จงอย่าอิจฉาชีวิตผู้อื่น แต่--จงใช้ชีวิตให้ผู้อื่น--อิจฉา
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
1 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 
ลักษณะอาการของโรคสมาธิสั้น

ที่ผ่านๆมาก็เล่าเรือ่งของปิง-ปิงจนหมดแล้วจะเอาข้อมูลมาฝากกันนะ

โรคสมาธิสั้น เป็นควมาผิดปกติของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับอายุ และระดับพัฒนาการ

อาการเกิดก่อนอายุ 7 ปี แสดงออกอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 6 เดือน จนทำให้เกิดผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และการเรียน โดยมีอาการหลักอยู่ 3 อาการ คือ

1 สมาธิสั้น ( inattention )
2 พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ( hyperactivity )
3 หุนหันพันแล่น ( impulsiveness )

1 อาการสมาธิสั้น

มีความยากลำบากในการตั้งสมาธิ

มักวอกแวกง่าย ตามสิ่งเร้าภายนอก

ดูเหมือนไม่ฟังเมื่อมีคนอื่นพูดด้วย

ทำตามคำสั่งไม่จบ หรือทำกิจกรรมไม่เสร็จ

หลีกเลี่ยงที่จะทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความพยายาม

ละเลยในรายละเอียด หรือทำผิดด้วยความเลินเล่อ

มีความยากลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม

ทำของหายบ่อยๆ

มักลืมกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำสม่ำเสมอ



2 อาการอยู่ไม่นิ่ง

ยุกยิก ขยับตัวไปมา

นั่งไม่ติดที่ มักต้องลุกเดินไปมา

มักวิ่งวุ่น หรือปีนป่าย ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม

ไม่สามารถนั่งเล่นเงียบๆได้

เคลื่อนไหวไปมา คล้ายติดเครื่องยนต์ตลอดเวลา

พูดมากเกินไป

3 อาการหุนหันพลันแล่น

มีความยากลำบากในการรอคอย

พูดโพล่งขึ้นมา ก่อนถามจบ

ขัดจังหวะ หรือสอดแทรกผู้อื่น ในวงสนทนาหรือในการเล่น

สาเหตุ

โรคสมาธิสั้น เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วน ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด คาดว่าเกิดจากสารเคมีในสมองบางชนิดไม่สมดุล ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ดี แม้เด็กจะพยายามควบคุมตนเองแล้วก็ตาม

จากผลการศึกษาส่วนใหญ่ เชื่อว่าโรคนี้มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยพบว่าเด็กที่เกิดจากพ่อ-แม่ ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเด็กคนอื่นถึง 4 เท่า

นอกจากนี้ การที พ่อ-แม่ ติดเหล้า บุหรี่ สารเสพติด หรือมีโรคภูมิแพ้ในครอบครัว ก็เชื่อว่าเป็นสาเหตุเช่นกัน

การดูแลรักษา

การดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องผสมผสานการรักษาหลายวิธีเข้าด้วยกัน อาศัยความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย ทั้ง ครอบครัว ครู และบุคลากรสาธารณสุข

การดูแลประกอบด้วย

เสริมสร้างศักยภาพครอบครัว

ครอบครัวควรมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับธรรมชาติของโรค และแนวทางช่วยเหลือ มีทักษะในการดูแลอย่างเหมาะสม และมีเจตคติเชิงบวกต่อตัวเด็ก ควรมองว่าเป็นความบกพร่องที่ต้องช่วยกันแก้ไข แทนที่จะมองว่า เด็กขี้เกียจ ไม่สนใจเรียน

พอก่อนนะ มาต่อคราวหน้าแล้วกัน



Create Date : 01 สิงหาคม 2550
Last Update : 20 กันยายน 2550 10:41:22 น. 1 comments
Counter : 847 Pageviews.

 
ได้ความรู้มากเลยค่ะ


โดย: อิจิโงะจัง วันที่: 2 สิงหาคม 2550 เวลา:19:52:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ออย-โอ๊ด
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มีความสุขมาก ^^
Background.MyEm0.Com
Friends' blogs
[Add ออย-โอ๊ด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.