เรื่องราวในอดีตทุกๆ เรื่องนั้นเป็นครูสอนเราได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าเรื่องนั้นๆ จะเป็นอย่างไรก็ตาม ฉะนั้นก่อนที่จะพูดหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงไตร่ตรองให้ถ้วนถี่ ก่อนที่จะพูดหรือลงมือกระทำ . คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

Group Blog
 
<<
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
29 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
สยามานุสสติ คำโคลงพระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว




สยามานุสสติ

สยามานุสสติ เป็นคำโคลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2461 และได้พระราชทานแก่ทหารอาสาสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาได้มีการนำโคลงนี้มาแต่งเป็นเพลงปลุกใจ ซึ่งประพันธ์ทำนองโดยนารถ ถาวรบุตร

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์โคลงสยามานุสสติมาจาก คำขวัญปลุกใจของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่ว่า "What stands if Freedom fall? Who dies if England live?"



คำโคลงพระราชนิพนธ์เดิม



๏ รักราช จงจิตน้อม ภักดี ท่านนา
รักชาติ กอบกรณีย์ แน่วไว้
รักศาสน์ กอบบุญตรี สุจริต ถ้วนเทอญ
รักศักดิ์ จงจิตให้ โลกซร้องสรรเสริญฯ
๏ ยามเดินยืนนั่งน้อม กะมล
รำลึกถึงเทศตน อยู่ยั้ง
เป็นรัฎฐะมณฑล ไทยอยู่ สราญฮา
คนถนอมแน่นตั้ง อยู่เพี้ยงอวสานฯ
๏ ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย
ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น
เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล ยอมสละ สิ้นแล
เสียชีพไป่เสียสิ้น ชื่อก้องเกียรติงามฯ
๏ หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง
เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย
หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤๅ
เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทยฯ

[แก้] เพลงสยามานุสติ
นารถ ถาวรบุตรได้ประพันธ์เพลงสยามานุสติขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482 เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ค่ายบางระจัน" ของบริษัทศรีกรุงภาพยนตร์ ซึ่งส่วนของเนื้อร้องนั้น ได้ตัดเอาบทพระราชนิพนธ์สยามานุสสติบทที่ 3 และบทที่ 4 มาใช้ โดยสลับเอาบทที่ 4 มาร้องก่อนแล้วจึงค่อยร้องบทที่ 3 ในลำดับถัดไป ดังนี้

หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง
เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย
หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤๅ
เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทยฯ
ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย
ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น
เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล ยอมสละ สิ้นแล
เสียชีพไป่เสียสิ้น ชื่อก้องเกียรติงามฯ


สยามานุสสติ..ร่วมรักชาติ จากเพลง รำลึกอดีตด้วยสิ่งพิมพ์คลาสสิคชิ้นเล็กๆ







พระราชลัญจกรประจำพระองค์ อ้างอิง วิกิพีเดีย

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 6พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พระวชิระ ซึ่งมาจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "มหาวชิราวุธ" ซึ่งหมายถึง สายฟ้าอันเป็นศาตราวุธของพระอินทร์ พระราชลัญจกรพระวชิระนั้น เป็นตรางา รูปรี กว้าง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๖.๘ ซ.ม. มีรูปวชิราวุธเปล่งรัศมีที่ยอด ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ๒ ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง ๒ ข้าง

เสด็จสวรรคต เมื่อเวลา ๗ ทุ่ม ๔๕ นาที (๑ นาฬิกา ๔๕ นาที) ของวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๖๘ หลังจากที่ทรงพระประชวรด้วยอาการพระอันตะ (ลำไส้) ทะลุ จากแผลผ่าตัดพระนาภีที่เกิดอาการอักเสบขั้นทะลุบริเวณพระนาภี (ผิวหนังหน้าท้อง)


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตในรัชกาลที่ ๖ และทรงกำหนดให้วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน เป็นวันคล้ายวันเถลิงราชย์ของพระองค์

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร และใต้ฐาน พระร่วงโรจนฤทธิ์ ณ พระวิหารด้านทิศเหนือ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เมื่อ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๙

ใน พ.ศ. ๒๕๒๔ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก

อ้างอิง วิกิพีเดีย




« SEA Games and SEAP Games Historyพระราชอัจฉริยภาพ ประติมากรรม ร.๙ »สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า สยามานุสสติ
By dcopywriter




สยามานุสสติ เป็นคำโคลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑

๏ รักราช จงจิตน้อม ภักดี ท่านนา
รักชาติ กอบกรณีย์ แน่วไว้
รักศาสน์ กอบบุญตรี สุจริต ถ้วนเทอญ
รักศักดิ์ จงจิตให้ โลกซร้อง สรรเสริญฯ
๏ ยามเดินยืนนั่งน้อม กะมล
รำลึกถึงเทศตน อยู่ยั้ง
เป็นรัฎฐะมณฑล ไทยอยู่ สราญฮา
คนถนอมแน่นตั้ง อยู่เพี้ยง อวสานฯ
๏ ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย
ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น
เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล ยอมสละ สิ้นแล
เสียชีพไป่เสียสิ้น ชื่อก้อง เกียรติงามฯ
๏ หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง
เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย
หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤๅ
เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้น สกุลไทยฯ

ต่อมาได้พระราชทานแก่ทหารอาสาสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ ด้วยและต่อมาครูนารถ ถาวรบุตร นำโคลงนี้มาแต่งเป็นเพลงมาร์ช หรือเพลงปลุกใจ ที่เราๆท่านๆคุ้นเคยกันดี โดยเอามาเฉพาะบทที่ ๓ และ ๔ มาสลับตำแหน่งใหม่

พระราชวังสนามจันทร์ที่พระองค์ท่านได้สร้างไว้เผื่อเป็น เมืองหลวงใหม่ถ้ามีสงคราม และใช้ฝึกรบเสือป่า ทหารหรือลูกเสือชาวบ้าน ที่จะทรงใช้งานในภาระกิจบางอย่างที่ทหารทำไม่ได้ และประเด็นที่สองคือต้องการให้มี “สติ” สำหรับเหล่านักเลือกตั้งเมืองไทยและผู้ที่จะต้องไปเลือกตั้งกัน

อันที่จริงพระคุณ พระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านมีมากมาย เหลือคณานับเหมือนๆกับพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทยทุกๆพระองค์ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มหลายๆ อย่างในเมืองไทย ที่หลายๆ ท่านที่รู้และอาจยังไม่รู้ เช่น พระทรงเป็นกษัตริย์นักรบและนักปราชญ์ ทรงก่อกำเนิดแสนยานุภาพกองทัพไทย บก เรือ อากาศ ทรงนำทัพไทย สู่สงครามโลกครั้งที่ ๑ จนประสบชัยชนะ ร่วมกับกองทัพฝ่ายพันธมิตร ทรงให้กำเนิดธงไตรรงค์ ที่เรายืนเคารพกันเสมอๆในทุกวันนี้ แทนธงช้างก่อนเข้าร่วมสงคราม ที่บ้างครั้งชักผิดเอาหัวช้างกลับลงบ้าง




ดังนั้นทรงเห็นสมควรที่จะเปลี่ยนธงชาติไทยให้เป็นธงสามสี คือ สีขาว สีแดง และน้ำเงิน ตามลักษณะธงชาติของประเทศที่เป็นสัมพันธมิตรกับกรุงสยาม และเพื่อเป็นเครื่องหมายให้เห็นว่าได้ร่วมสุขทุกข์และเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสัมพันธมิตรหมู่ใหญ่ อนึ่ง ธงสามสีดังกล่าวได้พระราชทานให้เรียกว่า “ ธงไตรรงค์” ทั้งนี้พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ถึงความหมายของสีทั้งสามว่า

ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย
แห่งสีทั้งสามงามถนัด
ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์
และธรรมะคุ้มจิตไทย
แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้
เพื่อรักษะชาติศาสนา
น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมประชา
ธ โปรดเปนของส่วนองค์
จัดริ้วเข้าเปนไตรรงค์ จึ่งเปนสีธง
ที่รักแห่งเราชาวไทย
ทหารอวตารนำไป ยงยุทธ์วิชัย
วิชิตก็ชูเกียรติสยามฯ
(จากหนังสือดุสิตสมิตฉบับพิเศษ พ.ศ.๒๔๖๑ สะกดตามต้นฉบับ)

จากความหมายจะเห็นถึงพระปรีชาญาณอันลึกซึ้งของรัชกาลที่ ๖ ในการนำสถาบันที่สำคัญของชาติ คือ ชาติ ศาสนา (ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าจากคำว่า พระไตรรัตน์ ทรงหมายถึง ศาสนาพุทธ คือต้องการให้ประเทศของพระองค์ ทรงมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ให้ทรงมีธรรมะคุ้มจิตไทย ซึ่งศาสนาใดๆก็มีธรรมทั้งนั้น ดังนั้นศาสนาใดๆก็ทรงอยู่ร่วมในขอบเขตอาณาบริเวณดินแดนสยามนี้ได้อย่างเป็นสุขเท่าเทียมกัน) และพระมหากษัตริย์ มาเป็นสัญลักษณ์บนผืนธงได้อย่างงดงามเป็นศรีสง่าและเป็นความภูมิใจของชาวสยามได้ตลอดไป สิ่งนี้เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้อีกประการหนึ่ง

ทรงให้กำเนิดเสือป่าและลูกเสือไทย ทรงให้กำเนิด พรบ.โรงเรียนราษฎร์ พรบ.การประถมศึกษา ทรงสถาปนาจุฬาฯ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นโอรสมาสืบต่อสร้างให้เป็นมหาวิทยาลัย เป็นพระผู้ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังเห็นได้จากพระบรมรูปทั้งสองรัชกาลในจุฬาฯ

โปรดเกล้าฯให้ตั้ง บริษัทปูนซีเมนต์ไทย ในปี พ . ศ. ๒๔๕๖ ซึ่งปัจจุบันคือ SCC ในตลาดหุ้น ทรงให้กำเนิดกระทรวงพาณิชย์ ทรงให้กำเนิดนามสกุล พระราชทานไว้มีทั้งสิ้น ๖๔๖๔ นามสกุล พระราชทานคำนำหน้าที่เราใช้ๆกัน ทรงให้กำเนิดกรมชลประทาน การออมสินและการสหกรณ์ ทรงเป็นกวีเอก ผู้ให้กำเนิดกรมศิลปากร ทรงริเริ่มคำว่า “ไชโย” “จังหวัด” “พุทธศักราช” และเปลี่ยนคำอื่นๆมาเป็นคำเช่นที่เราใช้ๆกันอยู่อีกมากมาย และทรงมีพระกรณียกิจอื่นๆอีกเยอะครับ

และที่สำคัญพระผู้ทรงให้กำเนิดดุสิตธานี ต้นแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งแนวทางประชาธิปไตยได้ริเริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เพราะทรงเริ่มเห็นทิศทางการพัฒนาตามฝั่งตะวันตก (จะเห็นได้ว่าทรงเป็นโหรชั้นเอก ที่รู้ล่วงหน้า ถึงขนาดทรงวางหลักเมืองใหม่ รองรับเหตุการณ์ไว้ด้วย) ต่อมาเสด็จพ่อ ร.๕ ก็ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชกาลแผ่นดิน และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (ซึ่งเป็นที่มาขององคมนตรี ในปัจจุบัน) นอกจากนี้ยังทรงโปรดให้มีการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งจัดว่าเป็นการปูพื้นฐานประชาธิปไตยที่ชัดเจน และต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงตั้งดุสิตธานี ให้เป็นเมืองจำลอง การปกครองแบบประชาธิปไตย และต่อมาเมื่อมีปฎวัติยังทรงอภัยโทษให้แก่ผู้ก่อการกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ ด้วย

และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๗ พระองค์ถึงกับทรงเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนไทยแต่ถูกสภาที่ปรึกษาและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ทูลทัดทานว่ายังไม่ควรปกครองประเทศในระบบรัฐสภา เนื่องจากประชาชนยังไม่พร้อมเป็นผลให้เกิดการปฏิวัติในเวลาต่อมา จากบัดนั้นจนบัดนนี้ซึ่งผ่านมาก็หลายปีแล้วแล้ว ก็ยังมีการปฏิวัติกันอีก จนถ้าที่ไหนมีปฏิวัติกันจะต้องยกประเทศไทยนี้ เป็นข้อเปรียบเทียบ จนมีสำนวนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องนี้เหมือนเรื่องวิกฤติต้มยำกุ้งไปแล้ว ไม่รู้ควรจะภูมิใจดีหรือเปล่า

พระราชสมัญญาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) เป็นผู้ผูกคำถวายให้ภายหลัง



เพลงสยามานุสสติ ( บรรเลง )


object width="425" height="344">


เพลงความฝันอันสูงสุด สยามานุสสติอนุสรณ์

ข้อมูลบางส่วนนำมาจาก ; //dcopywriter.wordpress.com/2007/12/02
และ ; //th.wikipedia.org/wiKI

ทุกๆ เช้าวันเสาร์ เวลา 06..00 - 07.00 น. เชิญฟังรายการ " เพลงหวานตำนานเก่า " ได้ทางสถานีวิทยุ FM. 89.5 mhz. ดำเนินรายการโดย " คุณคีตะรัตน์ " นำเสนอเพลงลูกกรุง เพลงสุนทราภรณ์ เพลงหนัง เพลงละครรวมทั้งเพลงละครเวทีในอดีตที่โด่งดังมาแล้ว ในช่วงกลางของรายการมีช่วง " ลำนำเพลง " ซึ่งมีกลอนที่แฟนๆ รายการส่งเข้ามาร่วมสร้างสีสรรให้กับรายการประกอบบทเพลง และยังเล่าใหฟังถึงเกร็ดประวัติเพลงที่ไปที่มาของเพลง และครูเพลงให้ฟังกันในรายการ ซึ่งเป็นความรู้พร้อมกับความเพลิดเพลินในการฟังเพลง นับว่าคุ้ม

นอกจากนี้สามารถคลิกเข้าไปฟังรายการย้อนหลังได้ที่ ; //www.theoldsweetsong.com





Create Date : 29 กันยายน 2552
Last Update : 30 กันยายน 2552 14:53:18 น. 3 comments
Counter : 13253 Pageviews.

 
สนุกดีคะ


โดย: ....>>>>>>>> IP: 125.26.116.154 วันที่: 31 ตุลาคม 2552 เวลา:12:32:46 น.  

 
หวัดดีคร้า


โดย: yok IP: 112.142.42.226 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2552 เวลา:12:25:53 น.  

 
หนูชอบมากเพลงทุกเพลง


โดย: ด.ญ.ปริสรา แสงมณี IP: 114.128.58.212 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:17:44:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sweetsong
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




http://i442.photobucket.com/albums/qq143/yamiejung11/mie009/pup51.jpg iLength = document.images.length; for(i=0;i
Friends' blogs
[Add sweetsong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.