ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
6 มกราคม 2557
 
All Blogs
 
ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย

ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย

 พระบรมฉายาลักษณ์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  

จาก  Wellcome  Library , London ที่นายจอห์น ทอมสัน ฉายพระรูป

 ทรงฉายพระรูป เมื่อปี  ๒๔๐๘

การถ่ายภาพได้เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ประมาณปี  พ.ศ.  
๒๓๘๘   ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ ๓  (รัชกาลที่ ๓ ครองราชย์
พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔)  หลังจากนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส หลุยส์ เจ. เอ็ม.ดาแกร์ ได้ประดิษฐ์กล้องถ่ายรูปสำเร็จ  เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๒  เพียงไม่กี่ปี
นับว่า ประเทศไทยมีความทันสมัยมากในสมัยนั้น

    ผู้ที่นำการถ่ายภาพเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ได้แก่ บาทหลวง ฝรั่งเศส ปาเลอกัว  และเป็นผู้ถ่ายรูปแผ่นเงินก่อนใคร



>> ประวัตินายจอห์น ทอมสัน (John Thomson)  ชาวสก๊อต
      ผู้ฉายพระรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

[ข้อมูลโดยได้รับความอนุเคราห์จาก คุณนุกูล  (เจ้าของบล็อก 
คนช่างเล่า)  //www.oknation.net/blog/nukpan  และ  
//www.oknation.net/blog/nakornrajsima  
 ซึ่งได้กรุณาคัดบทความ

เรื่อง "นายทอมสัน ผู้ถ่ายพระรูปพระจอมเกล้า" โดย นายแพทย์พิพัฒน์ ชูวรเวช
จากวารสารตราไปรษณียากร  ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๑๑  มิถุนายน  ๒๕๔๗  มาให้  จึงขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้]




    นายจอห์น ทอมสัน  เกิดที่กรุงเอดินเบอเรอ  ประเทศสก๊อตแลนด์
เมื่อวันที่  ๑๔  มิถุนายน  ๒๓๘๐  เบื้องต้นเขาเรียนหนังสือในกรุงเอดินเบอเรอ
ต่อมาไปฝึกงานเป็นช่างทำแว่นตาและช่างเครื่องมือวิทยาศาสตร์  ทำให้มีความรู้เรื่องกล้องถ่ายรูป

    เขาศึกษาภาคค่ำที่  Watt Institution & School of Arts  เรียนหลายวิชา  เช่น  ปรัชญา คณิตศาสตร์ และเคมีเบื้องต้น  ทำให้มีความรอบรู้หลายแขนง  เขาเคยได้รับรางวัลเรียนดีด้านภาษาอังกฤษ

    ในปี  ๒๔๐๔  เขาได้รับเลือกเป็น  Member of the Royal
Scottish Society of Arts

>> เดินทางสู่สยาม

    ในปี  ๒๔๐๘  นายทอมสัน ขณะนั้นอายุได้  ๒๘ ปี  เขาได้ขายกิจการร้านถ่ายรูปที่สิงคโปร์  เดินทางมาสยาม

    นายทอมสัน  ได้เดินทางมาจากสิงคโปร์  โดยสารเรือกลไฟชื่อ"เจ้าพระยา"  (เรือลำนี้มี พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ หรือเจ้าสัวยิ้ม เป็นเจ้าของ
เดินเป็นประจำระหว่าง กรุงเทพฯ กับสิงคโปร์) มาถึงกรุงเทพฯ  เมื่อวันที่๒๘  กันยายน  ๒๔๐๘  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ระหว่างที่อยู่ในกรุงเทพฯ ๓ เดือน  เขาได้เข้าเฝ้าและถ่าย
พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ถ่ายรูปพระราชพิธีโสกันต์ของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์  และเดินทางโดยเรือไปเมืองเพชรบุรี และสถานที่อื่น ๆ  อีกมากมาย

    นายทอมสัน  อัดรูปภาพที่ถ่ายในกรุงเทพฯ ออกจำหน่าย
มีลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์บางกอก รีคอร์เดอร์ ของหมอ ปรัดเล  อยู่หลายครั้ง   โดยซื้อได้ที่บ้านกัปตันเอมส์  (Captain  Samual Joseph Bird Ames) ชาวอังกฤษ ที่เขาพักอยู่


>>  นายทอมสัน  ทำหนังสือกราบบังคมทูล ขอเข้าไปถ่ายภาพใน
       พระบรมมหาราชวัง   

    นายทอมสัน ได้ทำหนังสือเสนอสำนักพระราชวัง โดยผ่าน
สถานกงสุลอังกฤษในกรุงเทพฯ ขอเข้าไปถ่ายภาพในพระบรมมหาราชวัง

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบรับนายทอมสันเป็นภาษาอังกฤษ  ทรงมีพระบรมราชานุญาต และพระราชทานพระราชวโรกาสให้ฉายพระรูปส่วนพระองค์เองอีกด้วย

    พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่สนพระทัยการถ่ายภาพและเก็บพระฉายาลักษณ์ของพระองค์เอง  ซึ่งคนไทยสมัยนั้นเกรงกลัวการถ่ายรูป  เชื่อว่าทำให้อายุสั้น

    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา  เป็นผู้พาเข้าเฝ้า 


>>  บันทึกของนายทอมสัน เมื่อเข้าเฝ้า 

    นายทอมสัน เล่าว่า  กรมหมื่นอลงกฎฯ  ทรงมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าโหรหลวง  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเขียนไว้ในพระราชหัตถเลขาว่า   พระอนุชาพระองค์นี้  ทรงรู้เรื่องการถ่ายรูปดี จะได้พาไปถ่ายรูปบุคคลและสถานที่ได้ถูกต้อง
 ทั้งสองเข้าสู่ประตูพระบรมมหาราชวัง  มีทหารยามทำวันทยาวุธ
เมื่อเข้าถึงวังหลวงฝ่ายใน  มีผู้คนหมอบเฝ้าจำนวนมากตามรายทางที่เดินผ่าน
พนักงานจัดเลี้ยงต้อนรับ  มีผลไม้ ขนมเค้ก และเหล้าไวน์ เขารับ
แจ้งว่า  ให้รอไปก่อน  พระเจ้าอยู่หัวทรงทำวัตรเช้า  นายทอมสันเลยถือโอกาสเดินดูสิ่งก่อสร้างและเครื่องตกแต่งภายในท้องพระโรง   เขาเล่าว่า  ผนังด้านหนึ่งของท้องพระโรงแขวนพระรูปของ  จักรพรรดินโปเลียนที่ ๓  และพระราชินีแห่งประเทศฝรั่งเศศ  ขนาดเท่าพระองค์จริง  อีกฟากหนึ่งติดพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้

    เมื่อเสียงแตรดังขึ้น  พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินออกทางพระทวาร ขนาดใหญ่  นายทอมสันตื่นเต้นดีใจที่เกิดมาชาตินี้เพิ่งมีโอกาสเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์เป็นครั้งแรก

   เขาเล่าว่า  พระเจ้าอยู่หัวทรงมีความสูง ประมาณ ๕ ฟุต ๘ นิ้ว
(๑๗๐ ซ.ม.) ทรงประทับยืนพระองค์ตรงและโดดเด่น  พระพักตร์ค่อนข้างซูบฉลองพระองค์เสื้อคลุมสีขาว  มีความยาวถึงพระบาท  (เข้าใจว่า ทรงฉลองพระองค์ชุดทรงศีล)  เป็นพระภูษาที่เรียบง่ายและบริสุทธิ์

    พระองค์ทรงทักทายนายทอมสัน  นายทอมสันเสนอให้ฉายพระรูปขณะทรงคุกเข่าสวดมนต์  แต่ขณะที่นายทอมสันกำลังจัดแจงกล้องถ่ายรูปและจัดฉากอยู่  พระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัย  ทรงหายไปข้างในระยะเวลาหนึ่งกรมหมื่นอลงกฎฯ ตรัสกับนายทอมสันว่า  ตนไม่อยู่ในฐานะที่ทูลถามพระเจ้าอยู่หัวได้

    ขณะที่คนทั้งสองคอยด้วยความฉงน  พระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมาชุดฉลองพระองค์เครื่องแบบจอมพลแห่งกองทัพฝรั่งเศส  ฉลองพระองค์ทั้งชุดไม่มีส่วนที่เป็นผ้าฝ้ายอยู่เลยแม้แต่ถุงเท้า  (คงเป็นผ้าขนสัตว์และผ้าไหมที่มีค่าทั้งหมด)

    นายทอมสัน ปฏิบัติหน้าที่ช่างฉายพระรูปได้อย่างดีและเรียบร้อยต่อมาพระองค์ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นชุดบรมขัตติยราชภูษาภรณ์  ทรงให้นายทอมสันถ่ายภาพเพิ่มเติมอีก

    นายทอมสันกราบทูลด้วยภาษาอังกฤษง่าย ๆ  ระหว่างกราบทูลพระองค์ทรงโพสท่าถ่ายภาพ  พระองค์ตรัสกับนายทอมสันว่า 

 "เธอทำทุกอย่างที่ต้องการเพื่อให้รูปออกมาดีเลิศก็แล้วน"

    นายทอมสันเล่าว่า  พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามตนว่า มีสัญชาติใด
เมื่อกราบทูลว่าเกิดที่กรุงเอดินเบอเรอ  พระองค์ตรัสว่า "อา เธอเป็นคนสก๊อตและพูดภาษาอังกฤษที่ฉันเข้าใจ  มีคนอังกฤษที่นี่ ที่ไม่เข้าใจภาษาของตนเอง เมื่อฉันพูดกับเขา"

>>  นายทอมสัน ทูลเกล้าถวายพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๔
       แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเข้าเฝ้ารัชกาลที่ ๕
       ที่กรุงลอนดอน 

    ในปี  ๒๔๔๙  นายทอมสัน ได้ทูลเกล้าถวายพระบรมฉายาลักษณ์
รัชกาลที่ ๔  (ที่เขาฉายพระรูปไว้)  แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยผ่านสถานทูตสยามในกรุงลอนดอน

    และเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน  ๒๔๕๐  ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่กรุงลอนดอน เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรป
ครั้งที่  ๒    ทูลเกล้าถวายพระบรมฉายาลักษณ์สมัยที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์  


>>  ภาพเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔  ฝีมือถ่ายภาพของนายทอมสัน  
       จาก  Wellcome  Library  ที่  London  


#1   Gate of Buddhist temple, Bangkok, Siam.    [1866]
       (คล้ายพระอุโบสถวัดพระแก้ว - ผู้เขียน)




#2   State barge of the King of Siam, Bangkok.  [1865-1866]




#3   State barge of the King of Siam, Bangkok.  [1865-1866]    




#4   Siamese boatman, Siam.  [1865-1866]
        (ฝีพาย - ผู้เขียน)




#5   Arrival of the King of Siam at the Temple of Sleeping Idol.
       [1865-1866]     (ร. ๔  เสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารคไป
       วัดโพธิ์ - ผู้เขียน)




#6   Crown Prince of Siam in front of Palace with his entourage,
       Bangkok, Siam.




#7   The Crown Prince of Siam, Bangkok, Siam.  [1865]




#8   A Siamese Prince with his attendant, Siam.  [1865-1866]




#9   The Kings  Buddhist temple, Siam.   [1865-1866]




#10   The late Kralahorm, Bangkok, Siam.    [1865]




#11   Siam      [1865]




#12   Buddhist priests eating, Bangkok, Siam.    [1865-1866]




#13   Mount Khrai-lat, Bangkok, Siam.    [1865-1866]
         (ในพระบรมมหาราชวัง - ผู้เขียน)    




#14   View of Bangkok, Siam, looking over the River Menam.
         [1865-1866]




#15   View of the Menam river with sailing ships anchored. 
ฺ         Bangkok, Siam.       [1865-1866]




#16   View of Bangkok, Siam, looking over the River Menam. 
         [1865-1866]




#17   Pechaburi Bridge, Siam, over the river with boats along
         the embankment.     [1865-1866]




#18   View of Ayuthia, Siam.    [1865-1866]




#19   Ayuthia, Siam.     [1865-1866]




#20   Palmyra palms, Siam.      [1865-1866]
         (น่าจะเป็นที่เพชรบุรี - ผู้เขียน)




#21   View of Pechaburi plain, viewed from a hill. At the lower
         left  a  Buddhist temple.       [1865-1866]




#22   Buddhist Temple, Siam       [1865]






#23   Bangkok, Siam.       [1866]




#24   Siam         [1865]




#25   Elephant training ground, Ayuthia, Siam.   [1865-1866]
         (เพนียดคล้องช้างที่อยุธยา - ผู้เขียน)




#26   A war elephant of Siam.      [1865-1866]
         (ช้างศึก เป็นช้างที่ได้รับการคัดเลือกความเหมาะสมแล้วและนำมาฝึก 
         - ผู้เขียน)




#27   Siam          [1865]
         (น่าจะเป็นการแสดงโขน - ผู้เขียน)



ภาพเหล่านี้ มีอายุเกือบ  ๑๕๐ ปีมาแล้ว   เป็นภาพในยุคแรก ๆ  
ของการถ่ายภาพในเมืองไทยที่หาชมยาก  และยังไม่ค่อยได้พบเห็นในเมืองไทย   ต้องขอขอบคุณ Wellcome Library, London  ที่ได้ช่วยอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดียิ่ง  และหวังว่าคนไทยจะได้ช่วยกันศึกษาค้นคว้าเผยแพร่




Create Date : 06 มกราคม 2557
Last Update : 6 มกราคม 2557 12:06:13 น. 0 comments
Counter : 8148 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

poneak
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




<<สังคมเพื่อการเรียนรู้ และแบ่งปัน>>
หลังเกษียณแล้วมีเวลาว่างมาก เพราะไม่มีงานอื่นทำ พอมีความรู้เรื่องคอมพิ้วเตอร์และอินเตอร์เน็ตอยู่บ้าง อยากจะมีเว็ปเป็นของตัวเอง เพื่อเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่น หวังว่าเพื่อนๆสมาชิกคงไม่รังเกียจนะครับ
Blogนี้จะแสดงผลได้ดีใน Browser Google Chrome ท่านที่ใช้ FireFox หรือ IE. อาจจะมีปัญหาในการแสดงภาพ และเสียง
New Comments
Friends' blogs
[Add poneak's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.