ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
23 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 
โบสถ์ปรกโพธิ์ มรดกแห่งบรรพชน


โบสถ์ปรกโพธิ์ มรดกแห่งบรรพชน

มีสิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถานหลายๆแห่งในประเทศไทย ซึ่งมีอายุเก่าแก่หลายร้อยปี มีอันต้องพังมลายหายไปทิ้งไว้แต่ร่องรอยของเศษอิฐเศษปูน บางแห่งมีประวัติอันยาวนาน เกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ชาติไทยหลายยุคหลายสมัย ก็เหลือไว้แต่เพียงซากปรักหักพัง ยากต่อการศึกษาค้นคว้าถึงที่มาและประวัติศาสตร์ความสำคัญ ซึ่งก็มาจากปัจจัยหลายๆ ด้าน เช่น ขาดการดูแลอย่างจริงจัง, ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์, การค้นพบช้าเกินไป ฯลฯ ทำให้สิ่งที่มีคุณค่าเหล่านั้นต้องสูญสิ้นไปตามกาลเวลา

แต่เหตุผลดังกล่าวไม่สามารถที่จะใช้ได้กับโบราณสถานแห่งหนึ่งคือ "โบสถ์ปรกโพธิ์" ที่ตั้งอยู่ที่ค่ายบางกุ้ง อ.บางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้มีที่มาและประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่คือสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ผ่านเวลากาลอันยาวนาน ผ่านศึกสงคราม และถูกปล่อยให้รกร้าง มานานเกือบ 200 ปี แต่โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ยังคงสภาพอยู่ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและตะหนักถึงความสำคัญที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในอดีตรวมไปถึงเป็นที่เคารพสักการะบูชาของคนรุ่นหลังสืบไป

เที่ยว Unseen โบสถ์ปรกโพธิ์ ที่ค่ายบางกุ้งเที่ยว Unseen โบสถ์ปรกโพธิ์ ที่ค่ายบางกุ้ง

วัดบางกุ้ง เป็นค่ายทหารเรือไทยที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพเรือ มาตั้งค่ายที่ค่ายบางกุ้ง เรียกว่า "ค่ายบางกุง้" โดยสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่าย เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นที่เคารพบูชาของทหาร ภายหลังเสียกรุงครั้งที่ 2 ค่ายบางกุ้งก็ร้างไปจนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรี เป็นราชธานีจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนจาก ระยอง ชลบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรีรวบ รวมผู้คนมาตั้งกองทหารรักษาค่าย จึงมีชื่อเรียกอีกหนึ่งว่า "ค่ายจีนบางกุ้ง"  ในปี พ.ศ. 2311 พระเจ้ากรุงอังวะทรงยกทัพผ่านกาญจนบุรีมาล้อมค่ายจีนบางกุ้ง สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราชทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระมหามนตรี (บุญมา) เป็นแม่ทัพยกไปช่วยเหลือทหารจีนขับไล่กองทัพ พม่าทำให้ข้าศึกแตกพ่าย หลังจากนั้นค่ายบางกุ้งแห่งนี้ก็ถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 200 ปี จนมาถึง พ.ศ.2510 กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ตั้งเป็นค่ายลูกเสือขึ้น (ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว) และได้สร้างศาลพระเจ้าตากสิน ไว้เป็นอนุสรณ์


สิ่งที่น่าสนใจในวัดบางกุ้ง

1.โบสถ์ปรกโพธิ์
เป็นอุโบสถหลังเดิมที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จะถูกปกคลุมด้วยรากไม้ใหญ่ทั้งโพ ไทร ไกร และกร่างมอง จากภายนอกคิดว่าเป็นกลุ่มต้นไม้ใหญ่ มากกว่ามีโบสถ์อยู่ข้างใน รากไม้เหล่านี้ช่วยให้โบสถ์คงรูป อยู่ได้ ทั้งยังให้้ความขรึมขลัง อีกด้วย ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐาน ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโบสถ์น้อย (หลวงพ่อนิลมณี) และเรียกโบสถ์ว่า โบสถ์ปรกโพธิ์ และมี ภาพจิตรกรรมฝาผนัง สมัยปลายกรุศรีอยุธยาเป็นเรื่องราว เกี่ยวกับพุทธประวัติ


2. หลวงพ่อนิลมณี 
หลวงพ่อนิลมณี หรือหลวงพ่อดำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ แห่งวัดบางกุ้ง ประดิษฐานอยู่ในโบสต์ปรกโพธิ์ เป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดใหญ่สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นที่เคารพบูชาของคนในท้องถิ่น ความศักดิ์สิทธิ์์ของ ท่านเลืองลือไกลไปทั่วสารทิศ ทำให้ผู้คน ต่างหลั่งไหลกันมากราบไหว้ขอพรท่านมากมาย


3.วัดบางกุ้ง 
เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน อยู่คนละฝั่งกับค่ายบางกุ้งโดยมีถนนผ่านกลาง สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ได้แก่ คัมภีร์์โบราณ ส่วนมากจะเป็นตำรายาโบราณ และบริเวณหน้าวัดด้านที่ติดกับแม่น้ำแม่กลอง จะมีปลาน้ำจืดต่างๆอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนได้ชื่อว่า "วังมัจฉา"






Create Date : 23 กรกฎาคม 2556
Last Update : 30 กรกฎาคม 2556 9:17:15 น. 1 comments
Counter : 2656 Pageviews.

 


สวัสดีค่ะพี่ ขอเรียกพี่เลยแระกันน๊า
อ่านว่าเกษียณแล้ว เก่งไอทีจังค่ะ

นอนหลับฝันดีนะคะ ตื่นแล้วมาชวนไปเที่ยวต่อ
Tromso 2



โดย: schnuggy วันที่: 27 กรกฎาคม 2556 เวลา:1:17:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

poneak
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




<<สังคมเพื่อการเรียนรู้ และแบ่งปัน>>
หลังเกษียณแล้วมีเวลาว่างมาก เพราะไม่มีงานอื่นทำ พอมีความรู้เรื่องคอมพิ้วเตอร์และอินเตอร์เน็ตอยู่บ้าง อยากจะมีเว็ปเป็นของตัวเอง เพื่อเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่น หวังว่าเพื่อนๆสมาชิกคงไม่รังเกียจนะครับ
Blogนี้จะแสดงผลได้ดีใน Browser Google Chrome ท่านที่ใช้ FireFox หรือ IE. อาจจะมีปัญหาในการแสดงภาพ และเสียง
New Comments
Friends' blogs
[Add poneak's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.