Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2555
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
3 ธันวาคม 2555
 
All Blogs
 

ชีวิตใหม่ ชีวิตที่สอง กับเบาหวานแฝงขณะตั้งครรภ์

 วันนี้จะมาบันทึกเกี่ยวกับอาการเบาหวานแฝงขณะตั้งครรภ์ที่ถูกตรวจพบเมื่อสัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์ค่ะ

เราสามารถควบคุมน้ำหนักให้ขึ้นระหว่าง 0-3 กิโลกรัม จนย่างเข้าเดือนที่ 7 หรือ สัปดาห์ที่ 28 ค่ะ

น้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 4 กิโลกรัม ภายในหนึ่งเดือน ซึ่งคุณหมอสงสัยว่าจะมีภาวะเบาหวาน ซึ่งเราก็ยอมรับ เพราะเราทานของหวานเยอะมาก ทั้งไอศครีม ทานทุกวัน ชานมไข่มุกนี่เพิ่งเคยทาน ก็เริ่มติด ทานบ่อยทีเดียว ขนมหวานแบบไทยๆก็เริ่มทานเยอะ เค้ก โดนัท และของหวานอื่นๆ ทานแบบกระหน่ำซัมเมอร์เซลล์ อีกทั้งข้าวสวย นี่ก็ทานเยอะ พอกับข้าวอร่อยก็ทานข้าวเยอะตามไปด้วย

หมอนัดดื่มน้ำตาล 50 กรัม ๖ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร ดื่มเสร็จก็เจาะเลือด พบว่า น้ำตาลสูงถึง 187 หมดเลยนัดดื่มน้ำตาล 75 กรัม สัปดาห์ต่อไป โดยเราต้องงดน้ำงดอาหารก่อนหน้าตรวจ 8 ชม.

วิธีการตรวจ

1. งดน้ำและอาหารมาก่อน 8-10 ชม.

2.มาถึงก็เจาะเลือด เพื่อเช็คน้ำตาล --> เป็นค่าที่ 1 ค้างเข็มไว้

3. ดื่มน้ำตาล 75 กรัม ผสมน้ำและมะนาว เพื่อไม่ให้เลี่ยน พยาบาลบอกว่าควรดื่มให้หมดภายใน 10 นาที

4. รอ 1 ชม. โดยระหว่างที่รอ เราต้องอยู่นิ่งๆ เพื่อไม่ให้เกิดการเผาผลาญเยอะเกิน

5. เจาะเลือด --> เป็นค่าที่ 2 ค้างเข็มไว้

6. รอ 1 ชม. โดยระหว่างที่รอ เราต้องอยู่นิ่งๆ เพื่อไม่ให้เกิดการเผาผลาญเยอะเกิน

7. เจาะเลือด --> เป็นค่าที่ 3 เอาเข็มออก

 

ผลปรากฏว่า

น้ำตาลค่าที่ 1 ผลเป็น 96 (ค่าที่ดีต้องไม่เกิน 92)

น้ำตาลค่าที่ 2 ผลเป็น 232 (ค่าที่ดีต้องไม่เกิน 180)

น้ำตาลค่าที่ 3 ผลเป็น 178 (ค่าที่ดีต้องไม่เกิน 153)

 

คำอธิบาย ทำไมต้องเจาะหลังดื่มน้ำตาล 75 กรัม

การดื่มน้ำตาลเปรียบเสมือนการทานอาหารที่มีน้ำตาล หลังจากทานไป ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูง จากนั้นจะค่อยๆลดลงต่ำไปเรื่อยๆ จนเมื่อเวลาผ่านไป 1 ชม ค่อยเจาะเลือดดู คือเพื่อเช็คว่าร่างกายของเรา สามารถเอาน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลเพียงไร ถ้าผลคือมีน้ำตาลสูงเกินกว่าที่กำหนด นั่นหมายความว่า ร่างกายมีความบกพร่องในการนำน้ำตาลไปใช้

 

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ -- จะตรวจพบในช่วงประมาณเดือนที่ 6 ขึ้นไปของการตั้งครรภ์
เนื่องจาก รกมีการทำงานสมบูรณ์แล้ว

สาเหตุ -- เกิดจากรกมีการสร้างฮอร์โมนบางชนิด ซึ่งมีฤทธิ์ต้านต่ออินซูลิน  คือ
ไปขวางการทำงานของอินซูลิน  ทำให้ไม่สามารถย่อยน้ำตาลได้  จึงทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูง
และส่งผ่านไปยังทารกในครรภ์

การที่ระดับน้ำตาลที่สูง ถูกส่งผ่านทางรกไปยังทารกในครรภ์ จะทำให้ร่างกายทารกมีการหลั่งอินซูลิน
มากกว่าปกติ  ทำให้ทารกรูปร่างโตกว่าปกติ  และอาจส่งผลให้ทารกมีอาการน้ำตาลต่ำหลังคลอด
และมีปัญหาเรื่องการหายใจหลังคลอดได้

การรักษา -- ทำโดยการควบคุมอาหาร โดยที่อาหารแต่ละมื้อจะสามารถมีคาร์โบไฮเดรทได้ไม่เกิน 45 กรัม (3 Carb -- 1 Carb = 15 gram) ส่วนอาหารไขมันและโปรตีน ไม่ค่อยซีเรียสเท่าไหร่ แต่แนะนำให้เน้นโปรตีนมากๆ ถ้าหิว

และต้องเจาะเลือดหลังทานอาหาร 1 ชม เพื่อตรวจเช็คน้ำตาลโดยที่ค่าต้องไม่เกิน 130-140 จึงจะถือว่าควบคุมอาหารได้

สู้ๆ




 

Create Date : 03 ธันวาคม 2555
2 comments
Last Update : 3 ธันวาคม 2555 16:44:39 น.
Counter : 6056 Pageviews.

 

แวะมาแอบอ่าน

เข้าเดือนที่ 7 แล้วอีกไม่กี่เดือนก็ครบกำหนด

ขอให้สุขภาพแข็งแรงๆ นะคะ

 

โดย: mamyjuzz 4 ธันวาคม 2555 6:01:59 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณเปิ้ล

เขียนบันทึกของลูกไว้แบบนี้ก็ดีนะค่ะ เพราะบางทีนานวันแล้วเราก็อาจจะลืมรายละเอียดปลีกย่อยไปบ้าง

 

โดย: oa (rosebay ) 11 มีนาคม 2556 13:19:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Piterek
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Google
New Comments
Friends' blogs
[Add Piterek's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.