รักน้องหมา
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
24 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

พื้นฐานและเทคนิคการปัก

พื้นฐานและเทคนิคการปักไขว้ครอสติช (CROSS STITCH)
วัสดุอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการปักไขว้หรือครอสติช คือ ผ้าที่มีลักษณะเป็นช่องตารางสี่เหลี่ยมใหญ่หรือเล็กก็ได้ เวลาปักใช้เข็มร้อยด้าย ปักตามช่องเป็นเส้นทแยง 2 เส้นไขว้ทับกัน ลวดลายต่างๆ จะเป็นรูปใด ขึ้นอยู่กับการสลับสีไหมตามช่องเวลาปัก
วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการปัก
1. ผ้าครอสติช มี 2 ชนิด
ชนิดผ้าต่างประเทศ
ชนิดผ้าไทย
ผ้าครอสติชต่างประเทศ มี 4 ขนาด
- ผ้าครอสติช ขนาด 90 ตา = 10 ซม. ใช้เข็มเบอร์ 19
- ผ้าครอสติช ขนาด 52 ตา = 10 ซม. เบอร์ 8000 ใช้เข็มเบอร์ 20
- ผ้าครอสติช ขนาด 35 ตา = 10 ซม. เบอร์ 9500 ใช้เข็มเบอร์ 22
- ผ้าครอสติช ขนาด 29 ตา = 10 ซม. เบอร์ 9000 ใช้เข็มเบอร์ 23
ผ้าครอสติชผ้าไทย มี 2 ขนาด
ผ้าครอสติช ขนาด 80 ตา = 10 ซม. ใช้เข็มเบอร์ 19
ผ้าครอสติช ขนาด 35 ตา = 10 ซม. ใช้เข็มเบอร์ 22
2. ไหมที่ใช้ปัก มี 4 ชนิด
- ขนาดไหมเบอร์ 5 ใช้กับผ้าครอสติช ขนาด 35 ตา = 10 ซม. ใช้ไหม 1 เส้น
- ขนาดไหมเบอร์ 7 ใช้กับผ้าครอสติช ขนาด 52 ตา = 10 ซม. ใช้ไหม 1 เส้น
- ขนาดไหมเบอร์ 25 แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เส้นเดี่ยวธรรมดา และชนิด 6 เส้น รวมเป็น 1 เส้นใหญ่ เรียกกันทั่วไปว่า ไหมแตก
ชนิดเส้นเดี่ยวธรรมดา ใช้กับผ้าครอสติช ขนาด 90 ตา = 10 ซม. ใช้ไหม 1 เส้น
ชนิดไหมแตก ใช้กับผ้าครอสติช ขนาด 90 ตา = 10 ซม. ใช้ไหม 2 เส้น
หรือ ใช้กับผ้าครอสติช ขนาด 52 ตา = 10 ซม. ใช้ไหม 3 เส้น
หรือ ใช้กับผ้าครอสติช ขนาด 35 ตา = 10 ซม. ใช้ไหม 6 เส้น
หมายเหตุ
ถ้าใช้ไหมปัก 2 เส้น เวลาเดินเส้น ลดเหลือ 1 เส้น
ถ้าใช้ไหมปัก 3 เส้น เวลาเดินเส้น ลดเหลือ 2 เส้น
- ด้ายฟอก หรือไหม เบอร์ 3 ของ DMC ใช้กับผ้าครอสติช ขนาด 29 ตา เท่ากับ 10 ซม.
3. เข็มปัก (เข็มสอด) ใช้ตามขนาดของตาผ้าและไหมปัก
4. กรรไกร

เทคนิคการปัก
1. เมื่อตัดผ้าได้ขนาดที่ต้องการ ให้กันลุ่ยริมผ้าทั้ง 4 ด้าน เฉพาะผ้าต่างประเทศ ขนาด 90 ตา = 10 ซม. กับผ้าไทยทุกขนาด ตารางผ้าจะไม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เวลาใช้จึงต้องระวังการใช้ตามยาว หรือตามขวาง มิฉะนั้นรูปลาย (โดยเฉพาะคน) จะออกมาผิดส่วน
2. หาจุดกึ่งกลางผ้าและจุดกึ่งกลางลาย
3. ปักเฉียงไปทางเดียวกัน แล้วกลับมาปักทับไขว้ไปทางเดียวกัน เส้นไหมจะเรียบตลอดภาพ
4. ห้ามไปมัดปมไหมไว้ด้านหลัง เมื่อเริ่มต้นเส้นไหมใหม่ ให้สอดปลายไหมไว้ในเส้นไหมด้านหลังภาพลึกประมาณ 1 ซม. เมื่อปักเสร็จให้เก็บไหมสอดกลับเข้าในเส้นไหมด้านหลังภาพลึก ประมาณ 1 ซม. แล้วจึงตัดไหม
5. ถ้ามีเส้นไหมปักเกินกว่า 1 เส้น เส้นไหมปักจะพองและไม่เสมอกัน ผู้ปักต้องหมั่นรูดไหมจากโคนขึ้นไปทางปลายเส้น ให้เส้นไหมเรียบอยู่เสมอจึงปักลงไป ถ้าไหมบิดเป็นเกลียว ให้หมุนเข็มคลายเกลียว
6. ถ้าเป็นลายใหญ่ที่มีสัญลักษณ์แทนสีไหมสับสน ให้เนาผ้าที่จะปัก 10 ช่องผ้าให้เท่ากับ 10 ช่องลาย โดยใช้ด้ายเนาสีเดียวกับผ้า เมื่อปักเสร็จให้ดึงด้ายเนาออก
7. การตัดไหมที่ใช้ปักไม่ควรตัดยาวกว่า 40 ซม. เพราะจะทำให้ปลายไหมแตก และขาดได้
8. ถ้าปักใส่กรอบรูป ควรเผื่อผ้าโดยรอบด้านลายประมาณ 5 ซม.
9. ถ้าปักเป็นปลอกหมอน เว้นโดยรอบด้านลายประมาณ 5 ซม.
10. เมื่อปักเสร็จเรียบร้อยแล้ว นำไปซักและรีดทางด้านหลังของงานในขณะที่ผ้าชื้นอยู่
11. การซักควรใช้สบู่อ่อนๆ หรือน้ำยาซักแห้ง เพราะถ้าใช้ผลซักฟอกอาจทำให้สีไหมจางและด่างได้
12. การเข้ากรอบควรให้ผ้าแห้งสนิท มิฉะนั้นความชื้นจะทำให้ผ้าขึ้นราได้

ขอขอบพระคุณนิตยสารขวัญเรือน
ข้อมูลจาก ตำราเล่มพิเศษจากนิตยสารขวัญเรือนและงานฝีมือ ปักครอสติช เล่ม 4

โปรโมทผลงานครอสติชตัวเองค่ะ ว่างๆเข้าไปชมที่นี่นะคะ ที่ Links ที่ด้านขวาด้านข้างนะคะ หรือเข้าไปที่ //siricrossstitch.tht.in






 

Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2553
0 comments
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2553 22:46:47 น.
Counter : 3868 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


loben
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีค่า
Friends' blogs
[Add loben's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.