คนเขียนหนังสือ ชีวิตเบิกบานในการงาน
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2551
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
16 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 
โคม



(ค้นต้นฉบับเก่า ๆ พบเรื่องนี้ ทำให้คิดพ่อครูสิงห์แก้ว มโนเพ็ชร ครูสอนโคม จึงนำมาลงเพื่อระลึกถึงท่าน)


ภาพพ่อสิงห์แก้ว มโนเพ็ชร จาก //www.thaimisc.com


ฉันคิดว่าการทำโคมต้องมีคุณค่าและความหมายมากกว่าความงดงาม และเป็นเช่นนั้นจริง โคมเป็นเครื่องหมายของจิตใจ วิญญาณแห่งความรัก การบูชา เพราะนอกเหนือจากห้อยแขวนไว้หน้าบ้านแล้ว เขายังทำโคมเพื่อนำไปถวายวัดด้วย

เป็นความเชื่อที่มีมาช้านานว่า โคมเป็นเครื่องหมายแห่งสติปัญญา แสงสว่างจะนำทางจิตใจ และหากผู้ใดจุดโคมในเทศกาลยี่เป็ง วันเพ็ญเดือนสิบสอง เกิดชาติหน้าจะได้เกิดในตระกูลดี
มีทรัพย์สมบัติ และรูปสมบัติคือมีความงาม มีผิวพรรณดี เรียกว่าทั้งรูปสมบัติและทรัพย์สมบัติ

ฉันมาอยู่เมืองเหนือเป็นปีที่สอง ในปีนี้ฉันหวังว่าจะมีโคมแขวนที่หน้าบ้านและมีโคมไปถวายวัด แต่จะต้องเป็นฝีมือการทำของตัวเอง เช่นเดียวกับบ้านใกล้เรือนเคียง

หน้าบ้านมีไผ่ต้นใหญ่ตัดมาเหลาทำโคมได้ กระดาษสาที่จะหุ่มโคมก็มีคนทำในหมู่บ้าน

หมู่บ้านที่ฉันอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านทำกระดาษสาและร่มคือบ้านบ่อสร้าง ผู้คนในหมู่บ้านเป็นช่างฝีมือส่วนใหญ่

ส่วนหมู่บ้านที่ได้ชื่อว่าหมู่บ้านทำโคมนั้นคือหมู่บ้านที่ไกลออกไปชื่อบ้านเมืองสาตร หนองหอย ที่นั่นป็นแหลงทำโคมที่ใหญ่ที่สุด มีการผลิตเพื่อขายด้วย

การทำโคมเป็นงานประดิษฐ์ เป็นงานศิลปะ ศิลปะของการหักไม้ไผ่และตัดกระดาษให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ไปตามจินตนาการแต่มีความหมายในลายนั้น ๆ นับว่าเป็นงานยาก

ฉันเริ่มต้นที่โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา (โฮงเฮียน--ภาษาเหนือ) ซึ่งเปิดสอน การทำโคมและตง การฟ้อน ดนตรีพื้นบ้าน เขียนตัวเมือง ( ตัวเมืองคือตัวหนังสือล้านนา)

ฉันไปสมัครเรียนการทำโคม ครูสอนโคมเป็นศิลปินพื้นบ้าน เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่า บุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาหัตถกรรมศิลป์ ของจังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2533 คือพ่อครูสิงห์แก้ว มโนเพ็ชร

ในหนังสือบุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรม ได้บันทึกผลงานและเกียรติประวัติของครูสิงห์แก้วว่า เป็นชาวล้านนาผู้มีความรอบรู้ในศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านและคงวิถีชีวิตล้านนา เป็นศิลปินพื้นบ้านผู้มีความสามารถประดิษฐ์ตุง(ธง)และโคมชนิดต่าง ๆ ทังโคมชัก โคมแขวน โคมผัด หลายรูปแบบซึ่งเป็นที่นิยมจุดเป็นพุทธบูชาในเทศกาลสำคัญและประดับตกแต่งมณฑลพิธีต่าง ๆ

การเริ่มเรียนวันแรก สิ่งที่ละเลยไม่ได้เลยคือพิธีกรรม ว่ากันถึงพิธีกรรมต่าง ๆ แล้วทางเมืองเหนือมีพิธีกรรมความเชื่อมากมาย

ฉันไม่ค่อยจะรู้เรื่องราวพิธีกรรมจึงไม่ได้เตรียมอะไรไปแม้แต่ดอกไม้ธูปเทียน เจ้าหน้าที่โรงเรียนต้องวิ่งหาให้ ทำกระทงเล็ก ๆ ที่ประกอบด้วยดอกไม้ ธูปสามดอก เทียน 2 เล่ม เพื่อใช้ในพิธีไหว้ครู

ที่เรียนเป็นศาลาเล็กศาลาน้อย อยู่ตามใต้ต้นไม้ มุมหนึ่งของลานกว้างมีเสื่อปูไว้สำหรับนักเรียนนั่งรอทำพิธีไหว้ครู บรรดาพ่อครูแม่ครูนั่งอยู่บนร้าน

การไหว้ครูในขั้นแรกเป็นการไหว้ครูรวม นักเรียนต้องเอาดอกไม้ธูปเทียนไปวางในพานใหญ่ ซึ่งถือเป็นการไหว้รวม ๆ ไปยังครูตั้งแต่อดีตที่เราไม่อาจรู้เห็นได้ด้วยความเชื่อว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกนี้ต้องมีครูซึ่งเป็นคนแรกที่คิดที่สร้างขึ้นมาก่อนและคนต่อมาสร้างขึ้นเพิ่มเติมดัดแปลงปรับปรุงรับต่อเป็นช่วง ๆ ต่อมาก็เป็นการไหว้เฉพาะใครเรียนอะไรก็ไปไหว้ครูของตัวเอง

ผู้ที่เรียนการทำโคมมีครูสองคนคือครูสิงห์แก้ว มโนเพ็ชร และครูเบญจพล สิทธิประณีต ซึ่งเป็นลูกศิษย์ รุ่นแรก ๆ ของครู

เราเรียนกันที่ศาลาเล็ก ๆ มีครูสอนสองคน ผู้เรียน 10 คน ครูเริ่มจากเอาแฟ้มรูปโคมต่าง ๆ ให้ดู อุปกรณ์ต่อไปคือมีดพร้าสองเล่ม เล่มหนึ่งสำหรับผ่าไม้ไผ่เล่มหนึ่งสำหรับเหลา กรรไกรสำหรับตัดกระดาษ และแบบลวดลาย ๆ

วันนี้เริ่มด้วยการพับกระดาษและการตัดลาย เริ่มที่ลายประจำยาม ลายดอก ซึ่งถือเป็นลายพื้นฐานหรือเรียกว่าดอกมาตราฐาน และลายหยดน้ำง่ามโก๋ง ที่ติดส่วนหางของตุง ท่านบอกว่าลายแต่ละลายมีความหมาย เช่นหยดน้ำก็หมายถึงการได้อยู่ในที่ที่มีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ส่วนง่ามโก๋งก็หมายถึงการมีคนค้ำจุน เพราะง่ามโก๋งก็คือง่ามไม้นั่นเอง

การเรียนกับครูสิงห์แก้วไม่ได้เรียนรู้แค่ศิลปะการหักไม้และตัดลายกระดาษเท่านั้นแต่ยังได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตเพราะตลอดเวลาที่ครูตัดกระดาษครูก็จะพูดไปด้วย เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง ด้วยอารมณ์ขัน แถมด้วยการร้องเพลงและท่องบทกลอนต่าง ๆ ให้ฟัง

ท่านเล่าถึงเรื่องราวของท่านในวัยเด็ก เรียนจากคนเฒ่าที่มีผีมือในการทำปราสาทศพ เป็นการงานที่ทำด้วยใจรักเพราะไม่มีค่าจ้างมีแต่คำขอบคุณ (ยินดีนัก ๆ ) วัยหนุ่มของครูรับราชการเป็นช่างฝีมือของกรมทางหลวง

ในช่วงที่ครูสอนฉัน ครูอยู่ในวัย 82 ยังแข็งแรงนั่งตัดลาย นั่งพูดคุยเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ได้นานวันละหลายชั่วโมงและยังผ่าไม้ทั้งลำ เหลาบาง ๆ เพื่อให้ผู้เรียน ได้หักสร้างโครง ใช้ลวดมัด ก่อนใช้กระดาษสาหรือผ้าดิบหุ้ม หลังจากนั้นตกแต่งติดลาย เว้นช่องหรือทำประตูเอาไว้สำหรับใส่เทียนหรือจะใช้ดวงไพ (ปัจจุบันนิยมใช้หลอดไปแทนเทียน)

ครูพูดบ่อย ๆ ว่า ครูไม่อยากเอาความรู้ไปป่าเห่วด้วย( ป่าเห่วหมายถึงป่าช้า ) การได้มาเรียนโคมด้วยกันก็ถือว่าเป็นการทำบุญร่วมกันมาเมื่ออดีต

ความพิเศษอย่างหนึ่งก็คือความสุข ความสนุกสนานในการเรียนการสอน ทั้งผู้เรียนผู้สอนต่างสนุกสนาน เรียกว่าเบิกบานใจตลอดเวลาที่เรียน ใครอยากรู้เรื่องอะไรก็ถามท่านได้ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ประเพณีวัฒนธรรม

นอกจากมีเรื่องราวมาเล่าให้ฟังทุกวันแล้วยังมีเอกสารมาแจกอีก ส่วนมากเป็นเรื่องราวที่ครูเก็บรวบรวมไว้ เช่นตำนานต่าง ๆ ภาษิตคำเมือง บทกลอนที่ครูเขียนขึ้นเอง

เรียกว่า อู่ม่วน หรือว่าพูดสนุกนั่นเอง

เอกสารทุกชิ้นจะเขียนด้วยลายมือ ตัวอักษรสวยงามเป็นระเบียบ "ใครอยากได้ก็ไปถ่ายเอกสารเอา" ท่านว่า

ตลอดเวลา 7 วันที่เรียนการทำโคม เราได้เรียนรู้การตัดกระดาษ การหักไม้ไผ่ หักไม้ไผ่อย่างไรไม่ให้หัก เรียนการทำโคมได้ 3 แบบ มีโคมกระบอก โคมเพชร หรือโคมไห โคมดาว ความจริงครูอยากจะสอนมากกว่านั้นแต่เวลาน้อยและผู้เรียนรับได้ไม่หมด ครูบอกว่าเรียนไปช้า ๆ ดีกว่าเพื่อจะได้ซึมซับงานศิลปะ หลังจากรู้พื้นฐานแล้วไปฝึกเอง หรือถ้าใครอยากมีความรู้เพิ่มเติมก็ไปเรียนต่อที่บ้านของท่านได้

เริ่มแรกเรียนทำโคมกระบอก เป็นโคมพื้นฐานที่ง่ายที่สุด เรียกว่าโคมลูกก็ได้ โคมที่เอามาประดับโคมใหญ่

เริ่มจากการดัดไม้ไผ่ให้เป็นวงกลมและมัดด้วยลวด แต่ก็มีผู้ดัดไม้ไผ่หักหลายต่อหลายคน ผู้ที่เรียนกลับไปถึงบ้านก็ต้องไปทำการบ้านต่อ หากไม่ทำการบ้านก็เรียนไม่ทัน การตัดลายนั้นต้องตัดกันเป็นร้อย ๆ ครั้งถึงจะได้ดอกลายที่สวยงาม เป็นงานที่ต้องมีใจรักและศรัทธาจริง ๆ ในระหว่างเรียนฉันก็คิดว่าจะทำให้ใครบ้างพี่หรือเพื่อนคนไหนที่จะได้โคมงานยี่เป็ง และทำไปถวายวัด เพื่อเป็นสิริมงคล

ครูสิงห์แก้ว บอกว่า เมื่อมีงานขึ้นบ้านใหม่ เปิดร้านใหม่ งานแต่งงาน ท่านจะนำโคมไปให้เป็นของขวัญ เป็นการมอบแสงสว่างให้

ท่านกล่าวด้วยอารมณ์ขันว่า พวกที่แต่งงานใหม่ ๆ และอยากมีลูกก็เอาโคมแขวนไว้หน้าห้องคนที่มาเกิดใหม่จะเป็นคนดีเพราะวิญญาณที่ไม่ดีมันกลัวแสงสว่างไม่กล้าเข้ามา

การหักไม้ และการมัดลวดในครั้งแรก เลือดตกยางออก เพราะลวดที่มัดและคมไม้ไผ่บาดเอา


ครูเล่ากันว่า คนสมัยก่อนขอให้ได้เห็นโคมก่อนตาย แสงสว่างจะนำไปสู่สวรรค์

"ต้องตั้งใจและฝึกฝนให้มาก ๆ อย่าทำแบบสุกเอาเผากินแต่ถ้าตั้งใจแล้วทำได้แค่นี้ก็ไม่เป็นไรแต่ต้องตั้งใจ ถ้ายังไม่สวยยังไม่ถูกต้องก็ต้องแก้ วางจังหวะรูปทรงให้พอดี ทำไม่สวยเขาถามว่าเรียนมากับใคร บอกว่าพ่อสิงห์แก้ว จะอายเขา"

ฉันกลัวครูจะอายจึงตั้งใจเป็นพิเศษและในที่สุดความเชื่อของฉันก็เป็นจริง ความเชื่อมั่นและศรัทธาทำให้ฉันมีโคมแฃวนหน้าบ้านด้วยฝีมือตัวเองในเทศกาลยี่เป็งและปีใหม่

เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้อ่านได้รู้ที่มาที่ไปของการทำโคมมากกว่านี้ จึงขอนำข้อมูลจากเอกสารที่ครูแจกให้มาเล่าสู่กันฟังอีกสักนิด

ตำนานโคมนั้นมีกล่าวไว้ว่า การยกโคมแต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ กระทำขึ้นเพื่อบูชาพระเจ้าทั้ง 3 พระนารายณ์ พระพรหม พระอิศวร

คติความเชื่อเกี่ยวกับการจุดประทีปบูชามาจาก ชาดกนอกนิบาตร เรื่องแม่กาเผือกแต่งโดยชาวล้านนา ในปัจจุบันนี้ ในตอนเย็นของเดือนยี่เป็งพระสงฆ์ตามวัดต่าง ๆ นำเอาพระธรรมเทศนาเรื่องแม่กาเผือกมาเทศน์และมีการจุดประทีปสว่างไสว ในตอนกลางวันมีการปล่อยโคมลอยเพื่อสะเดาะเคราะห์ และบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีในสวรรค์รวามทั้งการแขวนโคมไว้ตามประตูบ้านและปักเสาสูงชัดโคมไฟขึ้นแขวนบนอากาศเป็นพุทธบูชา

จุดมุ่งหมายของการจุดโคมในปัจจุบันเปลี่ยนไปบ้าง นอกจากเพื่อเป็นพุทธบูชา แล้ว ยังเพื่อความสวยงาม เพื่อให้แสงสว่าง และเพื่อเป็นศิริมงคลแก่เจ้าของบ้าน และตามสถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ตามโรงแรมใหญ่ ๆ เดี๋ยวนี้ก็นิยมแขวนโคมไว้ตามจุดต่าง ๆ รูปแบบก็ดัดแปลงไปตามยุคสมัย
*****************

ปล. ปี 2551 ฉันหยิบงานเขียนชิ้นนี้ขึ้นมาจากแฟ้มเก่า พร้อมกับ กระดาษลายต่าง ๆ ที่ถูกตัดไว้ แต่ก็พอดูรู้ว่า ชิ้นไหน พ่อครู ชิ้นไหนเป็นฝีมือลูกศิษย์

งานเขียนชิ้นนี้เพื่อระลึกถึง พ่อครูสิงห์แก้ว มโนเพ็ชร ผู้สอนตุงและเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับเมืองเหนือ พ่อครูได้เสียชีวิตไปแล้วเมื่อสามปีผ่าน







โคมของ "พ่อสิงห์แก้ว มโนเพ็ชร" ที่ร้านสายหมอกกับดอกไม้
ภาพโดย มาลานชา
เข้าชมงานมาลานชาได้ที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=malarncha


Create Date : 16 มิถุนายน 2551
Last Update : 22 มิถุนายน 2551 15:43:15 น. 34 comments
Counter : 2738 Pageviews.

 
เดี๋ยวจะไปหารูปก่อนค่ะ ช่วงนั้นยังไมได้ใช้ดิจิตอล ท่าจะยาก


โดย: แพรจารุ วันที่: 16 มิถุนายน 2551 เวลา:13:41:47 น.  

 
มาอ่านเป็นคนแรกครับ


โดย: ธารดาว IP: 202.149.25.225 วันที่: 17 มิถุนายน 2551 เวลา:3:12:21 น.  

 
ธารดาว

สวัสดีค่ะ สบายดีนะคะขอบคุณที่แวะเวียนมาอ่านเป็นกำลังใจ

เราอยากจะอ่านงานของคุณบ้างจะอ่านได้จากที่ไหน


โดย: แพรจารุ IP: 222.123.83.188 วันที่: 17 มิถุนายน 2551 เวลา:17:00:00 น.  

 
ทำโคมนั้นยังไม่เคยได้ลงมือทำ
โคมของพ่อครูงามจับตานัก

ที่ทำได้อยู่ตอนนี้
เป็น ตุงไส้หมู

สบายดีขึ้นมากแล้วใช่มั้ยคะ
ฝนลงตลอด รักษาสุขภาพค่ะ


โดย: ฮักน้ำปิง วันที่: 17 มิถุนายน 2551 เวลา:18:25:41 น.  

 
มารับทราบเรื่องราวการทำโคม ประดับเป็นความรู้เอาไว้ครับ

ขอบคุณพ่อครูสิงห์แก้ว มโนเพ็ชร ที่เผยแผ่ความรู้สู่คนรุ่นหลัง

ดีใจที่ยายนำมาฝากให้ได้รู้เอาไว้บ้าง...


โดย: เขาพนม วันที่: 17 มิถุนายน 2551 เวลา:22:13:52 น.  

 
ไปที่ //www.muekdum.com ครับ
นิยายเรื่อง หนุ่มห้าวสาวเปิ่น


โดย: ธารดาว IP: 202.149.25.233 วันที่: 18 มิถุนายน 2551 เวลา:7:50:41 น.  

 
เมื่อวานเข้าไปดูแล้วค่ะคุณธารดาว แต่ไม่เจอ หนุ่มห้าวสาวปิ่นเลยค่ะ

นี่เป็นสำนักพิมพ์ใหม่หรือค่ะ ช่วงหลังเราค่อยข้างตกข่าววงวรรกรรมอยู่เหมือนกัน


โดย: แพรจารุ วันที่: 19 มิถุนายน 2551 เวลา:6:34:36 น.  

 
สวัสดีค่ะหนูแพรจารุ ป้ามาทำความรู้จักค่ะ ป้าเคยปล่อยโคมตอนไปเที่ยวเชียงใหม่ค่ะ
ชอบมากเลยค่ะ


โดย: ป้าแอ๊ค่ะ (Naaee58 ) วันที่: 19 มิถุนายน 2551 เวลา:11:33:33 น.  

 
ลองเข้าไปอ่านดูนะครับ
//www.muekdum.com/love/detail_page.php?loveid=14&productloveid=1439
สำนักพิมพ์ใหม่ครับ แต่หนังสือชีวิตรักเกิดมานานแล้ว


โดย: ธารดาว IP: 202.149.25.225 วันที่: 19 มิถุนายน 2551 เวลา:12:46:12 น.  

 
เปิดเข้าไปเจอแล้ว ขอบคุณมาก
เขาจัดบล็อกได้สวยดีนะ

หนังสือชีวิตรักพี่ก็เคยอ่าน และเคยพบนักเขียนหญิงคนหนึ่งที่เขาเขียนให้หนังสือเล่มนี้ แต่ใช้นามปากกา หลาย ๆนามปากกา



โดย: แพรจารุ วันที่: 19 มิถุนายน 2551 เวลา:19:32:41 น.  

 
ป้าแอ๊ค่ะ

ยินดีมากค่ะ โคมที่ป้าแอ๊ลอยนั้นเป็นโคมลอย ในช่วงยี่เป็งเหมือนกันค่ะ

แต่ที่ไปเรียนเป็นโคมแบบแขวนค่ะ แขวนไว้ตามบ้าน หรือเอาไปวัด ให้เพื่อน

ยี่เป็งปีนี้ว่าจะทำหลาย ๆใบเลยเพราะย้ายมาอยู่บ้านคุณสามี ไม่ไผ่เยอะเลยค่ะ

แล้วคุยกันไหมค่ะ


โดย: แพรจารุ วันที่: 19 มิถุนายน 2551 เวลา:19:37:14 น.  

 
ช่วงสึนามิ...โคมลอยล้านนาเฟื่องมากที่นี่
เอาเข้าจริงร้อยทั้งร้อยสร้างเรื่อง แต่งความสำคัญให้ใหม่ในโคมที่ลอยขึ้นฟ้า.....

แต่ว่ามันก็ดี..ในแง่ที่เราสามารถกระจายภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาให้ชาวใต้ได้รู้ใช่ไหมคะ

เพราะไม่มีสังคมใดเป็นสังคมเดี่ยวย่อมต้องแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันและกัน เราคงพูดไม่เต็มปากว่าเราคือคนไทยแท้ๆ

พี่ยายเป็นสาวใต้เพียวๆ
ปลายแปรงเป็นสาวเหนือแต้ๆ

เพราะว่า...สายธารของการเชื่อมโยงวัฒนธรรมหลากไหลดั่งสายน้ำ...ผลสุดท้ายคือน้ำในทะเล...และก้อนน้ำที่รอวันหยาดหยดจากแผ่นฟ้า...
สรรพชีวิตก็เพียงหยดน้ำ.....ต่างที่...ต่างเวลา...ต่างสิ่งแวดล้อม

ชีวิตเราก็คือหยดน้ำ....

การที่ปลายแปรงได้มาใช้ชีวิตที่กั่วป่ารู้สึกดีค่ะ....ที่นี่ยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ดี
อู้คำเมือง...กินปลาร้าสนิทปาก

แต่มีที่หนึ่งที่อยู่แล้วกระดากมาก....ทุกคนพยายามที่จะเป็นและเห็นเราเป็นชนกลุ่มน้อย...กรุงเทพฯค่ะ


แต่ในประวัติศาสตร์...คนกรุงเทพอาจเป็นอเมริกากระมังคะ เริ่มต้นที่...

พอดีกว่า....ยังเหลือโคมลอยเอามาจากที่บ้านหลายอันค่ะ รอโอกาสจุดอยู่

พี่ยายสบายดีนะคะ....ยังหาฤกษ์เดินางสายเหนือไม่ได้เลยค่ะ
รอทรัพยากร....555


โดย: ปลายแปรง วันที่: 19 มิถุนายน 2551 เวลา:21:19:57 น.  

 
พี่ยาย...ฝากบอกนักเขียนลาวกับนักเขียนล้านนาด้วยเน้อ...ว่าเดี๋ยวอาจไปเจอกันที่กระท่อมทุ่งเสี้ยว...

และบอกด้วยว่า งานดอง(แต่งงาน)ของ นพ ละมุล 25 นี้,ไปกันยังไง ขออาศัยติดรถไปด้วยคนได้มั้ย


โดย: pu_chiangdao วันที่: 20 มิถุนายน 2551 เวลา:22:02:31 น.  

 
pu_chiangdao
ยินดีต้อนรับจ๊ะ
เรื่องไปเชียงของอ้ายแสงมาตกลงกันที่กระท่อมทุ่งเสี้ยวจ๊ะ


โดย: แพรจารุ วันที่: 21 มิถุนายน 2551 เวลา:9:53:10 น.  

 
ปลายแปลง

ที่เชียงใหม่มีปัญหาเรื่องโคมลอยขึ้นฟ้ามากทีเดียว เพราะว่ามันลอยกันเรื่อย ๆ ตามร้านอาหารลอยให้นักท่องเที่ยวดู

งานอะไร ๆ ก็ลอยโคม และพี่รู้มาจากเพื่อนว่าการลอยโคมสมัยก่อนเขาไม่ได้มีแสงไฟให้เห็นคือจุดเพื่อควันอย่างเดียว แต่เดี๋ยวนี้ใช้จุดไฟใฟ้อยู่นานที่สุดเพื่อลอยให้สวยงามอยู่นาน และใช้ลวดด้วย

เพื่อนซึ่งเป็นผู้หญิงล้านนาโดยแท้และทำงานไฟฟ้า บอกว่า น่ากลัวที่สุดคือ สักวันโคมอาจจะหล่นลงที่สายไฟฟ้า และจะเกิดอุบัติเหตุไฟดับทั้งเมือง

เห็นไหมละปลายแปลงประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม เมื่อถูกนำมาใช้เพือการขายและการท่องเที่ยวแล้วเป็นอย่างนี้นี่เอง

เราเห็นพวกจัดเปิดงานเอาโคมไปใช้ตามทะเล ปล่อยเปิดงานอลังการอยู่ตามชายหาดแล้วเวทนาเป็นสุด

ปลายแปลงกำลังหาทางมาเมืองเหนือ พี่ก็กำลังหาทางกลับบ้านใต้อยู่เหมือนกันจ๊ะ เราคงสวนทางกันแถวหลังสวน

แล้วคงได้พบกันค่ะ


โดย: แพรจารุ วันที่: 21 มิถุนายน 2551 เวลา:10:00:42 น.  

 
สวัสดีจากที่ราบสูงค่ะพี่ยาย
หวังว่าคงสบายดีนะคะ
คิดถึงเสียงใส ๆ และอบอุ่นของพี่ยายเสมอค่ะ


โดย: นกแสงตะวัน วันที่: 21 มิถุนายน 2551 เวลา:11:20:41 น.  

 
สวัสดีค่ะน้ายาย

แถวพะเยาก็มีค่ะ
ทั้งโคมแขวนและโคมไฟลอยฟ้า
เคยไปนั่งดูคุณตาทำตอนที่ออกชุมชนหมู่บ้านแม่ใสอยู่เหมือนกัน
อาจารย์วิชาศิลปะเคยสอนวิธีทำโคมแขวน
จะบอกน้ายายว่าสอบทฤษฎีผ่านแต่สอบตกการปฏิบัติค่ะ

กล่องคอมเม้นน่ารักจังเลยค่ะ
มาชวนน้าไปดูรูปที่บล็อกค่ะ


โดย: เบญจวรรณ IP: 61.7.231.130 วันที่: 21 มิถุนายน 2551 เวลา:17:46:06 น.  

 
หนูเบญ

ภาพคอมเมนต์ แมวกับหนูยังรักกันได้ค่ะ แต่จะไว้ใจได้หรือเปล่าไม่รู้

น้าทำโคมได้หลายอัน แต่ไม่ได้ทำนานแล้วค่ะ หมู่บ้านกระดาษสาน้าก็ย้ายออกมาแล้ว อตนนี้มาอยู่บ้านทุ่งเสี้ยว แต่ไม้ไผ่ยังมีอยู่ค่ะ

คิดถึงค่ะ




โดย: แพรจารุ วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:15:47:58 น.  

 
คิดถึงนะคะพี่


โดย: เช้านี้ยังมีเธอ วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:23:52:43 น.  

 
ใครกันน๊า
ถ่ายรูปโคมสวยจัง...

นายเปลี่ยนหน้าบล๊อคแล้วนะ
ไปดูดิ่..ว่ามีอาราย
แล้วอย่าหมั่นไส้ละกัน
บอกแค่เนี๊ยะ


โดย: malarn cha วันที่: 25 มิถุนายน 2551 เวลา:12:04:50 น.  

 


มาแจ้งข่าวว่า

ป้ากุ๊กไก่ / ยายกุ๊กไก่ กลับมาเปิดบ้านแล้วในชื่อล๊อกอิน ร่มไม้เย็น

และประเดิมบล็อกแรกด้วย ………บ้านใหม่ – ชื่อใหม่………..ค่ะ

มีเวลาแวะไปทักทายกันบ้างนะคะ

ขอเดินสายก่อน แล้วจะกลับมาอ่านบล็อกค่ะ

ร่มไม้เย็น …….. ข อ แ อ ด บ ล็ อ ก ……… นะคะ




โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 25 มิถุนายน 2551 เวลา:20:15:41 น.  

 
ระลึกถึงพ่อสิงห์แก้ว
พร้อมๆกับระลึกถึงครูจรัลเลยครับพี่






โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 27 มิถุนายน 2551 เวลา:9:07:51 น.  

 
แวะมาแอ่วกระท่อมทุ่งเสี้ยว เจอพ่อน้อยสิงห์แก้วเข้าพอดี พ่อคงยินดีที่ยังมีคนกึ๊ดเติงหาพ่ออยู่...

ไม่ได้ใช้เน็ทนานมากเพคะ ร่วมครึ่งปีได้ ก็เลยห่างหายจากบล็อกไปเกือบสองร้อยวัน กลับมาท่องโลกไซเบอร์ได้ช่วงนี้เองค่ะ แจ้งข่าวนิดนึงนะคะ บล็อกเก่าถูกเปลี่ยนชื่อโดยความเข้าใจผิดของเว็บมาสเตอร์ค่ะ ใครก็คงเข้าไม่ได้ถ้าใช้ URL เก่า
ยายช่วยเปลี่ยน ใน Friend's blog ให้พี่ด้วยนะคะ จะพยายามหาเวลาอัพเดทเรื่องราวเท่าที่จะทำได้ค่ะ
ยิ้นดีล่วงหน้าจ้ะ
วันอาทิตย์ว่าจะมาแถวๆสันป่าตอง อ้ายหนอมกะยายอยู่บ้านรึเปล่าเพคะ


โดย: หินทิเบตก้อนสุดท้าย IP: 203.170.208.171 วันที่: 27 มิถุนายน 2551 เวลา:15:11:26 น.  

 


สวัสดีจ๊ะยายที่ยังไม่ใช่ยายแน่นอน


ขอบคุณยายที่ไปร่วมแสดงความยินดีกับการเปิดบ้านใหม่ของป้า
เอ๊ะ!!!!! ตกลงงานนี้ใคร สว. กว่าใครหนอ?
แต่เชื่อเถอะยายต้องละอ่อนกว่าป้าไม้แน่ๆ
อ้าว…จริงๆน๊ะ


ก็ตอนนี้ป้าไม้เป็นประชาชนชาวเกาะ
เกาะหลวงไง วันๆอยู่บ้านไม่ต้องไปทำงานหลวงก็หาให้กินอยู่แล้ว


ตอนนี้ป้ามีบ้านเป็นหลักเป็นแหล่งแน่นอน
ก็ขอเชิญแวะไปนั่งพักรับลมเย็นๆใต้ร่มไม้เย็นได้อีกบ่อยๆนะคะ
บ้านร่มไม้เย็น…เปิดรับเพื่อนบล็อกตลอดเวลาแบบ 7/11 อยู่แล้วจ๊ะ


ขอรับความรู้เรื่องโคมด้วยคนนะจ๊ะ



โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 27 มิถุนายน 2551 เวลา:23:51:04 น.  

 
แวะไปยินดีกับครบรอบ๑๒ปีมาลานชาและชายคนรัก ก็เลยเข้าใจที่แพรจารุดั๊กปิ้งจ้ะ
จากบ้านมาลานชารู้ว่าไปกรุงเทพฯมาและเพิ่งกลับ ตะวานี้หินทิเบตไปแถวๆสันป่าตองค่ะ ก็เลยไม่ได้ไปเยี่ยมที่กระท่อมทุ่งเสี้ยวสักเตื้อ


โดย: หินทิเบตก้อนสุดท้าย (last_tibetstone ) วันที่: 30 มิถุนายน 2551 เวลา:10:52:47 น.  

 
บ้านมาลานชาเขาหวาน จนผึ้งเดือนห้าเลิกทำน้ำหวานไปแล้ว

เรียกว่าผึ้งอาย

ไม่ได้เข้ามาอ่านบล็อกเลยไม่รู้ว่า แต่เมื่อวาน ไปแถว ๆ ร้านสายหมอก ไปที่อบต.ดอนแก้ว

และบ่าย ๆ ไปดูพันธมิตรเชียงใหม่ ผู้คนมากมายล้นห้องประชุม

ยังเสียดายขนมจีนที่บ้านมาลานชา บอกเธอว่าจะไปแล้วลืม นึกออกตอนนั่งรถกลับ นั่งรถประจกทางสีเหลือง

พี่ไม่คิดจะมาเดินกาดวัวบ้างหรือ ไง หรือว่าไม่มาเพราะขาดคนเลือกเสื้อคอกระเช้าให้

ปีนี้มีงาน"กันยาฟ้าสวย"หรือเปล่า


โดย: แพรจารุ วันที่: 30 มิถุนายน 2551 เวลา:14:31:34 น.  

 
ในรายการคลับ 7 ทางช่อง 7สี
ติดตามดูเรื่องราวของ เรา 2 คน
ได้ในรายการ CLUB7
เวลา 22.30 ของวันอังคารที่ 1 ก.ค. 08

ขอบคุณทุกๆคนและหวังว่าจะได้ติดตามชมนะครับ


อชิตะ


โดย: คนในฝัน วันที่: 30 มิถุนายน 2551 เวลา:16:49:40 น.  

 
คงหายเหนื่อยแล้วนะคะ แพรจารุ
วันอาทิตย์ที่ผ่านน่ะหินทิเบตฯไปกาดงัวค่ะ แต่ที่เวียงหนองล่อง ซื้อเสื้อแม่ไก่ของทางใต้ บ่าห้อยของทางเหนือ เหมามาสามตัวให้สะใจ คิดถึงคนที่เคยซื้อให้ใส่จริงๆ

เวียงหนองล่องมีวัวควายน้อยกว่าที่ทุ่งฟ้าบดไปแล้ว แต่วิถีชีวิตของชาวบ้านกลับมากกว่า เพราะแทบไม่มีนักท่องเที่ยว คือไม่มีทัวร์ลงจนเป็นบ้า

หินทิเบตฯไปนั่งกินขนมเส้นใต้หลังคาสังกะสีผุๆผังๆ ฝนตกก็รั่วลงมาใส่หัว สนุกดีเพคะ
ยินข่าวร้ายมาสำหรับกาดงัวที่ใกล้ๆกระท่อมทุ่งเสี้ยว แพรจารุยินข่าวนี้รึยังเพคะ เค้าจะสร้างมันให้เป็นสวรรค์สำหรับทัวร์ริสท์
อีกแล้ว


โดย: หินทิเบตก้อนสุดท้าย (last_tibetstone ) วันที่: 30 มิถุนายน 2551 เวลา:22:18:16 น.  

 
ยังไม่ได้ตอบเรื่องงาน "กันยาฟ้าสวย"
หินทิเบตฯ อยากให้สวยด้วยการตานขันข้าว สงบเงียบงดงามและสุขใจ
เบื่อพวกหากินกับคนตายแล้วอ้างสานฝัน ลมๆแล้งๆ ไม่ขายของก็ขอมีเวทีโชว์ตัว เส็งเหลือเกินเพคะ ไม่ได้เหมาว่าทุกคนเป็น แต่เกือบๆ คนๆที่เป็นเส็งน่ะ มีอยู่แน่ๆจ้ะ
ที่ไม่อยากทำในวงกว้าง เพราะไปเข้าทางเหลือบไรพวกนั้นเพคะ พวกชอบขายเพลงและขายตัว มันมีอยู่
ทางกรุงเทพฯ ก็อยากให้ไปเป็นแม่งาน มีพวกศิลปินทางโน้น และคนหนึ่งที่ยังน่ารักมากคือพี่หว่อง มงคล อุทก ศิลปินของเราคงรับรู้และยิ้มสวย ขณะเหลือบมองพวกเส็งมันเล่นไปตามเพลง
ถ้าถามว่ารู้ได้ไง จะตอบว่า “ข้าเจ้ารู้ดีจ้ะ เพราะหัวใจของศิลปินผู้ล่วงลับกับข้าเจ้า คือหัวใจดวงเดียวกัน...”
หัวใจที่มีแต่รัก ไม่ใช่เงิน ๆๆ มีสมองแต่ไม่ตรอง คงได้ดีกันทั้งนั้นหวังนะจ๊ะ ฮ่าๆ
ปีที่แล้วศิลปินของหินฯก็ถูกเอาไปปู้ยี่ปู้ยำค่ะ ที่กรุงเทพฯแหละ จะบ้าตาย
เส็งเคร็งกันทั้งนั้นเพคะ
ขอโทษนะเพคะ วันนี้เม้นท์ยาว อยากถามทำไมเรื่องเดือนกันยาฟ้าสวยน่ะ
อยากจะจัดโดยใช้ชื่อใหม่ไปเลย ว่า วันลืมศิลปินจะดีกว่า ขำกลิ้งลิงกับหมาค่ะ
ตอนนี้ที่ดินของความฝันผืนนั้นถมดินเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปรอเงินค่ะ เงินที่ใครต่อใครใช้ชื่อเสียงของศิลปินไปทำบ้านั่นแหละเพคะ และเงินจากล้านนาซิมโฟนีที่กระเทยเฒ่ามันเอาไปด้วย
จริงไหมเพคะ



โดย: หินทิเบตก้อนสุดท้าย (last_tibetstone ) วันที่: 30 มิถุนายน 2551 เวลา:22:29:38 น.  

 


ไม่รู้ว่าพี่ยายลงใต้ไปให้ปลายแปรงสวนทางแถวหลังสวนหรือยัง...
เลยเอาสะตอมาฝาก....จะได้คิดถึง อย่างหิวโหยกว่านี้

ไม่ค่อยได้แวะมาเยือน...อย่างว่านะปักษ์ใต้บ้านเรา
พอฝนฟ้ามาแบบมหกรรมทีไร ก็ให้เดือดร้อนผู้ใช้เทคโนโลยี่(จริงๆก็ไม่เดือดร้อนหรอก ทำเป็นโวยไปแบบนั้นเองค่า)
ดางเทียมก็โดนเมฆบัง สัญญาณก็ตก เล่นเน็ตไม่ได้
สบายไป....เพราะมีเวลามาเขียนหนังสือมากขึ้น...เห็นไหมว่าแกล้วโวยจริงๆ

เดี๋ยวนี้คาดเดาอากาศไม่ได้เลย แดดจ้าอยู่ดีๆ ฝนตูมลงมา 3-4 วัน
ดูพยากรณ์อากาศก็ไม่มี...แล้วมาจากไหน

ผลไม้ปีนี้โดยเฉพาะลองกอง แพงสุดๆ ขนาดที่บ้านยังเป็นให้กินแค่ 2-3 ช่อเอง
ฝนตกมากจนลองกองไม่ผลัดใบ...อดอีกแล้ว
พอเป็นเยอะ...ก็เหลือโลละ 8-10 บาท
เฮ้อ...วันนี้มาบ่นภาคเกษตรกรให้ฟังค่ะ
ยางโลละ 100 น้ำมันลิตรละ 50
เลยยังหดๆกะโครงการขึ้นเหนืออยู่เนี่ย....ท่าทางว่า 5,000 จะเอาอยู่ไหม
ไม่เอารถขึ้นไปก็ไม่ได้ เพราะอุปกรณ์ทำมาหากินทั้งนั้น จริงๆก็ย้ายบ้านไปด้วยค่ะ...ทั้งเนื้อ ทั้งตัว 2 คนก็ใช้กันแค่คันรถขนได้แค่นั้นแหละ
นกขมิ้นเลยลังเลกะค่าน้ำมัน....บ่น

กินสะตอไปพลางๆก่อนนะคะพี่ยาย


โดย: ปลายแปรง วันที่: 4 กรกฎาคม 2551 เวลา:9:59:47 น.  

 
พี่ยาย
นายอัพบ๊อคใหม่แว้ววว
ตามไปดูเดะ
มาเล๊ยยยย


โดย: malarn cha วันที่: 5 กรกฎาคม 2551 เวลา:16:08:51 น.  

 
มิตรรักแฟนรายการ ขออภัยไม่ได้เข้าห้องนี้เสียนาน ช่วงนี้มีงานทำให้เสียขบวนการนิดหนึ่ง

ให้หนูกับแมวเฝ้าบ้านไปก่อน






โดย: แพรจารุ IP: 222.123.84.129 วันที่: 5 กรกฎาคม 2551 เวลา:16:33:06 น.  

 
แมวก็พอ อย่าเอาหนูมาเฝ้าเลยจ้ะ

ดูท่ามันสิ กวนเป็นบ้า มาลานชาจะกำจัดหนู 3,500 บาท น่ะ สำเร็จไหมเพคะ

แพร จารุ งานศิลปะ ดนตรี กวี ขา ของพี่หว่อง มงคล อุทก เค้าเปิดงานวันที่ 13 เดือนนี้ แต่ยังแสดงไปเรื่อยๆจนครบหนึ่งเดือนค่ะ พาเพื่อนไปชมก็ได้นี่คะ
เผื่อจะหิ้วกลับไปอังกฤษด้วย


โดย: หินทิเบตก้อนสุดท้าย / Last Tibetstone IP: 203.170.208.171 วันที่: 6 กรกฎาคม 2551 เวลา:6:56:35 น.  

 
คิดถึงพ่อสิงห์แก้วมากเช่นกันครับถ้าต้องการเรียนเพิ่มเติมครูได้พัฒนางานตัดกระดาษด้วยกรรไกรเป็นลวดลายที่ยากขึ้นกว่าลายประจำยาม เช่นลายรูปนก ปลา ดอกไม้ หากสนใจจะเปิดเรียนที่โฮงเฮียนสืบสานฯราวเดือน พย.๕๑นี้ครับ


โดย: ครูหมี IP: 202.57.149.175 วันที่: 2 สิงหาคม 2551 เวลา:22:43:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แพรจารุ
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




..
۞ บทกวีและเรื่องสั้น ถนอมไชยวงษ์แก้ว
อัพเดท

..
۞ จากกระท่อมทุ่งเสี้ยว โดยถนอม ไชยวงษ์แก้ว
อัพเดท 17 ต.ค.51
http://www.youtube.com/watch?v=L21lhWsu8QQ&feature=related object width="315" height="80">
หา โค้ดเพลงhi5 : hi5 song code search
Friends' blogs
[Add แพรจารุ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.