Home ตั้งเวปนี้เป็นหน้าแรก

PIWAT
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




Online Users
     

Custom Search

วิทยุธรรมะออนไลน์ Free counter and web stats
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
15 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add PIWAT's blog to your web]
Links
 

 
กระดูกพรุน โรคกระดูกพรุน osteoporosis

Custom Search

โรคกระดูกพรุน หรือ osteoporosis

      คือภาวะที่ เนื้อ กระดูก ของร่างกายลดลงอย่างมาก และเป็นผลให้โครงสร้างของ กระดูก ไม่แข็งแรง ทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีเช่นเดิม โรคกระดูกพรุน เป็น โรค ของผู้สูงอายุ โดยปกติร่างกายเราจะมีกระบวนสร้างและ สลายกระดูก เกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิน 40 ปี กระบวนสร้างจะ ไม่สามารถไล่ทันกระบวนสลายได้ นอกจากนั้น เมื่ออายุมากขึ้นการดูดซึมของทางเดินอาหาร จะเสื่อมลงทำให้ร่างกายต้องดึง สาร แคลเซียม จากกระดูกมาใช้ ผลคือ ร่างกายต้องสูญเสียปริมาณเนื้อกระดูกมากขึ้น

ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน
- หญิงวัยหมดประจำเดือน การขาด ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้กระดูกสลายตัวในอัตราที่เร็วขึ้น
- ผู้สูงอายุ
- ชาวเอเซียและคนผิวขาว โรคกระดูกพรุนถ่ายทอดได้ทางกรรมพันธุ์ ตามสถิติพบว่า สองชนชาตินี้ มีโอกาสเป็นโรคได้มากกว่าคนผิวดำ
- รูปร่างเล็ก ผอม
- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ
- ออกกำลังน้อยไป
- สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ
- ใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการสลายเซลล์กระดูก เช่น สเตียรอยด์
- เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ไขข้ออักเสบ โรคไต
- รับประทานอาหารจำพวก โปรตีน และอาหารมีกากมากเกินไป
- รับประทานอาหารเค็มจัด

อาการ ของโรคกระดูกพรุน
      ระยะแรกมักไม่มีอาการ เมื่อเริ่มมีอาการแสดงว่าเป็นโรคมากแล้ว อาการสำคัญของโรค ได้แก่ ปวดตามกระดูกส่วนกลางที่รับน้ำหนัก เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และอาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย ต่อมาความสูงของลำตัวจะค่อย ๆ ลดลง หลังจะโก่งค่อมหากหลังโก่งค่อมมาก ๆ จะ ทำให้ปวดหลังมากเสียบุคลิก เคลื่อนไหวลำบากระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารถูกรบกวน เมื่อเป็นโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจ จะหายยาก ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ท้องอืดเฟ้อ และท้องผูกเป็นประจำ

      โรคแทรกซ้อน ที่อันตรายที่สุดของโรคกระดูกพรุน คือ กระดูกหัก บริเวณที่พบมาก ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ซึ่งหากที่กระดูกสันหลังหัก จะทำให้เกิดอาการปวดมาก จนไม่สามารถ เคลื่อนไหว ไปไหนได้

การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน
      วิธีที่ดีที่สุด คือ การเสริมสร้างเนื้อกระดูกของร่างกายให้มากที่สุดตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างไรก็ตาม คนทุกวัยควรให้ความสนใจในการป้องกันโรคกระดูกพรุนด้วยการปฏิบัติตนดังนี้

- รับประทานอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ตามหลักโภชนาการ
- รับประทานอาหารที่มี แคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต กุ้งแห้งตัวเล็ก กุ้งฝอย
- ไม่รับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป
- เลี่ยงอาหารเค็มจัด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการสร้างกระดูก และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
- การทรงตัวดี ป้องกันการหกล้มได้
- หลีกเลี่ยงบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ
- เลี่ยงยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์
- ระมัดระวังตนเองไม่ให้หกล้ม
- การใช้ยาในการป้องกันและรักษาจะแตกต่างกันตามปัจจัยต่างๆในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น อายุ เพศ และระยะเวลาหลังการหมดประจำเดือน

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
      การวินิจฉัยโรคนี้ในระยะเริ่มแรก ทำได้โดยการตรวจความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่องวัดความหนาแน่น ของกระดูก (BoneDensitometer) การตรวจนี้เป็นการตรวจโดยใช้แสงเอกซเรย์ที่มีปริมาณน้อยมากส่องตามจุดต่าง ๆ ที่ต้องการตรวจแล้วใช้คอมพิวเตอร ์คำนวณหาค่า ความหนาแน่น ของกระดูก บริเวณต่าง ๆ เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน สตรีอายุ 40 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางรายที่มีความเสี่ยง ได้แก่ รูปร่างผอม ดื่มเหล้า กาแฟ สูบบุหรี่ ทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อย ไม่ออกกำลังเป็นประจำ หรือ รับประทาน ยาสเตียรอยด์ ควรเข้ารับการตรวจความหนาแน่น ของกระดูกเป็นประจำทุกปี

ที่มา เมลล์




Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2553 11:44:59 น. 14 comments
Counter : 672 Pageviews.

 
ยังไม่เคยไปตรวจมวลกระดุก
ดุความหนาแน่นของกระดุก
แต่ออกกำลังกายประจำมีสิทธิเสื่อมไหมคะ?



โดย: gripenator วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:12:14:27 น.  

 
ขอบคุณที่มาให้ความรู้นะคะ


โดย: white-angle (White-angle derss ) วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:12:40:19 น.  

 
แวะมาเยี่ยมครับ
ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่นำมาฝากกันครับ


โดย: KyBlueSky วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:13:09:14 น.  

 
ตอนนี้คุณยายเป็นอยู่ ต้องทานแคลเซียมเสริมตลอดเลยค่ะ
ขอบคุณนะคะที่นำมาให้อ่าน


โดย: มดมารน้อย วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:13:15:48 น.  

 

เฮ้อ ไม่ว่าโรคอะไร ก็ไม่อยากเจอครับ อิอิ แต่คงไม่รอด พับผ่า



โดย: smack วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:13:39:10 น.  

 
ขอบคุณที่ให้ความรู้เป็นการเตือนใจ
พรุ่งนี้ต้องเข้า fitness ซักหน่อย จะทันการณ์มั้ยนี่


โดย: ชิงดวง วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:20:59:23 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูล
ช่วยงานได้เยอะมากค่ะ


โดย: กุ๊ก IP: 203.155.254.40 วันที่: 9 มิถุนายน 2550 เวลา:21:03:35 น.  

 
แพทย์ทางเลือก
แนะนำเวปไซด์ที่รวบรวมกรณีศึกษาจากการบำบัดโรคด้วยออกซิเจนน้ำ (Adoxy)
//www.winnerwineworld.co.th/webpages/checkformember.php
(username : 062963001 password : 4444)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 08-5959-8808


โดย: ธนยศ IP: 203.150.234.14 วันที่: 19 มิถุนายน 2550 เวลา:15:59:12 น.  

 
แวะเข้ามาค่ะ มีข่าวดีมาฝากนะคะ ในวันกระดูกพรุนโลกปีนี้ มีบริการตรวจมวลกระดูก เป็นเทคโนโลยีใหม่ ปกติตรวจอยู่ที่ 1,500 บาท แต่ช่วง โปรโมชั่นแนะนำสินค้าใหม่ เหลือเพียง 100 บาทต่อคน สนใจจองวันตรวจล่วงหน้า ที่ 089-990-3906


โดย: ชนากานต์ IP: 203.113.0.199 วันที่: 9 ตุลาคม 2550 เวลา:13:31:30 น.  

 
ขอบคุณคะ สำหรับข้อมูล มีประโยชน์มากเลย


โดย: emmie IP: 125.26.83.228 วันที่: 10 ธันวาคม 2550 เวลา:10:46:35 น.  

 
ดีมากที่ได้อ่านให้ความรู้ดีๆเยอะเลยทำดีต่อไปนะ.......นาย(เทอ)แน่มาก


โดย: หลงมาอีกคน IP: 125.24.107.241 วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:11:39:19 น.  

 
ดีมากที่ให้ความรู้
















โดย: แม่บ้านอสม. IP: 124.157.217.214 วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:21:21:37 น.  

 
หนูยังเด็กแต่ก็อยากรู้ค่ะขอบคุณ


โดย: แป๋มป๋อม IP: 222.123.236.199 วันที่: 7 กันยายน 2551 เวลา:16:31:42 น.  

 
พี่ที่ทำงานเป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 หมอตัดเต้านมออกไปข้างนึงและต้องฉีดคีโมทำให้ผมร่วง
แต่ตอนนี้หายเป็นปกติแล้วครับ โรคกระดูกพรุนก็หายได้ครับ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 086-3347775, 081-0033240
hrm_a@baethai.com ( : ให้กำลังใจกับผู้ป่วยและญาติทุกคนครับ : )


โดย: คุณเอ IP: 124.120.41.155 วันที่: 22 กันยายน 2551 เวลา:16:00:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.