Star Avenue Travel รับจองตั๋วเครื่องบิน +จองโรงแรมทั้งในและต่างประเทศ //รับทำประกันการเดินทาง //รับทำประกันภัยรถยนต์ พรบ ...
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
23 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
วิเคราะห์แบบพื้นฐาน: การประเมินมูลค่าหุ้น

การประเมินมูลค่าหุ้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักลงทุนใช้เป็นเกณฑ์การตัดสินใจว่าจะซื้อ หรือขายหุ้น โดยเกณฑ์การตัดสินใจของนักลงทุนเกิดจากการเปรียบเทียบระหว่างราคาตลาด ณ ปัจจุบัน กับมูลค่าที่แท้จริงที่ได้จากการประเมิน โดย “นักลงทุนจะตัดสินใจซื้อ หรือลงทุนในหุ้นใดๆ เมื่อราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ในทางตรงกันข้ามจะตัดสินใจขายเมื่อราคาตลาดสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง”

ดังนั้นนักลงทุนจึงควรรู้แนวคิดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าหุ้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบกับราคาตลาด และทำการตัดสินใจว่าจะซื้อ หรือขายหุ้นดี ซึ่งแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการประเมินมูลค่าหุ้นอย่างง่าย ที่นักลงทุนควรทำความเข้าใจ แบ่งออกเป็น 2 แนวคิดหลักๆ คือ
1. การประเมินมูลค่าหุ้นโดยการคิดลดเงินปันผล (Dividend Discounted Model)
2. การประเมินมูลค่าหุ้นโดยวิธีสัมพัทธ์ (Relative Method)
การประเมินมูลค่าหุ้นโดยการคิดลดเงินปันผล
วิธีคิดการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญ ภายใต้แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อที่ว่า นักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นสามัญวันนี้ย่อมคาดหวังผลประโยชน์ หรือผลตอบแทนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตจากการลงทุนในหุ้นสามัญ ดังนั้นราคาหุ้นที่นักลงทุนยอมจ่ายในวันนี้จึงเป็นราคาสำหรับสิ่งที่ตนคาดว่าจะได้รับในอนาคต ซึ่งผลตอบแทนภายใต้แนวความคิดนี้ที่นักลงทุนคาดว่าจะได้รับก็คือ “เงินปันผล” แต่กระแสเงินสดดังกล่าวเป็นกระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมูลค่าของเงินในอนาคตย่อมไม่เท่ากับมูลค่าของเงินในปัจจุบัน ดังนั้นนักลงทุนจึงต้องเทียบมูลค่าของเงินดังกล่าวให้กลับมาเป็นปัจจุบัน โดยใช้แนวคิด “อัตราคิดลด”

อัตราคิดลด (Discount Rate) เป็นตัวเลขที่ใช้เพื่อการแปลงค่าเงินในอนาคตให้เป็นมูลค่า ณ เวลาปัจจุบัน โดยปกติตัวเลขที่ใช้คิดลดสำหรับเงินปันผล ได้แก่ อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการจากการลงทุนในหุ้นนั้น
โดยมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญ (P0) สามารถคำนวณได้จากสูตรดังต่อไปนี้

ภายใต้แนวความคิดนี้มีสมมติฐานที่สำคัญ อย่างหนึ่งคือ บริษัทที่นักลงทุนกำลังจะลงทุนต้องเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจต่อไป ไม่มีวันครบกำหนดอายุ (Going Concern) ดังนั้น เงินปันผลที่นักลงทุนคาดว่าจะได้รับก็จะได้รับต่อเนื่องไปตราบเท่าที่กิจการนั้นยังคงดำเนินอยู่

จากสมการดังกล่าวเมื่อเราคำนวณหาค่าP0ได้แล้วค่าที่ได้จะเป็นมูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) ของหุ้นสามัญ ซึ่งนักลงทุนจะนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับราคาตลาด ณ ปัจจุบัน แล้วตัดสินใจว่าจะซื้อ หรือขาย ตามเกณฑ์ที่ได้กล่าวไปในตอนต้น

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัตินักวิเคราะห์จะเป็นผู้คาดการณ์เงินปันผลในอนาคตที่จะเกิดขึ้นภายใต้สมมติฐานของแต่ละนักวิเคราะห์ ซึ่งนักลงทุนควรทำความเข้าใจสมมติฐานดังกล่าวจากบทวิเคราะห์ที่มีการเผยแพร่จากโบรกเกอร์นั้นๆ ดังนั้นราคาที่ประเมินได้ของแต่ละโบรกเกอร์จึงมีค่าไม่เท่ากัน นักลงทุนสามารถเปรียบเทียบค่าได้จาก Analyst Consensus (SAA Concensus)

การประเมินมูลค่าหุ้นโดยวิธีสัมพัทธ์
วิธีการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญ ภายใต้แนวความคิดนี้ เกิดจากความเชื่อที่ว่านักลงทุนควรจ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นสามัญเป็นกี่เท่าของตัวแปรทางบัญชีต่างๆ เช่น กำไรต่อหุ้น มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น ยอดขายต่อหุ้น หรือกระแสเงินสดต่อหุ้น เป็นต้น ในที่นี้จะขออธิบายเฉพาะตัวแปรกำไรต่อหุ้นเท่านั้น ซึ่งเราเรียกว่า “อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น”

อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio หรือ Price to Earnings Ratio)
อัตราส่วนนี้คำนวณจากราคาปิดของหุ้น หารด้วยกำไรสุทธิต่อหุ้น โดยหลักการคำนวณอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่านักลงทุนจะยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นสามัญเป็นกี่เท่าของกำไรต่อหุ้น


ตัวอย่างเช่น บริษัท GTO รายงานกำไรสุทธิปีล่าสุดที่ 1.5 ล้านบาท โดยราคาตลาดของหุ้น GTO ณ ปัจจุบัน เท่ากับ 20 บาท ดังนั้นค่า P/E Ratio ของหุ้น GTO จะเท่ากับ 13.33 เท่า (20 ÷1.5)


นักลงทุนจะใช้ P/E Ratio ในการตัดสินใจลงทุนได้อย่างไร?


การใช้ P/E Ratio เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน นักลงทุนต้องนำค่า P/E Ratio ที่คำนวณได้ไปเปรียบเทียบกับค่า P/E Ratio ที่เป็นมาตรฐานอ้างอิง(Benchmark P/E) เช่น P/E ของบริษัทที่เป็นผู้นำในตลาด, P/E ของบริษัทคู่แข่ง หรือ P/E ของอุตสาหกรรม โดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้


ถ้า P/E Ratio ของบริษัทที่เรากำลังประเมิน น้อยกว่า Benchmark P/E แปลว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญต่ำกว่าราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ดังนั้นนักลงทุนควร “ซื้อ”

ถ้า P/E Ratio ของบริษัทที่เรากำลังประเมิน มากกว่า Benchmark P/E แปลว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญมากกว่าราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ดังนั้นนักลงทุนควร “ขาย”



จากตัวอย่างในสไลด์ก่อนหน้าซึ่งคำนวณค่าP/ERatioได้ 13.33เท่า สมมติ Benchmark P/E เท่ากับ 10 เท่า นักลงทุนควรซื้อ หรือขาย หุ้น GTO? คำตอบคือนักลงทุนไม่ควรซื้อหุ้น GTO เพราะราคาตลาดในปัจจุบันแพงเกินมูลค่าที่แท้จริง หรือ ในกรณีที่นักลงทุนมีหุ้น GTO อยู่แล้วก็ควรจะขายออกไป

อ้างอิงจาก //www.tsi-thailand.org
ที่มา blog คุณลีเปรม


Create Date : 23 สิงหาคม 2551
Last Update : 23 สิงหาคม 2551 16:46:37 น. 0 comments
Counter : 187 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คุณแม่มือใหม่ เจ้าปัญหา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สองคน สองใจ กลายเป็นหนึ่งเดียว จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด เพื่อนที่กำลังชม Blog
Friends' blogs
[Add คุณแม่มือใหม่ เจ้าปัญหา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.