จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ... จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ ... สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ ... การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
26 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 
นิพพาน ?

นิพพาน


เมื่อกล่าวถึง "นิพพาน" ไม่ใคร่มีใครจะอยากตอบ อยากอธิบาย มากนัก เพราะจะรู้สึกว่า เป็นสิ่งที่สูงส่ง สุดเอื้อม ไกลตัวเหลือเกิน ประกอบกับ ล้วนเป็น ภาวะ หรือ สถานที่ ที่ปัจจุบัน หาคนที่เคยไป เคยเห็น เคยสำผัส ได้น้อยเต็มที ท่านที่บอกว่า ได้สำเร็จ มรรคผลนิพพาน ถึง ขั้นโน้นขั้นนี้ ก็น่าคลางแคลงใจ ว่า สำเร็จจริงหรือเปล่า เพราะท่านที่บอกว่าสำเร็จสมมุติมี 3 ท่าน ก็อธิบายนิพพาน ไปคนละทิศคนละทาง ชนิดที่ไม่อาจจะเป็น "นิพพาน" เดียวกันได้เลย

ในแนวทางการปฏิบัติธรรมวิชชาธรรมกาย เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าถึงธรรมกาย และฝึกฝนจนเชี่ยวชาญแล้ว ก็สามารถไปดู ไปสำผัส ไปเยี่ยมเยียน นิพพาน ได้เช่นกัน ซึ่งการจะเห็น นิพพาน ได้นั้น ต้องเห็นด้วย ญาณของธรรมกายหรือตาของธรรมกาย ซึ่งเป็น "ธรรมจักษุ" หรือ "พุทธจักษุ" ซึ่งเป็น ตาที่อยู่เหนือภพ 3 (โลกุตระ) จึงจะเห็น นิพพาน ซึ่งเป็น สิ่งที่อยู่เหนือภพ 3 เช่นกันได้

ผู้ที่เข้าถึง ธรรมกาย จะเห็นนิพพานตรงกันเป็นอย่างเดียวว่า ในนิพพานนั้น มีแต่ธรรมกายอยู่มากมายเต็มไปหมด จนไม่สามารถคำนวณจำนวนได้ เฉพาะในนิพพานที่รู้จักกันทั่วไป คือนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ซึ่งปรินิพพาน ทิ้งซากศพ(กายมนุษย์)ไว้ในโลกนี้ มีแต่ธรรมกายไปปรากฏอยู่ในอายตนนิพพานนั้น ธรรมกายมีลักษณะคล้ายพระปฏิมากร มีเกศเป็นรูปคล้ายดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 20 วา ใสสว่างสวยงามไม่มีที่ติ มีพระอริยบถอยู่ในท่าประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ส่วนพระขีณาสวเจ้าอีกประเภทหนึ่งที่ปรินิพพานโดยไม่ทิ้งกายมนุษย์ไว้ ก็จะมีธรรมกายอีกลักษณะหนึ่ง อยู่ในนิพพานต่างหากอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งผู้มีญาณแก่กล้าก็จะสามารถพบเห็นได้

ในนิพพาน เป็นที่ว่างๆโล่ง ไม่มีสิ่งใดกำบัง ไม่มีโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ไม่มีการไปการมา ไม่มีการเคลื่อนไหว เพราะพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ท่านหมดกิจที่จะทำอย่างอื่นแล้ว นอกจากเสวยสุขเข้านิโรธอย่างเดียว ดังบาลีว่า "นิพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานสุขอย่างยิ่ง"
ในนิพพานจึงมีแต่ พระธรรมกาย ปรากฏอยู่นับไม่ถ้วน (ผู้มีญานขนาดใหนก็นับไม่ถ้วน) มีรัศมีและความงดงามแตกต่างกันไปตามแต่บารมีของแต่ละองค์ที่ได้สั่งสมมา หากเป็นธรรมกายพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็จะมีพระธรรมกายพระอรหันตสาวกนั่งล้อมรอบ หากเป็นธรรมกายพระปัจเจกพุทธเจ้าก็จะนั่งองค์เดียวโดดๆ ส่วนลักษณะของธรรมกายจะมีลักษณะเหมือนกันทั้งหมดไม่มีแตกต่างกันเลยดังที่ได้กล่าวแล้ว

นิพพานที่กล่าวมานี้เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ไม่มีขันธ์ 5 เหลือแล้ว อาจเรียกว่า "นิพพานตาย" ก็ได้ ส่วนนิพพาน อีกประเภทหนึ่งคือ นิพพานในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน อาจเรียกว่า "นิพพานเป็น" ก็ได้ นิพพานนี้คือ นิพพานที่พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์ เข้าถึงในขณะที่ยังมีชีวิตหรือขันธ์ 5 อยู่ และได้สำเร็จอรหัตตผลแล้ว

สอุปาทิเสสนิพพาน ที่จริงก็คือ นิพพานส่วนตัว ที่อยู่ในศูนย์กลางกาย ของทุกๆคนนั่นเอง เมื่อดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว จึงถอดกายทิ้งซากมนุษย์ไว้ในโลก และถอดกายเป็นชั้นๆ ไปทั้ง 17 กาย (กายมนุษย์ ถึงกายธรรมอนาคามี) จนเหลือแต่ธรรมกายอรหัตต์ เมื่อธรรมกายอรหัตต์ ซึ่งมีอายตนะตรงกันกับอายตนนิพพาน อายตนนิพพานก็จะดึงดูด ธรรมกายนั้น ไปปรากฏอยู่ในอายตนนิพพาน รวมกับธรรมกายพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ที่เข้านิพพานล่วงหน้าไปก่อนแล้ว

แล้วนิพพาน ตั้งอยู่ที่ไหน บางท่านบอกว่า นิพพาน "สูญ" ไปบ้าง เป็นสภาวะอารมณ์ หนึ่งบ้าง แต่ไม่มีใครบอกได้เลยว่านิพพานอยู่ที่ไหน รู้ก็รู้จากการตีความตามตำรา แต่หลวงพ่อวัดปากน้ำ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ได้บอกเอาไว้ดังนี้

"นิพพานอยู่ข้างบน สูงจากภพ 3 เท่าภพ 3 โตเท่าภพ 3 นี่ สว่างเป็นแก้วไปหมดทั้งนั้น งดงามมาก โตเท่าภพ 3 นี่" จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "โอวาทปาฏิโมกข์" 20 ตุลาคม 2497

นอกจากนี้ท่านยังได้วัดระยะห่างระหว่างภพ 3 กับนิพพานให้ทราบอีกด้วยว่า ห่างกันกี่โยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องแสดงความอัศจรรย์ของวิชชาธรรมกายอย่างมาก ที่สามารถรู้เห็นได้ลึกซึ้งและชัดเจนขนาดนั้น ทั้งๆที่ผู้ปฏิบัติวิชชาธรรมกาย ไม่มีผู้ใดสำเร็จแม้ พระโสดาบันเลย ล้วนเป็น "ธรรมกายโคตรภู" ทั้งสิ้น

สำหรับ นิพพานที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์หรือตำราต่างๆ มีดังนี้

๐ นิพพานคือสิ่งที่มีลักษณะ 5 อย่างคือ ปทํ อจฺจุตํ อจฺจนฺตํ อสงฺขตํ และ อนุตฺตรํ

ปทํ แปลว่า ส่วนหนึ่ง หมายความว่า เป็นสภาวะธรรมชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้
อจฺจุตํ แปลว่า ธรรมที่ไม่ตาย หมายความว่า ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย
อจฺจนฺตํ แปลว่า ธรรมที่ก้าวล่วงขันธ์ 5 เป็นธรรมที่พ้นจากกาลทั้ง 3 (อดีต ปัจจุบัน อนาคต)
อสงฺขตํ แปลว่า ธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย
อนุตฺตรํ แปลว่า เป็นธรรมที่ประเสริฐ

๐ นิพพานัง ปรมัง สุญญัง

นิพพานสูญอย่างยิ่ง ซึ่ง "สูญ" ในความหมายนี้ไม่ได้หมายความว่า สูญหายไปหมดเหลือแต่ความว่างเปล่า อย่างที่หลายๆ ท่านเข้าใจกัน แต่หมายถึงว่า สูญจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ขันธ์ 5 นั่นเอง

๐ นิพพานัง ปรมัง สุขัง

นิพพานสุขอย่างยิ่ง เพราะธรรมกายอรหัตต์ ที่เข้าถึงนิพพาน เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา เข้านิโรจสมาบัติ เสวยวิมุติสุข อย่างเดียวนั่นเอง

๐ เรียกนิพพานว่าเป็น อายตนะ

"ดูกร ภิษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา การไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปปัตติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์"

๐ นิพพานคือ อสังขตธรรม

"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะ ของอสังขตธรรม 3 ประการนี้ 3 ประการเป็นไฉน คือ
๑ ไม่ปรากฎความเกิด
๒ ไม่ปรากฎความเสื่อม
๓ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม 3 ประการ นี้แลฯ"
ความนี้สนับสนุน ความเป็น นิจจัง สุขัง อัตตา ของ ธรรมกาย และ นิพพาน นั่นเอง

(หากท่านยังมีความสงสัย นิพพาน ที่อธิบายโดย วิชชาธรรมกาย โปรดเทียบเคียงกับ นิพพาน ตามความเชื่อของมหายาน ว่า เหมือนหรือใกล้เคียงกันอย่างไร และหากท่านสนใจใน นิพพาน อันเป็น เป้าหมายสูงสุดทางพุทธศาสนา ท่านจงพยายามศึกษาเทียบเคียงดู จากหลักฐานหลายๆ ฝ่ายทั้ง เถรวาท และมหายาน ว่ามีความสอดคล้องกันเพียงใด อย่าเพิ่งยึดถือแต่เพียงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และจากการบอกกล่าวของอาจารย์ท่านใดท่านหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว)

โดย คุณ Somchet Jearanaisilpa


Create Date : 26 กรกฎาคม 2556
Last Update : 26 กรกฎาคม 2556 13:41:47 น. 0 comments
Counter : 3605 Pageviews.

พ่อระนาด
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพียรฝึกตนใฝ่รู้ หลักธรรม

จิตเพ่งคิดจดจำ บ่มไว้

หมายเพียรมุ่งตัดกรรม วัฏฏะ

หวังสละจิตสุดท้าย ดิ่งเข้านิพพาน..

Friends' blogs
[Add พ่อระนาด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.