ไม่เข้าใจ ไม่ต้องเกรงใจ ถามเล้ย
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
28 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 

เชื้อแบคทีเรียดื้อยาได้อย่างไร

คำพูดของเภสัชที่ว่า"กินยาทุกวันจนหมดนะครับ" 


คงเป็นคำพูดติดหูของใครหลายๆคน ที่เวลาไปหาหมอหรือเภสัชที่ร้านขายยา แล้วได้รับยาฆ่าเชื้อกลับมาทาน  ทำใมเราถึงได้ยินวลีนี้มาตลอดเลย เคยสงสัยกันบ้างไหมครับ
อุปมาอุปมัยคล้ายวลีที่ว่า "เด็กดื้อไม้เรียว" ที่นานวันยิ่งต้องเพื่มความแรงขึ้นไปเรื่อยๆ ยาก็เช่นกัน เมื่อเกิดการดื้อยาของเชื้อขึ้นมา ก็อาจต้องเพิ่มขนาดของยาขึ้นเรื่อยๆ หรือบางครั้งอาจต้องเปลี่ยนชนิดของยาไปเลยก็มี


ขอบคุณภาพจากhttps://en.wikipedia.org/wiki/Beta-lactamase

แล้วทำใมถึงต้องย้ำนักย้ำหนาว่าต้อง กินยาทุกวันจนหมด ก็เหมือนกับการขุดราก ถอนโคนฆ่าเชื้อในร่างกายให้หมด เพื่อไม่ให้มีเชื้อหลงเหลือกลายพันธุ์พ้ฒนาตัวเองไปได้อีก(ประมาณว่าเชื้อจะจดจำและพยายามปรับตัวให้ทนต่อยาชนิดนั้นๆ) 
การทานยาให้ครบโด๊สทุกครั้งนอกจากจะทำให้เชื้อไม่ดื้อยาในร่างกายของเราแล้ว ยังทำให้การระบาดของเชื้อดื้อยาในสังคมลดลงด้วย ประมาณว่าช่วยๆกันรับผิดชอบสังคมที่เราอยู่ นักวิจัยก็ไม่เหนื่อยมากกับการต้องพัฒนายาหรือคิดหายาฆ่าเชื้อใหม่ๆ

กลไกการดื้อยาของเชื้อรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่ค้นพบมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังคงศึกษาอย่างต่อเนื่องต่อไปคือ การดื้อของยาที่มีโครงสร้าง beta-lactam

สมัยตั้งแต่ Sir Alexander Fleming ได้ค้นพบยาเพนนิซิลลิน(Penicillin)เมื่อปี2471ซึ่งถือเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ได้จากเชื้อราชนิดหนึ่งที่ชื่อ เพนนิซิลเลี่ยม(Penicillium natatum) จึงได้มีการใช้ยาชนิดนี้ในการรักษาการติดเชื้อต่างๆอย่างแพร่หลาย  แต่หลังจากนั้นไม่นาน เมือปีพศ.2483 มีการค้นพบ เอนไซม์ที่ถูกผลิตจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Penicillinase เอนไซม์ชนิดนี้สามารถทำลายโครงสร้างของยาเพนนิซิลลิน ผลคือยาไม่สามารฆ่าเชื้อให้ตายได้

ขอบคุณภาพจาก//www.chem.ucla.edu/harding/IGOC/B/beta_lactam.html

BETA-LACTAM เป็นชื่อของโครงสร้างทางเคมีของยาเพนนิซิลลิน และแน่นอนรวมถึงยาฆ่าเชื้ออื่นๆที่ถูกพัฒนาขึ้นจากยาชนิดนี้ด้วย โดยเชื้อที่ผลิตเอนไซม์ beta-lactamase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ไปทำลายโครงสร้างวงแหวน beta-lactam ให้แตกออก ส่งผลให้ความสามารถในการฆ่าเชื้อหมดไป
ปัจจุบันเราสามารถจำแนกชนิดของเอนไซม์ beta-lactamase ออกเป็น 4 กลุ่มตามความสามาถในการทำงานของมัน(group 1-4) หรือตามลำดับการเรียงตัวโมเลกุลอีก 4 ระดับ(class A-D) 

สรุปตามความเห็นของผม ปัญหาของการดื้อยาของเขื้อจะไม่หมดไปไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด สังเกตุจากประสบการณ์ของผมที่พบว่า นับจากอดีตเมื่อ10กว่าปีก่อนจนถึงปัจจุบัน มียาปฎิชีวนะใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงการสั่งใช้ยาที่มีขนาดสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งเชื้อโรคในปัจจุบันได้มีการพัฒนาตัวเองไปตามยุคตามสมัย นักวิทยาศาสตร์ก็ต้องรู้จักมันให้มากที่สุดเพือผลิตยาที่มีประสิทธิภาพสูงและในขณะเดียวกันไม่เป็นอันตรายต่อคนด้วย


www.facebook.com/PharmAke
www.twitter.com/LeoAke






 

Create Date : 28 กรกฎาคม 2556
0 comments
Last Update : 28 กรกฎาคม 2556 14:39:38 น.
Counter : 3107 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ยาพิษในปัจจัยสี่
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีครับ เป็นเภสัชกรครับ อยากแชร์ความรู้และประสบการณ์ของตัวเอง เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมบ้าง อะไรบ้าง
New Comments
Friends' blogs
[Add ยาพิษในปัจจัยสี่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.