คนเขียนหนังสือ ชีวิตเบิกบานในการงาน
Group Blog
 
 
กันยายน 2550
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
9 กันยายน 2550
 
All Blogs
 

เด็ก ๆ ชนเผ่าสื่อสารด้วยงานศิลปะ


สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ขอเสนอให้อ่านบทความเชิงข่าวนะคะ ผู้ใหญ่ใจดี จัดให้เด็ก ๆ โลกนี้มีมุมงาม

************



"เทพศิริ สุขโสภา" "แสงดาว ศรัทธามั่น" ลุงใจดีของเด็ก ๆ มาชวนเด็กวาดรูปในบางวัน



กิจกรรมที่น่ารัก ๆ ในงานชนผ่าพื้นเมือง ที่น่าชื่นชมอีกมุมหนึ่ง

เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ชนเผ่าพื้นเมืองที่ตามพ่อแม่มาร่วมงานได้มีกิจกรรมของพวกเขาเอง

เอาลูกไปทิ้งไว้มุมศิลปะกับพี่ ๆ (พี่เลี้ยง) ให้พวกเขาได้วาดภาพระบายสีตามจินตนาการ เป็นการสื่อความหมายที่แสดงออกทางงานศิลปะ


มุมที่น่ารัก ๆ นี้อยู่ที่ใต้ต้นลั่นทมสีขาวข้าง หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม

ได้คุยกับพี่เลี่ยงคนหนึ่งเขาบอกว่า มีมุมศิลปะให้กับเด็กๆ เพราะเวลาเด็กๆ วาดรูป เขาสื่อถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของเด็กในแต่ละชนเผ่า หรือตามจินตนาการของเด็กเองที่เด็กจะสามารถสื่อสารออกมาได้อย่างอิสระ

เด็กๆ จะได้ทักษะจากการวาดรูป และได้เรียนรู้ประเพณีของตัวเองถือเป็นการถ่ายทอดประเพณีที่สื่อด้วยงานศิลปะ

ภาพของเด็ก ๆ ส่วนมากจะเป็นภาพบ้าน ภาพป่าเขาต้นไม้ ครอบครัวแต่มีรายละเอียดของภาพที่แตกต่างออกไป ภาพประเพณี พิธีกรรม

น้องแพร หทัยภัทร ทองบือ ชนเผ่ากะเหรี่ยง อายุ 11 ปี บอกว่า "เพลิดเพลินกับการระบายสีและสนุกมากและยังได้เรียนรู้เทคนิคการระบายสีจากพี่ ๆ "

ภาพที่น้องแพรวาด ยังไม่ได้ตั้งชื่อแต่น้องแพรบอกว่า เป็นภาพประเพณีความเชื่อที่ว่า พ่อแม่จะเอาสายสะดือของเด็กแรกเกิด นำมาใส่กระบอกไม้ไผ่ แล้วนำไปผูกกับต้นไม้

เชื่อว่าถ้าต้นไม้ที่นำไปผูกไว้นั้นแข็งแรง เด็กก็จะมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เป็นเหมือนการทำขวัญให้เด็ก ถ้าใครจะตัดต้นไม้ที่มีกระบอกไม้ไผ่ผูกอยู่ต้องไปเรียกขวัญให้เด็กคนนั้น

น้องเสือ พลากร น้องอีกคนหนึ่งบอกว่า "สนุกเพราะว่าได้วาดภาพตามจินตนาการของเรา"

ภาพที่น้องเสือวาดนั้นชื่อว่า “ป่าไม้ของเรา” น้องเสือบอกว่า ช่วงนี้อากาศร้อนเพราะคนตัดไม้ทำลายป่า อยากให้ทุกคนหันมาปลูกป่าให้มากขึ้น

มุมศิลปะวาดภาพนอกจากเด็ก ๆ แล้วยังมีพ่อแม่บางคนมานั่งวาดภาพด้วย เป็นภาพที่น่ารักมาก ๆ





 

Create Date : 09 กันยายน 2550
16 comments
Last Update : 13 กันยายน 2550 11:47:33 น.
Counter : 1460 Pageviews.

 

คุณแพรจารุ

ก่อนที่จะมาสอนในมหาวิทยาลัย ก็เคยสอนเด็ก/ทำค่ายเด็กแบบนี้แหละค่ะ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ มีความสุขทุกครั้งเลยค่ะ ตอนนี้คงหาโอกาสได้ยากแล้วล่ะค่ะ แต่กำลังรวบรวมข้อมูลที่ทำงานมาเขียนเป็นบทความอยู่ค่ะ

คงต้องขอคำแนะนำเรื่องการเขียนด้วยค่ะ

ป.ล.อยากเห็นเจ้ากล่องแดงบนไม้ไผ่ที่คุณแพรจารุเล่าให้ฟังจังเลยค่ะ

 

โดย: เกด (mrs.postman ) 13 กันยายน 2550 12:02:03 น.  

 

ผู้นำเสนองานนี้ คือน้อง ๆ กองข่าวงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมือง เมื่อวันที่ 5-11 ที่ผ่านมา พี่เห็นว่า น่าสนใจจึงนำมาเสนอต่อ

สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องราวเช่นนี้จะมีเสนอในตอนต่อไปเรื่อย ๆ ค่ะ


 

โดย: แพรจารุ 13 กันยายน 2550 12:05:34 น.  

 


ได้เลยค่ะ mrs.postman "เกด"
รอนิดเดียวจะได้ดูกล่องจดหมายสีแดง ที่อยู่เหนือต้นมะละกอ ที่เคยเล่าให้ฟัง

ยินดีมาก ๆ ที่ได้รู้จัก "คนไปรษณีย์" มากขึ้น

เรื่องงานเขียนบทความ น่าสนใจมาก ๆ เขียนเสร็จแล้ว บอกด้วยนะคะ อยากอ่าน

แต่เรื่องคำแนะนำนั้น บอกจริง ๆ เราก็มีความรู้แค่หางอึ่ง คือรู้งูปลา พอที่จะเขียนเล่าอะไร ๆ ได้เท่านั้นแหละ เอาเข้าจริง ๆ ก็ไม่มีหลักเกณฑ์อะไรเลย

จะบอกความจริงว่า ช่วงที่ไปสอบ มสธ. ไปสอบภาษาไทย ไม่ผ่าน เขาให้เขียนบทความหนึ่งหรือสองชิ้น ตามหัวข้อที่บอกมา จำไม่ได้แล้วหัวข้ออะไร

แล้วก็มีอ่านบทความจำได้ว่าของท่านคึกฤทธิ์ อ่านแล้วก็จับใจความ อธิบายการนำเสนอ ข้อสรุปอะไรทำนองนี้แหละ สอบไม่ผ่าน

ตอนหลัง... "หายเอิด" (ภาษาใต้ ภาษากลางน่าจะเรียกว่าอะไรนะ คล้าย ๆ กับเหลิง หรือคิดว่าแน่ อะไรเทือก ๆ นั่นแหละ)

ขอบคุณและยินดีที่รู้จัก

 

โดย: แพรจารุ 13 กันยายน 2550 12:30:19 น.  

 

ขาวเขาและชนกลุ่มน้อย
ในประเทศไทย เป็นกลุ่มคนที่น่าสงสารมากค่ะ ยิ่งเวลาได้พบพวกเขาอยูตามสถานที่ราชการ หรือโรงพยาบาล
จะสัมผัสได้ถึงการเจียมตัว ไม่กล้า
และมักได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่
ไม่ค่อยดี
แต่หนูจะพยายามทักทาย หรือยิ้มให้เมื่อมีโอกาสเสมอค่ะ...

โดย มาลานชา 13 กันยายน


 

โดย: แพรจารุ 13 กันยายน 2550 12:49:59 น.  

 

พอดีเปลี่ยนหน้าจึงยกของมาลานชา มาตอบที่นี่ค่ะ

ความรู้สึกของมาลานชาที่เห็นชาวเขาหรือชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ นั่นเป็นความรู้สึกของคนที่มีจิตใจดี การยิ้มหรือทักทายก็เป็นเรื่องดีคือแสดงว่าเรายอมรับและมองเห็นต่อกัน

หัวใจสำคัญก็อยู่ตรงที่การให้เกียรติ ให้สิทธิซึ่งกันและกัน

ให้ความเข้าใจกันมากกว่าสงสาร หรือให้ข้อแนะนำบางอย่างที่เขาไม่คุ้นชิน อย่างเราไปเดินอยู่ในป่า เราก็อาศัยคำแนะนำจากเขา

เพราะมนุษย์เราต่างพึ่งพิงกัน เมื่อเราเปิดใจรู้จักเขา เราก็พบ่า เราต่างดูแลกันได้ ชาวเขาจำนวนมาก ดูแลป่าไว้ให้เราได้ใช้ประโยชน์ ได้มีอากาศที่ดีหายใจ

 

โดย: แพรจารุ 13 กันยายน 2550 12:58:32 น.  

 

สวัดีค่ะน้ายาย

เรื่องของน้องแพรน่าอนุรักษ์เอาไว้นะค่ะ
ความเชื่อบางอย่าง อาจดูไร้เหตุผล เป็นไปไม่ได้
หนูยอมรับว่าเด็กรุ่นหลังๆมักจะไม่เชื่อเรื่องราวเก่าๆ ความเชื่อเดิมๆ
โดยอ้างว่าเป็นไปไม่ได้
หนูคนหนึ่งที่คิดเช่นนั้น ไม่เชื่อทันทีที่ฟัง จะต้องถามเสมอว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น แล้วมันจริงหรือค่ะ
ไม่ใช่ว่าจะไม่ยอมเชื่อ หนูจะเชื่อเมื่อรู้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
บางที่ผู้ใหณ่จะไม่มีคำตอบให้ แต่บอกว่าจะต้องเชื่อแบบนั้น หนูจะไม่ยอมเชื่อถ้าเป็นเช่นนี้และเด็กทั่วไปก็มักจะเป็นเช่นนี้
แต่หนูจะต่างตรงที่ว่า หนูก็จะหาคำตอบบนพื้นฐานความคิดของตังเอง ถ้าสามารถมองเห็นแก่นของความเชื่อก็จะทำตาม
หนูว่าถ้าผู้ใหญ่สอนแล้วมีคำอธิบายสำหรับความส่งสัยของเด็ก เขาจะเชื่อ
อย่างเรื่องของน้องแพรว หนูว่าแก่นของมันคือสิ่งดีงานที่ต้องการจะปลูกฝังให้เด็กๆให้รักและหวงแหนต้นไม้และป่า
ให้เหมือนกับชีวิตของเขา ซึ่งสายสะดือเป็นเหมือนสายชีวิตในขณะอยู่ในครรภ์มารดา
จริงๆแล้วต้นไม้ ป่าไม้ก็เป็นเหมือนชีวิตเราจริงๆเพราะมีป่าจึงมีน้ำ มีน้ำจึงมีชีวิต

ไม่รู้ว่าน้องแพรวจะคิดยังไงนะค่ะ
น้องจะเชื่อโดยไม่มีคำถาม หรือว่ามีคำถามแต่ไม่กล้าถาม
แต่ถ้าน้องเชื่อทันทีที่ฟัง น้องคงจะเป็นเด็กดีในสายตาของผู้ใหญ่
คงจะไม่ถูกดุว่าเป็นเด็กดื้อ พูดอะไรไม่ยอมฟัง
ในอีกมุมหนึ่งหนูว่าหากเราเชื่อเพราะทำตามกันมา จึงทำต่อไป
มันจะไม่มีประโยชน์เลยเพราะ เรามองไม่เห็นความจริงที่อยู่ในคำสอนนั้นๆ น้ายายว่าไหมค่ะ

 

โดย: เบญจวรรณ IP: 61.7.231.130 13 กันยายน 2550 17:20:32 น.  

 

สวัสดีเจ้าคุณแพร

ขอบคุณมากๆ สำหรับเรื่องราวต่างๆที่นำมาถ่ายทอดในที่นี้ เกี่ยวกับงานมหกรรมชนเผ่า

อยากฝากไปถึงคนจัดงานว่า ถ้าเป็นไปได้ น่าจะมีการรวบรวมเรื่องราวและกิจกรรมทั้งหมด จัดทำเป็นหนังสือขึ้นมา เพื่อบันทึกไว้เป็นรายงานฉบับสมบูรณ์เกี่ยวกับการจัดงานมหกรรมชนเผ่าเป็นครั้งแรก และอยากให้มีครั้งต่อไปด้วย

นอกจากนี้ ก็อาจจะรวบรวมเอาภาพที่ได้บันทึกวิดีโอไว้ จัดทำเป็นวิดีโอซีดีออกมาจำหน่าย หารายได้ไว้ดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือพี่น้องชนเผ่าต่อไป

หากมีโครงการจะทำอยู่แล้ว ก็ขอสนับสนุนเต็มที่เลยค่ะ จะกลับไปช่วยซื้อด้วย

คุณแพรเขียนเล่าในประชาไทด้วยสิคะ

 

โดย: แม่ญิงโย-นก IP: 202.7.166.163 13 กันยายน 2550 21:23:38 น.  

 

การแปลกถิ่น..ไม่คุ้นชิน
my place-your place

ก็ต้องพึ่งพากันไป
เราไปบ้านเขา เขาย่อมรู้ดีกว่าเรา
เขามาบ้านเรา เราก็ย่อมรู้ดีกว่าเขา

แต่ในบ้านเมืองนี้--
จะมีสักกี่คนที่ได้ไปย่ำชมหมู่บ้านชาวชนเผ่า ชาวเขาเหล่านี้
สัมผัสชีวิต ใส่ใจ และเข้าใจใน ความเป็นอยู่ของพวกเขา

ก็เลยมีน้อยคนที่จะรู้สึกได้ว่า..
คือสิทธิที่ควรจะเท่าเทียม
คือกลุ่มชนที่ควรได้รับการช่วยเหลือ
คือเรื่องที่ควรจะต้องเข้าใจ

ไม่ใช่หนูนะ


พี่ยาย..
BLOG หนูเปลี่ยน wall paper แล้วนะ
สวยปะ?

 

โดย: malarn cha 14 กันยายน 2550 4:01:13 น.  

 

พี่ยาย...(ขอเรียกแบบสนิทสนมนะคะ)
ภาพนั่งวาดรูปแต่ทำไมฟ้าดูแล้วมีความรู้สึกหลากหลายจังค่ะ
อยากกลับไปเป็นเด็กที่โลกยังสวยงามไม่แน่ใจตัวเองเลยค่ะพี่ยาย...ว่าตอนนี้ถ้าวาดภาพภาพจะออกมาลักษณะไหน วันเวลาอาจจะพรากความสดใส เดียงสาไปหมดแล้ว...

แต่ดูแล้วรู้สึกอบอุ่น อยากเดินขึ้นดอยไปชมธรรมชาติจังค่ะ

 

โดย: ฟ้า (ฟ้ากระจ่าง ) 14 กันยายน 2550 11:31:14 น.  

 

เด็ก ศิลปะ
ทำให้โลกนี้
สวยงาม

.................

พรุ่งนี้ 14 บล็อกครับ

 

โดย: กะว่าก๋า (กะว่าก๋า ) 14 กันยายน 2550 12:31:08 น.  

 


เบญจวรรณเจ้า
ที่หนูว่า

"แก่นของมันคือสิ่งดีงานที่ต้องการจะปลูกฝังให้เด็กๆให้รักและหวงแหนต้นไม้และป่า
ให้เหมือนกับชีวิตของเขา ซึ่งสายสะดือเป็นเหมือนสายชีวิตในขณะอยู่ในครรภ์มารดา
จริงๆแล้วต้นไม้ ป่าไม้ก็เป็นเหมือนชีวิตเราจริงๆเพราะมีป่าจึงมีน้ำ มีน้ำจึงมีชีวิต"

เป็นเช่นนั้นแหละเจ้า เป็นความคิดที่ถูกต้องแล้ว

*********
มาลานชา
เช้าไปดูหน้าบ้านแล้ว พื้นกุหลาบงามจริง แต่อ่านยากไปนิดหนึ่ง
กำลังรออ่านโช๊ะตอนต่อไปอยู่ค่ะ

 

โดย: แพรจารุ 14 กันยายน 2550 12:39:10 น.  

 

จันทร์กระจ่างฟ้า

"ที่ว่าภาพนั่งวาดรูปแต่ทำไมฟ้าดูแล้วมีความรู้สึกหลากหลายจังค่ะ"

ตอบว่า ภาพนี้ไม่ได้อยู่ในซุ้มที่เขาจัดให้ใต้ต้นลั่นทมค่ะ แต่เป็นภาพที่ซุ้มเผ่า"ลาหู่" คืออ้ายทั้งสองเขาไม่ได้เข้าไปชวนเด็กวาดรูปที่เขาจัดให้ อ้ายเทพศิริ อ้ายแสงดาว ไปนั่งแล้วเด็ก ๆ ตามไปนะคะ (แบบเป็นธรรมชาติ ลาหู่เขาเลี้ยงน้ำชาทั้งวัน และมีกองไฟเล็ก ๆ ทำอาหารด้วยค่ะ

ส่วนภาพเด็กด้านล่างสองคนนั้น พวกเขาวาดใต้ต้นลั่นทม


 

โดย: แพรจารุ 14 กันยายน 2550 12:45:32 น.  

 



สวัสดีค่ะ พี่ยาย

ขอมาอ่าน มาดูความสดใส และจินตนาการที่หลากหลายของเด็กค่ะ พี่ยาย ความรู้สึกนึกคิด สื่อออกมาได้จากภาพวาด ใช่มั้ยคะ แถมเด็กยังได้ปลดปล่อยอารมณ์อีกด้วย

อย่างนี้ต้องขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีที่ช่วยให้มีเวทีสำหรับเด็กนะคะ พี่ยาย

 

โดย: หทัยชนก (Nok_Noah ) 14 กันยายน 2550 20:44:35 น.  

 

มาชื่นชม ศิลปินน้อย/ใหญ่

 

โดย: เงาศิลป์ IP: 203.146.63.183 14 กันยายน 2550 21:14:15 น.  

 

ขอโทษค่ะพี่..

แจม..แยกตัวจากงานไม่ไหวจริงๆ
ในช่วงที่ผ่านมา..

ก็เลยขออภัยเป็นอย่างยิ่งเรื่องเพลงที่ล่าช้า.. นี่ยังติดเพลงน้องเบญ (ลูกของพ่อ) ไว้ด้วยอีกคน

ไม่รู้วันไหนจะได้ใช้หนี้น้อง..

อย่าเพิ่งมีน้ำโหกันก่อนเน๊าะ.. วันก่อนก็วิ่งหนีสึนามิกะเขาด้วย.."สนุกล่ะ"

หุหุ

 

โดย: สีน้ำฟ้า IP: 61.7.149.129 15 กันยายน 2550 12:10:01 น.  

 

แพร บล็อกในโอเคเนชั่น
ต้องเอา password ออกนะ
ใน เมนู setting น่ะ

ไม่งั้นแล้ว คนอื่นเข้าไปอ่านไม่ได้เลยจ้ะ

 

โดย: กู่ IP: 203.146.63.189 15 กันยายน 2550 13:16:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


แพรจารุ
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




..
۞ บทกวีและเรื่องสั้น ถนอมไชยวงษ์แก้ว
อัพเดท

..
۞ จากกระท่อมทุ่งเสี้ยว โดยถนอม ไชยวงษ์แก้ว
อัพเดท 17 ต.ค.51
http://www.youtube.com/watch?v=L21lhWsu8QQ&feature=related object width="315" height="80">
หา โค้ดเพลงhi5 : hi5 song code search
Friends' blogs
[Add แพรจารุ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.