ตุลาคม 2551

 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
21
22
23
25
27
30
 
 
All Blog
ถามหมอ...เรื่องมะเร็งเต้านม









เมื่อไม่นานมานี้ ทางสถานวิทยามะเร็งศิริราช นำโดย รศ.พญ.วิไลพร โพธิสุวรรณ และ รศ.นพ.กริช โพธิสุวรรณ ได้จัดประชุมสื่อมวลชนเพื่อพูดคุยให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและการตรวจรักษาที่ถูกต้อง เป็นการนำร่องตามโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนตลอดปี เราจึงได้นำเกร็ดคำถามคำตอบบางข้อที่น่าสนใจมาฝากคุณผู้อ่านกันค่ะ


Q: มีการพูดถึงการตรวจเต้านมด้วยตัวเองกันบ่อยครั้ง แต่มีข้อสงสัยว่าทำไมบางทีตรวจด้วยตัวเองแล้วรู้สึกเจ็บตึง ถ้าเป็นแบบนี้ควรทำอย่างไร? A: การตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละครั้ง และควรทำให้เป็นนิสัย เช่น ช่วงเวลาที่กำลังเปลี่ยนเสื้อผ้า หรืออาบน้ำ เป็นต้น การที่รู้สึกเจ็บเวลาตรวจนั้นคุณต้องดูว่าเป็นช่วงเวลาที่กำลังมีประจำเดือนอยู่หรือไม่ เพราะช่วงนั้นเต้านมของผู้หญิงทุกคนจะคัดตึงเป็นพิเศษ แค่แตะเบาๆ ก็ทำให้เจ็บได้แล้ว ดังนั้นเวลาที่เหมาะสมของการตรวจคือภายในสัปดาห์หลังจากหมดประจำเดือน ส่วนผู้ที่หมดประจำเดือนไปแล้วก็ควรจะตรวจในวันแรกของทุกเดือนป้องกันการลืม หากพบว่ามีก้อนผิดปกติ หัวนมบุ๋มไป มีของเหลวไหลออกมา หรือมีขนาดของเต้านมเปลี่ยนไปจากปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที



และนอกจากตรวจเต้านมด้วยตัวเองแล้ว คุณผู้หญิงที่มีอายุ 20-40 ปีก็ควรรับการตรวจเต้านมโดยแพทย์อย่างน้อยทุกๆ 3 ปี ผู้ที่อายุเลย 40 ปีขึ้นไปควรตรวจทุกปี และควรทำแมมโมแกรมครั้งแรกในช่วงอายุ 35-39 ปี เพื่อใช้เปรียบเทียบกับการตรวจในครั้งต่อๆ ไป ดังนั้นในการตรวจหากมีการเปลี่ยนสถานที่ตรวจ หรือโรงพยาบาล จำเป็นต้องขอฟิล์มเก่าจากที่เดิมมาด้วย เพื่อให้แพทย์ได้เปรียบเทียบภาพของเต้านมครั้งก่อนกับครั้งใหม่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง


Q: วิธีรักษามะเร็งเต้านมทำอย่างไร จำเป็นต้องตัดเต้านมออกทั้งหมดด้วยหรือคะ? ไม่ผ่าตัดได้หรือไม่? A: การรักษาที่ยอมรับทั่วๆ ไป มี 4 วิธี คือ การผ่าตัด ซึ่งมีอยู่หลายแบบ สองคือการฉายรังสี สามคือการให้ฮอร์โมน และสี่คือการให้เคมีบำบัด หรือคีโม แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ถ้าเราสามารถรวบรวมแต่ละวิธีเข้าด้วยกันก็จะทำให้ผลการรักษาดีกว่ารักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอย่างเดียว สำหรับการผ่าตัดในอดีตเราจำเป็นต้องตัดเต้านมออกทั้งเต้า เนื่องจากคนไข้ที่มามักมีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่แล้ว จึงไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ แต่ในปัจจุบันจากการคัดกรองที่ดี ประชาชนมีความรู้และตื่นตัวในการตรวจตัวเองมากขึ้นก็ทำให้เราสามารถพบมะเร็งที่มีขนาดเล็กลงในระยะเริ่มต้นที่เป็น ดังนั้นการผ่าตัดรักษาในปัจจุบันก็ไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมออกทั้งเต้าแล้ว อาจตัดเนื้อเต้านมออกบางส่วนร่วมกับการฉายแสงหลังผ่าตัดก็สามารถทำได้ ดังนั้นถ้าพบว่ามีก้อนบริเวณเต้านมและรีบมาหาแพทย์แต่เนิ่นๆ ก็อาจช่วยให้ไม่ต้องสูญเสียเต้านมได้ ถ้าจำเป็นหลังผ่าตัดเราก็จะมีการให้ฮอร์โมนหรือเคมีบำบัดเพื่อให้โอกาสมีชีวิตรอดหรือปราศจากโรคสูงขึ้นกว่าการรักษาโดยวิธีใดวิธีเดียว ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ของการรักษาแต่ละชนิดว่าจะเหมาะสมที่สุดอย่างไรกับผู้ป่วยแต่ละราย



อย่างไรก็ตาม วิธีการผ่าตัดเป็นวิธีเดียวที่สามารถกำจัดก้อนมะเร็งออกจากร่างกายได้ทั้งหมด ในระยะเวลาอันสั้นที่สุด เมื่อเทียบกับการรักษาวิธีอื่นๆ ที่คนไข้มีโอกาสไม่ตอบสนองต่อการรักษา การผ่าตัดจึงเป็นทางเลือกแรกของการรักษามะเร็งเต้านม ซึ่งไม่กระทบต่อการทำงานของร่างกายเหมือนการผ่าตัดอวัยวะอื่นๆ นอกจากรูปลักษณ์ความสวยงาม ดังนั้นแพทย์จะพยายามตัดเต้านมให้น้อยที่สุด และพยายามเก็บไว้ถ้าเก็บได้ ถ้าเก็บไม่ได้จริงๆ ต้องตัดออกทั้งเต้า เราก็สามารถเสริมเต้านมขึ้นมาได้ใหม่ ซึ่งเมื่อเสร็จแล้วก็สวยเกือบเหมือนเดิม


ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today
















Create Date : 29 ตุลาคม 2551
Last Update : 29 ตุลาคม 2551 5:24:26 น.
Counter : 1613 Pageviews.

1 comments
  
โดย: สาวพิษณุโลก** วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:12:54:03 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

pimpagee
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



Smile...Small...Smooth...Smart...

counter
สร้าง Playlist ของคุณได้ที่นี่
New Comments