Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2550
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
28 พฤษภาคม 2550
 
All Blogs
 
เรื่องเล่า... การบริจาคโลหิต ღ คุณสมบัติ การเตรียมตัวก่อน หลัง

คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต

1. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์

2. น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป

3. สุขภาพทั่วไปสมบูรณ์ดี

4. ไม่มีโรคประจำตัว หรืออาการแสดงผิดปกติดังต่อไปนี้

-ประวัติโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง
-ไม่เป็นไข้มาเลเรียมาในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา
-ไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่างๆ
-ไม่ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต
-ไม่มีโรคเลือด โลหิตออกง่ายผิดปกติ โรคโลหิตชนิดต่าง ๆ
-ไม่มีโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก
-โรคผิวหนังเรื้อรัง
- โรคหัวใจ โรคไต
- โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์

5. ไม่อยู่ในภาวะน้ำหนักลดมากในระยะสั้น โดยไม่ทราบสาเหตุ

6. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือ สำส่อนทางเพศ

7. ไม่มีประวัติติดยาเสพติด

8. งดการบริจาคโลหิตภายหลังผ่าตัดคลอดบุตร หรือ แท้งบุตร 6 เดือน
(ถ้ามีการรับโลหิตต้องงดบริจาคโลหิต 1 ปี)

9. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์


.....................................

การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต

1. ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง

2. ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ดีทุกประการ
ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาใดๆ

3. ควรรับประทานอาหารมาก่อน
และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่มีไขมัน

4. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

5. งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

6. สุภาพสตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์

7. การบริจาคโลหิตครั้งต่อไปเว้นระยะ 3 เดือน
ยกเว้นการบริจาคพลาสมาหรือเกล็ดโลหิต ให้เร็วกว่านั้นได้ค่ะ


...................................

ข้อควรปฎิบัติหลังบริจาคโลหิต

1. นอนพักบนเตียงอย่างน้อย 3-5 นาที
ห้ามลุกจากเตียงทันที จะเวียนศีรษะเป็นลมได้

2. ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้
และดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 2 วัน

3. ไม่ควรรีบร้อนกลับ นั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ

4. หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมระหว่างลุกจากเตียง หรือขณะเดินทางกลับ ต้อง

รีบนั่งก้มศีรษะต่ำ ระหว่างเข่าหรือนอนราบ เพื่อป้องกันอันตรายจากการล้มได้

5. หากมีโลหิตซึมออกมาให้ใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว กดลงบนผ้าก๊อส หรือพลาสเตอร์ที่ปิดรอยเจาะ

ให้นิ้วหัวแม่มือกดด้านใต้ข้อศอกและยกแขนสูงจนโลหิตหยุดสนิท หากโลหิตไม่หยุดซึม

ให้กลับมายังสถานที่บริจาคเพื่อพบแพทย์ ,พยาบาล

6. งดออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากภายหลังการบริจาคโลหิต

ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูงหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพักหนึ่งวัน

7. รับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก

8. หลีกเลี่ยงการใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการบวมช้ำ


..................................................

ผู้บริจาคโลหิตทุกๆ ท่าน จะได้รับการตรวจสุขภาพ
และตรวจโลหิตดังรายการต่อไปนี้ค่ะ

1. ตรวจหมู่โลหิต ABO
2. ตรวจหมู่โลหิต Rh
3. ตรวจไวรัสตับอักเสบ บี (HBsAg)
4. ตรวจไวรัสตับอักเสบ ซี (Anti-HCV)
5. ตรวจเชื้อซิฟิลิส
6. ตรวจเชื้อโรคเอดส์ (HIV-Ag)
7. ตรวจภูมิคุ้นเคยต่อเชื้อโรคเอดส์ (Anti-HIV)

อ้างอิงข้อมูลจาก หน่วยบริการโลหิตสภากาชาดไทย ค่ะ


หน่วยบริการโลหิต สภากาชาดไทย







Create Date : 28 พฤษภาคม 2550
Last Update : 2 มิถุนายน 2550 19:26:43 น. 6 comments
Counter : 804 Pageviews.

 
มีเรื่องเซ็ง ๆ ตัวเองนิดหน่อยเกี่ยวกับการบริจาคเลือดครับ

คือไม่ได้ใส่ใจจำเองแหละครับ ว่าข้อห้ามที่เขียนไว้ในแบบฟอร์มคือ ต้องไม่มีประวัติไปทานเนื้อวัวที่ยุโรป ในรอบ 20 ปี

ทีนี้ เพิ่งกลับมาจากยุโรปด้วยครับ พอจะไปบริจาคเลือดก็เพิ่งนึกขึ้นได้

ก็กินไปแล้วอ้ะ ไปยุโรป แล้วไกลตัวเมืองขนาดนั้นคงเลือกกินลำบาก ยังไงก็เลี่ยงเนื้อวัวไม่พ้น

เอ่อ เห็นข้อห้ามข้างบน ไม่เห็นมีเรื่องห้ามกินเนื้อวัวที่ยุโรปเลยนิครับ ตกลงมันห้ามหรือไม่กันแน่เนี่ย


โดย: :bo (ECie ) วันที่: 28 พฤษภาคม 2550 เวลา:12:46:42 น.  

 
บริจาคหลายครั้งแล้ว
หลัง ๆ เนี่ย
นอนดึก เลือดลอย เลยไม่ค่อยได้บริจาค


โดย: ทาสบอย วันที่: 28 พฤษภาคม 2550 เวลา:12:55:31 น.  

 
ทานเนื้อวัวที่ยุโรป ในรอบ 20 ปี

อันนี้ ไม่น่าเกี่ยวนะครับ คุณ :bo สงสัยจะโดนอำ อะนะ



โดย: K'mint วันที่: 28 พฤษภาคม 2550 เวลา:13:05:09 น.  

 
ปีนี้ยังไม่ได้ไปบริจาคสักทีเลยค่ะ

ครั้งก่อนไป วัดความดันไป4รอบ สูงตลอด

แต่ด้วยแรงศรัทธาอยากจะให้ คุณหมอเลยอนุญาต ดีใจแทบแย่


โดย: blue_raindrop วันที่: 28 พฤษภาคม 2550 เวลา:16:08:26 น.  

 
ขอบคุณนะคะ

กลับไปค้นเรื่องเนื้อวัวมาให้ค่ะ

เข้าใจว่ากฎห้ามกินเนื้อวัว มาจากความกังวลถึงโรค Bovine Spongiform Encephalopathy (BSE) (โรควัวบ้า)

ซึ่งเป็นโรคอันตรายเริ่มมีการแพร่ระบาดมากๆ ประเทศอังกฤษเมื่อปี 1986 พบวัวเสียชีวิตจากโรคนี้จำนวน 168000 ตัว
และอีกหลายประเทศในแถบยุโรปค่ะ

ผู้ที่เป็นโรคนี้ หรือมีความเสี่ยงต่อโรคนี้ ไม่ควรบริจาคเลือดจริงๆ ค่ะ

แต่ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้
เกณฑ์ที่ว่าเคยกินเนื้อวัวยุโรปไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงหลัก

ปัจจัยเสี่ยงแท้ๆ คือ
1 ผู้เคยได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนที่สกัด หรือสังเคราะห์มาจากต่อมใต้สมองสัตว์ หรือผ่าตัดเลนส์แก้วตา และอื่นๆ

2 มีอาการเสี่ยงที่อาจเป็นโรคไปแล้ว คือ ซึม ต่อมาความจำลดลง จำญาติๆ จำตัวเองไม่ได้ กล้ามเนื้อกระตุก โคมา จากเริ่มแสดงอาการชัดเจนจนโคมา อาจใช้เวลาปีครึ่งถึงสองปี

สองข้อนี้ไม่ควรบริจาคโลหิตค่ะ
แต่แค่ เคยกินเนื้อวัวในยุโรป คิดว่าเบาไปนิด ค้นยังไม่เจอหลักฐานค่ะ

แต่เดี๋ยวจะค้นให้ต่ออีกหน่อยนะคะ


โดย: พิมพการัง วันที่: 28 พฤษภาคม 2550 เวลา:22:17:07 น.  

 
ข้อมูลเพิ่มเติมอีกนิดนึงนะคะ

เรื่องเนื้อวัวจากยุโรป


ปรกติเชื้อที่กลัวกัน เจ้าวัวบ้าเนี่ย คือเนื้อเยื่อของสมองและไขสันหลัง ซึ่งปรกติไม่ทำเป็นสเต๊ก

แต่ จะเอาไปผสมในแฮมเบอร์เกอร์ เพื่อให้มีความมัน อร่อยยิ่งขึ้นค่ะ

ถ้าอย่างนั้น ทานแฮมเบอร์เกอร์ น่ากลัวกว่า สเต๊กเยอะเลยค่ะ

ถามคุณหมอหลายๆ ท่านแล้ว
ยังไม่มีข้อห้ามที่ว่า แค่มีประวัติทานเนื้อจะต้องงดบริจาคเลือดเลยค่ะ

แต่

- ต้องมีอาการ อันน่าเข้าได้กับโรควัวบ้า

(เพราะเป็นโรคที่ไม่มีอะไรฟันธงชั้นเดียวง่ายๆ แค่ตรวจเลือดออกปุ๊บตัดสินได้เป็นไม่เป็นในชั้นเดียว ทำไม่ได้ค่ะ ต้องหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน )

ร่วมกับ

มีประวัติเสี่ยงเช่น รับยาที่สกัดจากสมองสัตว์(ประวัติตรงนี้สำคัญกว่ามากๆ เลยค่ะ )

ทานเนื้อวัว (โดยเฉพาะส่วนที่เป็นไขสันหลัง และสมอง ) ภายในรอบ ยี่สิบปี โดยเฉพาะช่วงปีที่มีโรควัวบ้าระบาดละ เป็นไปได้ค่ะ


โดย: พิมพการัง วันที่: 4 มิถุนายน 2550 เวลา:6:31:05 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

พิมพการัง
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




. .
Friends' blogs
[Add พิมพการัง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.