<<
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
23 มีนาคม 2557
 
 
ออกกำลังกาย ต้าน ข้อเข่าเสื่อม ก่อนวัย

โรค ข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาที่พบบ่อยโดยเฉพาะในวัยสูงอายุและเป็นโรคที่รบกวนกิจวัตรประจำวัน ทำให้ลุกยืน เดิน ขึ้นบันไดได้ลำบาก บางครั้งกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทำให้ไปไหนมาไหนไม่ได้สะดวก บางรายต้องอยู่บ้าน ไม่อยากไปไหนมาไหน แต่เชื่อไหมว่า ยังไม่ทันแก่…ข้อก็เสื่อมได้


Untitled

ที่มาข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม มักเกิดจากการใช้งานข้อที่ไม่ถูกต้อง หรือเป็นตามวัยคือใช้งานมานาน ย่อมมีความสึกหรอไปตามเวลา แต่บางรายใช้งานไม่ถูกต้อง จะเป็นการเร่งให้โรคข้อเสื่อมเป็นไปเร็วขึ้น(โรคข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ) มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดในช่วงอายุมากกว่า 60 ปี นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรคบางอย่างเป็นสาเหตุให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้เร็วกว่าวัยอันควร เช่น โรคเอ็นภายในข้อเข่าฉีกขาด หมอนรองข้อเข่าแตก กระดูกสะบ้าหลุด หรือมีการติดเชื้อภายในข้อเข่า เป็นต้น โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์ประกอบของข้อเข่าเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุนำให้เกิดโรคข้อเสื่อมก่อนวัย(โรคข้อเข่าเสื่อมทุติยภูมิ)

พฤติกรรมทำร้ายข้อเข่า

1. คนที่ชอบนั่งงอเข่า ขัดสมาธิ พับเพียบ หรือนั่งยอง ๆ เป็นประจำ จะเพิ่มแรงอัดภายในข้อเข่า ซึ่งจะรบกวนการนำอาหารไปสู่เซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ โรคข้อเข่าเสื่อมนี้ เริ่มจากการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อโดยตรง และเมื่อเป็นมากขึ้นการสึกหรอจะลามไปยังองค์ประกอบอื่นของข้อเข่า เช่น ชั้นใต้กระดูกอ่อนซึ่งเป็นกระดูกแข็ง จะเกิดถุงน้ำข้างใต้กระดูก หมอนรองเข่าสึก เอ็นหุ้มข้อเข่าหนาตัวขึ้น มีกระดูกงอกบริเวณปลายกระดูก เป็นต้น

2. กรณีน้ำหนักตัวมากเกินก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่เร่งให้เกิดอาการข้อเสื่อมเร็วขึ้น เพราะข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวตลอดเวลาที่ใช้งานข้อ ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน หรือขึ้นลงบันไดก็ตาม

3. การใส่รองเท้าส้นสูง จะทำให้ข้อเข่ามีแรงกดทับมากกว่าปกติ ทั้งยังทำร้ายข้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า เพราะเป็นอวัยวะที่ต้องรับน้ำหนักก่อนจุดอื่น ๆ ซึ่งเป็นจุดที่รับน้ำหนักได้ง่าย และหากคนที่ข้อเข่าไม่แข็งแรง หรือมีโครงสร้างร่างกายผิดปกติ จะมีผลกระทบมากกว่าคนปกติ

อาการข้อเสื่อม

ในระยะแรก จะสังเกตว่ามีเสียงดังขณะขยับข้อไปมา บางรายมีอาการข้อฝืดโดยเฉพาะเวลานั่งนาน ๆ หรือขณะเปลี่ยนอิริยาบถ จะเสมือนข้อถูกล็อกไว้ ต้องขยับไปมาสัก 2-3 ครั้ง จึงเหยียดเข่าออกได้ บางรายมีข้อบวมโต หรือมีบวมแดง มีน้ำภายในข้อ ซึ่งบ่งถึงการอักเสบที่เป็นมากขึ้นนั่นเอง ในรายที่เป็นมากอาจพบข้อติด ขยับไม่ได้เต็มที่ หรืออาจพบกล้ามเนื้อขาลีบเล็กลงกว่าข้างปกติ เป็นต้น

บริหารกล้ามเนื้อข้อเข่าเพื่อเพิ่มความแข็งแรง

การออกกำลังกายหรือกายบริหารนั้น ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยเน้นกล้ามเนื้อหน้าขาหรือกล้ามเนื้อเหยียดเข่าเป็นหลัก ท่าบริหารข้างล่างนี้เริ่มจากง่ายไปยาก ดังนี้

    ท่าที่ 1
        นอนหงาย เอาหมอนเล็ก ๆ วางใต้เข่า
        เหยียดเข่าตรง นับ 1-10
        ทำได้ในช่วงแรกที่กล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรงมากนัก

    ท่าที่ 2
        นั่งยกขาข้างหนึ่งวางพาดม้าเตี้ย
        เหยียดเข่าตรง เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา
        พร้อมกระดกข้อเท้าขึ้น
        นับ 1-10 หรือเท่าที่ทำได้
        ท่านี้เหมาะสำหรับผู้ที่กล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรงพอที่จะยกขาตนเองได้
        ถ้ามีปัญหาข้อเหยียดไม่สุด ให้ใช้ถุงทรายถ่วงที่ข้อเข่าร่วมด้วย

    ท่าที่ 3
        นั่งชิดพนักเก้าอี้
        เหยียดเข่าตรงพร้อมกระดกข้อเท้าขึ้น
        เกร็งค้างนับ 1-10 ทำสลับข้าง

    ท่าที่ 4
        นั่งไขว้ขา
        ขาที่อยู่ด้านล่างเกร็งเหยียดเข่าตรงเท่าที่ทำได้
        เกร็งนับ 1-10 และทำสลับข้างเช่นกัน
        ช่วยฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขาได้ดี

    ท่าที่ 5
        นั่งไขว้ขาเหมือนท่าที่ 4 แต่ให้ขาที่อยู่ด้านบนออกแรงกดลงด้วย ในขณะที่ขาล่างเหยียดขึ้นตรงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้เช่นกัน
        กล้ามเนื้อหน้าขาของขาล่างต้องรับน้ำหนักมากขึ้นอีก คือทั้งน้ำหนักของขาล่างรวมกับน้ำหนักของขา ข้างบน และแรงกดจากขาที่อยู่ข้างบน ทำสลับข้างในทำนองเดียวกัน
        ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อหน้าขาและท้องขาได้ดีมาก เป็นท่าที่ยากที่สุด เนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าขาต้องออกแรงมากที่สุด

การบริหารทุกท่าให้เริ่มทำจากน้อยไปมาก โดยทำชุดละประมาณ 20-30 ครั้ง วันละ 2-3 ชุด เป็นอย่างน้อย ค่อย ๆ เพิ่มตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบเข่าของแต่ละคน จนได้ประมาณ 100 ครั้งต่อวัน

ใช้ข้อเข่าอย่างถูกวิธี

การใช้ข้ออย่างถูกวิธี จะช่วยถนอมข้อเข่าให้สามารถใช้งานได้นานขึ้น ชะลอความเสื่อม ซึ่งวิธีการนั้นตรงข้ามกับพฤติกรรมซึ่งทำร้ายข้อนั่นเอง กล่าวคือ

    ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกิน
    เลี่ยงกิจกรรมที่ต้องงอเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ หรือการนั่งยอง ๆ
    ขึ้นลงบันไดเท่าที่จำเป็น หากอยู่บ้านชั้นล่างได้จะเป็นการดีมาก ไม่ต้องขึ้นลงบ่อย ๆ
    เลือกประเภทของการออกกำลังกายที่ไม่มีผลร้ายต่อข้อเข่า เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน หรือการออกกำลังกายในน้ำ เป็นต้น
    หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดแรงกระทำต่อข้อได้
    ใช้สนับเข่าเท่าที่จำเป็น มักเลือกใช้ในรายที่ข้อเสียความมั่นคง แต่หากข้อยังมีความมั่นคงอยู่ การใช้สนับเข่า อาจทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบเข่าอ่อนแรงได้
    หากมีอาการเจ็บข้อเข่ามากอย่างเฉียบพลัน อาจถือร่มหรือไม้เท้าในด้านตรงข้ามกับขาที่เจ็บ จะช่วยลดแรงกระทำต่อข้อ และลดอาการปวดได้

อย่าลืม หมั่นสำรวจกิจวัตรประจำวันของท่านว่า ในแต่ละวันท่านทำร้ายข้อเข่ามากน้อยเพียงไร หากท่านมีอาการข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย ขอย้ำว่า “ไม่มีคำว่าสาย ในการแก้ไขพฤติกรรมต่าง ๆ ให้ถูกต้อง” สิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่มิควรละเลย คือความสม่ำเสมอของการออกกำลังกาย เพื่อเสริมความแข็งแรงของข้อเข่า

เริ่มเสียแต่วันนี้ เพื่อป้องกันการเกิดข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควรค่ะ



ที่มา://health.mthai.com/howto/health-care/3814.html



Create Date : 23 มีนาคม 2557
Last Update : 23 มีนาคม 2557 21:10:13 น. 0 comments
Counter : 1185 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

prayakong
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add prayakong's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com