พฤศจิกายน 2559

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
18 พฤศจิกายน 2559
หมอโรคจิต
หมอโรคจิต
จิตปุถุชนจะเป็นโรคจิตกันทุกคน จิตปุถุชนถูกกิเลสกัดกิน จิตปุถุชนไม่รู้จักกิเลส จิตปุถุชนไม่เห็นกิเลส

จิตปุถุชนเปรียบเป็นแพทย์ฝึกหัด กิเลสเปรียบเป็นเชื้อโรค เป็นเชื้อที่ธรรมดามาก เป็นเชื้อไข้หวัดธรรมดา

แพทย์ฝึกหัดรักษาโรคไม่ชำนาญ วินิฉัยไม่รู้ว่าเชื้อโรคอะไร ให้ยาแก้ไม่ถูกกับโรค นานเข้าเชื้อโรคก็ดื้อยา

จิตปุถุชนถูกกิเลสกัดกิน จิตปุถุชนไม่รู้จักกิเลส จิตปุถุชนไม่เห็นกิเลส นานเข้ากิเลสครอบงำจิต

แพทย์ฝึกหัดเรียนจบหลักสูตร รักษาคนไข้ได้แต่ไม่ชำนาญ ยังวิเคราะห์เชื้อโรคไม่ได้ ให้ยาผิด ปริมาณยาไม่ตรง

เหมือน จิตปุถุชน ที่รู้กิเลส รู้ตามตำรา ตามความจำเรียกว่ากิเลส ไม่เห็นว่ากิเลสเป็นอย่างไร จะกำจัดกิเลสได้อย่างไร

จิตปุถุชน โกรธ รู้ว่า โกรธ ไม่เห็นว่าความโกรธเป็อย่างไร ไม่รู้จักทำความโกรธให้หายไป จับความโกรธไม่ได้

ผู้ที่ทำให้โกรธหนีไปแล้ว ตนยังไม่หายโกรธหยุดโกรธไม่ได้ จะนึกละความโกรธก็ไม่ได้ ความโกรธไม่ยอมไป

จิตเป็นที่อยู่ที่อาศัยที่กินของกิเลส จะไล่อย่างไรกิเลสไม่ยอมไป กิลสดื้อเหมือนเชื้อโรคดื้อยา เพราะเราไม่เห็นกิเลส

เหมือนนายแพทย์ไม่รู้จักเชื้อโรค วินิจฉัยโรคผิดให้ยาผิด เชื้อโรคเกิดดื้อยา ขึ้นมา จะกำจัดอย่างไรเชื้อก็ไม่ตาย

เหมือนจิตปุถุชนที่รู้จักทำสมาธิ แต่ได้แค่ขณิกสมาธิ รู้ โลภ โกรธ หลง เป็นอย่างไร แต่ไม่เห็นว่าจิตมี โลภ โกรธ หลง เป็นอย่างไร

จิตปุถุชนที่รู้จักทำสมาธิ ได้แค่ขณิกสมาธิ ก็เหมือนนักเรียนแพทย์ มีความรู้ไม่ถึงกระพี้

จิตปุถุชนที่รู้จักทำสมาธิ ได้อุปจาระสมาธิ เปรียบเหมือนเป็นนายแพทย์ มีความรู้ถึงกระพี้แต่ไม่ถึงแก่น

จิตปุถุชนได้อุปจาระสมาธิ เห็นกิเลส รู้จัก กิเลส แต่ไม่เห็นทางกำจัดกิเลส ไม่เห็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกิเลส

จิตปุถุชนจะรู้มรรค เป็นมรรคทางโลก มรรคเท่ากับ ศีล สมาธิ ปัญญา แต่เป็น ศีล สมาธิ ปัญญาทางโลก

โจร ก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา คืออกุศลศีลโจรที่มีสัจจะ ก็มีศีล โจรไม่ฆ่าสัตว์ก็มีศีล โจรมีปัญญา รู้ว่าจักวางแผนปล้น

จิตปุถุชน ก็มีมรรค คือ รู้จักคิด รู้จักพูด รู้จักทำงาน มีสติ มีสมาธิ มีความเพียร รู้จักอยู่ รู้จักกิน รู้จักการปฏิบัติ

จิตปุถุชน รู้จักทุกข์ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นสาเหตุทำให้เกิดทุกข์ ไม่รู้จักกำจัดทุกข์ ไม่เห็นข้อปฏิบัตฺท่ีจะกำจัดทุกข์ ไม่เห็นอริยสัจจ์

เพราะ จิตปุถุชน ไม่เห็นสัมมามรรค ไม่รู้จัก ไม่เห็น โพธิปัฏขิยธรรม ไม่เห็นอริยมรรคสมังคีย์

เหมือนนายแพทย์ รู้จักเชื้อโรคมากขี้น แต่วิเคราะห์โรค ไม่เป็น หาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไม่ได้

ให้ยาฆ่าเชื้อโรคได้ แต่กำจัดไม่หมดเชื้อตายไม่หมด กลายเป็นเชื้อดื้อยา นายแพทย์ก็เป็นทุกข์

นายแพทย์ ทำการศึกษาค้นคว้า ทำการเพาะเชื้อเพื่อวิเคราะห์ หาสมมุติฐานของโรค หาสาเหตุของโรค

เหมือนจิตปุถุชนที่มีสมาธิ มีสตื ถึงอัปปนาสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ สัมมาสติ จิตเป็นฌาณ มีวิปัสสนา

จิตเป็นฌาณหนึ่ง จิตรู้จักคิด รู้จักดูทุกข์ จิตเริ่มรู้จัก หาสาเหตุการเกิดทุกข์ จิตเริ่มรู้จักหาหนทางที่จะทำให้พ้นทุกข์

จิตเริ่มหาข้อปฏิบัติที่จะพ้นทุกข์ แต่จิตไม่เห็นชัดเพราะสมาธิ สติ ฌาณยังอ่อน เหมือนเด็กอนุบาล พึ่งเริ่มหัดอ่าน หัดเขียน

จิตเป็นฌาณสอง จิตรู้ถึงกระพี้ เห็นกิเลสบ้างไม่เห็นบ้าง ก็เกิดความดีใจ เกิด ปีติ ซาบซ่านไปทั่วกาย น้ำหู น้ำตาไหล

จิตเป็นฌาณสาม จิตเมื่อรู้ว่ากิเลสเป็นอย่างไร กิเลสอย่างหยาบได้เบาลง เกิดกายเบาใจเบา เกิดเป็นสุขในสมาธิ

จิตจะต้องมีสติที่จะรู้สุข สุขที่เกิดจากสมาธิ เกิดขึ้นดับไป จิตไปยึดติดในสุขสมาธิ ยึดสุขสมาธิเป็นของตน สมาธิจะไม่ก้าวหน้า

จิตเป็นฌาณสี่ จิตมีสมาธิ สติสัมปชันยะที่มีกำลังมาก มีสัมมาสมาธิ กว้างรอบโลก มีสัมมาสติรู้ทั่วภายในกายภายนอกกาย

สัมมาสมาธิ สัมมาสติ รู้ควบคู่ไปด้วยกัน จิตเป็นศีลอย่างยิ่ง จิตเป็นฌาณที่มีวิปัสสนาพร้อม ทำให้จิตมีปัญญาแหลมคม

เหมือนนายแพทย์ทำการค้นคว้า เห็นสมมุติฐานของเชื้อโรค เห็นสาเหตุของเชื้อโรค เห็นที่มาของเชื้อโรค

นายแพทย์มีความรู้เพิ่ม เป็นด็อกเตอร์ เป็นอาจารย์หมอ ก็ยังหายาฆ่าเชื้อดื้อยา ที่ตนเป็นผู้ก่อขี้นตอนเป็นแพทย์ฝึกหัดไม่ได้

นายแพทย์อาจารย์หมอ ก็มุ่งมั่นหาทางที่จะกำจัดเชื้อโรคดื้อยานี้ให้ได้ ก็ได้เห็นทางมีอยู่ 8ทาง ก็เริ่มลองดูทีละทาง

เหมือนกับจิตที่เป็นฌาณ วิปัสสนาญาณเกิดจิตจะเห็นทางที่จะกำจัดกิเลส จิตเห็นทุกข์ เห็นกิเลส เห็นสาเหตุที่เกิดกิเลส

จิตไม่รู้ข้อปฏิบัติว่าจะกำจัดกิเลสอย่างไร จิตรู้อยู่ เห็นอยู่ ว่ากิเลสเป็นอย่างไร จิตหาหนทางอยู่ หาข้อปฏิบัติอยู่

เหมือนนายแพทย์อาจารย์หมอ ปรึกษากับแพทย์ในวงการแพทย์ หาวิทยาการใหม่ๆ หาวิธีทุกหนทาง ก็หาไม่พบวิธี

นายแพทย์อาจารย์หมอ จิตเกิดความเบื่อหน่าย นึกถึงอดีตที่ตนทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ทำให้มีคนตายมากมาย

เกิดความสมเพชตนเอง อยากจะหลุดพ้นจากความเป็นหมอ แต่ตนยังยึดติดในความเป็นหมอ จึงคิดอยู่ในกรอบของแพทย์

จิตปุถุชนก็หาหนทางทุกหนทาง หาข้อปฏิบัตินึกย้อนกลับ ดูโพธิปัฏขิยธรรม รู้ ในความจำ ไม่เห็น ความจริง จิตก็ เบื่อหน่าย

จิตเห็นการเกิดการดับ ของตน จิตเกิดกลัว ที่จะเกิดจะดับ จิตเกิดการเบื่อหน่ายในการเกิดการดับ จิตเกิดความวางเฉย

จิตเกิดญาณเห็นวิธี ข้อปฏิบัติ มรรคที่เห็นเป็นสัมมามรรค รวมกับโพธิปัฏขิยธรรม เป็นอันเดียว อริยมรรคสมังคีย

เป็นเอกคตารมณ์ มีอารมณ์ เป็นเลิศ มีอารมณ์เห็นอริยมรรคสมังคีย รวมเป็นสิ่งเดียวมีอารมณ์เป็นเลิศ อารมณ์เห็นรู้แจ้งตลอด

เหมือน นายแพทย์อาจารย์หมอ นั่งเบื่อ ไม่ยึดติดว่าตนเป็นหมอ ก็มีความคิดนอกกรอบของหมอ รู้ถึงความทุกข์ของคนไข้

ตั้งใจรักษา ก็จะหาหนทางรักษาได้ ไม่ทำให้เกิดเชื้อดิ้อยาไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย ก็เกิดความคิดเพาะเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อดื้อยา หายารักษาได้



Create Date : 18 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2559 21:03:47 น.
Counter : 376 Pageviews.

1 comments
  
โดย: สมาชิกหมายเลข 3481473 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2559 เวลา:21:04:24 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments
MY VIP Friends