หมึกสีดำของไผ่สีทอง
ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท เป็นมุนี ศึกษาในทางปฏิบัติถึงมโนปฏิบัติ เป็นผู้คงที่ ระงับแล้ว มีสติทุกเมื่อ,, การไม่ทําบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศลให้ถึงพร้อมหนึง การชําระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง นี่แลเป้นคําสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
26 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 
ประวัติพระบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน

คำนำของคุณ deedi



โพสท์ในลานธรรมเสวนาโดยคุณ : deedi [ 3 ก.พ. 2544 ]



นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ


หนังสือ 'เที่ยวกรรมฐาน' เป็นอัตตชีวประวัติ ของ พระบุญนาค โฆโส หนังสือเล่มนี้ 'สัจจธรรมภิกขุ' ได้จัดพิมพ์เป็นไฟล์เอาไว้ เพื่อเก็บเป็นหนังสืออิเล็คโทรนิคส์ไว้บนอินเทอร์เน็ต (//www.geocities.com/easydharma/ebk_bng.html) เพื่อประโยชน์ใน ทางธรรมในวงกว้างแก่ผู้สนใจปาฏิหาริย์อันยิ่งใหญ่ที่สุดใน สังสารวัฏนี้ กล่าวคือ ปาฏิหาริย์ทางปัญญา ปาฏิหาริย์ที่ประกอบ ไปด้วยปัญญาและความเพียร วิริยะ อุตสาหะ ปาฏิหาริย์แห่งการ ตั้งใจมั่น ตั้งจิต ตั้งเข็มทิศที่แน่วแน่ของพระบุญนาค โฆโส ที่มุ่ง กระทำกายวาจาและใจให้พ้นจากข้าศึกคือกิเลส เดินตามทางเส้น ตรงลัดสั้นที่ตัดตรงไปสู่การออกจากทุกข์ โดยไม่ใส่ใจแวะเวียน หรือนำพาต่อสิ่งอื่นใด อันมิใช่เส้นทางที่ตรง ลัดสั้นที่สุด ที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า คือ 'สติปัฏฐานสี่' เลย



+ + + + + + + + + + + + +
+ +


ปาฏิหาริย์นั้น หากเป็นเรื่องที่ข้องด้วยโลก ข้องด้วยกิเลส ทั้งปวง พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงสรรเสริญ เพราะเหตุว่า ไม่ใช่ ทางแห่งความรู้ คือ รู้โลก รู้ทุกข์ รู้กิเลส รู้ออกจากทุกข์ ดังจะขอคัดคำนิยามจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับ ประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก มาดังนี้ ปาฏิหาริย์ สิ่งน่าอัศจรรย์ เรื่องที่น่าอัศจรรย์ การกระทำที่ให้บังเกิดผล เป็นอัศจรรย์ มี ๓ คือ


(๑) อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์


(๒) อาเทศนาปาฏิหาริย์ ทายใจได้เป็นอัศจรรย์


(๓) อนุสาสนียปาฏิหาริย์ คำสอนมีผลจริงเป็นอัศจรรย์


ใน ๓ อย่างนี้ ข้อสุดท้ายดีเยี่ยมเป็นประเสริฐ


หนังสือ 'เที่ยวกรรมฐาน' โดย พระบุญนาค โฆโส นี้ เป็นหนังสือที่เต็มไปด้วยปาฏิหาริย์ แต่เป็นปาฏิหาริย์ ทางธรรม ปาฏิหาริย์ทางปัญญา ของผู้มีจิตมุ่งมั่นแน่วแน่ ของผู้ทราบความต้องการของตน มุ่งแผ้วถางทาง สู่การพ้นทุกข์มานาน แนวคิด วิธีคิดของท่านและ การดำเนินมุ่งไปสู่หนทางนี้ของท่าน จึงเต็มเปี่ยม ไปด้วยปัญญาอันมุ่งสู่การหลุดพ้น อันน่าศึกษา น่าพิจารณาตามยิ่งนัก


พระบุญนาคฯ อยากออกบวชตั้งแต่อายุได้เพียง ๖ ขวบ และในหนังสือนี้ ท่านออกธุดงค์ทำความเพียร เพื่อความหลุดพ้น จากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร


ในระหว่างการเดินธุดงค์ มีอุปสรรคทั้งภายในและภายนอก ที่พระบุญนาคต้องเผชิญหรือประสบอยู่มากมาย อาทิ ความกลัว (กลัวผี กลัวเสือ) ความไม่เข้าใจจากผู้คนในรายทางที่ท่านต้อง ผ่าน ฯลฯ


ทุกครั้ง พระบุญนาคใช้ปัญญา พิจารณาธรรม วิเคราะห์เหตุการณ์ และแก้ไขสถานการณ์ เพื่อไม่ให้ตนต้องตกอยู่ในกับดักของกิเลส หรือปัญหาเหล่านี้



ทั้งการใคร่ครวญวิเคราะห์กับตนเองและการสอนธรรมให้ธรรม กับผู้คนที่ท่านต้องผ่านพบไม่แง่ใดก็แง่หนึ่ง แสดงให้เห็นถึงผู้ที่ เจริญไปด้วยปัญญา ใช้ปัญญาสอนตนสอนท่าน(คือผู้อื่น อย่างตรงประเด็นและคมยิ่งทางปัญญา)


ธรรมะในหนังสือเล่มนี้ เป็นธรรมะปฏิบัติ เป็นธรรมแห่งปัญญา แท้ๆ เป็นปาฏิหาริย์ทางปัญญาอันพระบุญนาคใช้สอนตนและ ยังได้สอนผู้ที่ได้มีโอกาสได้พบกับท่าน ฟังธรรมหรือเห็นการ แสดงธรรมไม่ว่าทางวาจาหรือการกระทำตนให้ประจักษ์ของท่าน ทั้งหมดนี้ ล้วนชวนขบคิดให้เกิดปัญญายิ่งๆ และยังให้แนวทาง แก่ผู้มุ่งปฏิบัติ มุ่งสำรวจตัวเอง สำรวมกาย-วาจา-ใจ เพื่อการลด-ละ- เพื่อการทุเลาเบาบางจากกิเลส เพื่อการไม่ข้องด้วยหมู่คณะ และสุดท้ายเพื่อมุ่งรู้จักกิเลสและออกจากกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน อันเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง


+ + + + + + + + + + + + + + +




คำนำของ “สัจจธรรมภิกขุ”

ตามที่โพสท์ไว้ในห้องสมุดพันทิพ


ขอเจริญพร


อาตมาได้อ่านหนังสือเล่มนี้ครั้งแรกเมื่อ ๙ ปีที่แล้ว พ.ศ. ๒๕๓๕ นั้นอาจจะเป็นความประทับใจครั้งแรก แม้ว่าจะเป็นการอ่านแบบสนุก ๆ แบบเด็กอ่านนิทาน ก็ตามที แต่เมื่อย้อมมาดูขณะนี้ในวันแล้ว หนังสือ อันเป็นประวัติของพระอาจารย์บุญนาคนั้นมีอิทธิพล กับวิถีชีวิตของอาตมามาตลอด ในยามที่ท้อกับชีวิตนักบวชเมื่อได้อ่านหรือนึกถึงประวัติ ของท่านแล้ว ทำให้อาตมามีกำลังใจที่จะใช้ชีวิตแบบ นักบวชต่อไป ด้วยความคิดที่จะเอาแบบท่านเมื่อครั้ง อ่านประวัติครั้งแรก แม้ว่าระยะเวลาที่ผ่านไปนั้น จะยังไม่ได้กระทำอย่างที่ตั้งใจไว้เดิมก็ตาม แต่ก็ไม่เคย ลืมเลือนความทำใจความตั้งใจที่มีอยู่ก่อนนั้นเลย


เมื่อได้อ่านหนังสือเล่ม ๑ แล้วพิจารณาให้ดีก็จะเห็นว่า เนื้อหาสาระสำคัญนั้น พระอาจารย์บุญนาคท่านได้นำ มาลงไว้ในเล่มหนึ่ง ไว้เกือบหมดแล้ว ตั้งแต่ชีวิตเยาว์วัย จนกระทั้งผ่านการเดินธุดงค์มาหลายปี ท่านก็ได้นำมา เล่าในเล่มหนึ่งหมดแล้ว ส่วนเล่มต่อไปนั้นอาตมาก็ยังไม่ เคยอ่านเหมือนกัน แล้วก็ไม่เคยได้ยินได้ฟังว่าเคยอ่าน เล่มสองมาแล้ว ถ้าได้คุยกับคนที่อ่านเล่มสอง อาตมาก็จะสอบถามว่าท่านพระอาจารย์บุญนาค ท่านได้เล่าอะไรต่อ ๆ อีกแต่เสียดายที่ไม่มีให้อ่าน และก็ไม่ทราบว่าใครเคยอ่านมาบ้าง


ขอเจริญพร.


จากคุณ : สัจจธรรมภิกขุ - [3 ก.พ. 21:21:46]


ความคิดเห็นเพิ่มเติมโดย : (สัจจธรรมภิกขุ)


ฉบับที่อาตมาได้นำมาพิมพ์ออกเผยแพร่นั้น เป็นฉบับเดียวกับของมหากมุฏฯ โดย...พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)


ก่อนที่อาตมาจะนำออกมาเผยแพร่นั้น อาตมาได้ไปที่วัดโสมนัสวิหาร ซึ่งเป็นมีเจ้าพระคุณพระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งตอนนี้ท่านเป็น "พระธรรมวิสุทธิกวี" อาตมาไม่ได้ไปพบท่านหรอก แต่อาตมาไปพบกับพระที่รู้จักสนิทกันในคณะของ "พระธรรมวิสุทธิกวี" อาตมาได้ไปเห็นหนังสือที่ "พระธรรมวิสุทธิกวี" ได้จัดพิมพ์ขึ้น โดยจัดพิมพ์ ที่โรงพิมพ์มหามกุฎฯ อ่านก็บอกความประสงค์กับพระที่รู้จักกันว่าจะนำเอา ประวัติของพระบุญนาค โฆโส นี้เอาไปพิมพ์แล้วนำไปไว้ในอินเตอร์เน็ท เพื่อเป็นการเผยแพร่ พระรูปนั้นก็เห็นดีเห็นงามด้วย แม้ว่าท่านจะใช้เน็ทไม่เป็นก็ตาม ท่านจะให้หนังสือเล่มนี้แก่อาตมา เพื่อนำมาพิมพ์


จากคุณ : สัจจธรรมภิกขุ [ 5 ก.พ. 2544. ]


ความเห็นเพิ่มเติมโดย (weerapong)
[ 4 ก.พ. 2544 ]


เรื่อง"พระบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน" นั้นผมคิดว่าไม่น่าจะมีเล่มที่สองครับ ผมมีเล่มเล็กอยู่เล่มหนึ่ง บังเอิญเพื่อนเอามาฝาก เพราะเป็นแนวธรรมะ ที่เกี่ยวข้องกับอภิญญาจิต ในตอนต้นของหนังสือบันทึกไว้ว่า "เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่บันทึกของท่าน มีอันเป็นต้องจบลงกลางคัน เพราะท่านอาพาธและถึงแก่มรณภาพในที่สุด ณ วัดบรมนิวาส จังหวัดพระนครนี่เอง ราวพ.ศ. ๒๔๘๑

ที่มา : เวป dharma-gateway


Create Date : 26 สิงหาคม 2553
Last Update : 26 สิงหาคม 2553 10:53:10 น. 1 comments
Counter : 1245 Pageviews.

 
จะตั้งใจอ่าน...

เพื่อ...อาจจะเป็นแนวทาง

สาธุค่ะ


โดย: นุ่มณอ่อนนุช วันที่: 26 สิงหาคม 2553 เวลา:18:01:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หมึกสีดำ
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add หมึกสีดำ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.