สิงหาคม 2553

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30
31
 
 
วิจารณ์หนังสือเรื่อง Change :ถนนสู่ทำเนียบขาว
วิจารณ์หนังสือเรื่อง Change :ถนนสู่ทำเนียบขาว
สำหรับเรื่อง Change :ถนนสู่ทำเนียบขาว เป็นหนังสือของ ปกป้อง จันทวิทย์ ตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ เดือนตุลาคม พ.ศ.2551 โดยสำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊ค จำนวนหน้า300หน้า ซึ่งหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเส้นทางการเลือกตั้งกว่าจะมาเป็นประธานาธิบดีในช่วงปีค.ศ. 2008 ในช่วงต้นแต่เริ่มต้นการชิงชัยกันเองของแต่พรรคของสหรัฐอเมริกา จนไปถึง การได้ตัวแทนของแต่ละพรรคในการลงชิงชัยประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ในวันที่4 พฤศจิกายน 2008 โดยหนังสือเล่มตีพิมพ์ยังไม่ถึงช่วงที่เข้าเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่เป็นการคาดการณ์ว่า ผลคะแนนในการเลือกตั้งประธานาบดี
จากหนังสือเป็นหนังสือที่อ่านสนุกจะใช้ภาษาง่ายๆในเข้าใจถึงบริบทของวัฒนธรรมการเมืองในสหรัฐอเมริกา โดยใช้กรณีศึกษาของการเลือกตั้งประธานาธิบดีในสหรัฐอเมริกาในช่วงปีค.ศ. 2008 เนื้อหาของเรื่องแบ่งออกเป็นตอนๆสำหรับคนที่ไม่เคยรู้ระบบารเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกามาก่อน พื้นฐานของระบบการเลือกตั้งภายในพรรครีพับรีกัน และ เดโมแทรต ให้พอเข้าใจ ก่อนที่จะลงลึกถึงเรื่องราวของการเลือกตั้งตัวแทนของแต่ละพรรค ในเรื่องของการหาตัวแทนของแต่พรรค (Delegates) และ ยังมีตัวแทนพิเศษ (Superdeletes) ซึ่งในแต่ละพรรคใช้ตัวแทนของพรรคไม่เหมือนกัน คำถามว่า เราได้เห็นมุมมองใดในเนื้อหาเล่มนี้บ้าง
จะเห็นว่าหนังสือเล่มนี้บอกเล่าถึงการที่มีการเลือกตั้งภายในพรรค ก่อนจะหาตัวแทนที่จะเข้ามาเป็นคู่แข่งสองพรรคใหญ่ในอเมริการะหว่างรีพับรีกันและเดโมแทรต เราจะเห็นถึงการชิงไหวชิงพริบในการหาเสียงเลือกตั้ง รวมไปถึงงบประมาณมหาศาลในการเลือกตั้งตัวแทนพรรคในการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี โดยเฉพาะการต่อสู้กันภายในพรรคเดโมแทรต ระหว่าง บารัค โอบามา กับ ฮิลลารี คลินตัน ในโดยเรามักจะเห็นข่าวเสมอว่า ฮิลลารี คลินตัน จะได้เป็นตัวเต็งในการเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น กลับกลายเป็นว่าม้ามืดมาแรงอย่างบารัค โอบามา กลายเป็นตัวแทนของพรรคเดโมแทรต กลายเป็นตัวแทนผู้เข้าชิงประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา จะเห็นว่าทั้งๆที่ฮิลลารี มีคะแนนนำมาโดยตลอด และทิ้งคู่แข่งห่างแบบไม่เหลือฝุ่นในช่วงก่อน Super Tuesday แต่กลับกลายเป็นว่าบารัค โอบามา ชนะคู่แข่งที่เข้าชิงประธานาบดี โดยกว่าที่นั่งในแต่ละรัฐ 13 รัฐรวด ในการเลือกตั้งแซงหน้าฮิลลารี ถึงกว่า100 คะแนน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นได้ ทำให้เห็นว่ากลยุทธของโอบามาน่าสนใจ โดยเก็บเล็กผสมน้อยกับเล็กๆ รวมไปถึงเสนอนโยบายเข้าถึงคนกลุ่มใหญ่ของสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงการได้รับการสนับสนุนจากอดีตคู่แข่งภายในพรรคที่ตกรอบไปแล้ว หรือ การปรับตัวเข้าคนในพรรค รีพับรีกันของ จอห์น แม็คแคน คนในพรรคมองว่าเขาไม่ใช่รีพับรีกัน พันธุ์แท้ ด้วยก็เขาดำเนินนโยบายหาเสียงที่ขัดกับคนในพรรค เพราะไม่อยากดำเนินตามรอยความผิดพลาดใน ประธานาธิบดี บุช ในช่วงปลายเทอม ตัวอย่างเช่นในช่วงเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาย่ำแย่ น้ำมันมีราคาสูง ถึงต้องแสวงหาแห่งน้ำมันใหม่ โดยให้ไปสำรวจแหล่งน้ำมันในเขตอนุรักษพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อให้น้ำมันถูกลง ช่วงแรกๆเม็คแคนไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ ต่อกลับเปลี่ยนใจเพื่อรักษาสิทธิ์ให้ตัวเองได้รับการเสนอสนุนและพิสูจน์ตัวเองว่าตนมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี แสดงให้เห็นว่าการต่อสู้กันโดยอาศัยกติกา ถึงแม้ว่ากลยุทธอาจจะไม่ชอบธรรมตามแบบการเมืองไทยควรจะเป็น แต่มันก็เป็นกลยุทธหนึ่งเพื่อความอยู่รอดทางเมือง รวมไปถึงควรปรับใช้กลยุทธในการหาเสียง ไม่ซักจะว่าซื้อเสียงเพื่อให้ประชาชนเลือก แต่เป็นการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน ในแง่ที่ว่าจะเจาะกลุ่มที่มาเลือกตั้งเป็นกลุ่ม
อีกประการหนึ่งวัฒนธรรมการเมืองของสหรัฐอเมริกาไม่มีเส้นสายทางการเมือง และไม่มีระบบอุปถัมป์ กล่าวคือในช่วงหาเสียงในเสียงเดโมแทรต ฮิลลารี คลินตัน พยายามที่ดึงบิล ริชาร์ดสัน ให้มาสนับสนุนตน ด้วยความที่บิล ริชาร์ดสัน ผู้ว่าการรัฐนิวเม็กซิโก รู้จักตระกูลคลินตันมานานและเป็นชักชวนเขาเข้าวงการการเมือง ถึงขนาดให้บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสามีฮิลลารีดูเบสบอลนักชิงด้วยกัน แต่สุดท้าย บิล ริชาร์ดสัน เลือกที่จะสนับสนุนบารัค โอบามา แต่ริชาร์ดสัน ยังประกาศตัวภักดีต่อตระกูล คลินตัน ในส่วนของพรรครีพับรีกัน จอห์น แม็คแคน ตัวแทนผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี ได้เสนอรองประธานาธิบดี เป็น ซาร่า เพ-ลิน ซึ่งเป็นวุฒิสภาของอะเลสกา ซึ่งโนเนมมากในการเมืองระดับชาติ แทนที่จะเสนอ มิตต์ รอมนนีย์ หรือ ไมค์ ฮัคคาบี ซึ่งเหมาะสมกว่า ตัวอย่างทั้งสองที่กล่าวมานี้สะท้อนการเห็นถึงการตัดสินใจของปัจเจกบุคคล ของคนอเมริกัน โดยปราศจากการครอบงำในระบบอุปถัมป์ สะท้อนการมีสิทธิเสรีภาพของการเมืองของคนอเมริกัน และสะท้อนแบ่งสถานะตามบทบาทหน้าที่ ออกจากเรื่องส่วนตัว
ถึงว่าแม้ประธานาธิบดีส่วนใหญ่ จะมาสองพรรคใหญ่ทั้งรีพับรีกัน และเดโมแทรต แต่ไม่ลืมเลยว่าสหรัฐอเมริกามีพรรคเล็กและผู้สมัครอิสระลงชิงชัยประธานาธิบดี พวกนนี้โอกาสน้อยมากที่จะเป็นประธานาธิบดีอาจจะกล่าวได้จะลงไปทำไม เปลืองเงิน และเสียเวลา อย่างน้อยก็ยังมีคนเลือกพวกเขาอยู่ สามารถตัดคะแนนตัวเก็งในชิงประธานาธิบดี ได้เลยทีเดียว การพวกเขาได้ออกสื่อทำให้พวกเขามีชื่อเสียงในระดับหนึ่ง หรือไม่อาจจะอดีตสมาชิกของสองพรรคใหญ่ ก็เข้าพรรคทางเลือกที่สาม หรือผู้สมัครอิสระ เพื่อหาความท้าทายเป็นได้ ทำให้เห็นว่าบทบาทของพรรคเล็กของอเมริกาใช่ว่าจะไม่มีความหมายเสมอไป ถึงแม้ว่าจุดหมายที่แท้จริงอาจจะไม่ถึงจุดสูงสุด แต่ก็ยังมีบทบาทให้ประชาชนได้มีโอกาสได้มีเลือกพวกเขา
สำหรับแนวการเขียน ผู้เขียนจะเขียยบทความแบบเป็นบทๆเหมือนเขียนเรื่องสั้น ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ใช้ศัพท์เฉพาะมากไป แต่จะเน้นศัพท์เฉพาะที่จำเป็นแล้วควรรู้ จะการเขียนแบบพรรณโวหาร โดยเป็นการเล่าเรื่องราว ลำดับเหตุการณ์ที่เกิด ในบางบทความอาจแทรกเรื่องเกร็ดน่ารู้ เช่นการดูหนังเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดี เป็นต้น ทำให้การอ่านหนังสือเล่มนี้ เนื้อหาเขาถึงคนที่สนใจการเมืองของสหรัฐอเมริกาได้ ผู้เขียนอาจจะมีแอบเสียดสีการเมืองไทยเล็กน้อย เช่น เรื่องการพูดในที่สาธาณะที่ในเป็นกลายเคยชินของนักการเมืองอเมริกาไปแล้ว แต่สำหรับนักการเมืองไม่กล้าที่จะพูดในที่สาธารณะ แต่กลับสาดโคลนเมื่อมีโอกาส และไม่พูดจบ แถมนอกประเด็นอีกต่างหาก
ขอติผู้เขียนในเรื่องน่าจะมีบรรณานุกรรม เพื่อให้บทความดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าข้อมูลครบถ้วน เนื้อหาชวนน่าติดตาม ถ้ามีบรรณานุกรรมซักจะดูน่าเชื่อถือมาในทางวิชาการมากกว่านี้ทำให้เนื้อหาความจริงได้หรือเปล่า จากงานเขียนชิ้นนี้ ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนได้แล้วในการเกริ่นนำว่าติดตามการเลือกตั้งในอเมริกาแบบใกล้ชิด แต่น่าจะมีอ้างอิงหนังสือพิมพ์หรือข่าวทางโทรทัศน์ซักนิด ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าไปในแหล่งข้อมูลได้ว่าเป็นอย่างไร ถือว่าจะเป็นให้เครดิตแก่สำนักข่าวด้วย
เมื่อได้อ่านหนังสือเริ่มนี้เราได้เห็นบริบทวัฒนธรรมการเมืองผ่านการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่เป็นต้นแบบของประชาธิปไตย แล้วทำให้ย้อนไปดูข้อบกพร่องของการเมืองไทยอีกหนึ่ง การเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาถึงแม้ว่าจะสู้กันเองในพรรค หรือระหว่างพรรค มันเพียงแค่สู้กันในบทบาทที่ได้รับในพรรคการเมืองเท่านั้น เมื่อเสร็จภาระกิจก็หันหน้าจับมือกัน แล้วลองย้อนดูพรรคการเมืองในไทยสิอย่างก็เห็นอย่างที่เราเห็นกันนั้นแหละ หรือสำหรับผู้ติดตามการเลือกตั้งประธานาธิบดีเราจะได้เห็นกลยุทธในการหาเสียงของแต่ละคนในการเลือกตั้งกันเองระหว่างพรรค แบบสะกิดรอยตามผู้ชิงประธานาบดีเลยที่เดียว




Create Date : 27 สิงหาคม 2553
Last Update : 27 สิงหาคม 2553 13:49:39 น.
Counter : 1575 Pageviews.

2 comments
  
ส่วนเส้นทางของมาร์คสู่ทำเนียบรัฐบาลปูไปด้วยเลือดอ่ะครับ
โดย: nainokkamin วันที่: 27 สิงหาคม 2553 เวลา:16:41:45 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เจ๊ฟ้า เมืองสกล
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]