ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด
<<
สิงหาคม 2555
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
18 สิงหาคม 2555

สปอร์ตท็อปเทน: 10อันดับเรื่องฉาวๆของไอบา

จากเหตุการณ์ของแก้ว พงษ์ประยูร ในลอนดอนเกมส์ ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับสหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นนานาชาติ หรือ ไอบา ว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่? โดยที่ผ่านมามีข่าวฉาวเกิดขึ้นมากมาย กรณีข่าวฉาวที่เกิดขึ้นและโด่งดังไปทั่วโลกเพื่อสะท้อนถึง พฤติกรรมไม่ชอบมาพากลอันนำมาซึ่งความอยุติธรรมบนผืนผ้าใบ และเป็นที่โจษจันไปทั่วโลก

อันดับ10 : พลิกคำตัดสิน

อีกกรณีที่มีการพลิกคำตัดสินคือไฟต์ระหว่าง Vikas Krishan (อินเดีย) และ Errol Spence (สหรัฐฯ) รุ่นเวลเตอร์เวตในโอลิมปิก 2012 โดยตอนแรกกรรมการตัดสินให้ อินเดียเป็นฝ่ายชนะ แต่สหรัฐฯใช้สิทธิประท้วง จนไอบาออกมาแก้ไขคะแนน พลิกให้สหรัฐฯ กลับมาชนะได้ ทำให้ทางอินเดียแม้ไม่ใช่นัดชิงชนะเลิศก็ได้ยื่นเรื่องต่อสู้ไปถึงขั้น ‘อนุญาโตตุลาการกีฬาCourt of Arbitration for Sports (CAS) แต่สุดท้ายคณะอนุญาโตตุลาการ ก็ตีความว่าไม่มีอำนาจไปตรวจสอบการตัดสินของไอบาเกี่ยวกับการประท้วง

อันดับ9 : กฏ 5 นาที

กฏ 5 นาที ในข้อปฏิบัติระบุไว้ใน AIBA Technical & Competition Rulesกฎข้อ 9.11.6 ซึ่งระบุว่า หากเป็นการชกรอบ ชิงชนะเลิศ การประท้วง‘ควร’ ทำภายใน 5 นาที 9.11.6A protest during the Finals of a competition should be notified within 5 minutes of completion of the bout. ซึ่งเป็นกฎเพิ่มเติมจากกฎยื่นประท้วงภายใน 30 นาทีที่สายลม อาร์ดียื่นประท้วงไม่ทัน วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระวิเคราะห์ไว้ในบทความว่า ในทางกฎหมาย ข้อ 9.11.6 ซึ่งกำหนดว่า ‘ควร’ ประท้วงภายใน 5 นาที ถือเป็น ‘บทเสริมบททั่วไป’ นำไปใช้ตีความประกอบเฉพาะนัด ‘ชิงชนะเลิศ’ ในทางกฎหมาย ข้อ 9.11.6 ไม่ใช่ ‘บทยกเว้น’ กล่าวคือ ไม่ได้มายกเว้นว่า เวลาประท้วง 30 นาทีในนัดปกติจะหดลงเหลือ 5 นาที แต่บททั่วไปเวลา 30 นาที ยังใช้บังคับอยู่ตามเดิม คำสำคัญ คือ คำว่า “shall be” กับ “should be” Shallคือ การกำหนดสิทธิหน้าที่ว่า ‘ต้อง’ ทำการประท้วง ภายใน 30 นาที Should คือ การกำหนดแนวทางว่า ‘ควร’ ทำการประท้วงภายใน 5 นาทีหลังนัดชิงชนะเลิศ เขาเห็นว่า สิทธิการให้ประท้วงอยู่ภายใต้ดุลพินิจของประธานคณะตัดสิน แต่การไม่รับประท้วงของไอบาต้องมีเหตุผลมากกว่าเพียงว่ายื่นเรื่องเกินเวลา 5 นาที ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการเปลี่ยนคำตัดสินในหลายคู่มาแล้วจากการยื่นประท้วง และการรับประท้วงไม่ได้มีไว้เพื่อเปลี่ยนผลการแข่งขัน แต่มีเพื่อตรวจสอบและปรับปรุงให้การตัดสินออกมายุติธรรมมากขึ้น

อันดับ8 : สายลม อาดีแพ้น่ากังขา

กรณีของสายลม อาดี ชกกับ กานี่ ไซลายอฟ นักชกคาซัคสถานซึ่งชนะคะแนนดิบสายลม ในรุ่น 60 กก. ในการชกรอบแรกก่อนหน้านี้ซึ่งต่อนักชกจากคาซัคสถาน ก็ได้ถอนตัวจากการแข่งขันเนื่องจากโดนหมัดของสายลมจนดั้งจมูกแตก ไม่อยู่ในสภาพที่จะขึ้นเวทีชกต่อได้ เป็นการยืนยันว่า นักชกไทยทำได้ดีกว่า แต่มามีปัญหาเรื่องกรรมการที่ตัดสินค้านสายตาของคนดู

อันดับ7 : อาเซอร์ไบจานซื้อ 2 เหรียญทอง

บีบีซีเสนอสารคดีอื้อฉาวเรื่องที่อาเซอไบจานซื้อเหรียญทอง 2 เหรียญโดยติดสินบนเป็นเงินถึง 10 ล้านดอลลาร์ (หรือราว 300 ล้านบาท) โดยหลังจากทั้งไอบาและโอไอซีได้ทำการตรวจสอบตัวเองแล้วไม่พบหลักฐานจึงได้ ทำการยื่นฟ้องกลับต่อบีบีซี ก็ยิ่งทำให้เห็นว่าการทุจริตของไอบานั้นมีหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องจนไม่ สามารถตรวจสอบตัวเองได้ ด้วยเพราะผลการแข่งขันที่น่ากังขา รวมไปกับการกลับคำตัดสินในหลายครั้ง ทำให้ข้อกล่าวหายิ่งมีน้ำหนักมากขึ้น ทั้งนี้นอกจากกรณีของญี่ปุ่นที่ประท้วงจนไอบาตัดสินใจพลิกคำตัดสิน ยังมีกรณีกังขาของทีมมวยจากประเทศเบลารุสที่ได้เผยกับบีบีซีว่า นักมวยของชาติตนถูกตัดสินให้แพ้อย่างน่าข้องใจต่อนักมวยจากอาร์เซอร์ไบจาน ประเทศในรอบเซมิไฟแนล ทั้งๆ ที่ทำคะแนนนำมาโดยตลอด จนคนดูช่วยกันโห่ไม่พอใจ

อันดับ6 :ญี่ปุ่นต่อยอาเซอร์ไบจานอ่วมแต่แพ้

ซาโตชิ ชิมิซุ นักชกจากแดนอาทิตย์อุทัย แพ้คะแนนให้กับมูฮิมเหม็ด อับดุลอามิดอฟนักชกจากอาเซอร์ไบจานในลอนดอนเกมส์ 2012 ทั้งที่นักชกจากอาเซอไบจานล้มไปนับถึง 6 ครั้ง เป็นชัยชนะที่ค้านสายตาชาวโลกจนญี่ปุ่นตัดสินใจประท้วงทำให้กรรมการเปลี่ยน คำตัดสินให้ญี่ปุ่นกลับมาชนะน็อกต่อนักชกจากอาเซอร์ไบจาน

อันดับ5 : เสธ. วีป VS ไอบา

จากการตัดสินที่ไม่โปร่งใสและน่ากังขาหลายต่อหลายครั้งในปังกิ่งเกมส์ทำให้ พล..ทวีป จันทรโรจน์ นายกสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในสมัยนั้นตัดสินใจเสนอตัวสมัครขึ้น เป็นประธานสหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นแทนชิง กั๊ว วู ประธานคนปัจจุบัน โดยมีข้อกล่าวหาถึงการปล่อยให้เกิดการตัดสินที่ไม่โปร่งใส ทำให้ถูกไอบาสั่งแบนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับสมาคมมวยฯ และสั่งไม่ให้นักชกทีมชายไทยร่วมแข่งขันในกว่างโจวเกมส์ แต่ภายหลังศาลกีฬาโลกก็ออกมาคุ้มครองสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยเพราะไอบาไม่ สามารถกระทำการดังกล่าวได้

อันดับ4 : อำนาจ รื่นเริงแพ้น่ากังขา

แม้ว่าคนไทยจะได้ภูมิใจกับเหรียญ ทองของสมจิตร จงจอหอในปักกิ่งเกมส์ ทว่าก่อนหน้านั้น อำนาจ รื่นเริงอีกหนึ่งความหวังของคนไทยที่ตอนนั้นอายุ 28 ปีในพิกัดน้ำหนักรุ่นเดียวกับแก้ว พงษ์ประยูร เป็นมวยมากฝีมือที่น่าจับตามองและมีลุ้นเหรียญทองถึงขนาดถูกจัดอันดับในนิตย สารไทม์ว่า เป็นนักกีฬาที่น่าจับมองที่สุด ประกอบกับผลงานที่ชนะคู่ต่อสู้มาอย่างขาดลอยในสองไฟต์แรก แต่แล้วในรอบชิงเหรียญทองแดงเขาได้แพ้ให้กับ เซอร์ดัมบา ปูเรฟดอร์จ นักชกโนเนมจากมองโกเรียที่ผ่านเข้ารอบมาอย่างทุลักทุเล (ซึ่งต่อมาก็ได้แพ้ให้กับซู ชิง หมิงในรอบชิงชนะเลิศ) เป็นการชกที่หลายคนมองว่า ต่อยแต่คะแนนไม่ขึ้น ซึ่งว่ากันว่าเป็นแบบนี้เพราะซู ชิง หมิงไม่อยากเจอกับอำนาจ  

อันดับ3 : คิวบาเหรียญทองหาย

กรณีน่าสงสัยนี้เริ่มต้นในโอลิมปิก 2008 ที่ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพ หลังจากที่ประเทศคิวบาเป็นเจ้าเหรียญทองกีฬามวยสากลสมัครเล่นมาหลายปี โกยเหรียญทองไม่ต่ำกว่า 4 เหรียญทอง ทว่าโอลิมปิกที่ประเทศจีนนี้เอง ที่นักชกคิวบาได้เข้าชิงถึง 4 เหรียญทอง แต่กลับไม่ได้เหรียญทอง แม้แต่เหรียญเดียวกลับบ้าน ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ ทำให้ลอนดอนเกมส์ที่ผ่านมา คิวบาต้องฝึกนักมวยให้เก่งที่สุดชนิดต่อยชนะเป็น 10 หมัดเพื่อป้องกันการโกงคะแนน

อันดับ2 : แก้ว พงษ์ประยูร

กรณีของแก้ว พงษ์ประยูร แม้จะเป็นที่ถกเถียงของหลายฝ่ายถึงการตัดสินที่ไม่โปร่งใส แต่ก็ไม่ชัดเจนถึงขนาดที่จะบอกได้ว่า แก้วชนะขาดลอย ไม่มีหมัดน็อกถึงขั้นส่งซู ชิง หมิงลงไปนับ ทว่าความไม่ชอบมาพากลก็ปรากฏจากการเผยคะแนนดิบที่กรรมการจากโมร็อกโกให้ คะแนนแก้วแพ้ขาดทั้งสามยก ซึ่งไม่ว่ามองยังไงคะแนนของแก้วในยกสามก็ไม่ควรแพ้หรือถูกทิ้งชนิดไม่เห็นฝุ่น  

อันดับ1 : รอย โจนส์ จูเนียร์ แพ้ที่กรุงโซล

เกิดขึ้นในโอลิมปิกที่กรุงโซลปี 1988 รอย โจนส์ จูเนียร์ถูกตัดสินให้แพ้ต่อปาร์ค ซี - ฮันนักชกเจ้าภาพ ซึ่งในครั้งนั้นโจนส์ชกเข้าหน้าคู่ต่อสู้ไปหลายต่อหลายครั้ง แต่กลับถูกปล้นชัยชนะโดยแพ้คะแนนไปอย่างขัดสายตาคนดูทั้งโลก หลังจากนั้นกรรมการสามคนถูกสั่งพักงาน เพราะเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า กรรมการรับสินบน 2 ล้านดอลลาร์จากเกาหลีใต้ ภายหลังได้มีการฟ้องศาลในสหรัฐฯ และเมื่อไม่นานมานี้ศาลก็ตัดสินให้โจนส์ได้เหรียญทองโอลิมปิกครั้งนี้แต่ก็ ทิ้งช่วงเวลานานเกือบ 20 ปี

ข้อมูลโดยtoptenthailand.com




Create Date : 18 สิงหาคม 2555
Last Update : 18 สิงหาคม 2555 20:29:47 น. 0 comments
Counter : 2112 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tukdee
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 51 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add tukdee's blog to your web]