คาพะโดเคีย

คาพะโดเคีย


หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานแรกที่กล่าวถึงคาพะโดเคียเขียนขึ้นใน ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราช ที่ปรากฏในคำจารึกสามภาษา ของจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช และ จักรพรรดิเซอร์ซีสแห่งจักรวรรดิอคีเมนียะห์ว่าเป็นอาณาจักร หรือ “dahyu-” หนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซีย ที่เรียกเป็นภาษาเปอร์เซียโบราณว่า “Katpatuka” ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่ต้นรากของชื่อภาษาเปอร์เซียโดยทั่วไป ภาษาเอลาไมท์ และ ภาษาอัคคาเดียใช้ ชื่อที่คล้ายคลึงกันจากภาษาอัคคาเดีย “katpa” “side” ที่แผลงมาจากชื่อบรรพบุรุษ “Tuka”

เฮโรโดทัสกล่าวว่าชื่อของกลุ่ม ชาติพันธุ์คาพะโดเคียเป็นชื่อที่ชาวเปอร์เซียใช้เรียกชนกลุ่มดังกล่าวนี้ ขณะที่ชาวกรีกเรียกว่า “ชาวซีเรีย” หรือ “ชาวซีเรียขาว” (Leucosyri) ชนเผ่าหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์คาพะโดเคียที่เฮโรโดทัสกล่าวถึงคือโมสชอย ที่นักประวัติศาสตร์โจซีฟัสกล่าวว่ามีความเกี่ยวข้องกับบุคคลในพระคัมภีร์ ไบเบิลชื่อเมเช็คบุตรของยาเฟ็ธ: “และโมโซเคนีก่อตั้งขึ้นโดยโมซอค; ที่ปัจจุบันคือกลุ่มชาติพันธุ์คาพะโดเคีย”

คาพะโดเคียปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิลใน “กิจการของอัครทูต” 2:9 กลุ่มชาติพันธุ์คาพะโดเคียกล่าวว่าเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่ได้รับฟังพระวรสารจากกาลาเทียในภาษาของตนเองในวันเพนทาคอสต์ไม่นานหลัง จากการคืนชีพของพระเยซู ซึ่งเป็นนัยยะว่าชาวคาพะโดเคียเป็น “ชาวยิวที่มีความเกรงกลัวในพระเจ้า”

ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิเปอร์เซียองค์ต่อๆ มาคาพะโดเคียแบ่งออกเป็นสองแคว้น (Satrap) ที่มีศูนย์กลางหนึ่งที่ยังคงใช้ชื่อคาพะโดเคียโดยนักประวัติศาสตร์กรีก แต่อีกแคว้นหนึ่งเรียกว่า “พอนทัส” การแบ่งแยกนี้เกิดขึ้นก่อนสมัยของเซเนโฟน หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิเปอร์เซียแคว้นสองแคว้นก็ยังคงแยกตัวเป็น อิสระจากกัน และ ยังคงดำรงความแตกต่างจากกันต่อมา คาพะโดเคียมาหมายถึงจังหวัดลึกเข้าไปในแผ่นดิน ( inland province ที่บางครั้งก็เรียกว่า “คาพะโดเคียใหญ่”) เท่านั้น และเป็นภูมิภาคที่เน้นถึงในบทความนี้

ราชอาณาจักรคาพะโดเคียยังคงดำรงความเป็นราชอาณาจักรกึ่งอิสระมาจนถึงสมัย ของสตราโบ ส่วนซิลิเคียเป็นชื่อที่ใช้สำ หรับดิสตริคท์ที่เป็นที่ตั้งของ เซซาเรียซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักร เมืองสองเมืองในคาพะโดเคียที่สตราโบเห็นว่ามีความสำคัญคือ The only two cities of Cappadocia considered by Strabo to deserve that appellation were เซซาเรีย (เดิมเรียกว่ามาซาคา) และ ทิยานา ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเชิงเขาทอรัส
ที่ ตั้งและอากาศ
ภูเขา Erciyes (3,917 เมตร) ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในคาพะโดเคีย


คาพะโดเคียตั้งอยู่ทางตะวันออกของอานาโตเลียในบริเวณตอนกลางของประเทศตุรกีปัจจุบัน เนื้อที่ของภูมิภาคที่ราบสูงที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 1000 เมตรประไปด้วยยอดภูเขาไฟ ที่มีภูเขา Erciyesเป็นยอดเขาที่สูง ที่สุดที่สูงราว 3,917 เมตร พรมแดนในประวัติศาสตร์ของคาพะโดเคียเป็นพรมแดนที่คลุมเคลือโดยเฉพาะทางด้าน ตะวันตก ทางด้านใต้เป็นเทือกเขาทอรัสที่ เป็นพรมแดนธรรมชาติกับซิลิเคีย และแยกคาพะโดเคียจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางด้านตะวันตกตั้งอยู่ติดกับภูมิภาคไลเคาเนียที่ตั้งอยู่ทาง ตะวันตกเฉียงใต้ และกาเลเชียทางตะวันตกเฉียง เหนือ เทือกเขาริมฝั่งทะเลดำแยกคาพะโดเคียจากพอนทัสและทะเลดำ ขณะที่ทางตะวันออกเป็นแม่น้ำยูเฟรทีสตอนเหนือ ก่อนที่แม่น้ำจะเลี้ยวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ไปยังเมโสโปเตเมีย และ ที่ราบสูงอาร์เม เนีย[6] ภูมิภาคนี้มีเนื้อที่ทั้งหมดที่ยาว 400 กิโลเมตรจากตะวันออกจรดตะวันตก และ 250 กิโลเมตรจากเหนือจรดใต้ เพราะที่ตั้งที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ภายในประเทศและมีระดับสูงจากระดับน้ำทะเล มากคาพะโดเคียจึงมีภาวะอากาศแบบภาคพื้นทวีป (continental climate) ที่ร้อนแห้งในฤดูร้อน และ หนาวพอที่จะมีหิมะตกในช่วงฤดูหนาว อัตราการตกของฝนมีระดับต่ำและเป็นบริเวณที่จัดว่าเป็นบริเวณกึ่งแห้งแล้งถึง แล้ง (semi-arid ถึง arid)

ประวัติ
เกอเรเมที่เป็นบ้านเรือนที่สร้างเข้าไปในภูมิสัณฐาน ธรรมชาติหน้าภูมิทัศน์อันน่าประทับใจของหุบเขาอันเต็มไปด้วยสีสรร

บัลลูนอากาศร้อนเหนือคาพะโดเคีย

แท่งหินธรรมชาติในคาพะโดเคีย

แผนที่จากคริสต์ศตวรรษที่ 15 ของภูมิภาคคาพะโดเคีย

บ้านเรือนที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิสัณฐานธรรมชาติในคาพะโดเคีย

คริสต์ศาสนสถานที่เป็น สถาปัตยกรรมใน หินผา (Rock cut architecture) ในคาพะโดเคีย

คาพะโดเคียเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “ฮัตติ” ในปลายยุคสำริดและเป็นศูนย์กลางทางอำนาจของชนฮิทไทท์ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ฮัททุชา หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิฮิทไทท์และความเสื่อมโทรมของ อารยธรรมซีเรีย-คาพะโดเคียหลังจากความพ่ายแพ้ต่อกษัตริย์โครซัสแห่งลีเดียในคริสต์ศตวรรษที่ 6 แล้ว คาพะโดเคียก็ปกครองโดยขุนนางกึ่งระบบศักดินา ที่อยู่อาศัยกันตามที่มั่นที่เป็นปราสาทต่างๆ โดยมีไพร่ติดแผ่นดินเป็นบริวาร ซึ่งต่อมาเป็นสภาวะที่เหมาะกับการวิวัฒนาการมาเป็นระบบทาสต่างประเทศ คาพะโดเคียจัดเป็นแคว้นของจักรวรรดิเปอร์เซียสมัย ที่สามที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช แต่ยังคงได้รับการอนุญาตให้มีประมุขปกครองตนเอง แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่มีอำนาจมากพอที่จะปกครองได้ทั้งภูมิภาค

ราชอาณาจักรคาพะโดเคีย

หลังจากอเล็กซานเดอร์มหาราชนำมาซึ่งการล่มสลาย ของจักรวรรดิเปอร์เซียแล้ว พระองค์ก็ทรงพยายามที่จะปกครองคาพะโดเคียโดยการส่งผู้แทนพระองค์มาปกครอง แต่อาเรียร์ทีสผู้เป็นขุนนางเปอร์เซียกลับกลายมาเป็นกษัตริย์แห่งคาพะโดเคีย แทนที่ อาเรีย ร์ทีสที่ 1 แห่งคาพะโดเคีย (332—322 ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถ และทรงทำการขยายดินแดนของราชอาณาจักรคาพะโดเคียออกไปถึงทะเลดำ ราชอาณาจักรคาพะโดเคียตั้อยู่ในความสงบสุขมาจนกระทั่งการเสด็จสวรรคตของอเล็กซานเดอร์มหาราช เมื่อจักรวรรดิถูกแบ่งย่อยออกไปเป็นส่วนๆ คาพะโดเคียตกไปเป็นของยูเมนีส ยูเมนีสขึ้นมามีอำนาจโดยความช่วยเหลือของขุนพลเพอร์ดิคคัสผู้เป็นผู้ สำเร็จราชการของอเล็กซานเดอร์มหาราชผู้จับอาเรียร์ทีสต รึงกางเขน แต่หลังจากที่เพอร์ดิคคัสถูกลอบ สังหาร และยูเมนีสถูกประหารชีวิต บุตรชายของอาเรียร์ทีสก็ได้คาพะโดเคียคืน และทำการปกครองต่อมาโดยกษัตริย์ที่สืบเชื้อสายต่อมา

เมื่อมาถึงรัชสมัยของอาเรีย ร์ทีสที่ 4 แห่งคาพะโดเคีย (220—163 ก่อนคริสต์ศักราช) คาพะโดเคียก็เริ่มมีความสัมพันธ์กับโรมที่เริ่มด้วยการเป็นศัตรูในการเป็นปฏิปักษ์ ต่อพระเจ้าแอนทิโอคัสมหาราช และต่อมาหันมาเป็นพันธมิตรในการต่อต้านเพอร์เซียสแห่งมา ซิดอน ซึ่งก็เท่ากับทรงวางตนเป็นศัตรูกับ จักรวรรดิเซลูซิดที่ เคยทรงส่งบรรณาการเป็นครั้งคราวอย่างเต็มพระองค์

อาเรีย ร์ทีสที่ 5 แห่งคาพะโดเคีย (163—130 ก่อนคริสต์ศักราช) ทรงนำทัพร่วมกับกงสุลโรมันพิวเบลียส ลิซิเนียส คราซัส ดิเวส มูเชียนัสในการ ต่อสู้กับยูเมนีสที่ 3 ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์เพอร์กามอน แต่พระองค์ก็ทรงได้รับความพ่ายแพ้อย่างยับเยินและสิ้นพระชนม์ในปี 130 ก่อนคริสต์ศักราช ภาวะของความสับสนวุ่นวายที่ตามมาหลังจากการเสียชีวิตของอาเรียร์ทีสที่ 5 นำไปสู่การแทรกแซงของพอนทัสที่รุ่งเรืองขึ้นมา และการสงครามที่เกิดขึ้นที่นำมาซึ่งความหายนะของราชวงศ์ที่ปกครองคาพะโดเคีย

จังหวัดคาพะโดเคียของโรมัน

ชาวคาพะโดเคียได้รับการสนับสนุนจากโรมในการเป็นโค่นมิธราดีสที่ 4 แห่งพอนทัส และแทนที่ด้วยอริโอบาร์ซานีสที่ 1 ฟิลโลโรมาอิออสแห่งคาพะโดเคีย ในปี 93 ก่อนคริสต์ศักราช แต่ในปีเดียวกันกองทัพอาร์เมเนียภายใต้การนำของพระเจ้าไทกราเนสมหาราชก็ ทรงนำทัพเข้ามารุกรานคาพะโดเคีย, ทรงทำการถอดอริโอบาร์ซานีสจากราชบัลลังก์ และทรงแต่งตั้งให้กอร์เดียสแห่ง คาพ
ะโดเคียขึ้นครองเป็นกษัตริย์บริวารแทนที่ การสร้างคาพะโดเคียขึ้นเป็นอาณาจักรบริวารของพระเจ้าไทกราเนสก็เท่ากับเป็น การสร้างบริเวณฉนวนเพื่อยับยั้งความก้าวร้าวของสาธารณรัฐโรมันที่คืบเข้ามา ในภูมิภาค

เมื่อโรมถอดกษัตริย์พอนทัสและกษัตริย์อาร์เมเนียจากราชบัลลังก์ อริโอบาร์ซานีสที่ 1 ฟิลโลโรมาอิออสแห่งคาพะโดเคียจึง ได้กลับมาขึ้นครองคาพะโดเคียอีกครั้งหนึ่งในปี 63 ก่อนคริสต์ศักราช ในระหว่างสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในโรมคาพะโดเคียก็เปลี่ยนการสนับสนุน เรื่อยมาตั้งแต่สนับสนุนพอมเพย์, ต่อมาก็จูเลียส ซีซาร์, ต่อมามาร์ค แอนโทนี และหันมาเป็นปฏิปักษ์ท้ายที่สุด ราชวงศ์อริโอบาร์ซานีสมาสิ้นสุดลงในสมัยของอาร์คีลอสแห่งคาพะโดเคียผู้ หนุนหลังมาร์ค แอนโทนี และหันมาเป็นปฏิปักษ์ ผู้ปกครองเป็นอิสระมาจนกระทั่งปี 17 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อจักรพรรดิไทบีเรียสทรงลดฐานะของคาพะโด เคียลงมาเป็นเพียงจังหวัดของโรมันหลังจากการสิ้นพระชนม์ของอาร์ คีลอสอย่างอัปยศ ต่อมาอีกเป็นเวลานานคาพะโดเคียก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์

คาพะโดเคียประกอบด้วยเมืองใต้ดินหลาย เมือง (ดูเมืองใต้ ดินแห่งเคย์มาคลี) ที่ใช้โดยชาวคริสเตียนในยุคแรกในการเป็นที่หลบหนีภัยจากการไล่ทำร้ายและสังหารก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเป็นศาสนาที่ได้รับการประกาศว่าเป็น ศาสนาของจักรวรรดิ คริสต์ศาสนปราชญ์ แห่งคาพะโดเคีย (Cappadocian Fathers) ของคริสต์ศตวรรษที่ 4 เป็นองค์ประกอบสำคัญของประวัติศาสตร์ของคริสต์ศาสนปรัชญาในยุค แรก นักคริสต์ศาสนปรัชญาคนสำคัญก็รวมทั้งจอห์นคาพะโดเคียผู้ เป็นพระสังฆราชแห่งคอนสแตนติโนเปิล ระหว่างปี ค.ศ. 517 ถึง ค.ศ. 520 ในช่วงการปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ คาพะโดเคียปลอดจากความขัดแย้งของบริเวณนี้กับจักรวรรดิซาสซานิยะห์ แต่มาเป็นบริเวณดินแดนพรมแดนอันสำคัญต่อมาในสมัยการพิชิตดินแดนของ มุสลิมต่อมา คาพะโดเคียกลายเป็นส่วนหนึ่งของเขตการปกครองไบแซนไทน์ แห่งอาร์เมเนีย (Armeniac Theme) และต่อมาเขตการปกครองคาร์เซียนอน และในที่สุด เขตการปกครอง ไบแซนไทน์แห่งคาพะโดเคีย (Cappadocia Theme)

ความสัมพันธ์ระหว่างคาพะโดเคียและอาร์เมเนียที่ตั้งอยู่ติดกัน เป็นความสัมพันธ์อันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นักประวัติศาสตร์อาหรับอบู อัล ฟารัจกล่าวถึงชาวอาร์เมเนียผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ซิวาสระหว่างคริสต์ศตวรรษ ที่ 10 ว่า “ซิวาสในคาพะโดเคียเต็มไปด้วยชาวอาร์เมเนีย ที่มีจำนวนมากจนกระทั่งกลายเป็นส่วนสำคัญของกองทัพของราชอาณาจักร กองทหารอาร์เมเนียเหล่านี้มีหน้าที่เฝ้ายามตามป้อมที่สำคัญๆ ที่ยึดมาได้จากอาหรับ ทหารอาร์เมเนียมีชื่อเสียงจากการเป็นทหารราบผู้มีประสบการณ์และมักจะแสดง ความสามารถในการต่อสู้อย่างกล้าหาญและประสบกับความสำเร็จเคียงข้างทหารโรมัน หรือที่เรียกว่าทหารไบแซนไทน์” การรณรงค์ทางการทหารของไบแซนไทน์และการรุกรานของเซลจุคในอาร์เมเนียทำให้ชาวอาร์เมเนียขยายตัว เข้ามาในคาพะโดเคียและออกไปทางตะวันออกจากซิลิเคียไปยังดินแดนที่ เป็นหุบเขาทางตอนเหนือของซีเรีย และ เมโสโปเตเมีย จนกระทั่งได้ก่อตั้งราชอาณาจักรอาร์เมเนียแห่งซิลิเคียขึ้น การอพยพของชาวอาร์เมเนียเพิ่มจำนวนขึ้นหลังจากการเสื่อมโทรมอำนาจของ จักรวรรดิไบแซนไทน์ และการขยายตัวของอาณาจักรครูเสดหลังสงครามครูเสดครั้งที่ 4 สำหรับนักรบครูเสดแล้วคาพะโดเคีย คือ “terra Hermeniorum” (ดินแดนของชาวอาร์เมเนีย) เพราะเป็นดินแดนที่ขณะนั้นเต็มไปด้วยผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอาร์เมเนีย

หลังจากยุทธการมันซิ เคิร์ตในปี ค.ศ. 1071 แล้วกลุ่มตุรกีต่างๆ ภายใต้การนำของเซลจุคก็เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอานาโตเลีย การค่อยขยายตัวทางอำนาจของเซลจุคอย่างค่อยเป็นค่อยไปในที่สุดก็ทำให้คาพะโด เคียกลายเป็นรัฐบริวารของรัฐตุรกีที่ก่อตั้งขึ้นทางตะวันออกและตะวันตกของ ภูมิภาค และประชากรบางส่วนของบริเวณนี้ก็เปลี่ยนไปถือศาสนาอิสลาม เมื่อมาถึงตอนปลายของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 เซลจุคแห่งอานาโตเลียก็ กลายเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดในภูมิภาคคาพะโดเคีย ต่อมาเมื่ออำนาจของเซลจุคที่ตั้งอยู่ที่คอนยาอ่อนตัวลงในครึ่งหลัง ของคริสต์ศตวรรษที่ 13 เบยิคตุรกี แห่งอานาโตเลียน (Anatolian Turkish Beyliks) ที่มีฐานอำนาจอยู่ที่คารามานก็เข้ามามีอำนาจ แทนที่ และในที่สุดกลุ่มที่ว่านี้ก็มาแทนที่ด้วยจักรวรรดิออตโตมันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 คาพะโดเคียก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันเป็นเวลาอีกหลายร้อยปี ต่อมา และในปัจจุบันก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐตุรกีปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของภูมิภาคนี้เกิดขึ้นเมื่อ บริเวณเมือง Nevşehir ได้รับการก่อตั้งขึ้นใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยมหาเสนาบดีผู้มีถิ่นฐานดั้งเดิมมา จากบริเวณนี้ก่อตั้งขึ้นเป็นเมืองหลวงของภูมิภาค และยังคงเป็นมาจนกระทั่งทุกวันนี้

ในขณะเดียวกันชาวคาพะโดเคียก็เริ่มเปลี่ยนไปพูดภาษาตุรกีที่เขียนด้วย อักษรกรีกที่เรียกว่า “Karamanlıca” และในบริเวณที่ยังคงพูดภาษากรีก อิทธิพลของภาษาตุรกีรอบข้างก็เริ่มจะเพิ่มขึ้น ภาษากรีกที่พูดกันในภูมิภาคคาพะโดเคียเรียกกันว่า “ภาษากรี กคาพะโดเคีย” หลังจากการแลกเปลี่ยนประชากรระหว่างกรีซและตุรกีในปี ค.ศ. 1923 แล้วก็เหลือผู้พูดภาษากรีกคาพะโดเคียอยู่เพียงไม่กี่คน


ภูมิ สัณฐาน

ภูมิภาคคาพะโดเคียที่มีชื่อเสียงว่ามีภูมิสัณฐานที่เป็นเอกลักษณ์ทั้งทาง ด้านภูมิศาสตร์, ประวัติศาสตร์ และ วัฒนธรรม ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองไคย์เซอรี

ฐานของธรณีสัณฐานของคาพะโดเคียเป็นการทับถมของหินที่มาจากทะเลสาบและ ลำธาร และ จากการทับถมของวัตถุต่างๆ ที่ระเบิดจากภูเขาไฟ (Ignimbrite) โบราณเมื่อราว 9 ถึง 3 ล้านปีที่ผ่านมาในระหว่างสมัยไมโอซีน จนถึง สมัยพลิโอซีน

หินในภูมิภาคคาพะโดเคียไม่ไกลจากเกอเรเมถูกกัดกร่อนจากธรรมชาติรายเป็นรูปทรงคล้ายแท่ง หรือหอที่มีปลายแหลมบนยอดคล้ายเห็ดอันดูแปลกตา วัตถุที่ระเบิดจากภูเขาไฟเป็นหินที่มีคุณสมบัติที่ง่ายต่อการกัดกร่อนหรือ สลักเสลา ที่ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณคาพะโดเคียใช้ในการขุดคว้านเป็นบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย, ศาสนสถาน หรือ สำนักสงฆ์ได้ ซึ่งทำให้เกอเรเมกลายมาเป็นศูนย์กลางของสำนักสงฆ์ราวระหว่างปี ค.ศ. 300—ค.ศ. 1200

การตั้งถิ่นฐานในยุคแรกในเกอเรเมเริ่มขึ้นในสมัยโรมัน บริเวณนี้ที่ว่านี้เต็มไปด้วยบ้านเรือน, หมู่บ้าน, หมู่บ้านใต้ดิน และ คริสต์ศาสนสถานที่ขุดเข้าไปในโพรงหิน คริสต์ ศาสนสถานในเกอเรเมมีด้วยกันกว่า 30 วัดและชาเปล บางวัดก็มีงานจิตรกรรมฝาผนังจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 11 ที่ยังมีความงดงามสดใสอยู่

ระเบียง ภาพ
แผนที่แสดงที่ตั้ง

ภาพถ่ายจากอากาศ

ทิวทัศน์ทั่วไป

แท่งหินที่ถูกกัดกร่อนเหมือนเห็ด

หมู่บ้านที่ขุดเข้าไปในภูเขา

บ้านเรือนที่ขุดเข้าไปในผาหิน

โพรงที่ขุดภายในผาหิน

จิตรกรรมฝาผนัง
ในวัดในถ้ำ




ที่มา วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 15 เมษายน 2553





Create Date : 15 เมษายน 2553
Last Update : 7 มิถุนายน 2553 22:50:54 น. 4 comments
Counter : 981 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะ


โดย: BeCoffee วันที่: 15 เมษายน 2553 เวลา:20:58:19 น.  

 
ทักทายค่ะ


โดย: nadtha วันที่: 15 เมษายน 2553 เวลา:21:52:41 น.  

 
สวัสดีค่า สาวน้อยนักโบราณคดีหรือเปล่าเนี่ย ?


โดย: algae (puddingbu ) วันที่: 15 เมษายน 2553 เวลา:23:04:19 น.  

 
เราก็ชอบประวัติศาสตร์เหมือนกันนะ พวกโรมัน กรีก เทพเจ้าอ่ะ ชอบมาก แต่ว่าอาณาจักรนี้ไม่เคยได้ยินเลยอ่ะ สงสัยความรู้เราจะเท่าหางอึ่งเอง คงต้องหาเพิ่มพูนเอาจากแถวนี้แหละ ฝากด้วยนะคะ ^___^

ขอบคุณที่แวะไปทักทาย+กำลังใจนะคะ


โดย: LuckyLady วันที่: 16 เมษายน 2553 เวลา:1:48:15 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

puy_naka63
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมากๆ อ่านได้ทุกประเภท อ่านตั้งแต่ยังไม่ถึง 10 ขวบ
ตอนแรกเริ่มจากหนังสือพิมพ์ มาขายหัวเราะ มหาสนุก จนเดี๋ยวนี้อ่านได้ทุกอย่างจริงๆ ในชีวิต ไม่มีอะไรก็ได้แต่ขอให้มีหนังสือ
ความฝัน อยากจะมีร้านกาแฟกับร้านเช่าหนังสืออยู่ในร้านเดียวกัน

Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
15 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add puy_naka63's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.