Group Blog
 
<<
มกราคม 2560
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
28 มกราคม 2560
 
All Blogs
 

10 ปี Compulsory License

หลังจากที่อ่านข่าว “หมอมงคล” เล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ซีแอลยาเอดส์ ฝรั่งชี้หน้า You are the bad guy ผมก็อยากเขียนอะไรสักหน่อย

CL = Compulsory License หรือ Compulsory Licensing แปลเป็นไทยว่า "มาตรการบังคับใช้สิทธิ" หรือ "สิทธิเหนือสิทธิบัตร" หรือ "การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร"

เอาแบบเข้าใจง่าย ๆ คือ รัฐมีสิทธิ์ที่จะไม่คุ้มครองบริษัทผู้ถือสิทธิบัตรสินค้า (ในที่นี้คือยา) ได้ถ้าจำเป็น แล้วจะเป็นผู้ละเมิดเสียเอง (เน้นว่าถ้าจำเป็น)

คืองี้ ปกติบริษัทข้ามชาติต่าง ๆ จะทำตามขั้นตอนเพื่อจดสิทธิบัตร ขอให้รัฐคุ้มครองสินค้า และวิธีการผลิต ของเค้า ไม่ให้บริษัทรายอื่นมีการผลิตสินค้าลักษณะเดียวกันมาแข่งในรัฐนั้น ๆ เป็นเวลาช่วงหนึ่ง.

พูดง่าย ๆ คือ ผูกขาด แต่ถ้ามองมุมมองของบริษัทเค้าก็คือ เค้าเสียเงิน R&D มากมาย ก็ขอถอนทุนบ้าง เนื่องจากยาถือเป็น สินค้าที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา เพียงแต่ในมุมของผู้บริโภค คิดว่า การผูกขาดด้วยราคาที่สูงมันอาจเป็นการค้ากำไรเกินควรหรือเปล่า หากสินค้านั้นจำเป็นต่อชีวิต (ในที่นี้คือยา)

ทีนี้พอรัฐทำ CL รัฐก็ไม่คุ้มครองให้ กลับหาสินค้าบริษัทอื่นที่ราคาถูกกว่าเข้ามา หรือ ผลิตเองเสียเลย (ในที่นี้คือ การผลิตยาชื่อสามัญ ซึ่ง บริษัทเจ้าของสิทธิบัตร จะเรียกยาเลียนแบบ)

ซึ่งการกระทำแบบนี้ บริษัทผู้ที่ถือสิทธิบัตร (ในที่นี่คือบริษัทยา) จะรู้สึกว่า ตัวเองโดน (รัฐ) ละเมิดสิทธิ์ ปกติไม่มีใครยอมหรอก ก็จะโวยวายฟ้องร้อง

แต่ว่า มันมีข้อตกลงของ ประเทศสมาชิกองค์กรการค้าโลก (World Trade Organization - WTO) ว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาด้านการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights หรือ TRIPs) กำหนดว่า เจ้าหน้าที่ของประเทศสมาชิกสามารถบังคับใช้สิทธิ เหนือสิทธิบัตรได้โดยมีเงื่อนไขว่า ประเทศต้องอยู่ในภาวะอันตราย (national emergency) หรือความจำเป็นเร่งด่วน (extreme urgency)

กรณีในข่าวนี้นี้คือยาต้านไวรัส HIV เพราะว่า ยาของเจ้าของสิทธิบัตรแพงมาก. จะเอายาถูกจากผู้ผลิตอื่นมาขายก็ไม่ได้ เพราะมีกฏหมายสิทธิบัตรคุ้มครองอยู่ว่า ห้ามเอายี่ห้ออื่นมาแข่งเป็นระยะเวลาเท่านี้ ๆ ปี

แต่รัฐไทยมองว่า มันมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้ยามารักษาคนไข้ HIV/AIDS จำนวนมาก คนวัยทำงานทั้งนั้น ถ้าไม่ได้รักษาก็ตายหมด ประเทศชาติล่มจมพอดี ซึ่งเรายาต้องมีราคาถูกพอทีจะ run โครงการช่วยเหลือคนไข้กลุ่มนี้ได้ด้วย

รัฐไทย จึงตัดสินใจทำ CL ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 เพราะมั่นใจว่า มีความจำเป็นเร่งด่วน ทำได้เพราะมีหลักการที่ WTO / TRIPS รับรอง

ตามขั้นตอนเนี่ย ก่อนจะ CL ได้ รัฐจะต้องคุยกับบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์อันมีสิทธิบัตร (กรณีนีคือยาต้านไวรัส HIV) ว่า ให้ลดราคาลง จนกว่าเป็นที่ยอมรับได้ทั้งสองฝ่าย จะได้ไม่ต้อง CL รัฐได้ยาตัวเดิม ราคาถูกลง บริษัทก็ขายสินค้าได้กำไรลดลง (แต่ก็ยังผูกขาดต่อ)

แต่ถ้ายังตกลงกันไม่ได้ค่อย CL (อันนี้ บริษัท ไม่ชอบ เพราะ สินค้าตัวเองจะมีคู่แข่งทันที ทั้ง ๆ ที่ตัวเอง น่าจะได้รับการคุ้มครอง หากไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน)

ไม่รู้จริงหรือเปล่า. บางเค้าว่ากันว่า ที่ บริษัทข้ามชาติ รัฐมนตรีในต่างประเทศ (ที่บริษัทนั้นมีสัญชาติ) โมโหมาก เพราะเราไม่ได้เจรจาขอลดราคาก่อน ซึ่งส่วนตัวผมไม่เชื่อว่า เราไม่ได้เจรจาก่อนแล้ว ไม่งั้นมันจะผิดกฏหมายระหว่างประเทศ แล้วจะทำไม่ได้

ถ้ารัฐทำ CL สำเร็จ ที่จะทำได้คือ เอายาจากบริษัทอื่นเข้ามาขาย (ตัวสารเคมียาเดียวกัน แต่เค้าขายถูกกว่า แต่ไม่ได้เอาเข้ามาเพราะ มีกฏหมายสิทธิบัตรคุ้มครอง) ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทจากอินเดีย เพราะมีความรู้ มีเทคโนโลยี และราคาถูก

หรือ รัฐผลิตเอง แล้วปิดยี่ห้อขององค์การเภสัช (ซึ่งเดิมถ้ายังไม่ CL จะผลิตมาแข่งไม่ได้ เพราะผิดกฏหมายสิทธิบัตร)

หลัก ๆ ของ CL คือ เราต้องพิสูจน์ให้ ทุกฝ่ายเชื่อ ยอมรับ ได้ว่า เรามีความจำเป็นเร่งด่วนจริง ๆ จึงทำ CL นอกจากยาต้านไวรัส HIV บางตัว (efavirenz, lopinavir/ritonavir) แล้ว รัฐไทย ยังทำ CL ยาต้านเกร็ดเลือด (clopidogrel) สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจด้วย

การทำ CL ของไทยนั้น สั่นสะเทือนโลกมากในสมัยนั้น จนประเทศอื่นก็ฮึ่ม ๆ จะทำตาม บริษัทเดือดร้อน ผมไม่ได้ตามต่อว่าประเทศไหนทำตามสำเร็จบ้าง เพราะอย่างที่บอก ถ้าเจรจาลดราคาได้ ก็ไม่ต้องทำ หรือถ้าไม่จำเป็นเร่งด่วนจริง ก็ทำไม่ได้

และหลังจากนั้น รัฐไทย ก็ไม่ได้ทำ CL อีก. ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะตกลงกันได้ หรือว่า กว่าจะทำสำเร็จทีมันมีแรงเสียดทานมากจนไม่สามารถทำได้อีก




 

Create Date : 28 มกราคม 2560
3 comments
Last Update : 28 มกราคม 2560 9:34:55 น.
Counter : 5216 Pageviews.

 

สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ

 

โดย: peepoobakub 15 มีนาคม 2560 12:33:16 น.  

 

ไม่รู้ว่าเหมือนเส้นทางที่เก็บเงินหรือเปล่า
คือ
ต้องมียาถูกให้ทุกคนที่ป่วยแล้วไม่ได้รับยาจาตายเข้าถึงได้
จึงจะสร้างทางเก็บเงินได้น่ะค่ะ
ไม่มีเงินรักษา แต่มีทางรักษา ก็ตายลูกเดียว

 

โดย: tuk-tuk@korat 13 สิงหาคม 2560 15:44:51 น.  

 

ไม่มีเงินก็รักษาได้ครับ ไม่ต้องจ่ายเงินค่ายาเลย ตามโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค คนจ่ายเงินคือรัฐ โดยถือว่า ปชช จ่ายภาษีแล้ว

คุ้มไม่คุ้ม หรือ ถูกต้องหรือไม่ หรือ โครงการจะล้มหรือไม่ นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ แต่ว่า ที่แน่ ๆ คือ ถ้ารัฐจะทำโครงการแบบนี้ ยาที่ใช้ราคาต้องไม่แพงครับ จะหายาถูกได้ด้วยวิธีไหน ก็อีกเรื่องหนึ่ง

กรณียาที่มีสิทธิบัตรคุ้มครอง ก็จะทีขั้นตอนเพื่อให้ได้ยาที่ราคาไม่แพงมา ซึ่งสิบปี่แล้ว รัฐ ใช้วิธีนี้ครับ

:)

 

โดย: Plin, :-p 13 สิงหาคม 2560 23:46:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Plin, :-p
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]









Instagram






บันทึก ท่องเที่ยว เวียดนาม


e-mail : rethinker@hotmail.com


Friends' blogs
[Add Plin, :-p's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.