ความรู้มีไว้แบ่งปัน

CM Triplets
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Group Blog
 
 
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
12 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add CM Triplets's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 
เลือกของเล่นยังไงให้สร้างสรรค์

การเล่น คือ งานของเด็ก


คุณลักษณะของของเล่นที่ดี มีดังนี้
1. เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความสนใจของเด็ก ของเล่นควรเหมาะกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย ของเล่นที่ง่ายเกินไปเด็กจะเบื่อ ตรงกันข้ามของเล่นที่ยากไปเด็กจะท้อถอยไม่สนุกกับการเล่น

2. ของเล่นที่เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจพัฒนาประสาทสัมผัส พัฒนาความคิด การเลียนแบบ การสร้างจินตนาการอย่างสร้างสรรค์

3. ของเล่นควรเล่นได้ทุกวัย เช่น ฟุตบอล, ตุ๊กตา, บล็อกไม้ โดยรูปแบบการเล่นจะแตกต่างกันไปตามวัย

4. ทนทาน สามารถล้างและทำความสะอาดได้ง่าย

5. ปลอดภัย ปราศจากสารพิษ และห่างไกลจากอุบัติเหตุ การเลือกของเล่นควรเลือกให้ได้มาตรฐาน เช่น ขนาดที่เหมาะสมในเด็กอายุต่ำกว่า3ปีไม่ควรเล่นของเล่นที่มีขนาดเล็กกว่า 3 ซม. สีที่ปราศจากพิษ(nontoxic)
***การเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัยช่วงขวบปีแรก
แรกเกิด – 3 เดือน
การเล่นของเล่นที่เหมาะกับเด็กวัยนี้คือ การเล่นที่กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น, การได้ยิน, การสัมผัส, การดมกลิ่น, การรับรส เด็กเริ่มมองเห็นแล้วในระยะ 8 – 12 นิ้ว เด็กวัยนี้จะชอบสีสันที่สดใส ชอบมองการเคลื่อนไหว การได้ยิน เด็กเริ่มได้ยินเสียงตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และจะมีการเปลี่ยนแปลงที่แสดงให้เห็นในด้านการเคลื่อนไหวเมื่อได้ยินเสียง เช่น การหันหาเสียง การขยับมือขยับเท้า การสัมผัส เด็กวัยนี้สามารถที่จะแยกความรู้สึกสัมผัสที่แตกต่างและสามารถที่จะรับรู้กลิ่นของคนเลี้ยงไปพร้อมกันด้วย นุ่มนวล เด็กจะเพลิดเพลิน ประกอบการเล่นแบบไทยๆ เช่น การเล่นปูไต่ จะเป็นการกระตุ้นสัมผัสทางผิวหนัง การแขวนของเล่นชนิดแขวนให้เด็กดู เช่น แขวนปลาตะเพียน, โมบาย (Mobile)

4 – 6 เดือน
เด็กจะเริ่มคว้าของใกล้ตัว มีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งรอบตัวมากขึ้น กรุ้งกริ๊งที่สั่นแล้วเกิดเสียงเด็กวัยนี้จะชอบเป็นพิเศษ ดังนั้นตุ๊กตานุ่มๆ ที่ทำด้วยพื้นผ้าที่แตกต่างกันไป แขวนหรือวางของเล่นไว้ในระยะที่เด็กพอเอื้อมถึงแกว่งของและล่อให้เด็กเอื้อมมือไปคว้าจะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้มีพัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อมัด

6 – 9 เดือน
ดังนั้นกิจกรรมที่เหมาะกับเด็กวัยนี้คือ การเล่นจ๊ะเอ๋, เล่นตบแปะ การร้องเพลงที่มีการตอบสนองพร้อมการทำท่าทางประกอบ ในช่วงต้นเด็กจะสำรวจของเล่นด้วยปาก ดังนั้นตุ๊กตายางสำหรับกัด จึงเหมาะกับเด็กวัยนี้

9 – 12 เดือน
ควรหัดให้เด็กฝึกชี้รูปภาพจากหนังสือ โดยจับมือเด็กชี้ที่รูปภาพที่เราพูดชื่อและให้เด็กพูดตาม ดังนั้น หนังสือภาพจึงเป็นของเล่นที่เหมาะสมและเด็กเองก็จะมีความรู้สึกสนุกกับการเล่นแบบนี้เช่นกัน การร้องเพลงที่มีภาษาคล้องจองภาษาซ้ำ ๆ ท่องบทกลอนกล่อมเด็กจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจภาษา และเป็นการฝึกให้เด็กคุ้นเคยกับฐานเสียงต่างๆ

การเล่นตุ๊กตาหุ่น โดยสมมุติให้ตุ๊กตาพูดคุยกับเด็กและให้เด็กตอบโต้ตุ๊กตา จะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและจินตนาการได้อย่างดี เด็กวัยนี้จะเริ่มเกาะยืน การให้ของเล่นลากจูงจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อต่างๆได้อย่างสมดุล

***ตัวอย่างของเล่นและการเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยช่วง 1-5 ปี

1 – 2 ปี
กิจกรรมการเล่น
- ร้องเพลงกล่อมหรือท่องบทกลอนให้เด็กฟัง หรือเพลงที่ใช้ภาษาซ้ำ ๆ เช่น กาเอ๋ยกา จันทร์เจ้าขา
- ให้จูงลากของหรือเข็นรถเข็นเล็กๆ (15)
- ตุ๊กตาหุ่นกระบอก เล่นตุ๊กตาหุ่นแสร้งให้ตุ๊กตาพูดคุยกับเด็กและให้เด็กสนใจหรือส่งเสียงตอบสนอง
- สมุดรูปภาพ พยายามกระตุ้นให้เด็กออกเสียงตามเมื่อเอ่ยชื่อ
- เล่นลูกบอล กลิ้งลูกบอลไปให้เด็กกลิ้งกลับมา
- ของเล่นไขลาน การเล่นในสนามเด็กเล่น พูดให้เด็กฟังในสิ่งที่พบเห็น อาจเปิดโอกาสให้เล่นดินเล่นทราย
- บล๊อกไม้ ให้เด็กหัดวางซ้อนกัน โดยทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
- หนังสือ pop up
- ร้องเพลงหัดเดินตามจังหวะ เพลงสอนให้รู้จักอวัยวะ เช่นร่างกายของฉัน 4 – 6 ส่วน
- เล่นเกมส์ ตบแผละ
- เล่นซ่อนหา
- ปั้นแป้งโด

จุดมุ่งหมาย
- พัฒนาทักษะการทรงตัวและการเคลื่อนไหวและการทำงานอย่างประสานกันของกล้ามเนื้อ
- พัฒนาความเข้าใจภาษา
- พัฒนาทักษะทางสังคม
- ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้อื่น
- ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
- ทำให้รู้คำศัพท์มากขึ้น ฝึกจินตนาการ เพิ่มปฏิสัมพันธ์
- กระตุ้นสัมผัสกับสิ่งสัมผัสที่หลากหลาย
- ให้เด็กฝึกการกะระยะของพื้นที่กับมิติ ฝึกการใช้มือและตาให้ทำงานร่วมกัน
- ฝึกการเคลื่อนไหวมือที่สลับข้างได้ดีขึ้น รับรู้เรื่องราว เกิดทักษะภาษา ฝึกความจำ
- เรียนรู้ในทิศทางและการเคลื่อนไหว สนุกสนานที่ได้เล่นกับผู้อื่น ฝึกการรอคอย
- สร้างสรรค์จินตนาการ กล้ามเนื้อ มือแข็งแรงขึ้น การใช้ตาทำงานร่วมกันดีขึ้น

2 – 3 ปี
กิจกรรมการเล่น
- ภาพต่อ ตัวต่อเป็นรูปทรงง่าย ๆ ต่อ บล็อกไม้ 2 – 3 แท่ง เป็นรูปรถไฟ / ซ้อนบล็อก 8 – 7 แท่ง
- ฝึกขีดเขียนจากกระดาษและดินสอ เป็นรูป เส้นตรง วงกลม
- หนังสือภาพ สอนเรื่องสี จับคู่ภาพเหมือน บอกชื่อภาพสัตว์ได้
- หัดร้องเพลงง่าย ๆ eg เพลงช้าง
- เล่นสมมุติเป็น เล่นป้อนตุ๊กตา
- พูดคุยและตอบคำถามของเด็กอย่างตรงไปตรงมาด้วยท่าทีที่สนใจ
- ถีบจักรยาน 3 ล้อ
- เริ่มเล่นรวมกลุ่มกับเด็กอื่น ๆ ไล่จับ , รีรีข้าวสาร , แม่งู , จ้ำจี้มะเขือเปราะ
- เล่นในสนามเด็กเล่นที่ฝึกปีนป่าย ลื่นไถล โดยผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด
- เกมโดมิโนที่มีรูปทรงหลายแบบ
- เครื่องมือช่าง (ไขควง ค้อน ตะปู) โต๊ะสำหรับงานช่วงที่ออกแบบสำหรับลูกวัยเดาะแดะ

จุดมุ่งหมาย
- ฝึกการสังเกต
- ฝึกความเข้าใจเหตุผลที่ไม่ซับซ้อน
- ฝึกทักษะทางภาษา และสังคม
- ฝึกทักษะกล้ามเนื้อ
- ฝึกทักษะทางภาษา
- ฝึกการทำงานของตาและมือในการแก้ปัญหา ฝึกสังเกต
- ฝึกเข้าใจกติกาง่าย ๆ
- ฝึกการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
- ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น การทำงานอย่างประสานกันดีและช่วยให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว
- ฝึกให้คิดอย่างมีขึ้นตอน ใช้มือกับสายตาประสานกันดี
- อุปกรณ์การเล่น(17) จะช่วยให้เข้าใจเหตุและผลที่ตามมา ฝึกทักษะการใช้มือได้เก่งขึ้น สายตากับมือทำงานประสานกันได้ดีขึ้น เพราะได้ใช้ข้อมือหมุนฝึกให้กล้ามเนื้อแข็งแรง

3 – 5 ปี
กิจกรรมการเล่น
- ดูหนังสือและหัดเล่าเรื่องจากภาพ
- วาดภาพและต่อภาพตัวต่อที่ซับซ้อนขึ้นตามจินตนาการของเด็ก
- ให้เล่นบทบาทสมมุติ ร่วมกับเด็กอื่น เช่น เล่นขายของหม้อข้าวหม้อแกง เล่นหมอกับคนไข้
- เปิดโอกาสให้ได้ทำงานบ้านง่าย ๆ ตามผู้ใหญ่
- เกมส์ที่มีกฎเกณฑ์กติกาและแบ่งหน้าที่ชัดเจน เช่น เล่นซ่อนหา(18,19)
- เล่นขี่ม้าก้านกล้วย , เดินกะลา, กระต่ายขาเดียว

จุดมุ่งหมาย
- ฝึกทักษะทางภาษา
- ฝึกรวมขบวนการคิดและจินตนาการ
- ฝึกการเข้าสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- พัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และการทรงตัวให้มีการทำงานอย่างสมดุล

สรุป เด็กแต่ละคนย่อมมีทักษะความถนัดในแต่ละด้านที่ไม่เท่ากัน การเล่นให้สร้างสรรค์นั้นควรเริ่มต้นจากสิ่งที่เด็กสนใจแล้วจึงขยายผลไปสู่ทักษะอื่นๆ พึงตระหนักอยู่เสมอว่าของเล่นเพียงอย่างเดียวนั้นแม้จะมีมากมายหรือ ราคาแพงเพียงใดจะไม่สามารถเป็นของเล่นที่สมบูรณ์ได้หากปราศจากคนที่มาเล่นกับเด็ก ด้วยความรักและความเข้าใจบนพื้นฐานของความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว

พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู
กุมารแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก
กลุ่มงานพัฒนาการเด็ก
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี




Create Date : 12 กันยายน 2552
Last Update : 12 กันยายน 2552 16:56:29 น. 0 comments
Counter : 643 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.