พฤษภาคม 2552

 
 
 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
สอนลูกเองก็ได้...ง่ายจัง 19 : กดเครื่องคิดเลขทำไม ในเมื่อคิดในใจได้เร็วกว่า2



ฉิก : สวัสดีครับ มาเจอกันอีกแล้วนะครับ

คราวที่แล้วเราได้เกริ่นนำเรื่องคิดเลขเร็วไปบ้างแล้ว
น่าจะมีคนสงสัยกันเยอะว่า เอ๋...มันทำได้จริงเหรอ
มันคิดได้เร็วปานสายฟ้าแลบขนาดนั้นได้เลยเหรอ

อาจจะมีหลายๆคนลองไปซื้อหนังสือเล่มนั้นมาอ่านกันบ้างแล้ว
และ ตอนนี้กำลังฝึกคิดในใจกันอย่างขมักเขม้น

วันนี้เราจะมาลองคุยกันเรื่องเทคนิคการคิดเลขเร็วกันแบบลงลึกกันแบบละเอียดๆเลยดีมั้ยครับ



ป้อม : อืมม์จะดีเหรอครับ ถ้าคนอื่นเขารู้ tricks แบบหมดเปลือก แล้วผมจะเอาเทคนิคอะไรไปหลอกผู้ชมให้งงเล่นล่ะครับ


ฉิก : เอาแบบเล็กๆน้อยๆก็ได้ครับ แบบพอเป็นไอเดียก็ได้


ป้อม : แหะๆ ผมพูดเล่นน่ะครับ

จริงๆการฝึกคิดเลขเร็วนี่จะว่าไปก็เป็นสีสันทางคณิตศาสตร์ที่ดีมากครับ บางทีการที่เรามีอะไรแปลกๆแต่น่าทึ่งอย่างนี้มาฝึก แล้วเอาไปโชว์คนอื่นๆ ก็ทำให้เราสนุกสนานเพลิดเพลินกับคณิตศาสตร์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

สมัยเด็กๆนะครับ อาจจะมีหลายๆคนที่มีความรู้สึกที่ไม่ดีกับคณิตศาสตร์ เพราะ มันน่าเบื่อ บางคนเกลียดกลัวมันอย่างเข้าไส้ ด้วยความที่มันมีแต่ตัวเลขยุ่บยั่บ ดูยุ่งยาก ซับซ้อน วุ่นวาย และ แห้งแล้ง ไร้ชีวิตจิตใจ พอเราจะไปสอนคณิตศาสตร์ลูก เราก็ยังไปถ่ายทอดความรู้สึกเซ็งๆแบบนี้ไปให้ลูกโดยไม่รู้ตัวอีกต่างหาก

เรามาลองเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับคณิตศาสตร์กันดีกว่ามั้ยครับ

อย่าเพิ่งไปกลัวอะไรที่มันยากๆ แต่ให้เริ่มจากอะไรที่มันง่ายๆ แต่ได้ผลดีอย่างไม่น่าเชื่อก่อน เช่น การคิดเลขเร็วนี่แหล่ะ เป็นการเริ่มต้นที่ดี และ สนุกสนานมากเลยนะ จะบอกให้



ฉิก : ตอนเด็กๆผมก็เคยเป็นอย่างที่คุณว่าทุกอย่างเลยแหล่ะ แล้วคุณป้อมมีเทคนิคอะไรที่จะช่วยให้เราเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดีขึ้นบ้างมั้ยครับ


ป้อม : ผมมีหลักง่ายๆแค่ 3 ข้อ เท่านั้นแหล่ะ

1 เข้าใจ

2 จำ

3 จินตนาการ








ฉิก : อ๋า....ผมฟังอะไรผิดไปหรือเปล่า ไอ้ข้อแรกน่ะ ok มันต้อง"เข้าใจ" ก่อน ถึงจะรู้เรื่อง แต่ไอ้ข้อสองที่ว่า "จำ" เนี่ย มันไม่ผิดวัตถุประสงค์ของการเรียนคณิตศาสตร์เหรอครับ ก็คุณครูเราเคยบอกไม่ใช่เหรอครับว่าอย่าท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทอง


ป้อม : ใครบอกคุณล่ะว่า คณิตศาสตร์ไม่ต้องใช้ความจำ
จริงๆแล้ว"ความจำ"นี่สำคัญมากในคณิตศาสตร์เลยนะครับ

ถ้าคุณเข้าใจหลักการทุกอย่างของคณิตศาสตร์อย่างดี แต่กลับจำอะไรไม่ได้เลย มันก็ไม่มีประโยชน์ล่ะครับ เพียงแต่ว่าเราต้องฝึก"จำ"อะไรที่มันจำเป็น และ จำอย่างเป็นระบบ มากกว่าที่จะจำตะพึดตะพือแบบนกแก้วนกขุนทองอย่างที่คุณว่า

ผมยกตัวอย่างนะ พื้นฐานของคณิตศาสตร์ คือ การนับ
ถ้าเราเข้าใจหลักการของการนับ เราก็จะสามารถบวกลบเลขได้ใช่มั้ยครับ

สมมตินะ ลองถามคุณฉิกว่ดูซิว่า 8+5 ได้เท่ากับเท่าไหร่


ฉิก : โอ๊ย! หมูมาก ก้อ 13 ไงล่ะครับถามได้



ป้อม : ผมถามคุณฉิกว่า ที่คุณตอบได้น่ะ เพราะ คุณนับนิ้วหรือเปล่า หรือ เพราะอะไร



ฉิก : เอ่อ...มันก็ไม่เห็นต้องนับนิ้วเลย มันก็รู้ๆกันอยู่แล้วไม่ใช่เหรอ




ป้อม : นั่นล่ะครับ เขาเรียกว่าการใช้ "ความจำ" คือ การที่คุณตอบได้เลย เพราะ คุณเคยบวกมันบ่อยๆจนเกิด "ทักษะ" (skill) ซึ่งก็ทำให้เราจำมันไว้ในสมอง และ สามารถเรียกมันมาใช้ได้ทันที(recall)เมื่อต้องการ

คือการที่เรารู้หลักการน่ะ เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว แต่โดยทั่วไปเรามักจะมี "ชุดความจำ" ของตัวเลขที่เราใช้บ่อยๆ และ สามารถเอามาใช้ได้อย่างรวดเร็ว อันนี้แหล่ะเป็นหลักที่เราเอามาใช้ในหลักการคิดเลขเร็วบ่อยๆ

แต่ก็นั่นแหล่ะ เราเองก็ไม่จำเป็นต้องจำผลบวกของเลขทุกตัวใช่มั้ยครับ เพราะ เราเรียนรู้หลักการบวกแล้ว และ สามารถคิดมันออกมาได้ โดยไม่ต้องจำมันซะหมด เพียงแค่เราจำการบวกเลขโดด 0-9 ได้ เราก็สามารถบวกเลขหลายๆหลักได้แล้ว

นี่แหล่ะครับถึงบอกว่า เราต้องรู้ว่าอะไรควรจำ อะไรที่ไม่จำเป็นต้องจำ ยังมีอันอื่นๆอีกเยอะแยะนะครับ ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะต้องจำสูตรคูณแม่ 1-9 แต่ไม่จำเป็นต้องจำสูตรคูณแม่ 47 อะไรอย่างนี้ หรือ เราอาจจะจำผลคูณ หรือ เลขยกกำลังสองบางตัวที่เราใช้บ่อยๆได้ ส่วนมากจะเป็นจำนวนน้อยๆ เช่น 9 ยกกำลังสอง เท่ากับ 9x9 = 81 แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องไปจำว่า 47 ยกกำลังสองว่าได้เท่าไหร่ เพราะ เราสามารถคำนวณมันได้








ฉิก : แล้วไอ้"จินตนาการ"ล่ะครับ มันเป็นยังไง


ป้อม : คือคณิตศาสตร์มันจะมี "รูปแบบ" (pattern) ของมัน เราฝึกมันบ่อยๆเราก็จะเรียนรู้ได้แล้วว่า โจทย์อย่างนี้ มันมีวิธีคิดอย่างนี้ อย่างนั้น

แต่ก็ขอให้เรารู้ด้วยว่า โจทย์คณิตศาสตร์ข้อนึง มันมีวิธีแก้ปัญหาได้หลายวิธี ตั้งแต่ง่ายๆจนถึงยุ่งยากซับซ้อน การที่เรามีความคิดสร้างสรรค์ดีๆ เราจะสามารถคิดวิธีแก้ปัญหาได้หลายๆแบบ ซึ่งก็จะช่วยให้เราสามารถเลือกวิธีง่ายๆที่สุด มาช่วยในการแก้ปัญหานั้นๆ จะได้ไม่เปลืองแรงไง ซึ่งคนที่มีจินตนาการจะสามารถมองเห็นประเด็นเล็กๆ เห็นภาพรวม เห็นแนวทางใหม่ๆในการ"ฉีก"ออกไป เพิ่มโน่นนิด ลดนี่หน่อย ซึ่งจะช่วยให้เราแก้ปัญหาได้ดีขึ้น

การคิดเลขเร็ว ก็มาจากความพยายามในการคำนวณให้เร็วขึ้น โดยการสังเกต pattern อะไรบางอย่าง แล้วนำมาปรับใช้ และ พยายามคิดให้มัน"ต่าง"ออกไปจากวิธีเดิมๆ ซึ่งบางทีไปเลือกใช้เส้นทางเดินที่มันอ้อมกว่า หลายขั้นตอนกว่า แต่กลับทำได้เร็วกว่าวิธีคำนวณเดิมๆที่เราใช้กันบ่อยๆซะอีก


ฉิก : OK ครับ พอจะเข้าใจแล้ว ไหนลองยกตัวอย่างให้ดูบ้างซิครับ










ป้อม : อย่างในหนังสือเล่มนี้ เทคนิคนึงที่น่าสนใจ เขาแนะนำให้เราลองบวก ลบเลข โดยเริ่มจากทางซ้ายไปขวา ซึ่งตรงข้ามกับวิธีคิดแบบปกติ ที่เราจะบวกเลขจากหลักหน่วย มาหลักสิบ ไปหลักร้อย ซึ่งมันเป็นการบวกจากขวามาซ้าย

คนเขียนบอกว่า การบวกแบบนั้นมันฝืนธรรมชาติของเรา เพราะ ปกติเราจะอ่านหนังสือจากซ้ายมาขวา แล้วทำไมเราไม่ลองบวกจากซ้ายมาขวามั่งล่ะ



ฉิก : อ้าว...ก็ครูเขาสอนกันมาอย่างนี้นี่ครับ อีกอย่างเวลาเราต้องทดเลข เราก็ต้องทดจากหลักหนวยก่อน แล้วไปหลักสิบ หลักร้อยไม่ใช่เหรอ


ป้อม : นี่ไงครับ เขาเรียกว่า "ความเคยชิน" แต่อย่างที่บอกไป มันค่อนข้างฝืนธรรมชาติในการอ่านจากซ้ายไปขวาของเรา และ บางทีมันนึกในใจยากกว่า และ ลืมก็ง่ายกว่า

ในหนังสือเขาแนะนำอย่างนี้ครับ เช่น 258 + 179 ลองคิดในใจดูซิครับ
ถ้าเรามาบวกไล่จากหลักหน่วย หลักสิบ มันต้องทดกันสองทีเลยใช่มั้ย
และ เราต้องใช้สมาธิเยอะมากในการจำตัวเลข และ มักจะลืมบ่อยๆ ประเภททดหน้าลืมหลัง อะไรอย่างนี้เลย



ลองดูวิธีของเขาบ้าง เขาใช้วิธีกระจายครับ เป็น 258 + 100 + 70 + 9

บวกหลักร้อยก่อนได้ 258 + 100 = 358 ง่ายดีใช่มั้ย

ต่อมาเอา 358 + 70 = 428 ตามทันมั้ยครับ

สุดท้ายเอา 428 + 9 = 437

อาจจะดูมันหลายขั้นตอน แต่พอคิดจริงๆมักไม่ค่อยผิด และ ไม่ค่อยลืมเท่ากับวิธีแบบเดิมๆ ลองฝึกกันดูนะครับ











ฉิก : แล้วการลบล่ะครับ มีเทคนิคอะไรบ้าง


ป้อม : ยกตัวอย่างเลยละกัน 58 - 19 ถ้าคิดแบบเดิมๆ ก็ต้องมีการยืมกัน เพราะ 8 - 9 ไม่ได้ใช่มั้ยครับ ดูแล้วมันยากๆงงๆชอบกล

แบบที่คนเขียนแนะนำ เขาใช้วิธีอ้อมๆ เป็น 58 - 20 ก่อนแล้วค่อยไป + 1
จะได้ว่า 58 - 20 = 38 แล้ว + 1 = 39 ง่ายกว่ากันเยอะเลยเนอะ

อีกอันที่น่าสนใจ คือ เขาใช้ compliment มาช่วย
complimentของเลข 2 หลัก คือ ตัวที่มาบวกตัวนั้นๆแล้วได้ 100

เช่น complimentของ 58 คือ 42
complimentของ 37 คือ 63
complimentของ 41 คือ 59

คิดง่ายๆคือ หลักหน่วยให้บวกกันได้ 10 หลักสิบให้บวกกันได้ 9 นั่นล่ะ compliment




ลองโจทย์ข้อนี้นะครับ 524 - 278 = ?

สังเกตนะครับว่าหลักหน่วย หลักสิบ ของตัวที่เอามาลบมันมากกว่าตัวตั้ง มันต้องยืมกัน 2 ที ใช่มั้ย ดูยากจังเลยเนาะ

เรารู้แล้วว่าหลักร้อยต้องมีการยืมแน่ๆ ให้เราคิดก่อนเลยว่า 5 โดนยืมไป 1ได้ 4 - 2 ได้ 2

ต่อมาให้เราเอา 78 มาลบกับ 24 ก่อน ได้ 54 แล้วหา compliment ซะ จะได้ 46 เป็น 2 หลักสุดท้าย ตอบ 246 ดูหลายขั้นตอน แต่เวลาคิดจริงๆนี่แป๊บเดียวเอง และ ไม่ค่อยพลาดง่ายๆเหมือนวิธีเก่า









ฉิก : น่าสนใจดีนะครับ แล้วไอ้โจทย์ประเภท 1+2+3+....20 ล่ะครับ ทำไมถึงคิดได้เร็วจัง


ป้อม : อันนี้มันมีเรื่องเล่านิดนึงครับว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเด็กน้อยคนนึงที่ฉลาดปราดเปรื่องมาก เก่งไม่เก่งก็คิดดูละกัน พี่ท่านเล่นคิดเลขเป็นก่อนที่จะอ่านหนังสือออกซะอีก ตอน 3 ขวบก็สามารถทักท้วงคุณพ่อได้ว่า คิดคำนวณตัวเลขในสมุดบัญชีผิดไป เล่นเอาอึ้งกันไปทั้งครอบครัว

ตอน 9 ขวบ มีอยู่วันนึง คุณครูสั่งการบ้านในชั้นเพื่อให้เด็กนั่งนิ่งๆในห้องซักพักนึงตอนที่ครูจะไปทำธุระข้างนอก โจทย์ข้อนี้คือ 1+2+3+4.....100 เท่ากับเท่าไหร่

พอครูบอกเสร็จ คุณครูก็ตั้งท่าจะเดินออกไปนอกห้อง ทันใดนั้น เด็กน้อยคนนี้ก็ตอบออกมาว่า 5,050 โดยที่ไม่ได้ใช้ปากกาทดลงไปในกระดาษเลยด้วยซ้ำ เล่นเอาคุณครูถึงกับบอกว่า เด็กนักเรียนคนนี้เก่งกว่าครูซะแล้ว เขาไม่สามารถสอนเด็กน้อยนี้ได้อีก จึงต้องหาหนังสือยากๆมาให้ และ หาครูเก่งๆคนอื่นมาสอนแทน

เด็กคนนี้ต่อมาได้กลายเป็นนักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังที่สุดตลอดกาล สมญานาม "เจ้าชายแห่งวงการคณิตศาสตร์" "Johann Carl Friedrich Gauss" เรียกสั้นๆว่า ท่านเกาส์










ฉิก : อะไรนะ ท่านเป็นโรคเกาต์เหรอ น่าสงสารจัง


ป้อม : ไม่ใช่ว้อย อันนั้นมัน GOUT (โรคข้อที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริก) ที่เล่ามาซะยืดยาวนี่จะบอกว่า เทคนิคนี้มันมีที่มา เอาย่อๆนะ คือ "การจับคู่" นั่นแหล่ะ

ยกตัวอย่างเช่น 1+2+3...20 แทนที่เราจะมาบวกกันทีละตัวซึ่งมันเสียเวลามาก ให้เราลองจับคู่หัว-ท้าย แล้วมาบวกกันดูทีละคู่ดู เช่น 1+20 , 2+19 , 3+18 .........10+11

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 +
20 19 18 17 16 15 14 13 12 11

21 21 21 21 21 21 21 21 21 21

จะได้ 21 จากการบวกกันทั้งหมด10 คู่ ซึ่งเท่ากับ 21 x 10 = 210

สรุปง่ายๆว่า เอาตัวต้นบวกกับตัวท้าย 1 +20 = 21 และ คูณจำนวนคู่ทั้งหมดที่จับกัน ซึ่งในกรณีนี้ คือ 20/2 = 10 คู่ ได้ 210 ง่ายมั้ยล่ะ



ฉิก : โอ้ว...ง่ายแบบนี้เลยเหรอเนี่ย ไม่น่าโง่บวกกันทีละตัวเลยตู










ป้อม : แถมเทคนิคการคูณให้ด้วยนะครับ
เอาเป็นการคูณของตัวที่ใกล้ๆ 100 ละกัน

103 x 108 = ? อันนี้ก็มีวิธีคิดง่ายๆ
โดยดูว่า ทั้งคู่ห่างกับ 100 เท่าไหร่
จะได้ว่า 3 กับ 8 ตามลำดับใช่มั้ย

ให้เอา 103 ไปบวกกับผลต่างของตัวที่มันจะคูณด้วยกับ 100 ในที่นี้คือ 8
ได้ 111 เป็น 3 หลักแรก

ต่อมาเอา ระยะห่างทั้งสองคูณกันเอง ได้ 24 เป็น 2 หลักสุดท้าย
ตอบ 11,124 ไปเลย








หรือ 107 2 ได้เท่ากับเท่าไหร่


107ยกกำลังสอง คือ 107 x 107 ใช่มั้ยครับ
วิธีคิดนะ ให้เอา 107 + 7 = 114 เป็น 3 หลักแรก
แล้วเอา 7 x 7 = 49 เป็นสองหลักสุดท้าย

ตอบ 11,449


ฉิก : เฮ้ย! ง่ายๆแบบนี้เลยเรอะ มิน่าทำไมถึงคิดได้ไวจัง สูตรนี้มันมาได้ไงเนี่ย


ป้อม : จะเอาที่มาจริงๆเหรอ ได้เลย คุณรู้จักสูตรนี้ไหม

(a+b)2 = a2 + 2ab + b2

ลองแทนค่าดูนะ (100 + 7)2 = 100x100 + (2x100x7) + 7x7

จะสังเกตเห็นว่าได้ 11,400 + 49 ซึ่ง 3หลักแรก ก็คือ 114 และ 2หลักสุดท้ายคือ 49 เหมือนที่ว่าไว้เลยใช่มั้ยครับ


ฉิก : โอ้ว! Amazing มั่กๆ








แล้วเทคนิคการหารที่เห็น คิดแป๊บเดียวก็ออกมาเป็นทศนิยมยาวๆอย่างงั้นทำได้ไงล่ะครับ


ป้อม : อ๋อ! อันนั้นเป็นการหารด้วย 7 น่ะครับ

ข้อนั้นรู้สึกว่าจะ 150/14 = ? ให้เราทำเป็นเศษส่วนอย่างต่ำก่อนได้ 75/7 ซึ่งจะได้ 10.7142857......


ฉิก : นั่นล่ะครับ มาได้ไง ทำไมคิดเร็วแบบสายฟ้าแลบขนาดนั้นล่ะ


ป้อม : อย่างแรกที่อยากให้ทำคือ ให้จำทศนิยมจากเศษส่วนง่ายๆ ตั้งแต่ 1-11 ก่อนน่ะครับ

เช่น 1/4 = 0.25 1/6 = 0.166666
5/8 = 0.625 4/9 = 0.44444444 3/11 = 0.27272727
ซึ่งจริงๆมันมีหลักการจำ ให้ลองไปอ่านดูในหนังสือกันดูนะครับ ไม่เยอะหรอก ถ้าจำได้นี่สบายเลย จะคิดทศนิยมได้เร็วมาก

ที่น่าสนใจ คือ การหารด้วย 7 นี่แหล่ะ เพราะ มันจะมีทศนิยมซ้ำๆด้วยตัวเลขชุดเดียวเท่านั้น คือ 142857 ซึ่งจำง่ายๆว่า สองเท่าของ 7 คือ 14 สองเท่าของ 14 คือ 28 และ สองเท่าของ 28 ประมาณ 57 (จริงๆมัน 56)

แล้วก็ใช้ตัวเลขชุดนี่แหล่ะ ไล่ไปตามลำดับ

1/7 = 0.142857....
2/7 = 0.285714....
3/7 = 0.428571.....
4/7 = 0.571428....
5/7 = 0.714285....
6/7 = 0.857142....

เวลาหารเราก็หารไปตามปกติ แล้วเหลือเศษเท่าไหร่ก็ใช้ชุดทศนิยมที่เราจำง่ายๆนี่แหล่ะ พูดออกไปเลย รับรองว่าคนที่เขาดูอยู่ต้องอ้าปากค้างแน่ ว่ามันคิดเร็วขนาดนี้เข้าไปได้ไง


ส่วนเทคนิคอื่นๆก็ยังมีอีกมากมาย พูด 3 วันก็ไม่จบ ลองเอาไปฝึกๆกันดูเอาเองนะครับ ใครมีเทคนิคอื่นๆที่น่าสนใจก็บอกกันได้นะครับ


ฉิก : เยี่ยมเลยครับ คราวนี้ผมจะลองฝึกไปโชว์คนอื่นบ้าง คณิตศาสตร์มันก็มีอะไรที่มันสนุกๆอย่างนี้เหมือนกันนะเนี่ย ไปล่ะครับ






Create Date : 13 พฤษภาคม 2552
Last Update : 16 พฤษภาคม 2552 22:52:45 น.
Counter : 7206 Pageviews.

7 comments
  
ชะแว๊บมาเจิม เป็นคนแรก ก่อน อิอิ แต่ยังไม่มีเวลาอ่าน เพราะเจ้าแสบ ยังไม่หลับ ยังวุ่นวายอยู่

ไปซื้อหนังสือ ที่คุณหมอแนะนำมาแล้วค่า แต่ยังไม่เปิดอ่านเลย
(เพราะซื้อมาเพียบเลยค่า ทั้งฟลอร์ไทม์ ที่คุณหมอแนะนำ ด้วย)

แล้วจะชะแว๊บมาอ่านอีกนะคะ

ขอกระโดดไปอ่าน เรื่องสึนามิให้ลูกฟังก่อนค่า

ถ้าว่างแวะไปอ่าน บล๊อกของเจ้าปิ๊นปิ๊นนะคะ ยังไม่มีอะไร
นอกจาก เล่าเรื่อง วีรกรรมของลูกชาย

//mnpinpin.multiply.com/journal
โดย: mnpinpin IP: 58.8.115.58 วันที่: 15 พฤษภาคม 2552 เวลา:21:53:33 น.
  
ดู youtube ชุดแรก เรื่อง 13*12 โหหหห ตะลึงมากเลยค่า
ว่าเราอยู่มาจนแก่ป่านนี้ ทำไมถึงเพิ่งรู้ทริก การคุณแบบนี้

(งง งง ว่า ทริกแบบนี้ แต่ก่อนคุณหมอทราบได้ยังไง เพราะหนังสือเล่มนี้คงยังไม่มี หรือ สมัยก่อน internet ก็คงยังไม่มี หรือเค้า บอก ต่อ ต่อ กันมาคะ )

แต่พออ่าน ทริกเรื่องอื่นๆ ก็ชักมึนมึน ตามประสา เด็กศิลป์ ภาษา
แต่ ก็ยังพอจะจับใจความได้ว่า ถึงจะใช้ทริก ก็ยังต้องใช้เวลาคิดบ้าง ก็เลย มึนตึ้บหนัก เข้าไปอีก ว่าน้องพลอย คิดได้ยังไง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คิดในใจ

บวก ลบ คุณ หาร ได้ก่อนประถม ก็ อะแมซิ่ง สุดสุด แสดงว่าน้องพลอย ไม่ต่อต้าน กิจกรรมคณิต ที่ต้องฝึก ทุกวัน เลยนะคะ ลูกชาย ตอนนี้ ยอมแค่ การนับเลข 1-200 นอกนั้นไม่ยอม เคยยอมบวก เลข ได้ถึง บวก 3 แล้วก็ไม่ยอมบวกอีกเลย ก็เลยหยุดพักไป
โดย: mnpinpin IP: 58.11.75.218 วันที่: 16 พฤษภาคม 2552 เวลา:20:41:35 น.
  
จริงๆแล้ว พวกเทคนิคคิดเลขเร็วแบบนี้นี่มีมานานมากแล้วนะครับ

ตอนเด็กๆ จำได้ว่าเคยเห็นหนังสือ คณิตคิดเร็ว แบบนี้อยู่เหมือนกัน ( ตอนนี้ก็ยังเห็นวางขายอยู่เลย)

tricks แบบนี้ ถ้าใครได้ฝึกบ่อย ๆก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรเลยครับ นอกจากเอาไว้โชว์เพื่อนๆได้แล้ว ยังเอามาใช้ในการทำข้อสอบ และ ใช้ในชีวิตจริงได้อีกด้วย

ส่วนการสอนคณิตศาสตร์ในเด็กเล็กคงต้องใจเย็นๆ และ ใช้ความสม่ำเสมอซักหน่อย ของน้องพลอยก็ใช้เวลาประมาณ 2 ปี ถึงจะบวก ลบ คูณ หารคล่อง


โดย: ฉิกซิงแซ วันที่: 16 พฤษภาคม 2552 เวลา:22:49:55 น.
  
แถมให้อีกเทคนิคนึง

กรณีที่เป็นการคูณกันของเลข 2 หลัก
ที่มีตัวเลขหลักสิบเหมือนกัน
และ เลขหลักหน่วยบวกกันได้ 10

ให้เอาหลักสิบตัวนึง มาคูณกับ หลักสิบที่บวกกับหนึ่ง
เป็น 2 หลักแรก

แล้วเอาหลักหน่วยมาคูณกัน เป็น 2 หลักสุดท้าย

เช่น 76 x 74 = ?

ให้เอา 7 มาคูณกับ 7+1 คือ 7 x 8 = 56 เป็นเลข2หลักแรก


แล้วเอาหลักหน่วยมาคูณกันเอง คือ 6 x 4 = 24 เป็น 2หลักท้าย

ตอบ 76 x 74 = 5,624


ถ้าเป็น ตัวเลข 2 หลักที่ลงท้ายด้วย 5 ยกกำลังสอง เช่น 75 ยกกำลังสอง ก็ใช้เทคนิคนี้ได้เช่นกัน

75 x 75 = 7 x 8 = 56 เป็น 2 หลักแรก

5 x 5 = 25 เป็น 2 หลักท้าย

ตอบ 5,625
โดย: ฉิกซิงแซ วันที่: 16 พฤษภาคม 2552 เวลา:23:08:41 น.
  
โห คุณหมอ คะ เทคนิคสารพัดนี่ สงสัยต้องรอ อีก 2 ปี ให้ปิ๊นปิ๊น ฝึกวิทยายุทธ บวก ลบ คูณ หาร ก่อน ตอนนี้ แค่ บวก ยังไม่ยอมทำเลย

ส่วนคุณแม่ อิอิ คิดช้าก็ได้ แต่ขอ จิ้ม เครื่อง คิดเลข หรือว่า excel ดีกว่า แหะแหะ

แต่ที่สนใจ ก็คือ ใช้เทคนิค อะไร น้องพลอย ถึง ขยันทำกิจกรรมคณิต
และ เทคนิคอะไร น้องพลอย ถึงเก่ง สารพัด เพราะจะได้ในบล๊อกพ่อธีร์ น้องพลอย เก่งรอบด้าน เลยนิคะ

หลอกเด็กวัยอนุบาล ให้ตั้งใจ อะไรบางอย่าง นี่ยาก ซะเหลือเกิน ทุกวันนี้ ปลอบใจตัวเอง ว่า เด็กเก่ง ทั้งหลาย ส่วนใหญ่ เป็นเด็กผู้หญิง เพราะสมาธิดีกว่า (ไม่รู้ว่าจะเลิก หลอกตัวเองได้เมื่อไหร่ อิอิ)
โดย: mnpinpin IP: 58.8.237.45 วันที่: 18 พฤษภาคม 2552 เวลา:19:48:38 น.
  
อยากทราบว่าหนังสือชื่อว่าอะไรค่ะจะได้ซื้อมาอ่านแล้วสอนลูกบ้างค่ะ ขอบคุณค่ะ
ข้อมูลอยางนี้ดีมากเลยค่ะ
โดย: คุณแม่มือใหม่ IP: 118.172.81.192 วันที่: 24 พฤษภาคม 2552 เวลา:0:01:34 น.
  
หนังสือชื่อเดียวกันกับหัวข้อนี้แหล่ะครับ

"กดเครื่องคิดเลขทำไม ในเมื่อคิดในใจได้เร็วกว่า"

ผู้แต่งคือ Dr. Arthur Benjamin

,ลองเดินหาซื้อใน SE-ED ร้านนายอินทร์ หรือ B2S ก็ได้ครับ
โดย: ฉิกซิงแซ วันที่: 26 พฤษภาคม 2552 เวลา:8:04:58 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ฉิกซิงแซ
Location :
นครศรีธรรมราช  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]



เกิดและโตที่กรุงเทพ
เป็นศิษย์เก่าร.ร.ใกล้บ้าน คือ วัดสุทธิ
จับพลัดจับผลู สอบติดหมอจุฬา แบบงงๆ
แล้วมาต่อเฉพาะทางด้านเด็กที่ มอ. หาดใหญ่

บังเอิญมาเจอ"จอม" ที่ต่อมากลายมาเป็นคู่ชีวิต
เลยได้มาอยู่อยู่ภาคใต้ยาวเลย
ไม่ได้กลับมาอยู่กทม.อย่างที่ตั้งใจไว้
เพราะ"คุณนาย"ไม่ชอบรถติดอย่างแรง

เป็นอาจารย์ด้านโรคหัวใจเด็กที่ มอ.ได้ไม่เท่าไหร่
ก็มาได้ข่าวดีว่าจะได้เป็นพ่อคนแล้ว

ต้องมาตัดสินใจกันอีกว่าจะไปเรียนต่อที่ ILLINOIS, USA
ดีหรือเปล่า เพราะ "ผบทบ." กลัวหนาวมาก เลยลาออกมาซะเลยดีกว่า

ตอนนี้ สบายๆกับงานที่คลินิก 2 แห่ง
ว่างๆก็เล่นกับลูกสาว(น้องพลอย)และ ลูกชาย(น้องเพชร)จอมซนน้อยๆ และ หาเรื่องไปเที่ยวกับครอบครัวบ้างตามสะดวก

New Comments