Star Avenue Travel รับจองตั๋วเครื่องบิน +จองโรงแรมทั้งในและต่างประเทศ //รับทำประกันการเดินทาง //รับทำประกันภัยรถยนต์ พรบ ...
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
23 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
วิเคราะห์แบบพื้นฐาน: ข้อมูลเศรษฐกิจ

ดังที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อปัจจัยที่มีผลกระทบกับราคาหุ้นว่า ตัวแปรที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทน และความเสี่ยง ซึ่งนำไปสู่การกำหนดมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ของหุ้นสามัญ ประกอบด้วยสามตัวแปร คือ ตัวแปรทางเศรษฐกิจ ตัวแปรอุตสาหกรรม และตัวแปรผลประกอบการของบริษัทนั้นๆ ในหัวข้อนี้จะขอกล่าวถึงตัวแปรทางเศรษฐกิจว่าจะส่งผลกระทบต่อการกำหนดมูลค่าที่แท้จริงได้อย่างไร

วัตถุประสงค์การวิเคราะห์แบบพื้นฐานโดยใช้ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
การวิเคราะห์ตัวแปรทางเศรษฐกิจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งแนวโน้มระยะสั้นในช่วง 1 ปีข้างหน้า และแนวโน้มระยะยาวตั้งแต่ 2 ปี ถึง 5 ปีขึ้นไป ว่าสถานการณ์อะไรบ้างที่จะกระทบต่อราคาหุ้น และการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน โดยผู้วิเคราะห์จำเป็นต้องดูทั้งสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ และสภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ เนื่องจากสถานการณ์การเงินในปัจจุบันมีการเปิดเสรีมากขึ้น ดังนั้นสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศอื่นก็สามารถส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน และการลงทุนภายในประเทศได้เช่นเดียวกัน

ตัวชี้วัดและเครื่องมือบ่งชี้ที่นักลงทุนควรใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจ
1.วัฏจักรเศรษฐกิจ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนทราบว่า ณ ขณะปัจจุบันเศรษฐกิจของประเทศ หรือเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงใด ซึ่งปกติวัฏจักรเศรษฐกิจจะแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่ เศรษฐกิจรุ่งเรือง (Peak) เศรษฐกิจหดตัว (Contraction) เศรษฐกิจต่ำสุด (Recession or Trough) และเศรษฐกิจขยายตัว (Recovery)

เศรษฐกิจรุ่งเรือง (Peak) เป็นจุดสูงสุดของวัฏจักร ระบบเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งการผลิตบริโภค
เศรษฐกิจหดตัว (Contraction) เป็นช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มลดลง GDP ต่ำลง การผลิต และการจ้างงานลดลง รายได้ครัวเรือนลดลง
เศรษฐกิจต่ำสุด (Recession) ช่วงเวลานี้การว่างงานสูง ความต้องการสินค้าโดยรวมลดลง สินค้าที่ผลิตขึ้นมาไม่สามารถขายได้
เศรษฐกิจขยายตัว (Recovery) เป็นช่วงที่การผลิต และการจ้างงานเริ่มเพิ่มขึ้น รายได้และรายจ่ายของครัวเรือนสูงขึ้น ทิศทางการลงทุนมีแนวโน้มดีขึ้น
2. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) เป็นเครื่องมือวัดภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลมูลค่าของผลผลิตสินค้า และบริการทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในประเทศ โดยไม่สนว่าปัจจัยการผลิตนั้นจะเป็นของประเทศใดก็ตาม ถ้า GDP เพิ่มขึ้นหมายความว่ามูลค่าของผลผลิตสินค้า และบริการทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในประเทศในปีนั้นเพิ่มขึ้น แสดงว่าเศรษฐกิจในปีนั้นมีแนวโน้มดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้า GDP ลดลงหมายความว่ามูลค่าของผลผลิตสินค้า และบริการทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในประเทศปีนั้นลดลง แสดงว่าเศรษฐกิจในปีนั้นมีแนวโน้มแย่ลง

3. ผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) เป็นมูลค่าผลิตผลของอุตสาหกรรมมวลรวม โดยจำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ โดยปกติผลผลิตอุตสาหกรรมมักจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับวัฏจักรเศรษฐกิจ กล่าวคือถ้าผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น หมายความว่ามูลค่าผลิตผลทางด้านอุตสาหกรรมในปีนั้นมากขึ้น ซึ่งแสดงว่าเศรษฐกิจในปีนั้นจะมีแนวโน้มขยายตัว แต่ถ้าผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงแสดงว่ามูลค่าผลิตผลทางด้านอุตสาหกรรมในปีนั้นน้อยลง แสดงว่าเศรษฐกิจในปีนั้นมีแนวโน้มหดตัว

4. ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index: PPI) เป็นดัชนีที่แสดงการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าจากผู้ผลิต โดยจำแนกเป็นราคากลุ่มผลิตภัณฑ์ และราคาในแต่ละช่วงของการผลิตตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงสินค้าสำเร็จรูป ถ้าดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นแสดงว่าราคาสินค้าประเภทวัตถุดิบมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปที่จำหน่ายแก่ผู้บริโภคจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย ถ้าดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงแสดงว่าราคาสินค้าประเภทวัตถุดิบมีการปรับตัวลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปที่จำหน่ายแก่ผู้บริโภคจะมีการปรับตัวลดลงด้วย
5. อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) เป็นภาวการณ์ที่ระดับราคาสินค้า และบริการโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการวัดอัตราเงินเฟ้อนักลงทุนสามารถหาได้จากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) กล่าวคือ ช่วงที่ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เป็นช่วงที่ดัชนีราคาผู้บริโภคมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น แสดงว่าราคาสินค้าที่ผู้บริโภคต้องจ่ายมีการปรับตัวสูงขึ้น ช่วงที่ภาวะเงินเฟ้อลดลง เป็นช่วงที่ดัชนีราคาผู้บริโภคมีการปรับตัวลดลง แสดงว่าราคาสินค้าที่ผู้บริโภคต้องจ่ายมีการปรับตัวลดลง

6. อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) อัตราดอกเบี้ยที่นักลงทุนควรนำมาพิจารณา ควรเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง และสามารถสะท้อนสภาพคล่องของตลาดเงินได้ดี เช่น อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล (Repurchase Rate) ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนในการกู้ยืมของกิจการส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงถึงภาระทางการเงินที่มากขึ้น ในขณะที่ ถ้าอัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวลดลง จะส่งผลให้ต้นทุนในการกู้ยืมของบริษัทส่วนใหญ่ลดลง ทำให้ภาระทางการเงินของบริษัทต่ำลง และในช่วงนี้บริษัทส่วนใหญ่จะทำการกู้ยืมมากขึ้นเพื่อนำเงินไปลงทุน

7. อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) เป็นตัวเลขที่แสดงอัตราร้อยละของผู้ว่างงานในระบบเศรษฐกิจเทียบกับกำลังแรงงานรวม ซึ่งสามารถบ่งบอกสภาพเศรษฐกิจโดยรวมว่าเป็นไปในทิศทางที่กำลังขยายตัว หรือหดตัว กล่าวคือ ในช่วงที่เศรษฐกิจดี หรือเศรษฐกิจขยายตัว อัตราการว่างงานมักจะต่ำ เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่จะทำการขยายงานจึงต้องมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซา หรือหดตัว อัตราการว่างงานมักจะสูง เนื่องจากบริษัทจะทำการลดจำนวนคนงาน และไม่จ้างพนักงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากจะช่วยให้กิจการมีค่าใช้จ่ายที่ลดลงนั่นเอง

*อ้างอิงจาก //www.tsi-thailand.org
ที่มา blog คุณลีเปรม


Create Date : 23 สิงหาคม 2551
Last Update : 23 สิงหาคม 2551 16:51:29 น. 0 comments
Counter : 121 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุณแม่มือใหม่ เจ้าปัญหา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สองคน สองใจ กลายเป็นหนึ่งเดียว จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด เพื่อนที่กำลังชม Blog
Friends' blogs
[Add คุณแม่มือใหม่ เจ้าปัญหา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.