พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
24 พฤศจิกายน 2550
 
 
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ว่านชักมดลูก

        ว่านชักมดลูก มีสองสายพันธุ์หลัก คือสายพันธ์ที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Curcuma xanthorrhiza Roxb. และ Curcuma comosa จัดเป็นไม้ล้มลุกจำพวกขิงข่า ส่วนที่ใช้ทำเป็นยา คือ ราก ใช้แก้ท้องอืดเฟ้อ และที่ใช้กันมากคือส่วนที่เป็นหัว หรือเหง้า

สรรพคุณตามตำรายาแผนโบราณ
          สรรพคุณตามตำราแผนโบราณคือ ชักมดลูกให้เข้าอู่ แก้มดลูกพิการ แก้ปวดมดลูก แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขับน้ำคาวปลา แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย แก้ริดสีดวงทวาร แก้ไส้เลื่อน ปรุงยาแก้โรคกระเพาะอาหาร ลำไส้ แก้โรคมะเร็ง และฝีภายในต่าง ๆ ( อ้างอิงที่ 1 ) 
 
ข้อมูลการวิจัยที่สำคัญ
          ว่านชักมดลูกมีสารสำคัญไม่ต่ำกว่า 50 ชนิด ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่มีงานวิจัย ได้แก่ การลดการอักเสบ โดยมีการใช้เป็นสมุนไพรท้องถิ่นในการแก้ปวด และโรคปวดข้อต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย ( อ้างอิงที่ 2, 3 ) ยับยั้งการสังเคราะห์กรดไขมัน ลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ในเลือดซึ่งสูง และลดโคเลสเตอรอลในตับของสัตว์ทดลอง ( อ้างอิงที่ 4 ) ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ ( อ้างอิงที่ 1 ) ยับยั้งการเป็นพิษต่อตับ เมื่อได้รับสารพิษ เช่น อเซตามิโนเฟน หรือคารบอนเตตร้าคลอไรด์  ( อ้างอิงที่5 ) ต้านเชื้อรา ( อ้างอิงที่ 6 ) ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ( อ้างอิงที่ 7 ) และ มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งน้ำดี ( อ้างอิงที่ 1 )  และยัง ยับยั้งเซลล์มะเร็งตับของคน ( human hepatoma cells, HepG2 ) โดยยับยั้งการแบ่งตัว ( antiproliferative effect ) และทำให้เซลล์มะเร็งตับตายเป็นจุด ๆ ( apoptosis ) ได้ ( อ้างอิงที่ 8 )

          นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ยับยั้งและทำลาย เซลล์มะเร็งเต้านมของคน ( antiproliferative effect apoptosis to MCF7 cells ) ได้ด้วย ( อ้างอิงที่ 9 ) เช่นเดียวกับขมิ้นชัน แต่ที่พิเศษไปกว่านั้นคือ สามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งปากมดลูกของคนโดยตรงได้อีกด้วย ( antiproliferative effect,  apoptosis  to cervical cancer cell line HeLa ) ( อ้างอิงที่ 10 ) ความสามารถในการต่อต้านเซลล์มะเร็งของว่านชักมดลูกมีมากพอสมควร เพราะว่าลดการแพร่กระจายของมะเร็งในช่องท้องและมะเร็งปอดได้ แต่ยังเป็นการวิจัยในสัตว์ทดลอง ( อ้างอิงที่ 11 )

          สำหรับรายงานการวิจัยว่านชักมดลูกในส่วนที่ตรงกับสรรพคุณยาไทยนั้น มีงานวิจัย วิทยานิพนธ์ โดยทดลองในหนู พบว่า สารสำคัญที่พบในว่านชักมดลูกบางชนิด สามารถออกฤทธิ์เสริมการเจริญของเยื่อบุผนังช่องคลอดให้มีผนังหนาขึ้น คล้ายกับได้รับฮอร์โมน เอสโตรเจน และยังมีผลต่อเยื่อบุมดลูกได้คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกด้วย ( โดยออกฤทธิ์ ที่ receptor เดียวกันกับของฮอร์โมนเอสโตรเจน ) ผู้วิจัยให้ความคิดเห็นว่า อาจจะสามารถใช้เป็นยาเพื่อทดแทนหรือเสริมฤทธิ์ของฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่มีผลต่อมดลูกได้  ( อ้างอิงที่ 12 ) 

สรุป วิธีการใช้ว่านชักมดลูก
          ควรใช้เพื่อเป็นยารักษาให้ตรงอาการ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดประจำเดือน หรือ สตรี หลังคลอดบุตร เพราะช่วยมดลูกให้เข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยขับน้ำคาวปลา ถ้าจะรับประทาน เพื่อหวังผลในด้านอื่น เช่น บำรุงร่างกาย ลดความเสี่ยงมะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ควรมีการพักระยะ เหมือนยาคุมกำเนิด คือรับประทาน 20 วันเว้นแปดวัน เนื่องจากมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีในร่างกายและมีในยาคุมกำเนิดนั่นเอง แต่ว่านชักมดลูกไม่มีผลคุมกำเนิด ควรรับประทานตามที่กำหนด ไม่ควรรับประทานครั้งละมาก เพราะอาจเกิดประจำเดือนแปรปรวนมามากกว่าปกติได้  ในทำนองกลับกัน ถ้ารับประทานแล้วมีอาการประจำเดือนผิดปกติ หรือประจำเดือนแปรปรวนก็ควรหยุดรับประทาน

ข้อห้าม
          เนื่องจาก ว่านชักมดลูก มีส่วนในการช่วยขับน้ำดี จึงไม่ควรรับประทาน ในผู้ที่ท่อน้ำดีอุดตัน หรือมีนิ่วในถุงน้ำดี และพบว่า เนื่องจากมีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด แม้จะเป็นงานวิจัยในกระต่ายก็ตาม ( อ้างอิงที่ 13 ) เพื่อความปลอดภัยสูงสุด จึงไม่ควรรับประทานร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน และยาละลายลิ่มเลือด ทุกชนิด

เอกสารอ้างอิง
          1. จุลสารข้อมูลสมุนไพร ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 เมษายน 2545 เรื่อง ว่านชักมดลูก
          2. Three non-phenolic diarylheptanoids with anti-inflammatory activity from Curcuma xanthorrhiza. Planta Med 1993;59(5):451-4.
          3.  Antiinflammatory effect of Curcuma xanthorrhiza Roxb, and its active principles. Chem Pharm Bull (Tokyo). 1990 Apr;38(4):1045-8.
          4.  Effects of Curcuma xanthorrhiza Roxb. and curcuminoids on the level of serum and liver lipids, serum apolipoprotein A-I and lipogenic enzymes in rats. Food Chem Toxicol. 1993 Mar;31(3):213-8.
5. Protective and therapeutic effects of Curcuma xanthorrhiza on hepatotoxin-induced liver damage. Am J Chin Med. 1995;23(3-4):243-54.
          6.  In Vitro antimycotic activity of xanthorrhizol isolated from Curcuma xanthorrhiza Roxb. against opportunistic filamentous fungi. Phytother Res. 2007 May;21(5):434-8.
          7. Antibacterial activity of xanthorrhizol from Curcuma xanthorrhiza against oral pathogens. Fitoterapia. 2000 Jun;71(3):321-3.
          8. Regulation of p53-, Bcl-2- and caspase-dependent signaling pathway in xanthorrhizol-induced apoptosis of HepG2 hepatoma cells.  Anticancer Res. 2007 Mar-Apr;27(2):965-71.
          9. Xanthorrhizol exhibits antiproliferative activity on MCF-7 breast cancer cells via apoptosis induction.  Anticancer Res. 2006 Nov-Dec;26(6B):4527-34.
10. Xanthorrhizol induces apoptosis via the up-regulation of bax and p53 in HeLa cells. Anticancer Res. 2005 May-Jun;25(3B):2221-7.
11. Xanthorrhizol, a natural sesquiterpenoid from Curcuma xanthorrhiza, has an anti-metastatic potential in experimental mouse lung metastasis model. Biochem Biophys Res Commun. 2005 Jan 7;326(1):210-7.
12. ฤทธิ์ของว่านชักมดลูกต่อมดลูก.สุวรรณา เอื้อจารุพร. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สรีรวิทยา) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 27 ธันวาคม 2533.
13. Inhibitory effects of compounds from Zingiberaceae species on platelet activating factor receptor binding. Phytother Res. 2004 Dec;18(12):1005-7



Create Date : 24 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2550 17:07:07 น. 2 comments
Counter : 2664 Pageviews.

 
ddddddddddddddddมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: sagurahi IP: 203.158.176.17 วันที่: 13 มิถุนายน 2551 เวลา:15:08:38 น.  

 
อยากรู้ว่าคนท้องกินยานี้เข้าไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้น


โดย: ดิว IP: 83.251.247.42 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:39:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

ควีนโพธิ์ดำ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Fit&Firm
[Add ควีนโพธิ์ดำ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com