Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
12 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 

Physical Or Chemical Sunscreens?


วันนี้อารมณ์ดี + ขี้เกียจต่อเนื่องจากเมื่อวาน อยากเขียนเรื่องมีสาระใน blog ซักนิด (หลังจากห่างหายจากสาระไปนาาาาาาาาาน ... กะว่าเอาเรื่องกันแดดมาเขียนอีกมุมมองนึง ไม่รู้เหมือนกันว่า โดยรวมแล้วมันต่างไปจากที่เคยเขียนมากน้อยแค่ไหน ลองอ่านดูละกันนะคะ


Physical Sunscreens (aka blockers)
ขอเริ่มต้นที่ความหมายสั้นๆ ของ physical sunscreen ซึ่งหลายๆ คนคงจะรู้กันดี ว่ามันคือ minerals หรือที่เราเรียกว่า แร่ ซึ่งหาได้มาจากธรรมชาตินั่นเอง ... แค่เอามาบดเป็นผงละเอียด ผสมกับของเหลว แล้วก็เอามาฉาบผิวเพื่อป้องกันรังสียูวีทะลวงมาทำร้ายผิว ... การทำงานของมันก็คือจะเป็นตัว block หรือกั้นไม่ใส่รังสียูวีผ่านไป โดยการสะท้อนรังสี UV ออกไปซะ ... ถ้าเราฉาบแร่พวกนี้ทุกส่วนของผิวปิดมิดชิดทุกรูขุมขน รังสียูวีก็จะถูกสะท้อนออกไปหมด ไม่สามารถทะลุทะลวงผ่านไปทำร้ายผิวได้ ... ตัวเรารู้จักกันดีก็เห็นจะเป็น Titanium Dioxide และ Zinc Oxide


Chemical Sunscreens (aka absorbers)
ส่วน chimical sunscreen ที่หลายๆ คนรู้กันดีในชื่อของ absorber หรือ ตัวดูดซับ ... ชื่อก็บอกอยู่แล้ว คือ เป็นสารเคมี ซึ่งเกือบทุกตัวได้มาจากการสังเคราะห์ขึ้นมา (หรือไม่ได้มาจากธรรมชาตินั่นเอง) ... เมื่อเราเอามาฉาบผิว พอมันสัมผัสกับรังสียูวี มันจะทำตัวเป็นตัวดูดซับรังสียูวีไว้ ไม่ให้ทะลวงผ่านไปทำร้ายผิว


เปรียบเทียบกันเล่นๆ
อาจจะคิดกันง่ายๆ ว่า กันแดดคือหลังคาบ้าน ... physical sunscreen (blocker) มันคือสังกะสี ... ส่วน chemical sunscreen (absorber) มันคือฟองน้ำ อะไรทำนองนี้ ... ถ้ารังสียูวีเป็นฝนที่ตกลงมากระทบสังกะสี น้ำฝนมันก็จะถูกสะท้อนกลับออกไป ไม่ทำให้คนที่อยู่ใต้หลังคาเปียก แต่ถ้าหลังคาสังกะสีเป็นรู (ทาไม่ดี ทั่วถึง ทั่วหน้า) ฝนก็จะรั่วลงมาทำให้คนที่อยู่ใต้หลังคาเปียกปอนได้เช่นกัน

ทีนี้ลองมานึกถึง chemical sunscreen (absorber) เปรียบเทียบกับฟองน้ำดู ... นึกถึงหลังคาบ้านที่ทำด้วยฟองน้ำหนาๆ ... เวลาผนตกลงมา มันก็จะจะดูดซับน้ำฝนเอาไว้ ไม่ให้น้ำฝนทะลุผ่านลงมา ทำให้คนอยู่ใต้หลังคาเปียกเช่นกัน ... แต่ถ้าฝนตกนานๆ เข้า ไม่หยุดตกซักที ฟองน้ำชุ่มแฉะไปด้วยน้ำฝน มันก็จะทำให้คนข้างล่างเปียกปอนได้เช่นกัน เพราะฟองน้ำมันไม่สามารถจะดูดซับน้ำได้ไปเรื่อยๆ ... chemical sunscreen ก็เช่นกัน มันไม่สามารถดูดซับรังสียูวีได้เรื่อยๆ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องทาซ้ำเรื่อยๆ ... แล้วทีนี้ถ้าฟองน้ำมันชุ่มไปด้วยน้ำแต่ฝนยังตกอยู่เรื่อยๆ มันจะเป็นยังไง? เหมือนกับที่ตัว absorber มันก็จะปล่อยพลังงานออกมาจากตัวมันกลายเป็น free radicals หรืออนุมูลอิสระ มาทำร้ายผิวเราได้เช่นกัน


ข้อดีข้อเสีย
ปัญหาของ physical sunscreen (blocker) ที่เห็นได้ชัดก็คือ มันมีอนุภาคสีขาว (อย่างที่เคยเรียนฟิสิกส์กันมา ว่าสีขาวสะท้อนแสง) เมื่อทาผิวไปแล้วมันจะเห็นเป็นสีขาววอก ทำให้ดูเหมือนชะนีไปซะ แต่หากใช้แบบ nanoparticle ก็อันตรายร่างกายไปซะอีก ... และแบบ micronized ก็กัน UVA ได้ไม่ครบอีก ... นอกจากนี้ physical sunscreen มันจะหลุดออกมาได้ง่ายกว่า ยิ่งถ้าเอามือถูบ่อยๆ ก็ยิ่งหลุดออกมาง่าย คือ มันไม่ติดทนนานนั่นเอง หากทาแป้บเดียวแล้วหลุด ก็ไม่เกิดประโยชน์เช่นกัน ... นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ physical sunscreen ส่วนใหญ่ใส่สารที่เมื่อทาลงไปแล้วติดหนึบกับผิวเลย ล้างแล้วล้างอีกก็ไม่ออก (อย่างเช่น shiseido ขวดฟ้า เป็นต้น) นั่นก็ไม่ดีเช่นกัน สิวมาเยือน แย่ไปอีก ... นั่นก็แสดงว่า ครีมกันแดดแบบ physical ที่ทาแล้วไม่วอก ล้างออกง่าย ก็อาจจะปกป้องผิวได้ไม่ดีเท่าที่ควรนะคะ ... แต่ถ้าใครไม่ได้ตากแดดจัดๆ ก็ยังถือว่าเป็นทางเลือกที่จัดว่าดีตัวหนึ่ง

ข้อเสียของ physical sunscreen อีกข้อหนึงก็คือ ตัวมันเองอย่างเดียวไม่สามารถกันแดดจัดๆ ได้ (หรือไม่ครอบคลุม UVA ได้ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร) ... อย่าลืมนะคะ ตากแดดจัดๆ กับตากแดดนานๆ ไม่เหมือนกันนะคะ ช่วงความถี่ของแสงแดด กับเวลาในการตากแดด คนละเรื่องกันเลยนะคะ ... ส่วนค่า SPF นี่แทบจะไม่ได้มีความหมายสำหรับเราเท่าไหร่เลย ... แค่ SPF20 หรือ SPF30 ก็เหลือเฟือแล้ว ... จะให้ดีต้องดูว่ากันแดดที่เค้าใช้มันกันได้ครบหรือเปล่า ... ส่วนค่า PA+ หรือ PPD พวกนี้ก็ดูแค่ค่าพวกนี้ข้างกล่องอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องดูด้วยว่าใช้กันแดดตัวไหน กันได้ครบทุกช่วงความถี่หรือเปล่า

ปัญหาของ chemical sunscreen หลักๆ ก็เนื่องจากสารเคมีพวก absorbers สามารถซึมเข้าสู่ผิวได้ ทำให้ต่อมาภายหลังมันจะแปลงร่างเป็นอนุมูลอิสาระกลับมาทำร้ายผิวเราได้ ตัวอย่าง chemical sunscreen ที่มักจะกลายร่างไปเป็นอนุมูลอิสระ ก็คือ Octocrylene, Octyl methoxycinnamate (octinoxate), Benzophenone-3 (oxybenzone) และ Benzophenone-4 (sulisobenzone) ... พูดถึง octinoxate นิดนึง ... เราก็ไม่รู้ว่าทำไม (เพราะว่ามันราคาถูกหรือเปล่า) กันแดดแทบทุกตัวในโลกนี้จะใส่ octinoxate เป็นตัวกัน UVB (ใครรู้วานบอกที) ขนาดพวก blockers ก็ยังต้องใส่ octinoxate ลงไป ทั้งๆ ที่ตัวมันเองก็ใช่ว่าจะเสถียรอะไรมากมาย แถมมีข่าวฉาวว่าอาจจะส่งผลในแง่ลบกับเด็กและคนท้องอีกด้วย

chemical sunscreen แบบที่ค่อนข้างจะปลอดภัย ตอนนี้เห็นจะเป็น Ecamsule (Mexoryl SX) ของ Loreal และ Homosalate ของ Coppertone (แต่ตัวนี้กันได้แค่ UVB เท่านั้น) ... ตัว Mexoryl SX น่าจะถือว่าเป็น chemical sunscreen ที่ดีและปลอดภัยที่สุดในตอนนี้ก็ว่าได้ ... เพราะว่าเป็นกันแดดที่กัน UVA ได้ครบทุกช่วง และยังกัน UVB ได้บางส่วนอีกด้วย ... และก็ถือว่าเป็น chemical sunscreen ที่เสถียรมากๆ ... และยิ่งไปกว่านั้นคือ เป็นกันแดดที่ไม่ซึมเข้าผิว ไม่ก่อให้เกิดปัญหาการแปลงร่างของสารเคมีเป็นอนุมูลอิสระในภายหลัง ... ฟังดูแล้วคล้ายๆ กับ physical sunscreen เลยค่ะ ... ทาแล้วก็ออกแนวๆ physical sunscreen เหมือนกันเลย คือมันขาวๆ วอกๆ หน่อย แต่พอทาทิ้งไว้ซักพักความขาววอกจะจางหายไปค่ะ ... พูดถึงประสิทธิภาพโดยรวมแล้ว เหนือกว่าคู่ชกอย่าง avobenzone มาก


ใช้แบบไหนดีนะ
โน่นก็ไม่สวย นี่ก็ไม่ดี แล้วจะใช้อะไรดี ตัดสินใจยากจริงๆ นี่ขนาดเราดูแค่ว่ามันดีกับผิวรึเปล่า ไม่ได้คิดถึงส่วนผสมอื่นๆ ว่าดีรึเปล่า ติดทนนึเปล่า สีกลืนกับผิวหรือเปล่า มันแผลบหรือเปล่า ... ลองนำแนวคิดนี้ไปใช้กันดูค่ะ

1. พยายามเลี่ยงการถูกแสงแดดเผาจัดๆ เป็นเวลานาน กางร่ม ใส่หมวก ใส่เสื้อแขนยาว แต่ก็อย่าลืมปล่อยให้ผิวได้โดนแสงแดดบ้าง เพื่อให้ร่างกายจะได้ไม่ขาด vitamin D ค่ะ

2. สำหรับการโดนแสงแดดอ่อนๆ ทุกวัน ใช้ physical screen (ตราบใดที่ไม่ใช่ nanoparticle ก็ถือว่าปลอดภัยใช้ได้ ถ้าเป็น nanoparticle ปล่อยเอาไว้ให้กันแดดบนชั้น ใน supermarket เป็นดีที่สุด) หากใครใช้ตัวที่ล้างออกง่ายควรทาซ้ำบ่อยๆ นะคะ (ถึงแม้ว่าจะใช้ physical sunscreen ก็ตาม) และหากต้องออกแดดจัด ควรหาตัวที่ติดทน (ล้างยาก) กว่านี้มาทา

3. หากจำเป็นต้องตากแดดจัดๆ นานๆ หาครีมกันแดดแบบ chemical sunscreen ที่กันได้ครบทุกช่วงความถี่ (โดยเฉพาะ UVA) ติดบ้านไว้ ... อาจจะทาตัว chemical ก่อน แล้วทา physical sunscreen ทับ ... ร่วมด้วยช่วยกันค่ะ ... พอเลิกตากแดด ก็ล้างตัว chemcial sunscreen ออก (เพื่อป้องกันการแปลงร่างเป็นอนุมูลอิสระ) แล้วก็ทา physical sunscreen ที่ใช้อยู่ประจำวัน

4. สำหรับคนที่ผิวไม่บอบบางต่อสารเคมีจนเกินไป และต้องการการกันแดดที่ครบช่วงความถี่ และตากแดดค่อนข้างบ่อย ... มองหา Ecamsule (Mexoryl SX ของ Loreal) เป็นกันแดดตัวโปรดของเราตอนนี้มาใช้แทน (เพราะมันซึมไปตกค้างในผิวในปริมาณที่น้อยมาก) หรือควบคู่ไปกับ physical sunblock ก็ยิ่งดี (ปล. อย่าลืมว่าส่วนผสมอื่นๆ ครีมกันแดดแบบ physical เนี่ย นี่ก็อุดมไปด้วยสารเคมีไม่ใช่น้อยเลย)

สำหรับเราแล้ว เวลาเราเลือกกันแดด เราไม่คิดอะไรมากให้ปวดหัว ... เราเลือกใช้แค่ 2 ตัว เป็นหลัก คือ Mexoryl SX หรือไม่ก็ Zinc Oxide (แบบไม่นาโนเท่านั้น) ... ค่า SPF/PA/PPD ไม่ต้องสูงมากนัก ... เท่านี้ก็ไม่ต้องปวดหัวไปกับการเลือกกันแดด ไม่ต้องปวดหัวว่ากันครบหรือเปล่า ... ที่เหลือก็แค่เลือกว่า ทาแล้วหน้ามันรึเปล่า กลิ่น เนื้อครีมถูกใจหรือเปล่า

ฝากกันไว้อ่านเล่นๆ กันอีกเรื่องนะคะ




 

Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2554
10 comments
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2554 10:33:46 น.
Counter : 10958 Pageviews.

 

มันลำบากตรงที่ใช้ chemical แล้วแพ้นี่สิคะ หากันแดดใช้ยากมาก ๆ เลยเฮ๊อ!

 

โดย: phukboong69 IP: 125.26.164.118 12 กุมภาพันธ์ 2554 9:52:50 น.  

 

ขอบคุณสาระข้อมูลดีๆที่นำมาให้มาตลอด
ติดตามอ่านบล้อคคุณฟีบี้มานานแล้วนะคะ ชื่นชอบมากๆ
ขอให้มีความสุขในวันหยุดมากๆนะคะ

 

โดย: Miss Korea 12 กุมภาพันธ์ 2554 10:05:14 น.  

 

หายไปนานคิดถึง ปกติผมจะลือกที่กันครบไว้ก่อน อยู่บ้านเอา SPF15 ไปทำงiาน SPF30 ออกกลางแจ้ง SPF50 แต่ถ้าดำน้ำ หรือต้องตากแดดจัดจริง ก็จะเลือกแบบ Hybrid ไปเลย

ช่วงนี้แดดเมืองไทย ร้อนโครตครับคุณฟีบี้ แสบผิวกันเลยทีเดียว

 

โดย: คุณไก่ 12 กุมภาพันธ์ 2554 15:10:55 น.  

 

ต้อมก็เหมือนคุณไก่เลยครับ..... กันครบๆไว้ก่อนนี่เลย Olay SPF 24
อยู่ห้องต้อมไม่แทบทากันแดดเลยยกเว้นออกไป 7-11 นิดหน่อย เพราะอยู่อพาร์ตเมนท์ กระจกสำดำ แถมมีผ้าม่านที่หนามาก แสงเข้าได้แค่ไม่ถึง 5% ถ้าปิดไฟแทบแยกกลางวันกลางคืนไม่ออก เพราะชอบอยู่ที่มืดๆ เย็นๆ ฮ่าๆ ออกแนวผีดิบ...
แต่ถ้าออกจากบ้าน ก็ SPF 50 PA +++ ชอบตัว L'oreal UV Perfect มากเลยครับคุณฟีบี้ ใส่มาทั้ง Mexoryl SX/XL แล้วก็ Tinosob S (แต่ก็ยังมี octinoxate)

 

โดย: พ่อมดน้อย (LittleAthena ) 12 กุมภาพันธ์ 2554 15:39:24 น.  

 

แวะมาทีไรได้สาระดีๆทุกที ขอบคุณนะค๊าฟีบี้

 

โดย: ภัทร IP: 216.80.123.244 13 กุมภาพันธ์ 2554 11:58:54 น.  

 

ขอบคุณค่ะคุณฟีบี้ อ่านเติมความรู้เข้าไปอีก ยิ่งคุณฟีบี้เปรียบเปรย แผ่นสังกะสี กับฟองน้ำ เห็นภาพชัดเจนดีค่ะ ^____^

 

โดย: nadtha 13 กุมภาพันธ์ 2554 23:37:39 น.  

 

สอนเก่ง เข้าใจเลยค่ะ เรื่องหลังคาเนี่ย ชอบที่ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

 

โดย: ขอบคุณค่ะ IP: 58.8.236.175 16 กุมภาพันธ์ 2554 1:36:28 น.  

 

สวยน่ารักมากค่ะ บิ๊กอาย

 

โดย: bigeye2u (tewtor ) 12 เมษายน 2554 1:48:32 น.  

 

คุณฟีบี้ยกตัวอย่าง physical, chemical sun screen ได้ดีมากเลยค่า เห็นภาพและเข้าใจมากยิ่งขึ้น ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ นะคะ

 

โดย: ยิ้มแฉ่ง IP: 170.40.250.14 20 สิงหาคม 2555 14:22:30 น.  

 

สวัสดีจ้ะ แว๊ะมาทักจ้าาา rassapoom rassapoom clinic รัสมิ์ภูมิ รัสมิ์ภูมิ คลินิก ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น ศัลยกรรมตาสองชั้น ฟิลเลอร์สะโพก ฟิลเลอร์เสริมสะโพก ฉีดฟิลเลอร์สะโพก ฉีดฟิลเลอร์เสริมสะโพก Morpheus Morpheus Pro ยกกระชับผิว ฟิลเลอร์คาง โปรแกรมฟิลเลอร์คาง Exosome Exosome Plus Exosome Plus+ กระชับช่องคลอด ช่องคลอด Vaginal Vaginal Reju Skin Quality ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ใต้ตา Ultracol ไหมน้ำ Allergan โบ Allergan ฉีดโบ Allergan Super Skin Laser ฝ้า กระ ฝ้า กระ จุดด่างดำ Picocare 450 Laser ร้อยไหม ร้อยไหมคืออะไร Lenisna JUVELOOK สารเติมเต็ม REVIVE BELOTERO REVIVE Rejuran Gouri คอลลาเจน กระตุ้นคอลลาเจน Juvederm Juvederm Volite New Juvederm Volite Radiesse Radiesse Filler Sculptra คอลลาเจน เสริมจมูก ศัลยกรรมเสริมจมูก ปลูกผม FUE ฟิลเลอร์ Filler ฉีดฟิลเลอร์ Thermage Thermage FLX ยกกระชับ ยกกระชับผิว Ulthera EMFACE ยกกระชับ ยกกระชับกล้ามเนื้อ ฉีดแฟต สลายไขมัน ฉีดแฟตสลายไขมัน CoolSculpting Elite CoolSculpting สลายไขมันด้วยความเย็น สลายไขมัน BodyTite ดูดไขมัน Emsculpt สร้างกล้ามเนื้อ ลดไขมัน สอนฉีดโปรแกรมฟิลเลอร์ สอนฉีดฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ ให้ใจ สุขภาพ

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 5702812 22 ธันวาคม 2566 18:41:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Phoebe Buffay
Location :
ทุ่งหญ้า Canada

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 173 คน [?]




"It's Phoebe! That's, P as in Phoebe; H as in hoebe, O as in oebe; E as in ebe; B as in bebe; and E as in ... Ello there mate." Friends

There is no copyright here, unless otherwise specifically mentioned. If you find it useful, just take it. Thanks!

CHAT BOX



LAST UPDATES
LOSEING WEIGHT (BBC)
SKINCARE MINI SERIES
FAVORITES

Friends' blogs
[Add Phoebe Buffay's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.