดวกสบาย แสตมป์ชุดแรกของไทยชื่อ "ชุดโสฬศ" ประกอบด้วย 1 โสฬศ 1 อัฐ 1 เสี้ยว ซีกหนึ่ง สลึงหนึ่ง และเฟื้องหนึ่ง จัดพิมพ์ที่บริษัท Waterlow and Son Ltd.ประเทศอังกฤษ จำนวนพิมพ์ชนิดละ 5 แสนดวง เริ่มนำออกมาใช้วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ในวันนั้นเนื่องจากแสตมป์ราคาเฟื้องหนึ่งส่งมาไม่ทัน กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงงดใช้และนำมาจำหน่ายเพื่อการสะสมภายหลัง ซึ่งราคาขายปัจจุบันยังไม่ใช้ครบชุดประมาณ 3,000 - 3,500 บาท



ซึ่งก่อนจะมีกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทยนั้นการติดต่อสื่อสารของคนไทยในสมัยโบราณก็ใช้วิธีการสื่อสารในระบบ "ม้าใช้" หรือ "คนเร็ว" เช่นเดียวกับที่ทั่วโลกได้นิยมใช้กัน กล่าวคือ ใช้คนเดินข่าวเดินทางนำข่าวไปด้วยเท้า หรือใช้ม้า เรือ แพ เป็นพาหนะ สำหรับกำเนิดของการไปรษณีย์ในประเทศไทยนั้นย่อมกล่าว ได้ว่าได้รับอิทธิพลจากการที่กงสุลอังกฤษได้นำเอาระบบการ ติดต่อสื่อสาร ทางไปรษณีย์มาใช้ติดต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับ สิงคโปร์ กล่าวคือ ในราวปี พ.ศ. 2410 ปลายรัชสมัยแผ่นดินรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยได้มีการติดต่อค้าขายและสัมพันธไมตรี กับต่างประเทศมากขึ้น มีสถานกงสุลต่างประเทศเข้ามาตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ หลายแห่ง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับชาวต่างประเทศในเรื่องธุรกิจการค้า การศาสนามีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นกว่ากาลก่อน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องติดต่อส่งข่าวไปมากับต่างประเทศมากขึ้น กงสุลอังกฤษเห็นความจำเป็นดังกล่าวนี้ จึงได้จัดการเปิดรับบรรดาจดหมายเพื่อส่งไปมาติดต่อกับต่างประเทศขึ้น โดยใช้สถานที่ตึกยามท่าน้ำริม ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาหลังกงสุลอังกฤษเปิด ทำการ โดยใช้ตราไปรษณียากรของสหพันธรัฐมลายาและอินเดีย ซึ่งพิมพ์อักษร "B" ประทับลงบนดวงตราไปรษณียากรนั้น ๆ แทนคำว่า "Bangkok" จำหน่าย แก่ผู้ต้องการส่งจดหมายไปต่างประเทศ แล้วส่งจดหมายเหล่านั้นไปประทับตราวันที่ที่สิงคโปร์ โดยฝากไปกับเรือค้าขายภายใต้ร่มธงอังกฤษ





ต่อประมาณกลางปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช (ข้าราชการสำนักในต้นรัชกาลที่ 5) ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้ทรงพระราชดำริจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย
จึงโปรดฯ ให้เจ้าหมื่นเสมอใจราชเดินทางไปศึกษาดูงานการไปรษณีย์ที่ประเทศจีนและ ประเทศญี่ปุ่นซึ่งก็ได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี
จึงได้มีประกาศเปิดการไปรษณีย์ทดลองในกรุงเทพฯโดยกำหนดให้มีบริการไปรษณีย์ภายในอาณาเขต ดังนี้คือ

ด้านเหนือ ถึง สามเสน
ด้านตะวันออก ถึง สระประทุม
ด้านใต้ ถึง บางคอแหลม
ด้านตะวันตก ถึง ตลาดพลู

จนมีข้อความว่า

" การไปรษณีย์ซึ่งได้เปิดใช้โดยส่งหนังสือในแขวงจังหวัดกรุงเทพฯ เสมอนั้น ก็เป็นที่แปลกใจของเราที่ไม่คิดว่าคนไทยจะใช้หนังสือกันถึงเพียงนี้ ทำให้เรามีความประสงค์ที่จะจัดการให้ได้ส่งหนังสือไปมาให้ได้ตลอดพระราชอาณาจักรสยามได้โดยเร็ว จะเป็นประโยชน์ในการค้าขายแลทางราชการมาก แล้วภายหลังเราหวังใจว่าคงจะทำตามคำเชิญของท่านผู้จัดการไปรษณีย์ใหญ่ในกรุงเยอรมนี ให้กรุงสยามเข้าจัดการส่งหนังสือไปมาได้ทั่วโลก คือเข้าในหมู่พวกการไปรษณีย์อันรวมกัน "

ต่อมาสยามประเทศก็เข้าเป็นสมาชิกสหภาพไปรษณีย์สากลในปี 2428 ทำให้แสตมป์ที่พิมพ์ออกมาหลังจากที่เข้าเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์ต้องพิมพ์ชื่อประเทศลงบนดวงแสตมป์ด้วย

แหล่งอ้างอิง : //www34.brinkster.com/rakstampthai/thai/intro/intro2.html

//rakstampthai.890m.com/firstthai.php



Create Date : 03 กันยายน 2551
Last Update : 3 กันยายน 2551 21:30:08 น. 0 comments
Counter : 1446 Pageviews.

radiergummi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]




สวัสดีค่ะเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทั้งหลาย ยินดีที่ได้รู้จักนะค่ะ

ความพยายามอยู่ที่ไหน แล้วสำเร็จอยู่ที่นั่น
ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ยากเกินความสามารถ

อยากได้ต้องทำ อยากได้ต้องสร้าง

"ปฎิทิน" และ "นาฬิกา" เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิต ^^
[Add radiergummi's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.