คนเขียนหนังสือ ชีวิตเบิกบานในการงาน
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2550
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
2 ธันวาคม 2550
 
All Blogs
 

พรบ.ทรัพยากรน้ำ ฉบับทำลายเกษตรกร เอื้ออาทรนายทุนจริงหรือ

เรื่องด่วน เกี่ยวกับพรบ.น้ำค่ะ และพรุ่งนี้ จะมีกลุ่มคัดค้านเกี่ยวกับเรื่องนี้เปิดประชุมแถลงข่าวค่ะ จึงเอามาฝากก่อนและจะนำรายละเอียดมาเพิ่มเติมภายหลังค่ะ ใครที่มีข้อมูลด้านที่ว่าควรจะมีพรบ.น้ำก็เอามาคุยกันได้นะคะ

******************


การใช้น้ำแบบชาวบ้าน (ระบบเหมืองฝาย)

<

b>สรุป ความเป็นมาและปัญหาผลกระทบของ ร่างพรบ.ทรัพยากรน้ำ

กรมทรัพยากรน้ำได้ยกร่าง พรบ.ทรัพยากรน้ำ เสร็จสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม 2548

ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพรบ.ทรัพยากรน้ำ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และได้เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 60/2550 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 โดยพลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะ ได้เสนอร่างพรบ.ทรัพยากรน้ำ ด้วยเช่นกัน

สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณาและรับหลักการในวาระที่ 1 ทั้งสองร่าง และแต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญทรัพยากรน้ำ เพื่อดำเนินการแปรญัตติโดยใช้ร่างของรัฐบาลเป็นร่างหลัก ซึ่งมีกำหนดพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 ในวันที่ 6 ธันวาคม 2550 นี้

ร่าง พรบ.ทรัพยากรน้ำ จะสร้างปัญหาและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในประเด็นสำคัญได้แก่

1. สถานะของ “น้ำ” ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง ทางน้ำ บึง แหล่งน้ำใต้ดิน ทะเสสาบ แหล่งน้ำธรรมชาติอื่นๆ และแหล่งน้ำที่รัฐจัดสร้างขึ้น จากเดิมที่เป็นสาธารณะสมบัติที่ประชาชนสามารถใช้ร่วมกันได้ จะตกเป็นของรัฐในทันที

2. ผู้ใช้น้ำทุกคนหรือเกษตรกรผู้ใช้น้ำทุกกลุ่มต้องเข้าสู่ระบบการขอใบอนุญาตใช้น้ำ โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขอใช้น้ำ ในราคาครั้งละ 1-10,000 บาท และต้องจ่ายค่าใช้น้ำตามปริมาณควบคู่ไปด้วย รวมทั้งต้องติดตั้งมิเตอร์วัดน้ำด้วยตนเอง นอกจากนี้ใบอนุญาตขอใช้น้ำ สามารถซื้อ-ขายระหว่างผู้ใช้น้ำได้ทุกกลุ่ม

3. ร่างพรบ.ทรัพยากรน้ำ จะลบล้างสิทธิการจัดการน้ำของชุมชนที่มีอยู่เดิมลงทั้งหมด ซึ่งรับรองโดยรัฐธรรมนูญมาตรา พ.ศ. 2550 มาตรา 66 โดยเฉพาะในภาคเหนือ ระบบเหมืองฝายจะไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้อีกต่อไป

ดังนั้น เกษตรกรที่ใช้น้ำทั้งจากแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำที่รัฐสร้างขึ้นจะประสบกับปัญหาสำคัญคือ การสูญเสียองค์กรจัดการน้ำเหมืองฝายดั้งเดิม, ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะไม่สามารถผลักภาระๆไปยังราคาขายผลผลิตได้ และไม่สามารถเข้าถึงน้ำเพื่อการเพาะปลูก

ข้อมูลนี้โดย
สมัชชาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำภาคเหนือ และ
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ

ซึ่งจะจัดให้มีการประชุมแถลงข่าวระดมความคิดเห็น


ในหัวข้อ

“หยุด พรบ.ทรัพยากรน้ำ ฉบับทำลายเกษตรกร เอื้ออาทรนายทุน”

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม 2550 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ณ ห้องบัวตอง สำนักบริการวิชาการ(UNISERVE) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




รายละเอียดเพิ่มเติม คุณเฉิดฉันท์ ศรีพาณิชย์ โทร 086-915-8704



พ่อหมื่น แก่ฝายคนล่าสุด และน่าจะเป็นคนสุดท้าย (คนที่นั่งไหว้พระ) ในวันทำบุญเหมืองฝาย




 

Create Date : 02 ธันวาคม 2550
35 comments
Last Update : 3 ธันวาคม 2550 20:14:01 น.
Counter : 1353 Pageviews.

 


..ทำไมทุกสิ่งทุกอย่างจึงต้องตกแก่นายทุนเท่านั้น ไม่ว่าจะผู้นำยุคไหนๆ..

 

โดย: Nok_Noah 2 ธันวาคม 2550 20:50:55 น.  

 

อย่างที่เขียนไว้ในบล็อกเนชั่นล่ะค่ะพี่ยาย

บ้านเราอาชีพหลักคือเกษตรกร แต่ร่างพรบ.น้ำฉบับนี้ มันฆ่าตัดตอนลมหายใจชาวไร่ชาวสวนกันจริงๆ

เรื่องของเรื่องคือ...จะทำยังไงเสียงเล็กๆ ที่เรียกร้องนี่จะดังพอ...พอให้ผู้หลักผู้ใหญ่ได้ยินกันบ้าง

คราวดอยหลวงเชียงดาว กระแสค้านมันยังดังลงมาถึงกรุงเทพได้
หนนี้อย่าให้แพ้กันนะคะพี่ยาย เพราะผลกระทบนั้นเยอะมากกว่ากันเชียว

เออ...พี่ยายค่ะ...หน้ารายงานพิเศษของเนชั่นสุดฯ นี่เราส่งเรื่องไปลงได้นี่คะ ลองส่งไปดูสิคะ
ส่วนที่บล็อกเนชั่นนั้น...ถ้ามันได้เป็นเรื่องเด่นคงมีใครพอมองเห็นกันบ้างน่ะค่ะ

 

โดย: เพลงฝนต้นลมหนาว 2 ธันวาคม 2550 21:05:12 น.  

 

จะมีกฏหมายอย่างนี้ ด้วยหรือ
เกษตรกร จะต้องซื้อ น้ำ ตามธรรมชาติ
เพื่อ มาใช้ ในการเกษตร แล้ว อย่างนี้ ได้ผลผลิต จะมีกำไร ที่ไหนกัน ปกติ สินค้า เกษตร ได้กำไร น้อยอยู่แล้ว

พรบ.นี้ คงยังผ่านการศึกษา อย่างละเอียด คงมีหลายๆ ฝ่ายไม่ยอมกัน นะครับ หากเป็น อย่างนั้น

 

โดย: ล่างฟานหวิน 2 ธันวาคม 2550 23:00:41 น.  

 

ต่อไปจะต้องมีพรบ.อากาศ ใครจะหายใจ
ต้องจ่าย...

 

โดย: ธารดาว IP: 202.149.24.177 3 ธันวาคม 2550 5:28:29 น.  

 

เฮ้ออออออ.........
ช่วยให้กำลังใจคนต่อสู้อยู่ทางโน้น
ส่วนทางนี้จะช่วยใช้คีย์บอร์ดเป็นอาวุธ

**********
พี่แพรหนูรู้ล่ะ อะไรผิดวันก่อน
นามสกุลคนที่หนูอ้าง อิอิ เขาชื่อ จุงโกะ Eดะ

 

โดย: หมี่เกี๊ยว IP: 192.43.227.18 3 ธันวาคม 2550 6:20:39 น.  

 

สวัสดีค่ะน้ายาย

จริงอย่างที่คุณธารดาวว่า
ขนาดน้ำยังต้องซื้อใช้
อีกหน่อยมิต้องซื้ออากาศหายใจกันเลยหรือ?
อีกหน่อยชาวบ้านคงได้เห็นแก่ตัวมากขึ้น
วิถีชีวิตคงจะเปลี่ยน คงไม่มีใครอยากทำการเกษตรอีก
แค่นี้ชาวบ้านก็ลำบากมากพออยู่แล้ว
กับเรื่องต้นทุนสูง กำไรน้อย พ่อค้ากำหนดราคาเอง โดยที่ชาวไร่ชาวส่วนไม่มีสิทธิ์ก้าวก่าย
ทำไมต้องหาเรื่องให้ชาวบ้านต้องลำบากขึ้นอีก

เป็นกำลังใจให้น้ายายและชาวบ้านค่ะ

 

โดย: เบญจวรรณ (lukkongpoka ) 3 ธันวาคม 2550 8:38:45 น.  

 

มิน่าล่ะช่วงนี้คนบ้านเหนือเลยประหยัดน้ำกันใหญ่เลย
บางคนน้ำยังไม่เคยถูกตัวมาสามสี่วันแล้ว
ฮั๊ด.....เช้ย!

 

โดย: พราน IP: 222.123.140.213 3 ธันวาคม 2550 11:18:39 น.  

 

น้องเบญถามมาจากเมลพี่เอามาวางไว้ตรงนี้เผื่อใครจะเข้ามาตอบ

หนู่ไม่เข้าใจว่าเขาร่าง พรบ.แบบนี้มาทำไม

มีจุดประสงค์อะไร เขามีเหตุผลอะไรหรือเปล่าค่ะ

หนูไม่เคยทราบเรื่องนี้มาก่อนเลย
มันจะมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่หรือค่ะ

ลองวางไว้ดูว่ามีผู้ใดมาตอบ

 

โดย: แพรจารุ IP: 222.123.30.47 3 ธันวาคม 2550 12:36:22 น.  

 

หมี่เกี๊ยว

พี่ก็ทำเช่นเดียวกับหมี่เกี๊ยวนั่นแหละ คนเขียนหนังสือจะทำอะไรได้มากกว่านี้

หนูเบญ

ประเด็นที่ว่า "อีกหน่อยชาวบ้านคงได้เห็นแก่ตัวมากขึ้น"
นี่น่าสนใจยิ่ง เพราะว่าของหน้าหมู่หรือของเพื่อส่วนรวมจะหมดไป จะมีแต่ของฉันและของเธอ ที่น่าเป็นห่วงยิ่งคือว่า

"ใบอนุญาตขอใช้น้ำ สามารถซื้อ-ขายระหว่างผู้ใช้น้ำได้ทุกกลุ่ม"

แล้วใครล่ะที่มีอำนาจในการซื้อได้มากที่สุด คงไม่ใช่ลุงมี ที่ทำนาอยู่ห้าไร่สิบไร่ หรือลุงสืบที่มีที่ดินปลูกสวนผสมผสานอยู่สารภี 5 ไร่ แต่จะเป็นกลุ่มสวนส้ม กลุ่มสงเสริมปลูกข้าวโพดอ่อน อย่างนี้เป็นต้น

 

โดย: แพรจารุ 3 ธันวาคม 2550 12:45:48 น.  

 

ล่างฟานหวิน

ยินดีที่รู้จักค่ะ

ใคร ๆ ก็ถามแบบเดียวกับคุณนี่แหละ แล้วพี่จะเอารายละเอียดมาให้อ่านกันต่อไปค่ะ


เพลงฯ เรื่องดอยหลวงเชียงดาว ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของความร่วมมือเลยทีเดียว สื่อมวลชนทุกแขนงเห็นด้วยช่วยกันจึงหยุดยั้งได้



ธารดาว พี่ก็ว่างั้นแหละ แต่ท้ายที่สุดก็คงตายกันหมดแหละ เพราะอากาศเสียขึ้นทุกวัน อย่างไรก็หนีไม่พ้น นี้ระบบผูกขาดน้ำเพื่อชีวิตเข้ามา คราวนี้เราจะไปว่า พวกปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ใช้น้ำมาก ๆ หรือพวกโรงแรม รีสอร์ท ห้างสรรพสินค้าไม่ได้นะ อย่าใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป

เพราะพวกเขาถืออำนาจซื้อแล้ว

 

โดย: แพรจารุ 3 ธันวาคม 2550 12:52:18 น.  

 

ตอนนี้สองบล็อกคุยเรื่องเดียวกันอยู่ค่ะ พี่จึงเอามาวางให้ไปมาหาสู่กันได้

บ้านคนชายขอบค่ะ

//www.oknation.net/blog/parjaru/2007/12/02/entry-1/comment#post

 

โดย: แพรจารุ 3 ธันวาคม 2550 12:55:17 น.  

 

คิดในแง่ดี...ร่างพรบ.น้ำฉบับนี้มีขึ้นเพื่อจัดการผู้หาประโยชน์จากน้ำเข้ากระเป๋าตน
สวนแม่ที่บ้านนอก...เอ่อ...ก็แค่เขาหินซ้อน ฉะเชิงเทรา ที่มีโครงการศูนย์การศึการศึกษาพัฒนาฯ ที่ในหลวงท่านทรงตั้งขึ้น
สมัยที่น้ำประปายังเข้าไม่ถึง...จะมีธุรกิจขายน้ำใช้ บ้านตรงข้ามบ้านยายเลยค่ะ รวยเป็นล่ำเป็นสัน
น้ำที่เค้าไปเอามาขายก็ที่ศูนย์ฯ นี่ล่ะค่ะ
บางที พรบ. ฉบับนี้อาจอยากให้ให้ภาครัฐเข้ามาจัดการด้วยเหตุนี้

และเพราะการให้รัฐเข้ามาเป็นผู้จัดการ ก็ต้องตั้งคนของรัฐ และหาเงินมาไว้จ่ายให้คนของรัฐ จึงต้องเก็บค่าใช้น้ำด้วยประการฉะนี้แล

แต่...ทีนี้...อย่างที่ว่าหล่ะค่ะ...อาชีพเกษตรกรบ้านเรา เส้นเลือดหลักก็คือสายน้ำ มันจึงเป็นการเห็นแก่ได้ของภาครัฐเกินไปหน่อย

จะเข้ามาควบคุมมาจัดการไม่มีใครว่า...แต่ไม่ใช่มารังแกชาวบ้านด้วยการตรากฎหมายหาเงินเข้ากระเป๋าตัวเองหน้าด้านๆ อย่างนี้ โอ๊ะ...ขอโทษทีค่ะพี่ยายแรงไปนี้ดดดดดด แบบว่าวันนี้ที่บ้านอากาศร้อนกว่าปกติ

เศร้าจริงๆ เลยค่ะพี่ยาย...อย่างที่พี่ยายบอกคนเขียนหนังสือก็ทำได้เพียงเท่านี้

ถ้าสื่อไม่เล่นด้วยเสียงนี้คงไม่มีใครได้ยิน
แล้วสื่อตอนนี้ก็สนใจเสียงเลือกตั้งมากว่าเสียงอื่นใดซะด้วยสิคะ

ว่าแต่ไปสังเกตุการณ์การประชุมมาเป็นไงบ้างคะ

 

โดย: เพลงฝนต้นลมหนาว 3 ธันวาคม 2550 16:46:19 น.  

 

วันนี้เข้าไปร่วมงานแถลงข่าวเกี่ยวกับ พรบ.ทรัพยากรน้ำที่ถูกเสนอจนผ่านวาระแรกไปแล้ว อยากตั้งข้อสังเกตให้หลาย ๆ คนทราบพอสังเขปดังนี้
1 ทำไม สนช ชุดนี้จึงเร่งการผ่านกฎหมายเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมในช่วงนี้ ทั้ง ๆ ที่ทำงานมาตั้งนาน การพิจารณากฎหมายที่มีผลกระทบต่อสังคมเป็นส่วนใหญ่คงไม่สามารถจะพิจารณาในเวลาอันรวดเร็ว เพราะหากขาดการพิจารณาอย่างรอบคอบย่อมก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี และการแก้ไขก็ยาก การผ่านกฎหมายอย่างไม่รอบคอบ ย่อมแสดงถึงคุณสมบัติของผู้เสนอที่มีความเข้าใจถึงประเด็นปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำเพียงใด
2 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติแต่ละประเภทจะเลือกใช้วิธีแบบเดียวกันไม่ได้ ควรต้องมีการเข้าใจถึงลักษณะ การเข้าถึงการใช้ การเกิดทดแทน รวมทั้งผลกระทบ อย่างรอบคอบ ดังนั้นการจัดการทรัพยากรน้ำที่ใช้ภูมิปัญญาของคนท้องถิ่นมีข้อด้อยอย่างไร จึงได้มองข้ามภูมิปัญญาเหล่านี้ไปได้ คุณ ๆ ทั้งหลายที่เป็นข้าราชการหรือนักวิชาการที่ใช้หลักการด้านเศรษฐศาสตร์มาจัดการ คุณขาดมุมมองทางด้านสังคมไปเสียแล้ว ไม่ใช่ว่าตัวเองที่เสนอแนวคิดเหล่านี้จะคัดค้านไปเสียทั้งหมด เพียงแต่อยากได้รับฟังเหตุผลในทุก ๆ ด้านอย่างไม่มีอคติ เพราะสิ่งที่ตัวดิฉันเองรับฟังข้อมูลทำให้มีความรู้สึกว่ามีอะไรอยู่ลึก ๆ ในการเร่งผ่าน พรบ.น้ำ ฉบับนี้
วันนี้ขอเสนอข้อคิดเห็นแค่นี้ไว้ก่อน ขอไปธุระเดี๋ยวจะเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นใหม่ ขอบคุณที่ให้โอกาสร่วมแสดงความคิดเห็น ใจฐานะผู้ใช้น้ำคนหนึ่ง ไม่มีส่วนได้และเสียในทางตรงกับ พรบ.ฉบับนี้ เพราะเป็นข้าราชการพยาบาลคนหนึ่ง แต่มีความสนใจประเด็นทางภาคสังคมที่ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอีกมากมาย

 

โดย: กิ่งกาญจน์ IP: 202.149.24.177 3 ธันวาคม 2550 17:05:49 น.  

 

สวัสดีครับ คุณยาย

วันนี้ผมได้แวะไปเหมือนกันครับ
จับประเด็นได้ 3 ประเด็นที่น่าสนใจ
คือว่า มันขัดกับสิ่งเหล่านี้ครับ

1.ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 85 (4) (อะไรจำไม่ค่อยได้) ที่บอกว่า ชุมชน ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนดั่งเดิม มีสิทธิในการจัดการทรัพยากร ฯ

2.ขัดกับมารยาททางการเมือง หรือสถานะของ สนช. ที่ตอนนี้เป้นแค่สนช.รักษาการ ไม่ควรที่จะทำอะไรมากนัก

3.ขัดกับความรูสึกของประชาชน อย่างเช่น ของคุณหมอกิ่ง

4.ขัดต่อจารีตประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาที่มีการจัดการน้ำมาโดยตลอด อยู่ๆต้องสูญหายไป

5.และที่สำคัญมันช่างขัดใจผมเสียจริง
ที่ถูกระบอบอำมาตยาธิปไตย ครอบงำ

ในตอนบ่ายยังมีเวทีเรื่อง ร่างพรบ.ป่าชุมชน ต่ออีกครับ เหมือนเดิมครับ ไม่พ้นพวก อำมาตยาธิปไตย ครอบงำ เช่นเดิม

 

โดย: ดอกเสี้ยวขาว 3 ธันวาคม 2550 22:42:19 น.  

 

สวัสดีค่ะน้ายาย

ตอนเช้านี้ไม่มีเรียน
แวะมาดูความเป็นไป
และส่งกำลังใจให้น้าและชาวบ้านก่อนเดินทางตอนบ่ายค่ะ

 

โดย: เบญจวรรณ (lukkongpoka ) 4 ธันวาคม 2550 9:09:22 น.  

 


*** สวัสดีจ้า แวะมาเยี่ยม happy มาก ๆ นะจ๊ะ ***

 

โดย: หน่อยอิง 4 ธันวาคม 2550 11:13:30 น.  

 

สวัสดีค่ะพี่ยาย..

มาส่องๆ ดู ช่วงนี้พี่ยายก็ยังอยู่กับฝาย กับน้ำ ..

ขออนุญาตมาส่งความคิดถึงอย่างเดียวก่อน ไม่ได้อ่านอะไรนอกจากดูภาพ

 

โดย: สีน้ำฟ้า IP: 61.7.165.98 4 ธันวาคม 2550 14:34:47 น.  

 

วันนี้เข้า บางโอเคไม่ได้ ไม่รู้บ่ายนี้เป็นไง

ถ้ากฏหมายมังรายศาสตร์ยังใช้ได้

ก็น่าจะรวมกันบุบหัว คนทำลายเหมืองฝายเสียให้เสี้ยงๆ ไปเหีย

โดยเฉพาะคนทำลายฝายประเทศไทย ลูกคนค้าขายกาแฟ บ้านสันกำแปง นั่นไง

 

โดย: เสือจุ่น IP: 58.9.194.164 4 ธันวาคม 2550 15:09:59 น.  

 

หลวงพ่อหน้าตาเหมือนเจ้าอาวาสวัดดอยสุเทพมากเลยนะครับ

ขอบคุณสำหรับคำชมนะครับพี่
จะพยายามรักษาระดับการเขียนให้ได้ครับ
หลังจากที่ทรงๆทรุดๆตามภาระชีวิตครับ
อิอิอิ

 

โดย: กะว่าก๋า (กะว่าก๋า ) 4 ธันวาคม 2550 15:15:10 น.  

 

สวัสดีครับ คุณยาย

ชวนไปฟังเพลงที่บล๊อกครับ
ต้องขอขอบคุณมากครับสำหรับโค๊ดเพลงดีๆ ฟังแล้วเข้ากับบรรยากาศงานได้อย่างลงตัวเลยครับ

 

โดย: ดอกเสี้ยวขาว 4 ธันวาคม 2550 20:53:12 น.  

 

น่าสนใจครับ

ช่วงนี้กำลังบ้ากฏหมายอยู่

 

โดย: ฟ้าดิน 5 ธันวาคม 2550 0:39:51 น.  

 

กิ่งกาญจน์

ข้อคิดเห็นของคุณน่าสนใจยิ่งการจัดการทรัพยากรจะเลือกใช้แบบเดียวกันไม่ได้และเป็นการรีบร้อนเกินไปสนช.

เราว่าไม่ว่าคุณหรือใครอยู่ในฐานะไหนก็สนใจได้ ไม่ว่าจะเสียผลประโยชน์โดยตรงหรือโดยอ้อม ยิ่งเป็นข้าราชการยิ่งสมควรเป็นอย่างยิ่ง

ขอแสดงความยินดีและขอบคุณต่ออาชีพพยาบาลและที่ทำมากกว่ารักษาคนป่วยในโรงพยาบาล



คุณดอกเสี้ยว
ทั้งห้าข้อของคุณอ่านแล้วเข้าใจได้ดียิ่ง ว่าง ๆมาเขียนเรื่องพรบ.ป่าด้วยนะคะ เขาว่ามันหมกเหม็ดกันขนาด พยาบาลกิ่ง ตามเรื่องนี้อยู่ด้วยใช่ไหม

 

โดย: แพรจารุ 5 ธันวาคม 2550 7:08:30 น.  

 

สวัสดี สีน้ำฟ้า
ใช่แล้วยังอยู่กับฝายกับน้ำอยู่ค่ะ สีน้ำฟ้าเป็นคนเมืองเหนือนี่น่า แม้ว่าจะไปอยู่กับทะเลและยุ่งอยู่กัเรื่องราวที่อันดามัน ว่างแล้วกลับมาเขียนเรื่องทะเลที่คุณไปวุ่นวายอยู่ให้ฟังด้วย

ไปอ่านเรื่องของอ้ายถนอมที่ประชาไทหรือยัง "เรื่องสั้นที่ไม่ผ่านช่อการะเกด"
ของแกไงละฮาฮา
//blogazine.prachatai.com/user/thanorm/post/245
เพื่อเข้าไปอ่านง่าย ๆ เอามาปะไว้ให้เลย

 

โดย: แพรจารุ 5 ธันวาคม 2550 7:13:08 น.  

 

เสือจุ่น
ในช่วงปลายปี 2548 ที่ฝายพญาคำ ที่เหมืองฝายเขาทำบุญและทำพิธีลงโทษไปแล้ว เป็นพิธีจำลองด้วยหุ่น เราไปดูอยู่ห่าง ๆ ด้วยความหวาดเสียวยิ่ง

คอแห้งผากตอนที่เขาลงดาบหุ่น และผู้คนเอาพริกขี้หนูแห้งกับเกลือลงไปใส่ในกองไฟเล็ก

เราไม่กล้าเข้าไปด้วย มันรู้สึกขึ้นมาว่า เป็นเรื่องจริงจังเหลือเกินและเราซึ่งไม่ใช่คนของที่นี่ คือไม่ใช่คนเมืองเหนือเลยไม่กล้ากอบเกลือที่น้องคนหนึ่งส่งให้

แต่รู้สึกได้ถึงศรัทธา และความเป็นคนเมือง

กะว่าก๋า
ใช่แล้วเป็นเจ้าอาวาส เขามีทอดผ้าป่าเหมืองฝายกัน


ใช่แล้วฟ้าดินเรื่องที่ต้องสนใจจริง ๆ
"กำลังบ้ากฏหมาย" แล้วจะทำอย่างไรดี มีวัคซีนไหม

 

โดย: แพรจารุ 5 ธันวาคม 2550 7:23:39 น.  

 

กิ่งได้พยายามส่งความคิดเห็นของตัวเองลงใน okเนชั่นแล้ว ไม่มีความสามารถ เขียนหลายรอบ หลายเรื่อง แต่ก็จบส่งไม่ได้ พี่ยายช่วยเขียนจากการได้พูดคุยกับกิ่งแทนด้วย โดยเฉพาะความล้มเหลวของนโยบายภาครัฐที่พยายามเข้ามาจัดการบริหารการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างนักวิชาการที่ขาดมุมมองด้านสังคมและประวัติศาตร์ของชาติตัวเอง สักวันคงมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นในอีกหลายเวที

 

โดย: กิ่งกาญจน์ IP: 202.149.24.129 5 ธันวาคม 2550 9:15:38 น.  

 

ที่โชว์ในกล่องคอมเมนท์เป็นสมุดบันทึก หรือหนังสือทำมือค่ะ สวยดี

เป็นหนังสือทำมือครับ
ถ้าสนใจบอกที่อยู่มานะครับ
ตะวันออกจะส่งให้นะครับ

 

โดย: ตะวันออกไม่แพ้ 5 ธันวาคม 2550 11:03:41 น.  

 

สุขสันต์วันพ่อค่ะ
----------------------------

 

โดย: สาวบ้านนอก ณ ขอนแก่น 5 ธันวาคม 2550 15:46:40 น.  

 

การทำให้แหล่งน้ำคงอยู่ยืนนานต่อไปก็เป็นเรื่องดีครับ แต่การเบียดบังความสุขของชาวบ้านไปนั้นรัฐน่าจะทบทวนเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งนะ ทำอย่างไรแหล่งน้ำถึงมีคุณประโยชน์ได้สูงกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ทำอย่างไรให้ประชากรของประเทศใช้น้ำอย่างมีความสุขได้ ทำอย่างไรนายทุนจึงไม่ทำให้ระบบนิเวศของน้ำเสียหาย ฯลฯ...

 

โดย: เขาพนม 5 ธันวาคม 2550 19:13:17 น.  

 

สวัสดีค่ะพี่ยาย ไม่มีคอมเม้นต์เรื่องนี้ เพราะไม่ค่อยรู้เรื่อง แหะๆ แวะมาสวัสดี แล้วก็เป็นกำลังใจให้ ขอให้ต่อสู้กันได้สำเร็จนะคะ

 

โดย: ปอมปอมเกิร์ล 6 ธันวาคม 2550 3:09:44 น.  

 

ขนาดนี้เชียวรึเนี่ย
ไม่มีความรู้เรื่องนี้เท่าไหร่นัก
แต่สงสัยว่า

เขาศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวกับชนทุกกลุ่มหรือยัง รวมทั้งหน่วยงานสิ่งแวดล้อม หน่วยงานว่าด้วยสังคมวัฒนธรรม ฯลฯ ทั้งหมดที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และได้ประเมินพร้อมคาดการณ์อนาคตไว้อย่างไร ถ้าหากสิ่งนี้เกิดขึ้น

อีกอย่างเรื่องอย่างนี้เนี่ย รัฐทำทีไรหายนะเกิดที่สังคมและวัฒนธรรมทุกที

ทำไมรัฐไม่ศึกษาให้ถ่องแท้ก่อนที่จะเสนออะไรเนี่ย หน่วยงานที่เสนอนี่คงจะวิสัยทัศน์กว้างไกล แต่เผอิญสายตาสั้นจริง ๆ (ประชดๆๆๆ)

อีกหน่อย เราคงซื้อข้าว ผ้ก และอื่นๆด้วยราคาของน้ำมัน เป็นแน่แท้

ขอเฮ้อออออออออ อีกที

 

โดย: หมี่เกี๊ยว IP: 192.43.227.18 6 ธันวาคม 2550 6:28:16 น.  

 

หรือปอมปอมเกิร์ล สวัสดีค่ะ
พี่ก็รู้เรื่องเพียงน้อยนะจ๊ะ บังเอิญว่ามาอยู่เมืองนี้บ้านนี้ และเรามีอาชีพเป็นคนเขียนหนังสือ ก็ทำแบบคนเขียนหนังสือนั้นแหละค่ะ

ถ้าปอมอยากรู้เพิ่มเติมไปดูได้ที่เวปมูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองนะคะหรือภาคคนฮักเชียงใหม่ค่ะ

กิ่งกาญจน์ ขอบคุณค่ะ เขียนไว้ที่บล็อกนี้ก็ได้ค่ะ หรือจะเขียนส่งมาทางเมลแล้วเราเอามาลงให้ก็ได้ค่ะ
ยินดีมาก ๆ ค่ะ จะได้มีมุมมองหลากหลายคะ

คนที่มีความเห็นต่างออกไปก็ยินดีนะคะ
เพราะว่าเราไม่เชื่อว่า มนุษย์จะเลวร้ายมาตั้งแต่เกิดหรือเป็นไปเพราะชะตากรรม

 

โดย: แพรจารุ 6 ธันวาคม 2550 9:30:16 น.  

 

ไม่รู้ว่าพี่ยายรู้หรือยังคะ...ที่ สนช. เร่งออกพรบ.ฉบับนี้กันยกใหญ่ เห็นว่าจะต้องรับร่างให้เสร็จทันภายในวันที่ ๒๓ ธันวา
และมีข่าวลือว่า สนช. ชุดนี้ต้องการให้ร่างฉบับนี้เป็นผลงานชั้นโบว์แดงของตน ก่อนพากันแยกย้ายไปตามทางใครทางมัน
"การเร่งร่างฯ นั้นทำให้ไม่อาจลงไปคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ได้" เป็นคำแก้ตัวที่แย่มากๆ คุณเขียนกฎหมายเพื่อชาวบ้านแต่คุณไม่ไปคุยกับชาวบ้าน โอ้...ชาติมันถึงเจริญเยี่ยงนี้ไง

ดีจังเลยค่ะพี่ยายเปิดคุยที่บ้านทั้งสองหลัง
พักนี้บางโอเคเอ๋อๆ ชอบกล ชอบยั่วอารมณ์คนให้ร้อนขึ้นในวันที่อากาศหนาวนัก

 

โดย: เพลงฝนต้นลมหนาว 6 ธันวาคม 2550 14:00:51 น.  

 

แล้วเราควรทำอย่าไรดีครับ

 

โดย: comcop IP: 61.7.174.243 6 ธันวาคม 2550 14:05:02 น.  

 

น่าสงสารเกษตรกร
เราเคยไปลงพื้นที่ที่แม่ตาว ตาก
แก่เหมืองแก่ฝายและชาวบ้าน
มีการจัดระบบแบ่งปันเหมืองฝายได้ดีมาก
ชาวบ้านมีการดูแลกันเอง มีระบบระเบียบกันเอง
ในการผันน้ำ ปันน้ำ เมื่อเกิดข้อพิพาท ก็ตกลงกันได้ในฐานะพี่น้องเพื่อนฝูง
แต่เมื่อ การจัดการภาครัฐเข้าไปแทรกแซง
ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนคอนกรีต เขื่อนยาง
ผลก็คือ..ระบบเหล่านี้ที่เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่สร้างกันมาเป็นเวลาชั่วอายุคน ก็บูดเบี่ยวไป
เขื่อนคอนกรีต เขื่อนยางหลายแห่ง
กลายเป็น อนุสรณ์ ที่ใช้งานไม่ได้
แล้ว..แบบนี้ พรบ.ของรัฐ จะแก้ปัญหายังไง
หรือซ้ำเติม ปัญหาเหล่านี้ให้มากขึ้น นะ

 

โดย: a_mulika 6 ธันวาคม 2550 20:33:13 น.  

 

พวกเราฟังความข้างเดียวกันอยู่หรือปล่าวครับ ไม่ทราบว่าทุกๆท่านที่ให้ความเห็นมา ได้เคยเห็นหรือเคยอ่าน ร่าง พรบ.น้ำ ฉบับนี้กันหรือไม่ ในส่วนที่ดีๆก็ยังคงอยู่เพียงแต่ภาครัฐต้องเข้ามาบริหารจัดการในบางส่วนที่ภาคประชาชนไม่สามารถควบคุม ดูแลกันเองได้ เช่น พวกโรงงานใหญ่ๆ ที่ใช้น้ำกันวันละมากๆ มีใครไปควบคุม กำหนด บังคับเขาได้มั๊ยครับ แต่ พรบ.น้ำฉบับนี้สามารถควบคุมได้ครับ เอาอีกตัวอย่างนะครับ พรบ.น้ำ ได้แบ่งการใช้น้ำออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.แบบประชาชนคนธรรมดาทั่วๆไป ไม่ต้องขออนุญาตและไม่ต้องเสียตัง เรียกว่าท่านเคยใช้ชีวิตคนไทยอย่างไรก็เหมือนเดิมครับ 2.แบบที่ใช้น้ำมากเพื่อการอุตสาหกรรมหรือการเกษครเพื่อพาณิชย์ การประปา การท่องเที่ยว อันนี้ต้องขออนุญาตและต้องเสียตังครับ 3. แบบที่ใช้น้ำเป็นอย่างมากและส่งผลกระทบอย่างกว้างหรือข้ามลุ่มน้ำกัยเลย แบบนี้ก็ต้องขออนุญาตและต้องเสียตัง เห็นมั๊ยครับว่าพรบ.น้ำ ฉบับนี้ ช่วยให้ประชาชนคนธรรมดาตาดำๆอย่างพวกเราได้ใช้น้ำอย่างเป็นธรรม เหรียญยังมีสองด้านเลยครับ พวกท่านลองค่อยๆคิดนะครับ

 

โดย: คนลุ่มน้ำ IP: 125.25.55.233 20 ธันวาคม 2550 14:21:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


แพรจารุ
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




..
۞ บทกวีและเรื่องสั้น ถนอมไชยวงษ์แก้ว
อัพเดท

..
۞ จากกระท่อมทุ่งเสี้ยว โดยถนอม ไชยวงษ์แก้ว
อัพเดท 17 ต.ค.51
http://www.youtube.com/watch?v=L21lhWsu8QQ&feature=related object width="315" height="80">
หา โค้ดเพลงhi5 : hi5 song code search
Friends' blogs
[Add แพรจารุ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.