ธันวาคม 2559

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
25 ธันวาคม 2559
การเห็น เกิด ดับ


    จิตเห็นการเกิดทุกขสัจจ์
 ปฏิจจสมุปบาท  เกิดขึ้นหนึ่งรอบ ในขณะที่จิตมีอวิชชาเกิดสังขาร เกิดกรรม
ไม่ต้องไปคิด ถึงอดีต อนาคต กรรมเกิดได้ตลอดเวลา  กรรมติดจรวจ ไม่ต้องรอชาติไหน
เกิดกรรมในชาติปัจจุบัน  จิตรับกรรมเดี๋ยวนั้น กรรมก็คือทุกข์ 
ทั้งทุกข์ สมมุติบัญญัติ  และทุกขสัจจ์
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี เป็นไปตามกรรม ที่ตัวเองไปยึดติด ที่จิตเกิดอุปาทาน ยึดติดกุศลก็ไปรับบุญ
ยึดติดอกุศลก็ไปรับกรรมชั่ว ตังเองเป็นผู้กำหนดกรรม 
วิญญาณ สัญญา สังขาร เวทนา ของตน ก็เป็นไปตามกรรมที่ตนกำหนดขึ้น
จะไป อยู่นรก  ไปโลกมนุษย์ ไปสวรรค์ ไปพรหม วิญญาณ สัญญา สังขาร เวทนา 
ก็ต้องเป็นไป ติคไป จะไปเอา วิญญาณ สัญญา สังขาร เวทนา ผู้อื่นไม่ได้
สิ่งนี้เรียกว่าอนัตตา

      สัมภเวสี ตั้งแต่สัตว์นรก ถึง อนาคามี ยึดถือในตัวตนทั้งสิ้น
ยังมีอุปาทานทั้งหมด   ยังมีกรรมเป็นที่อาศัย
พระอรหันต์ ไม่มีตน ไม่มีอัตตา ไม่มีอะไรให้ยึด
ทั้งอัตตา และอนัตตา ไม่มีให้ยึด จิตเป็นกลาง ต่อสังขารทั้งปวง
        จิตเห็นนิโรธ  การดับทุกข์
เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ 
เพราะสังขารดับ  วิญญาณจึงดับ 
เพราะวิญญาณดับ  นามรูปจึงดับ 
เพราะนามรูปดับ  สฬายตนะจึงดับ 
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ 
เพราะผัสสะดับ  เวทนาจึงดับ 
เพราะเวทนาดับ  ตัณหาจึงดับ 
เพราะตัณหาดับ อุปทานจึงดับ 
เพราะอุปาทานดับ  ภพจึงดับ 
เพราะภพดับ  ชาติจึงดับ 
เพราะชาติดับ  ชรามรณะจึงดับ 
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็ดับ  ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้ง
ปวงดับ ไม่เกิดกรรม
         ประโยชน์ของทุกข์
ความทุกข์ ทำให้เกิดศรัทธา 
ศรัทธา ทำให้เกิด ปราโมทย์
ปราโมทย์  ทำให้เกิด ปีติ
ปีติ  ทำให้เกิด  ปัสสัทธิ
ปัสสัทธิ ทำให้เกิด  สุข
สุข   ทำให้เกิด  สมาธิ
สมาธิ  ทำให้เกิด ยถาภูตาญาณ
ยถาพูตาญาณ  ทำให้เกิด นิพพิทาญาณ
นิพพิทาญาณ   ทำให้เกิด  วิราคะ
วิราคะ   ทำให้เกิด  วิมุติ
วิมุติ  ทำให้เกิด  ญาณ รู้วิมุติ
ญาณ รู้วิมุติ  ทำให้เกิด  สิ้นไปอาสวะ



Create Date : 25 ธันวาคม 2559
Last Update : 25 ธันวาคม 2559 17:34:29 น.
Counter : 614 Pageviews.

4 comments
  
สัจจญาณ หมายถึง ญาณในการหยั่งรู้อริยสัจแต่ละอย่าง 1รอบ ในอริยสัจจ์4 มี 4 อาการ

กิจจญาณ หมายถึง ญาณในการหยั่งรู้กิจในอริยสัจ 1รอบ ในอริยสัจจ์4 มี 4 อาการ

กตญาณหมายถึงญาณในการหยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจ 1รอบในอริยสัจจ์4 มี4 อาการ

รวม 3 รอบ รวม มี 12 อาการ

ผู้ไม่รู้ใน ญาณทั้ง 3 จะไม่เห็นในอริยสัจจ์4

เป็นปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จะต้องมีในอเสขบุคคล ทุกคน

ปฏิจจสมุทบาท 12 ขั้น ประกอบในอริยสัจจ์4

ปริยัติ=สัจจญาณ=อวิชชา +สังขาร+วิญญาณ+นามรูป เป็นอดีตกาล ที่รู้ในความจำในตำรา

ปฏิบัติ=กิจจญาณ =สฬายตนะ+ผัสสะ+เวทนา+ตัณหา เป็นปัจจุบันกาล กำลังปฏิบัติรู้เป็นปัจจุบัน

ปฏิเวธ=กตญาณ=อุปาทาน+ภพ+ชาติ+ชรามรณะ กองทุกข์ทั้งปวง เป็นอดีตกาล เกิดขึ้นในปัจจุบัน ภพ ภาระทางใจเกิดขึ้นแล้ว มี ชาติ เกิดขึ้นแล้ว แต่ต้องไปรับผล เบื้องหน้า

สมุทัยเป็นสิ่งที่จะต้องวางไม่ไปยึดติด จึงต้องทำปฏิบัติในกาลปัจจุบันให้เห็นสมุทัยคือตัณหา อุปาทาน
เมื่อเห็นนิโรธ ว่าจะดับตัณหาอย่างไร มรรคเกิดแล้วมี ศีล สมาธิ ปัญญา แล้ว ก็รู้วิธีข้อปฏิบัติ
ก็สามารถดับตัณหาได้สมุทัยเป็น สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรรู้ ว่ามีอุปาทาน มีตัณหา จะต้องดับ ตัณหา อุปาทานจีงจะดับ ในปฏิจจสมุปบาท เมื่อตัณหา ดับ ก็สามารถดับไปถึง อนาคตกาลไปตัด อุปาทานไม่เกิดภพ เกิดชาติ และดับย้อนไปอดีตกาล ที่มีอวิชชา มาไม่รู้กี่ภพ กี่ชาติ อวิชชาดับ ก็เกิดวิชชา จิตเป็นวิมุติ
โดย: ปริวัตร์3 อาการ12 (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 31 ธันวาคม 2559 เวลา:9:45:04 น.
  
ธรรมะเกี่ยวเนื่องกันไม่ปน เป ดูแล้วก็ไม่เข้าใจก็เหมือน ปน เป
สัจจญาณ รู้ในปริยัติ ให้เข้าใจอริยสัจจ์4คือ รู้1รอบ มี4อาการ
รอบที่1 รู้ มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ในขั้น ปริยัติให้เข้าใจ ตามความเป็นจริงถึงเรียกว่า1รอบ
กิจจญาณ รู้ในการปฏิบัติ ให้เห็นอริยสัจจ์4คือ รู้รอบที่ 2 มี4อาการ
รอบที่2รู้ มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ในขั้น ปฏิบัติให้เห็น ตามความเป็นจริง ถึงเรียกว่า2รอบ
กตญาณ รู้ในปฏิเวธ ให้เห็นผลในอริยสัจจ์4คือ รู้รอบที่3 มี4อาการ
รอบที่3รู้ มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ในขั้นปฏิเวธ ให้เห็นผล ถึงเรียกว่า3รอบ ครบจำนวน
คำว่ารอบ จะต้องเริ่มที่ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่แยกจากกัน เรียกว่า1รอบ
1 รอบมี 4 อาการ 3รอบเป็น12อาการ
และอริยสัจจ์4 ก็กำเนิดมาจาก ปฏิจจสมุปบาท ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้
และนำมาประกาศ ศาสนา โดยนำมาสอนปัจจวัคคี พระโกณทัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรมได้ชื่อว่า อัญญาโกณทัญญะ
ทำให้เกิด พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้น เป็นครั้งแรกในโลก
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์
ปฏิจจสมุปบาท ก็คือ รวมโดยย่อคืออริยสัจจ์4 นั่นเอง
เป็นธรรมะอันเดียวกัน ไม่ได้ปนเปกันเลย
เปรียบเทียบเด็กกินข้าว เอาช้อน เอาซ่อม เอาจาน มา เทอาหารใส่จาน
ถ้าเป็นเด็กเล็กที่ไม่เคยทำมาก่อน ก็จะเทอาหารหกเลอะเทอะ ใช้ช้อน ใช้ซ่อมไม่เป็น
ถ้าเป็นเด็กโตมีการศึกษามาบ้างก็รู้วิธีทำ วิธี ใช้ การที่จะกินอาหาร ก็ต้อง เทอาหารใส่จาน
รู้จักตักอาหาร ใส่ปาก ของชาม ช้อน ซ่อม อาหาร จะต้องอยู่รวมกัน ไปแยกอยู่คนละทางไม่ได้ เช่นกันที่ ทุกข์ สมุทัย นิธรธ มรรค จะต้องรู้ร่วมกัน อยู่ร่วมกัน แยกกันไม่ได้
ถ้าแยกกันอยู่ก็ไม่เป็นอริยสัจจ์4 รู้มรรคอย่างเดียวก็ไม่ได้ รู้แต่ทาง แต่ไม่รู้นิโรธ ไม่รู้ข้อปฏิบัติของการดับทุกข์ ไม่รู้สาเหตุของทุกข์ ก็ไม่รู้ว่าจะกำหนดทุกข์อย่างไร เพราะไม่รู้จักทุกข์
ฉนั้น
สัจจญาณ รู้ปริยัติ จะต้องรู้ให้รอบคือ รู้พร้อมกันในอริยสัจจ์4 ให้ครบองค์ จึงถือว่าครบหนึ่งรอบ เป็นอดีตธรรม
กิจจญาณ รู้ปฏิบัติ เป็นปัจจุบันธรรม รู้ให้เป็นปัจจุบัน
คือรู้ลมหายใจเข้าออก กายที่กาย เวทนาที่เวทนา จิตที่จิต ธรรมารมณ์ที่ธรรมารมณ์
ให้เป็นปัจจุบัน แล้วธรรมะอื่นๆจะเกิดขึ้นตามมาเอง ไม่ต้องไปนึก ว่าสิ่งนี้เป็น วิญญาณ
สิ่งนี้เป็นสังขาร สิ่งนี้เป็นเวทนา สิ่งนี้เป็นสัญญา ไม่ต้องไปนึกว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย
เกิดกับทุกคน ไม่ต้องไปนึกว่าเป็นอนิจัจง ไม่ต้องไปนึกว่า เป็น ไตรลักษณ์
ไม่ต้องไปนึกว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เพราะการนึก จะถูก สัญญา สังขาร
ไปปรุงแต่งให้จิตหลง ในสัญญา สังขารนั้น ไปปรุงแต่งให้เราไม่รู้เวทนาที่แท้จริง
ไม่เป็นธรรมชาติ ไม่เห็นเวทนา อุปาทานไปยึดใน ตัณหาในสัญญา
ในสังขารที่ไม่เป็นปัจจุบันธรรม
กตญาณ รู้ปฏิเวธ จิตจะรู้เห็นผลจากการปฏิบัติ เห็นโพธิปัฏขิยธรรมครบองค์37ประการ เป็นอริยมรรคสมังคีย์
โดย: ธรรมะเกี่ยวเนื่องกันไม่ปน เป (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 31 ธันวาคม 2559 เวลา:9:46:21 น.
  
ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้
สมุทัย สาเหตุแห่งทุกข์ เราต้องรู้ แล้วจึงวางลงแล้วจึงรู้จักละในเวลาต่อ
ถ้าไปละเสียก่อนเราก็ไม่รู้จักทุกข์เราก็กำหนดทุกข์ไม่ได้
นิโรธ ทำให้เข้าใจ ให้รู้ปัญหา ว่าเราจะดับอะไรที่เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ คืออุปาทาน
ตัวยึดติดในตัวตน ถ้าเราไม่ไปยึดติดในกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา มันก็ไม่เกิดทุกข์
ตัณหาดับ ก็ไม่เกิดอุปาทาน
มรรค ต้องทำให้เจริญ สัมมาคือทำความชอบ ความดี ทำกุศลให้เจริญ
มรรคคือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือ
ทำศีลให้บริสุทธิ์ สัมมาฝ่ายศีลเกิด
ทำสมาธิให้เป็นสัมมาสมาธิ สติก็เป็นสัมมาสติ เพราะ สมาธิ กับสติเกิดพร้อมกันคู่กันแยกกันไม่ออก
ทำให้ปัญญาเจริญ สัมมาฝ่ายปัญญาเกิด
ในโลก ปุถุชนนี้ไม่มีทางที่จะเห็นความสุขที่แท้จริง มีแต่ทุกข์
นอกจากพระอริยะ จึงจะได้สัมผัสกับความสุขที่แท้จริง
ที่เราเห็นว่าสุข เพราะเราหลงทุกข์ว่าเป็นสุข
และสุขในฌาณก็ไม่ใช่สุขที่แท้จริง เป็นสุขที่ไม่เที่ยง
ไม่ใช่สุขในพระนิพพาน
โดย: สุขที่แท้จริง (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 31 ธันวาคม 2559 เวลา:9:47:19 น.
  
เวลาทำอะไร ทั้งทางโลกทางธรรมถ้าทำโดยไม่บริสุทธิ์ใจ
ก็ทำได้ไม่ดีทั้งนั้น ทำเพราะความโลภ ความโกรธ ความหลง
งานที่ออกมาก็ดูไม่ดี ทำเพราะต้องการสิ่งแลกเปลี่ยน
ทำเพราะขี้เกียจ ฟุ้งซ่าน ท้อแท้ ไม่กระจิตกระใจทำ
โดนบังคับให้ทำ โมโห ลังเลจะทำดีหรือไม่ดี ก็ทำส่งๆๆไป
ในสมาธิก็เช่นกัน ทำเพราะอยากได้สมาธิเร็ว อยากได้ความสงบเร็วๆ
อยากได้ความนิ่งเร็วๆ เกิด ฉันทะกาม ขึ้นมา
อารมณ์ขุ่นมัว แล้วมาทำ จิตใจก็หนัก กายก็หนัก เก็กไปหมด
ใจฟุ้งซ่าน เกิด ความท้อแท้ เกิดความลังเล จะทำดีหรือไม่ดี
ทำไปก็ไม่ได้อะไร เลิกดีกว่า สิ่งเหล่านี้คอยขัดขวางเราไม่ให้เราทำสมาธิ
การที่จะทำสมาธิให้เป็นสุข คือ
ต้องมีศีล บริสุทธิ์
ต้องมีขันติ
ต้องรู้ปริยัติ มีสัจจญาณ
ต้องรู้ข้อปฏิบัติ มีกิจจญาณ
ต้องรู้ปฏิเวธ มีกตญาณ
ศีล บริสุทธิ์ รู้ข้อปฏิบัติ ในสมมุติสัจจะ
เราจะปฏิบัติได้ง่ายและเป็นใจสุข
ทำให้กายเบาใจเบา
ใจเบาก็ใจเป็นสุขใจเป็นกุศล เป็นบุญ
ระงับนิวรณ์ได้ในที่สุด
มีผู้เข้าใจว่ามรรค เอามาดับทุกข์ได้
มรรคเป็นวิธีทางที่จะดับทุกข์
จะต้องรู้นิโรธเท่านั้นที่นำมรรคมาปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
นิโรธเป็นตัวรู้ว่าสาเหตุของทุกข์คืออะไร แล้วดับอย่างไร
มรรคเป็นศีล สมาธิ ปัญญา
เป็นทาวที่ทำให้เห็นว่าทางนี้สามารถนำไปใช้ในการดับทุกข์ได้
จึงต้องอาศัยนิโรธ เอาไปใช้ปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์เท่านั้น
โดย: มรรคไม่ใช่ตัวดับทุกข์ (สมาชิกหมายเลข 3481473 ) วันที่: 31 ธันวาคม 2559 เวลา:9:57:47 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
MY VIP Friends