สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
25 สิงหาคม 2552
 
 
งานบันได



งานบันได

เรื่องของบันได จะเริ่มขั้นแรกอย่างไรตำแหน่งควรวางอย่างไรให้ดูสวยด้วยสง่าภูมิฐาน ไม่ว่าเป็นบันไดแบบโมเดิร์น หรือคลาสสิคก็ตาม บันไดขั้นแรกต้องเป็นลักษณะอย่างไรลูกตั้งลูกนอนควรสูง – กว้างแค่ไหน การเดินการก้าว จึงจะสะดวก เดินขึ้นลงด้วยท่าทางที่สง่าภูมิฐานของท่านเจ้าของบ้าน ราวจับบันได , ราวกันตกบันได ควรมีขนาดเท่าไร ดีไซน์ของราวบันได ก็เป็นจุดเด่นของบันไดเหมือนกัน มิใช่ว่าออกแบบ ทำเสร็จสวยแต่ขึ้นแล้ว ไม่สบาย เดินแล้วเหนื่อย มีลูกตั้งที่สูงไม่เท่ากันเป็นของแถมมาให้เวลาเดินหน้าจะคะมำตกบันไดเอาดื้อๆ สำหรับคนสูงอายุ ก็น่าเป็นห่วงใหญ่ แบบบันไดปกติ เช่น บันไดขึ้นตรง , บันไดตัวยู บันไดตัวแอล หรือบันไดโค้ง
ลักษณะและชนิดของบันได


1. บันไดช่วงเดียว ( single flight / straight flight ) ประหยัดพื้นที่ ในอาคารสาธารณะ สูง 4 m อาคารพักอาศัย สูง 3 m
2. บันไดตรงมีชานพัก
3. บันไดมีชานพักและหักเลี้ยว 90 องศา
4. บันไดมีชานพักและเลี้ยวกลับ ( single dog leg ) ให้ความรู้สึกสั้นกว่าบันไดช่วงเดียว
5.บันไดเลี้ยวกลับรูปตัว U ( half turn open well )
6. บันไดเลี้ยวกลับรูปตัว U ไม่มีชานพัก
7. บันไดโค้ง หรือบันไดพัด
8. บันไดประติมากรรม สวย แต่เปลืองเนื้อที่
9. บันไดเวียน ประหยัดเนื่อที่แต่ใช้งานยาก ใช้ไม่บ่อย
10. บันไดลิง ใช้เป็นทางหนีไฟในโรงงาน ควรมีราวจับ 2 ข้าง สูงไม่เกิน 4 m ใช้เป็นบันไดหลักไม่ได้

การออกแบบบันได มีกฎเกณฑ์ดังนี้
1. ประเภทผู้ใช้งาน หรือประเภทอาคาร
2. หน้าที่ใช้สอย
- เลือกใช้ประเภท ชนิดบันไดให้เหมาะสม
- ขนาดบันไดตามปริมาณการสัญจร
3. ความปลอดภัยและความสะดวกสบาย
- ขนาดลูกตั้ง ลูกนอน ราวกันตก มือจับ
- ความยาวช่วงบันได ( flight )
- จมูกบันได
- การเลือกใช้วัสดุ โครงสร้าง
4. ถูกต้องตามเทศบัญญัติ
5. ความสะดวก VS ความถูกต้อง
6. ความงาม ให้คิดว่า บันไดเป็นงานศิลปะ 3 มิติ มี 6 ด้าน ต้องพิจารณาความสัมพันธ์แต่ละด้าน
7. ความต้องการพิเศษ
- Sculpture
- ทางสัญจร + ที่นั่ง
- แสดงเอกลักษณ์ เช่น อาคารคนพิการ บันไดจะอยู่ในรูปของ ramp
ข้อควรพิจารณาในการออกแบบบันได
1. ความปลอดภัย
2. การหักกลับของราวบันได
3. ลูกเล่นต่างๆ

ขนาดและส่วนประกอบของบันได
1. ลูกนอน ( tread ) ชั้นเหยียบมีขนาดพอดีเท้า
2. ลูกตั้ง ( บังขั้น , riser ) ยกขึ้นพอดีกับระยะก้าว
3. จมูกบันได ( nosing ) ส่วนยันลูกนอนจากขอบลูกตั้ง
4. ราวบันได ( hand rail ) เป็นที่จับยึด กันตก สูงจากพื้น 80-90 cm หรือเท่ากับระยะมือจับ ขนาดจับ พอดีมือและได้สัดส่วนกับบันได เส้นผ่านศูนย์กลาง 2" , 2 1/2"
5. ลูกกรง เป็นที่จับยึดราวกันตกให้แข็งแรง ออกแบบได้หลากหลาย โปร่ง-ทึบ ตั้ง-นอน
6. แม่บันได เหมือนคานของบันได เป็นโครงสร้างรับลูกตั้งลูกนอนบันไดไม้ มี 2 ลักษณะ
1. บันไดทึบ มีลูกตั้ง + ลูกนอน
2. บันไดลอย ไม่มีลูกตั้ง โดยเอาลูกนอนไปฝากไว้กับแม่บันได หรือวางบนพุกไม้ยึดแม่บันได

บันไดคสล. มี 2 ลักษณะ
1. หล่อกับที่ ( Cast in place concrete stair )
2. หล่อสำเร็จ ( Precast concrete stair ) เหมาะสำหรับทำเป็น module ในปริมาณมากๆ ใช้กับอาคารสูงๆที่ต้องมีบันไดเยอะๆทั้ง 2 ชนิด จะหล่อทั้งช่วงหรือหล่อเป็นส่วนๆมาประกอบก็ได้

ความสัมพันธ์ของขนาดลูกตั้งลูกนอน
1. ผลบวกลูกตั้ง + ลูกนอน ไม่น้อยกว่า 42.5 cm และไม่มากกว่า 45 cm ( ไม่รวมจมูกบันได )
2. 2 เท่าของลูกตั้ง + ลูกนอนไม่น้อยกว่า 60 cm และไม่มากกว่า 62.5 cm

ข้อจำกัดในการออกแบบภายใต้เทศบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522
1.บันไดที่พักอาศัยกว้างมากกว่าหรือเท่ากับ 0.80 m
- 1 ช่วง ( 1 flight ) สูงไม่เกิน 3.00 m
- อาคารสาธารณะ อุตสาหกรรม พาณิชย์ กว้างมากกว่าหรือเท่ากับ 1.50 m
- 1 ช่วง ( 1 flight ) สูงไม่เกิน 4.00 m
2. บันไดที่พักอาศัย ลูกตั้งสูงไม่เกิน 0.20 m ลูกนอนไม่ต่ำกว่า 0.22 m
- อาคารสาธารณะลูกตั้งสูงไม่เกิน 0.19 mลูกนอนไม่ต่ำกว่า 0.24 m
3. บันไดที่สูงเกินกำหนดจะต้องมีชานพักกว้าง / ยาวไม่น้อยกว่าความกว้างบันได
4. บันไดเวียน ลูกนอนช่วงที่แคบที่สุดต้องไม่ต่ำกว่า 0.10 m
อาคารสูง
- บันไดหนีไฟในอาคารสูง กว้างไม่ต่ำกว่า 0.80 m ชานพักไม่ต่ำกว่า 0.90 m
- มีราวบันได 1 ด้าน
- ลูกนอนไม่ต่ำกว่า 0.22 m ลูกตั้งไม่สูงเกิน 0.20 m
*ห้ามใช้บันไดเวียนเป็นบันไดหนีไฟในอาคารสูง
ที่มา : //www.novabizz.com/CDC/Process.htm



Create Date : 25 สิงหาคม 2552
Last Update : 8 กันยายน 2552 21:00:37 น. 0 comments
Counter : 4768 Pageviews.
 

Pial
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




[Add Pial's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com