สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
25 สิงหาคม 2552
 
 
งานก่อผนังฉาบปูน



งานก่อผนังฉาบปูน

ผนัง นั้นเรียกได้ว่าเป็นผิวหนังของบ้าน( skin ) สำหรับผนังภายนอกนั้นคอยปกป้องตัวบ้าน จากความเปลี่ยนแปลงของ อากาศ ร้อนหนาว แดด ลม ฝน ภายนอกบ้าน ส่วนผนังภายในนั้น ทำหน้าที่แบ่งส่วนใช้สอยต่าง ๆ ภายในบ้าน ให้เป็นสัดส่วน ตามการใช้สอย ผนังในบ้านนั้นมีทั้งผนัง ที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้าง หรือที่เราเรียกว่า ผนังรับน้ำหนัก ( ซึ่งแยกย่อยไปอีก เป็น ผนังรับน้ำหนัก ที่เป็น คอนกรีตเสริมเหล็ก และผนังรับน้ำหนัก ที่ใช้การก่ออิฐเต็มแผ่น) ผนังลักษณะนี้ให้นึกภาพง่าย ๆ ว่าเป็นเสาที่ยึดยาวออกไปเป็น ผนังนั่นเอง ผนังชนิดนี้จึงมีราคาค่อนข้างแพงกว่า ผนังปกติสักหน่อย ส่วนผนังอีกประเภท เป็นผนังที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป คือ ผนังที่ไม่ได้ทำหน้าที่รับน้ำหนัก หรือมิได้ทำตัวเป็นโครงสร้าง ส่วนมากเป็นผนังก่อด้วยอิฐ หรืออาจใช้เป็นแผ่นยิปซั่มบอร์ดก็ได้ ตัวผนังเองก็มีหลายชนิด เช่น ผนังก่ออิฐ ผนังหิน ผนังคอนกรีตบล็อก ผนัง Glass Block หรือผนังแก้ว นอกจากนี้ก็ยังมีผนังที่เป็น ผนังกระจก ( curtain wall ) นิยมใช้กันมากในตึกสูง และมีการนำมาใช้กับ บ้านพักอาศัยในส่วนที่ต้องการเปิดมุมมองสู่ภายนอก เช่น ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน เป็นต้น ในวิธีการก่อสร้างนั้นผนังแต่ละอย่าง ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันออกไปตามประเภท

กล่าวถึงผนังที่ใช้กันอยู่ทั่วไป นั่นคือ ผนังก่ออิฐ มีสองลักษณะ การก่ออิฐโชว์แนว และ ผนังก่ออิฐฉาบปูน

ผนังก่ออิฐโชว์แนว คือผนังที่มีการก่ออิฐเรียงกัน และไม่มีการฉาบทับ เพื่อต้องการโชว์แนวของอิฐผนังชนิดนี้ จึงไม่มีปูนฉาบหน้า กันความชื้น ดังนั้นในการก่ออิฐโชว์แนวสำหรับผนัง ด้านนอกอาคาร ไม่ควรจะก่อโชว์ทั้งสองด้าน เพราะเวลาฝนตก หรือมีความชื้น เข้ากระทบผนัง น้ำจะซึมเข้าด้านในได้โดยง่าย ข้อควรระวัง อีกประการ ก็คือ อย่าก่อในบริเวณที่มีรถวิ่งผ่านหรือวิ่งเฉียด (เช่นโรงรถ ข้างถนน เป็นต้น) เพราะหากมีการกระทบให้อิฐโชว์แนวมีรอย การแก้ไขทำได้ยาก ส่วนใหญ่มักต้องทุบผนังทั้งแผงออก และก่อขึ้นใหม่

ผนังก่ออิฐฉาบปูน นั้น เป็นผนังที่ใช้อิฐก่อขึ้นมา และฉาบทับด้วยปูน เพื่อความเรียบร้อย สำหรับการก่ออิฐในผนังชนิดนี้ จะต่างจาก การก่ออิฐของ ผนังก่ออิฐโชว์แนว เพราะจะต้องก่ออิฐให้ ผิวคอนกรีตมีรอยบุ๋ม ลึกประมาณ 3-5 มิลลิเมตร เพื่อเวลาฉาบปูน จะได้ยึดเกาะ ผิวคอนกรีตได้แน่นหนา ก่อนฉาบปูนก็ควร ทำความสะอาดผนัง ด้วยไม้กวาด หรือลมเป่า ให้เศษ หรือฝุ่นปูน หลุดออกเสียก่อน และทำการรดน้ำให้ชุ่มเสีย ทิ้งไว้ซักครึ่งนาทีก่อน ให้อิฐดูดน้ำให้เต็มที่ ป้องกันไม่ไห้อิฐ ดูดน้ำไปจากปูน อันจะก่อให้เกิดการแตกร้าวของผนังได้

สำหรับงานผนังก่ออิฐ ไม่ว่าจะเป็นผนังก่ออิฐโชว์แนว หรือผนังก่ออิฐฉาบปูน นั้นควรตรวจสอบว่า ได้มีการเตรียมเหล็กหนวดกุ้ง ยื่นออกมาจากเสา เพื่อยึดประสานระหว่าง เสาและผนังบ้านของท่าน ป้องกันการร้าวของผนัง ข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่ง ที่จะป้องกันการร้าวของผนัง โดยเฉพาะผนังทางด้านทิศตะวันตก กับด้านทิศใต้ ที่ได้รับแดดและความร้อนมาก มีการยืดหดมาก และมีโอกาสที่จะแตก (ลายเงา) ได้มาก หากมีงบประมาณเพียงพอเวลาจะฉาบปูน ให้เอาลวดกรงไก่บุที่ผนังเสียก่อน เพราะลวดกรงไก่นี้ จะทำหน้าที่ เป็นตัวยึดป้องกันการแตกร้าวได้ครับ ส่วนผนังด้านที่มีประตู หน้าต่าง หรือช่องเปิด เป็นส่วนประกอบ และทุก ๆ ความสูงของผนัง 3 เมตร ก็อย่าลืมทำเสาเอ็นเสียด้วยนะครับ

นอกจากผนังก่ออิฐฉาบปูนและผนังก่ออิฐโชว์แนวแล้วยังมีผนังที่เป็นบล๊อคอิฐแก้ว ผนังกระจก และผนังยิปซั่ม หรือผนังเบา
1. ผนังบล๊อคอิฐแก้ว (Glass block) นั้นส่วนใหญ่นิยมใช้ก่อเป็นผนังในส่วนที่ต้องการแสงสว่างหรือตกแต่งเพื่อความสวยงาม ในการทำผนังบล๊อคอิฐแก้ว ก็มีข้อควรระวังคล้าย ๆ กับการก่อผนังอิฐโชว์แนว เพราะหากผนังอิฐบล๊อค เกิดการแตกร้าวขึ้นสักก้อน ก็ยากแก่การปรับเปลี่ยนแก้ไข เพราะฉะนั้น การทำผนังก่ออิฐบล๊อคแก้ว จึงนิยมทำกัน ในพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก ในกรณีที่ก่อเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ก็ควรมีการทำเสาเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทุก ๆ ระยะห่าง 3 เมตร

2. ผนังกระจก ( Curtain wall ) ด้วยวิทยาการปัจจุบัน เราสามารถพัฒนาการก่อสร้าง จนสามารถนำกระจกมาใช้เป็นผนังได้แล้ว ซึ่งผนังกระจกเหล่านี้จะมีลักษณะการติดตั้งต่าง ๆ กันตามลักษณะ การยึดเกาะของแผ่นกระจก คือ

2.1 กระจกยึดติดกับกรอบเพียง 2 ด้าน (two-side support) ซึ่งมักจะยึดที่พื้น หรือเพดาน ส่วนอีก 2 ด้านที่เหลือปล่อยให้ชิดกับกระจกแผ่นอื่นๆ การยึดติดกระจกแบบนี้จะมีปัญหาเรื่องการแอ่นตัวของกระจก ซึ่งสามารถป้องกันแก้ไขโดยเพิ่มความหนาของกระจก หรือเปลี่ยนการยึดติดกระจกเป็น 3 ด้านหรือ 4 ด้าน ตามความเหมาะสม

2.2 กระจกยึดติดกับกรอบเพียง 3 ด้าน (three-sided support) กระจกจะยึดติดกับกรอบ 3 ด้าน อีกด้านหนึ่งอาจจะวางลอยๆ หรือต่อกับ กระจกแผ่นอื่นๆ ซึ่งมีความแข็งแรงกว่าแบบแรก

2.3 กระจกยึดติดกับกรอบ 4 ด้าน (four-sided support) เป็นรูปแบบการติดตั้งที่แข็งแรงที่สุด ในการติดตั้งผนังกระจกนั้น ควรหาช่างที่ชำนาญ มาติดส่วนผนัง ที่เป็นกระจกโค้งนั้น ก็สามารถทำได้ครับ เพียงแต่มีราคาแพง และต้องอาศัยความชำนาญ ในการติดตั้งมากเป็นพิเศษ เมื่อเสียหายก็ยาก ในการซ่อมแซม และหามาเปลี่ยนใหม่ครับ เพราะฉะนั้น หากท่านไม่ต้องการมีปัญหายุ่งยากกับการซ่อมแซมในภายหลัง ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงเสีย

3. ผนังยิปซั่ม หรือผนังเบา เป็นผนังที่นิยมใช้กันมาก ในปัจจุบัน เพราะมีน้ำหนักเบา ประหยัด และติดตั้งได้รวดเร็ว ในการติดตั้งผนังเบานั้น ต้องคำนึงถึงตำแหน่ง สวิทช์และปลั๊กไฟต่างๆให้ครบถ้วน เพราะหากต้องการ ติดเพิ่มเติมทีหลังนั้นจะมีความยุ่งยากมาก และอาจทำให้เกิด การเสียหาย กับผนังขึ้นได้ ผนังยิปซั่มมีอายุการใช้งานสั้น และมักจะมีปัญหาในเรื่องความชื้น จึงนิยมใช้กับผนังภายใน และผนังตกแต่ง ที่มีการปรับเปลี่ยนบ่อย ๆ ครับ สำหรับงานผนังที่นับว่า เป็นเปลือกของอาคารนั้น สามารถพิจารณาเลือกใช้ ตามประโยชน์ใช้สอย รสนิยม และความต้องการ ของแต่ละท่านได้ตามสะดวก
ที่มา : //www.novabizz.com/CDC/Process.htm










ที่มาของรูป ://www.novabizz.com/CDC/Process16.htm
//www.rangson.com/html%20document/ce/ce002014cetopic.htm


การก่อสร้างผนังก่ออิฐไม่ให้แตกร้าว >>>


หัวใจสำคัญของการก่ออิฐโดยไม่ให้ผนังแตกร้าว มีดังนี้
1) คุณภาพของอิฐ
อิฐที่นำมาใช้ในการก่อผนังนั้นต้องมีคุณภาพดี ไม่เปราะหรือแตกหักง่าย
2) แนวการก่ออิฐ
ในการก่ออิฐไม่ควรให้รอยต่อของอิฐในแต่ละชั้นตรงกันเพราะจะทำให้เกิดรอยแยกตรงรอยต่อ โดยทั่วไปมักทำการก่อสลับแนบระหว่างชั้นต่อชั้น เพื่อให้เกิดการยึดเหนี่ยวที่ดีกว่า
3) เสาเอ็นและคานเอ็น
เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งใช้เพื่อเสริมความแข็งแรงของผนังก่ออิฐ โดยทั่วไปจะอยู่บริเวณรอบ ๆ วงกบของประตูหน้าต่าง เพื่อลดการแตกร้าวของผนัง ในกรณีที่ผนังก่ออิฐมีขนาดกว้างมาก ๆ ควรใส่เสาเอ็นและคานเอ็นทุกระยะ 2.50 เมตรของความสูงหรือความกว้างของผนัง
4) การเสียบเหล็กยึดผนังก่ออิฐ
ในกรณีที่ก่ออิฐไปชนกับเสาหรือคาน จะต้องเสียบเหล็กยึดระหว่างผนังก่ออิฐกับเสาหรือคาน โดยใช้เหล็กเสริมขนาด 6 มิลลิเมตร ยาว 30 เซนติเมตร เสียบยึดกับเสาหรือคานทุกระยะ 40 เซนติเมตร

ปัญหาผนังร้าวนั้น โดยมากมีสาเหตุมาจากการก่ออิฐไม่ถูกต้อง ในการก่อผนังอิฐ มีข้อควรระวังที่ควรใส่ใจดังนี้
1) ปูนก่อจะต้องไม่หนาเกินไป
“ปูนก่อ” ซึ่งทำหน้าที่ยึดอิฐแต่ละก้อนนั้นจะต้องไม่หนามากจนเกินไป เพราะเมื่อปูนก่อเกิดการหดตัว จะทำให้ผนังแตกร้าวได้ โดยทั่วไปปูนก่อนั้นไม่ควรมีความหนาเกิน 1.5 เซนติเมตร
2) ต้องเว้นระยะเวลาระหว่างการก่อผนังอิฐชนโครงสร้างชั้นถัดไป
เมื่อได้ก่อปูนจนถึงท้องคานชั้นถัดไป ควรทิ้งระยะเวลาไว้เพื่อให้ปูนก่อของผนังก่ออิฐหดตัว และรอให้คานชั้นบนรับน้ำหนักได้ก่อน จึงค่อยก่ออิฐชนท้องคานด้านบนต่อไป
3) ไม่ก่ออิฐบนแผ่นพื้นสำเร็จรูป
ควรหลีกเลี่ยงการก่ออิฐบนแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่วิศวกรไม่ได้ออกแบบไว้ เพราะพื้นประเภทนี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้รับน้ำหนักจากผนังก่ออิฐซึ่งมีน้ำหนักมาก จึงอาจทำให้เกิดปัญหาพื้นแอ่นที่เป็นสาเหตุของการแตกร้าวของผนังก่ออิฐได้
4) ควรพรมน้ำบนผนังก่ออิฐก่อนทำการฉาบปูน
โดยทั่วไปอิฐสามารถดูดซึมน้ำได้สูง หากไม่พรมน้ำลงบนผนังอิฐให้ชื้นเสียก่อน เมื่อฉาบปูน อิฐก็อาจดูดน้ำออกจากปูนฉาบ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผนังแตกร้าวได้เช่นกัน



รอยร้าวในบ้านเกิดจากอะไร >>>


รอยร้าวของบ้านโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) รอยร้าวที่เกิดจากฝีมือการก่ออิฐไม่ได้คุณภาพ
รอยร้าวประเภทนี้ โดยทั่วไปไม่ถึงกับทำให้บ้านพังหรือมีอันตรายจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ เพียงแต่จะทำให้เกิดความไม่สวยงาม หรือมีน้ำรั่วซึมเข้าไปในบ้าน เกิดความรำคาญต่อผู้อยู่อาศัย
2) รอยร้าวของบ้านที่มาจากโครงสร้างหลักของบ้าน
เช่น ฐานราก เสา คาน หรือพื้น รอยร้าวประเภทนี้จะนำไปสู่ปัญหาที่ทำให้โครงบ้านเสียหาย หรือเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยได้

ที่มา : //www.design-decor.com/content5.htm


ฉาบอย่างไรไม่ให้บ้านร้าว >>>

การฉาบที่ไม่ถูกวิธีส่งผลให้ปูนที่ฉาบนั้นมีกำลังน้อยหรือมีแรงยึดเหนี่ยวน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ผนังบ้านของท่านร้าว การควบคุมการก่อสร้างให้ดีตั้งแต่ต้นจึงมีความจำเป็น

ก่อนการฉาบปูนนั้น ต้องแน่ใจก่อนว่ามีการเตรียมพื้นผิวเป็นอย่างดี มีการฉีดน้ำรดผนังอิฐให้อิ่มตัว เพื่อป้องกันไม่ให้ผนังก่ออิฐดูดน้ำจากปูนฉาบ การพรมน้ำผนังอิฐก่อนั้นต้องทำก่อนการฉาบ และทิ้งไว้สักพักให้ผิวแห้งพอหมาด เพราะถ้าผนังเปียกเยิ้มเกินไป ปูนฉาบก็ไม่เกาะกับผนังที่ฉาบ

นอกจากนั้นปูนฉาบนั้นควรผสมน้ำยาฉาบปูนซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้ฉาบง่ายและลดการแตกร้าวได้ ในส่วนที่เป็นรอยต่อของผนังกับส่วนต่าง ๆ เช่นผนังกับเสา หรือผนังกับเสาเอ็นควรใส่เหล็กตาข่ายกันการแตกร้าว การฉาบนั้นจะให้ดีต้องให้ช่างขึ้นปูนเค็มเหลวก่อน ต่อด้วยปูนกลาง และทับหน้าด้วยปูนจืด และบ่มน้ำในตอนเช้าของอีกวัน

การฉาบแต่ละชั้นต้องหนาไม่เกิน 1 ซม. เพื่อให้การบ่มตัวเป็นไปในเงื่อนไขใกล้เคียงกันในเนื้อปูนแต่ถ้าหากต้องมีการฉาบที่หนามากๆ เช่น สามสี่นิ้วขึ้นไป ควรตีแบบหล่อคอนกรีตขึ้นมาทดแทนความหนา ก่อนการฉาบจะดีกว่า

เมื่อฉาบเสร็จแล้วปูนและน้ำจะมีปฏิกิริยาเคมีต่อเนื่องประมาณ 20 วัน เป็นอย่างน้อย ระหว่างนี้ปูนจะคายน้ำพร้อมทั้งด่าง ออกมาพร้อมกัน (เพราะฉะนั้นควรทาสีหลังฉาบปูนแล้วอย่างน้อย 20 วัน) การคายน้ำนี้จะเกิดขึ้นรวดเร็วมากที่บริเวณผิวปูน ทำให้ผิวปูนหดตัว และเกิดรอยร้าวเป็นเส้น ๆ (HAIRCRACK) หรือเรียกว่าแตกลายงา เราจึงต้องคอยบ่มน้ำช่วย เพื่อลดการแตกร้าวจาก การหดตัวของปูน การบ่มน้ำ นอกจากจะเป็นการกัน การสูญเสียน้ำ ไม่ให้ปูนหดตัวเร็วจนเกิดอาการร้าว แล้วยังเป็นการบ่มปูนให้มีกำลังแข็งแรงด้วย การพรมน้ำที่ผนังจึงเป็นเรื่องที่ควรทำหลังการฉาบแล้วเสร็จครับ แต่ในแง่การคุมงานนั้นทำได้ยาก เนื่องจากผู้รับเหมาจะอ้างว่า มาตรฐานที่ทำทั่วไปไม่ได้บ่มกัน แต่ถ้าเหลือบ่ากว่าแรงจริง ๆ อย่างน้อยควรขอร้องแกมบังคับให้บรรดาช่างรับเหมา บ่มให้ได้ซักสองวันแรกก็จะช่วยได้เยอะ

นอกจากรายละเอียดต่าง ๆ ที่ผมได้สาธยายมาแล้วนั้น ก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ อีก อย่างเช่นช่างที่ไม่มีประสบการณ์บางคน"ตีน้ำเร็วไป" คือ ปูนยังไม่แข็งตัวพอก็ไปตีน้ำ ทำให้เนื้อปูนฉาบล่อนออกจากผนังหรือปูนฉาบมีดินและสิ่งเจือปนอยู่ในทรายที่ฉาบมากเกินไป ผนังที่ฉาบมีคราบสกปรกเลอะเทอะหรือแม้กระทั่งน้ำที่ใช้ในการผสมปูนฉาบไม่สะอาดเพียงพอ ต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นต้น
ที่มา : //www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=12&ID=210


Create Date : 25 สิงหาคม 2552
Last Update : 22 กันยายน 2552 10:12:53 น. 0 comments
Counter : 7849 Pageviews.
 

Pial
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




[Add Pial's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com