มีนาคม 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
13 มีนาคม 2553
 
 

ว่าด้วยสุขภาพเท้า

ก้าวย่างสู่สุขภาพดี
    ตามหลักชีวกลศาสตร์ (Biomechanics) “เท้า” เป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยรองรับน้ำหนักและแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหวของร่างกาย ไม่ว่า ยืน เดิน วิ่ง กระโดด 
    มองจากภายนอก เท้าของเราประกอบด้วย 3 ส่วน คือ เท้าส่วนหน้า หมายถึง นิ้วเท้า และฝ่าเท้าส่วนหน้า เท้าส่วนกลาง ประกอบด้วยโครงของฝ่าเท้าซึ่งเป็นส่วนเว้าเรียกว่า อุ้งเท้า และเท้าส่วนหลัง หมายถึงบริเวณส้นเท้า หากสแกนดูจะพบว่าเท้าข้างหนึ่งประกอบด้วยกระดูก 26 ชิ้น ข้อต่อ 33 ข้อ เชื่อมต่อกับโครงสร้างของร่างกายด้วยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจำนวนนับไม่ถ้วน
    โครงสร้างของเท้าที่กล่าวมานั้นมีความสัมพันธ์กับลักษณะรองเท้าที่คุณเลือกใส่ในชีวิตประจำวัน เท้าจะปรับตัวให้เหมาะกับรูปแบบของรองเท้าเพื่อช่วยในการทรงตัวของร่างกายให้ดีที่สุด ดังนั้นหากคุณใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะกับเท้าอยู่บ่อยๆ ก็ย่อมมีผลให้โครงสร้างเท้าเปลี่ยนไป เช่น ในกรณีที่คุณต้องใส่รองเท้าส้นสูงทุกวัน พื้นรองเท้าที่เทลงจะทำให้เท้าส่วนหน้าของคุณต้องรองรับน้ำหนักมากกว่าปกติ เป็นสาเหตุของอาการปวดเท้าไปจนถึงเข่าและหลังได้ หรือการใส่รองเท้าหน้าแคบ บีบนิ้วเท้าบ่อยๆก็จะทำให้ปวดนิ้วเท้า และทำให้เกิดภาวะผิดปกติของเท้าได้



ปัญหาจากรองเท้าคู่ใจ
    ลักษณะของรองเท้าคู่ใจที่คุณเลือกใส่ในชีวิตประจำวันอาจเป็นสาเหตุของภาวะผิดปกติของเท้าได้ ลองสังเกตอาการเบื้องต้นเหล่านี้ดูนะคะ


• อาการปวดน่องหรือเป็นตะคริว อาจมีสาเหตุจากการเดินบ่อยๆ หรืออยู่ในท่าเขย่ง จากการสวมรองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อน่อง เอ็นร้อยหวาย( Achilles tendon ) ตึงตัว
• อาการปวดตึงหลังส่วนล่าง เป็นผลจากการใส่รองเท้าส้นสูง ที่ทำให้น้ำหนักของร่างกายเทไปข้างหน้า ร่างกายจึงต้องปรับให้ลำตัวแอ่นไปด้านหลัง เพื่อให้ร่างกายตั้งตรงและทรงตัวได้
• ภาวะเท้าโก่งหรือหลังเท้านูน มีผลการสำรวจพบว่า การใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งเท้าต้องเขย่งเป็นเวลานาน ส่งผลให้เท้าโก่งจากการดึงรั้งของพังฝืดใต้ฝ่าเท้า(Plantar Fascia)
• ภาวะเท้าแบน ตามทฤษฎีธรรมชาติกับความเจริญในเมือง (Nature VS Civilization Theory) ของนายแพทย์ฟิลลิป วาสิลี แพทย์เฉพาะทางด้านเท้า ชาวออสเตรเลีย ได้อธิบายไว้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงของเท้าให้บิดเข้าด้านในและอุ้งเท้าแบนลง เมื่อต้องสัมผัสกับพื้นรองเท้าที่แข็งแบน ซึ่งส่งผลให้มีคนทั่วโลกกว่าร้อยละ 70 เกิดภาวะนี้ โดยสังเกตจากอาการปวดเข่า เกิดปุ่มโปนข้างหัวแม่เท้า และปัญหารองช้ำ (Plantar fasciitis) หรืออาการปวดบริเวณอุ้งเท้าจนถึงส้นเท้า โดยเฉพาะก้าวแรกหลังจากตื่นนอนตอนเช้า หรือนั่งนาน ๆ แล้วลุกขึ้นยืน
เทคนิคดูแลเท้า


• ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า รองเท้าที่ดีควรสูงไม่เกิน 1 นิ้ว และลักษณะส้นไม่ควรเป็นส้นเข็มหรือเล็กเกินไปเพราะนอกจากจะทำให้การทรงตัวเสียสมดุลแล้วยังทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอีกด้วย
• ควรเลือกรองเท้าที่ยาวกว่าเท้าประมาณ 1 เซนติเมตร และไม่บีบนิ้วเท้าเกินไป เพราะโดยปกติขณะเราเดิน เท้าจะเคลื่อนไปด้านหน้าประมาณ 7 มิลลิเมตร ดังนั้นคนที่ใส่รองเท้าพอดีเกินไปจึงเกิดปัญหากับเล็บและนิ้วเท้าเป็นเหตุให้เล็บเสีย นิ้วเท้างุ้มงอ และเบียดกันได้
• เลือกรองเท้าที่มีพื้นสัมผัสนุ่ม หรือเสริมพื้นรองเท้าเพื่อช่วยลดแรงกระแทก เสริมแผ่นรองส้นหรือกันส้นเพื่อลดการเสียดสี ป้องกันผิวหนังด้านและเกิดตาปลา
• ควรเลือกซื้อรองเท้าช่วงบ่ายซึ่งเป็นช่วงที่เท้าขยายเต็มที่และควรลองสวมรองเท้าทั้งสองข้าง
• รองเท้าที่ดีต้องกระชับ ไม่คับหรือหลวมเกินไป ส้นเท้าอาจเลื่อนขึ้นลงได้เล็กน้อยขณะเดินแต่ไม่ควรหลุดจากเท้า และเปลี่ยนความเชื่อที่ว่ารองเท้าคับจะยืดออกเมื่อใช้ไปสักพักเพราะกว่ารองเท้าจะยืดออกเท้าของคุณอาจบาดเจ็บก่อนได้
• เมื่อมีอาการเจ็บหรือปวด ควรรีบหาสาเหตุ เพราะบางครั้งรองเท้าอาจหมดสภาพ หรือไม่เหมาะสมกับโครงสร้างเท้า และคุณอาจผ่อนคลายเท้าโดยการแช่น้ำอุ่น ร่วมกับการบริหารกล้ามเนื้อขาและเท้าอย่างง่าย โดยกระดกปลายเท้าขึ้นให้สุด จนรู้สึกตึงที่น่อง ค้างไว้ 10 วินาที  ทำซ้ำ10 ครั้ง จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยเท้าได้





 

Create Date : 13 มีนาคม 2553
1 comments
Last Update : 13 มีนาคม 2553 10:53:32 น.
Counter : 555 Pageviews.

 



สวัสดีคะ แวะมาทักทายในวันหยุด มีความสุขนะคะ

 

โดย: หน่อยอิง 13 มีนาคม 2553 11:26:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 

pooklooks_tai
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add pooklooks_tai's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com