Air SurOundinG mE liKe mY besT frIendS !
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
20 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
แซ ดอน รอง (Xe đòn rồng) ส่งศพ




แซ ด่อน รอง ( xe đòn rồng)
ก็คือรถลากที่มีลักษณะเหมือนเกวียนทำเป็นรูปมังกร
ใช้ในการเคลื่อนศพไปฝังของชาวไทยเชื้อสายเวียตนาม
คำว่า  xe đòn rồng นี้เป็นคำเรียกแบบเป็นทางการของชาวต้นผึ้ง-ดอนโมง
และชาวบ้านใหม่ที่มีพื้นที่อยู่ติดกัน



แต่บางชุมชนในนครพนม เช่น ชาวโพนบกจะเรียกว่า
แซ ตาง (Xe tang) หรือ แซ ด่อน (Xe đòn)

แต่ที่ชาวบ้านต้นผึ้ง-ดอนโมงทั่วไปนิยมเรียกกันอย่างลำลองว่า
แซ-บอ (Xe Bò) แปลว่า "รถวัว" หรือ "เกวียนวัว"
เป็นการเรียกเพื่อไม่ให้ดูซีเรียสเกินไป

แซ ด่อน รอง นี้เดิมจะมีโรงเรือนจอดเก็บไว้ท้ายหมู่บ้าน
เมื่อต้องการจะใช้ก็มาลากไป เสร็จงานที่สุสานแล้ว
ก็ลากกลับเข้ามาเก็บในหมู่บ้านอีกครั้ง
ซึ่งคนรุ่นหลังคงจะรู้สึกแปลก ๆ ที่ต้องลาก แซ ด่อน รอง จากสุสาน
เข้ามาในหมู่บ้านอีกจนเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วมีการปรับพื้นที่
สุสานให้เรียบร้อย (เมื่อก่อนเป็นป่าทึบ)
มีการสร้างศาลาพักศพไว้ทำพิธีที่สุสาน
จึงมีการกั้นห้องสำหรับเก็บ แซ ด่อน รอง นี้รวมทั้งอุปกรณ์บางส่วนที่ต้องใช้
ในพิธีเคลื่อนศพ เช่น เสาธง เหล็กพาดหลุมศพ
และรถเข็นเล็กที่ใช้ใส่รูปผู้ตายและ
ใช้ติด Lá triệu (หลา เจี่ยว หรือ ง่าย ๆ คือหนังสือเดินทางของผู้ตาย)
ไว้ที่ศาลาพักศพนี้ด้วย




เช้าของวันทำพิธีเคลื่อนศพไปทำพิธีฝัง (lễ hạ huyệt)
บรรยากาศยามเช้าที่สุสานเงียบสงบมีคนงานทำงานอยู่บางส่วน



สุสานบ้านต้นผึ้ง-โดนโมงตั้งอยู่ในที่พื้นที่ดอน
มีพื้นที่ฝังศพเหลืออีกมากทางด้านล่าง เพราะคนนิยมฝังศพกันฝั่งด่านบน



และหลังจากชายฉกรรจ์เตรียมหลุมศพเสร็จก็จะมาเปิด
ห้องเก็บแล้วช่วยกันฉุดลาก แซ ด่อน รอง และรถคันเล็กออกมา



แซ ดอน รอง ก็คงจะหนักไม่น้อยแต่ก็คงดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนที่มีการบุยาง
ไว้รอบ ๆ ล้อเกวียนทำให้ลดความฝืน และช่วยลดแรงในการเข็นได้มาก



กลุ่มชายฉกรรจ์ที่ยังมีเรี่ยวแรงเหลือเฟือเหล่านี้
คือเรียวแรงสำคัญของพิธีเคลื่อนศพและฝังศพของที่นี่ครับ
เค้าก็จะช่วยกันฉุดลาก แซ ด่อน รอง ไปตามทางเข้าหมู่บ้าน



ส่วนรถคันเล็ก ก็ยกใส่ท้ายรถกะบะขับตามไปห่าง ๆ



เมื่อถึงบ้านงานศพก็จะช่วยกันทำความสะอาดเช็ดถูให้เรียบร้อย
โดยมาก แซ ด่อน รอง นี้จะจอดเทียบ
ที่หน้าบ้านงานศพอย่างช้าไม่เกิน 10 โมงครึ่ง



ตอนเด็ก ๆ ทุกครั้งที่ได้เห็นรถวัวถูกนำออกมาใช้งาน
ก็จะทำให้ผมใจหาย รู้สึกหวิว ๆ ทุกครั้ง
แต่เมื่อเวลาผ่านไปมันก็ช่วยทำให้ผมปลงเกี่ยวกับ
เรื่อง ไตรลักษณ์ของชีวิตคน (เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) ได้มาก
ให้ดูภาพ จอดเรียงกัน 3 คัน ใช้งานต่างวาระกัน



ถ้าเป็นวิถีชีวิตแบบชาวไทยเชื้อสายเวียตนาม
ท้ายที่สุดแล้ว แซ ด่อน รอง ส่งศพนี้ จะเป็นพาหนะคันสุดท้ายของชีวิตคุณ
โดยที่คุณและผมไม่มีทางรู้เลยว่าจะได้ใช้มันเมื่อไร ?

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
แซ ด่อน รอง นี้ในชุมชนชาวไทยเชื้อสายเวียตนามในจังหวัดนครพนม
นิยมสร้างให้เป็นรูปมังกร (คล้ายความเชื่อชาวจีน)
จึงมีชื่อเรียกกันอีกอย่างว่า แซ-ด่อน-รอง แปลว่า เกวียนมังกร
เป็นพาหนะที่นับได้ว่าเป็นการให้เกียรติอย่างสูงสุดแก่ผู้ตาย
ในวาระการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิต
ทั้งนี้เพราะมังกรถือเป็นสัตว์ชั้นสูงที่มีอยู่บนสวรรค์
ในความเชื่อของชาวเวียตนาม
การใช้ แซ ด่อน รอง ส่งศพนี้พอจะอนุมานได้
คล้าย ๆ กับการโดยสารมังกรไปสู่สรวงสวรรค์
หรือดินแดนของบรรพบุรุษนั่นเอง

ให้ดูรูป แซ ด่อน รอง ส่งศพของชุมชนบ้านใหม่ (Ban May)
คาดว่า แซ ด่อน รอง ส่งศพของชุมชนบ้านผึ้ง-ดอนโมงที่นำเสนอไปนี้
จะสร้างในคราวเดียวกันแต่มีสีและรายละเอียดต่างกันไปบ้าง
แต่ต่างก็มีการปรับปรุงซ่อมแซมให้ แซ ด่อน รอง มีสภาพดี
และยังคงใช้งานได้ดีจนถึงปัจจุบัน



ให้ดูอีกรูปครับเป็นแซ ด่อน รอง ของชุมชุนบ้านโพนบก ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ยังคงเคร่งครัดธรรมเนียมเหล่านี้ เกือบจะเรียกว่าไม่ผิดเพี้ยนจากเมื่อเกือบ 100 ปีก่อนเลยทีเดียว






"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ขอบคุณความรู้และตัวสะกดภาษาเวียตนาม เครดิตภาพ (สุดท้าย)
รวมทั้งการแชร์สิ่งที่รู้ จากน้องต้อม (คุณพัชรพงษ์ ภูเบศรพีรวัส)
มากมายเลยที่มาช่วยเติมเต็มให้การเขียนบล๊อกของผมมีความสมบูรณ์ขึ้น






Create Date : 20 สิงหาคม 2554
Last Update : 8 กรกฎาคม 2561 17:06:22 น. 25 comments
Counter : 3601 Pageviews.

 
สวัสดีครับพี่พีร์

ดีใจที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ เรื่องรถขนศพรู้สึกว่าที่โบราณจริงๆ เหลืออยุ่แค่ 3 ชุมชนเองครับ คือ นาจอก ดอนโมง และโพนบก เพราะที่อื่นใช้รถแบบใหม่หมด แม้กระทั่งหนองแสงเอง ซึ่งเป็นอีกชุมชนที่มีคนญวนอาศัยอยู่ร้อยกว่าปี แต่ก็ไม่มีรถขนศพแบบ 3 ชุมชน ผมว่าเป็นอะไรที่น่าภูมิใจนะครับ มันคือมรดกชิ้นสำคัญที่ปู่ย่าตาทวดทิ้งไว้ให้เราได้ใช้งานและได้ชื่นชม ถ้าให้เดาอายุรถขนศพของโพนบกผมว่านะจะน้องๆ ปู่ผมอ่ะครับ ประมาณ 70 กว่าปีได้ เพราะตอนนี้ปุ่อายุ 86 ปุ่บอกว่าสมัยก่อนที่จะมีรถคันนี้ ที่โพนบกขนศพโดยการแบก โดยมีฐานที่ทำเป็นเสลี่ยงมีหัวมังกร (ภาษาเวียดนามเรียกเสลี่ยงว่า ด่อน) ใช้คน 16 คนแบก หลังจากนั้นจึงเอาเสลี่ยงที่เป็นหัวมังกรอย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้มาประกอบให้เป็นรถ เลยเป็นที่มาของแซด่อน ชุมชนโพนบก แต่สำหรับที่อื่นผมว่าน่าจะมีที่มาคล้ายๆ กัน

เรื่องลิงซา ของสิ่งนี้มีความหมายลึกซึ้งกำลังรอรูปอยู่นะครับ ที่บ้านยังไม่สะดวกส่งมาให้ แล้วจะรอเรื่องต่อๆ ไปนะครับ ^^


โดย: พัชรพงษ์ ภูเบศรพีรวัส IP: 113.22.68.229 วันที่: 20 กันยายน 2554 เวลา:12:59:25 น.  

 
ขอบคุณครับ
ความหมายคำว่า ด่อน พี่ก็เพิ่งทราบจากน้องนี่เอง


โดย: peeradol33189 วันที่: 20 กันยายน 2554 เวลา:14:52:06 น.  

 
เข้าใจความรู้สึกที่คุณพีร์เห็นรถวัวตอนเด็กๆครับ

สำหรับผม ตอนเด็กจะรู้สึกหวิวๆเมื่อเห็นเรือมาดขนาดใหญ่บรรทุกศพและบรรดาญาติๆมาตามลำคลอง ก่อมที่เรือจะผ่านหน้าบ้าน จะได้ยินเพลงไทยบรรเลงมาแต่ไกล เด็กเล็กมากๆจะวิ่งแอบเข้าไปในบ้านครับ


โดย: Insignia_Museum วันที่: 20 กันยายน 2554 เวลา:19:54:09 น.  

 
ผมชอบพระโยคนี้มากเลยครับ

ถ้าเป็นวิถีชีวิตแบบชาวไทยเชื้อสายเวียตนาม
ท้ายที่สุดแล้ว แซ ด่อน รอง ส่งศพนี้ จะเป็นพาหนะคันสุดท้ายของชีวิตคุณ
โดยที่คุณและผมไม่มีทางรู้เลยว่าจะได้ใช้มันเมื่อไร ?


โดย: พัชรพงษ์ ภูเบศรพีรวัส IP: 113.22.113.121 วันที่: 20 กันยายน 2554 เวลา:20:41:24 น.  

 
ผมอ่ะ เสียดายอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ที่โพนบกไม่มีช่างตัดชุดไว้ทุกข์อีก ทำให้ที่โพนบกไม่ค่อยใส่ชุดไว้ทุกข์แบบโบราณ บ้านไหนที่หัวโบราณหน่อยก็จะเอาช่างตัดมาจากหมู่บ้านอื่น ทำให้ที่โพนบกต้องใส่ชุดขาวที่ใช้ปฏิบัติธรรมแทน อีกอย่างหนึ่งก็คือถ้างานไหนลูกหลานน้อยก็จะไม่นิยมตัด จะตัดเฉพาะงานที่ลูกหลานเยอะๆ เรื่องนี้คือเรื่องเดียวที่โพนบกลดหย่อนลงไป


โดย: พัชรพงษ์ ภูเบศรพีรวัส IP: 113.22.113.121 วันที่: 20 กันยายน 2554 เวลา:21:02:23 น.  

 
@น้องต้อม ชุดไว้ทุกข์ มีขายสำเร็จ กำลังแพร่หลายในหมู่ชาวไทยเชื้อสายเวียตนามที่นาจอก ต้นฝึ้ง ดอนโมง เพราะสามารถทำพิีธีได้ไว และไม่ต้องรบกวนช่าง ช่างใหญ่เลยที่นาจอกตอนนี้คือ องบิ๊ก และท่านได้ถ่ายทอดให้บ่า ๆ หลายคน จึงมีมือรอง ๆ ที่ทำได้แล้วหลายคน แต่ก็แล้วแต่เจ้าภาพว่าจะใช้บริการหรือไม่

น่าเสียดายนะครับถ้าที่โพนบกจะไปเลือกใช้ชุดปฎิบัติธรรมแทนเสียแล้ว

ขอบคุณครับน้องต้อมที่ให้กำลังใจ
ตอนนี้พี่ได้ไฟล์ภาพ และไฟล์ คลิป การทำบุญ 100 วันปู่มาแล้วก็ยังลังเลว่าจะเขียนดีมั้ย ลึก ๆใจอยากจะเขียนต่อเนื่องตั้งแต่การตายไปจนถึงทำบุญร้อยวัน แต่ก็เกรงว่าจะไม่ถูกต้องครับ


โดย: peeradol33189 วันที่: 21 กันยายน 2554 เวลา:12:25:20 น.  

 
เขียนเถอะครับพี่ เพราะปู่ผมเคยบอกว่าประเพณีมีเหมือนมีแต่ ไม่มีใครถูกใครผิด ไม่มีที่ไหนสมบูรณ์ครับถ้วน ปู่บอกว่าขนาดบ้านอยู่ในชุมชนเดียวกันแต่ทำไม่เหมือนกันก็มีครับ ผมเป็นกำลังใจพี่นะครับ ถึงจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่อย่างนี้มันก็คือมรดกของปู่ย่าตาทวดของเราครับ


โดย: พัชรพงษ์ ภูเบศรพีรวัส IP: 113.22.68.229 วันที่: 21 กันยายน 2554 เวลา:13:45:14 น.  

 
ขอบคุณครับน้องต้อม


โดย: peeradol33189 วันที่: 22 กันยายน 2554 เวลา:9:45:03 น.  

 
ในแนวความคิดเล่น ๆ ของพี่ตุ๊กเองนะคะ

แบบขอม จะมีสะพานนาคราชเชื่อมเมืองสวรรค์กับมนุษย์

รถที่เป็นมังกร

มังกรอาจจะเป็นเสมือนพญานาค ก็ได้


โดย: วันนี้พาไปเขาค้อค่ะ (tuk-tuk@korat ) วันที่: 22 กันยายน 2554 เวลา:15:44:10 น.  

 
ยังไม่ได้ให้เจอกันเลยค่ะพี่พีร์ ไม่กล้าอ่ะ กลัวใจแองกัส อิอิ

สวัสดีค่ะ ^^ คืนนี้ขอให้นอนหลับฝันดี ตื่นขึ้นมาพบเจอสิ่งดีดีนะคะ ^^



ดช.กังวาล โปรดปรานหนอนแว๊ควอร์มม๊าคมากกก


โดย: หัวใจแก้ว วันที่: 24 กันยายน 2554 เวลา:0:56:18 น.  

 
ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะครับพี่พีร์
ยังไม่หายป่วยกันเลยครับ แหะๆๆ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 กันยายน 2554 เวลา:12:40:45 น.  

 
ที่บ้านผมที่ท่าบ่อก็จะใช้รถเกวียนนะครับ

แต่ไม่แน่ใจว่าแบบไหนนานมากละ ก็เลยลืมน่ะครับ

เดี๋ยวนี้เขาปรับมาใช้รถยนต์สำหรับเคลื่อนศพแทน

ส่วนหลาเจี่ยวที่ว่าจะมีเป็นบางงานแต่งานบ่าโหน่ยผม

ไม่มีครับ


โดย: บอส IP: 223.206.131.204 วันที่: 28 กันยายน 2554 เวลา:17:44:27 น.  

 
ถึงคุณบอสครับ

ผมก็พึ่งทราบว่า หลาเจี่ยว ที่ท่าบ่อไม่มี ขนาดที่เวียดนามเอง ก็มีบ้างไม่มีบ้าง แล้วแต่พื้นที่ ตัวอย่างที่ฮานอย ผมไปงานศพมาก็หลายงานแต่ไม่มีงานไหนมีหลาเจี่ยวเลย


โดย: พัชรพงษ์ ภูเบศรพีรวัส IP: 1.55.169.93 วันที่: 28 กันยายน 2554 เวลา:22:14:35 น.  

 
ป.ล. ผมว่าแซด่อนของนาจอกอ่ะสวยครับ เพราะมันมีลวดลายอ่อนช้อย ไม่แข็งกระด้างเหมือนของที่อื่น


โดย: พัชรพงษ์ ภูเบศรพีรวัส IP: 1.55.169.93 วันที่: 28 กันยายน 2554 เวลา:22:16:38 น.  

 
น้องบอสหายไปนานเลย
ดีใจครับที่เข้ามาเยี่ยมบล๊อกพี่

ตอนนี้มีน้องต้อมมาร่วมแจมด้วย
ยิ่งช่วยแชร์กันได้มาก

น้องบอสอย่าลืมไปเยี่ยมบล๊อกคุณต้อมนะครับ
เขียนเรื่องราวได้ละเอียดลึกซึ้งมากเลย
ชื่อ blog ว่า คำปู่สอน

ขออนุญาตน้องต้อมเผยแพร่ลิงค์นะครับผม

//vietnamnakhonphanom.blogspot.com/



โดย: peeradol33189 วันที่: 2 ตุลาคม 2554 เวลา:21:09:59 น.  

 
น้องบอสหายไปนานเลย
ดีใจครับที่เข้ามาเยี่ยมบล๊อกพี่

ตอนนี้มีน้องต้อมมาร่วมแจมด้วย
ยิ่งช่วยแชร์กันได้มาก

น้องบอสอย่าลืมไปเยี่ยมบล๊อกคุณต้อมนะครับ
เขียนเรื่องราวได้ละเอียดลึกซึ้งมากเลย
ชื่อ blog ว่า คำปู่สอน
เชื่อว่าได้อ่านแล้วคงมีความสุขเหมือนพี่แน่ ๆ
เพราะได้อ่านเรื่องราวที่สนใจ
และไม่ค่อยจะหาอ่านได้ง่ายนัก

ขออนุญาตน้องต้อมเผยแพร่ลิงค์นะครับผม

//vietnamnakhonphanom.blogspot.com/



โดย: peeradol33189 วันที่: 2 ตุลาคม 2554 เวลา:21:10:44 น.  

 
เกิวโด่ย

ที่ท่าบ่อจะไม่ค่อยใช้บ่อยครับ

แต่งานล่าสุดเมื่อหลายเดือนที่ผ่าน

งานศพพี่สาวปู่ผมครับพี่พีร์

เอาเกิวโด่ยจากเวียดนามมาเลยครับ

ส่วนศพก็ตั้งแบบพุทธเหมือนเดืมครับ

แต่งานนี้เผาแบบคนไทยเอาครับ

ผู้ตายสั่งเสียไว้ให้เผา

ส่วนการแต่งไว้ทุกข์ก็ตามที่ผมบอกครับ

เหลนใส่สีเหลืองครับ

คนเหวียดจากท่าบ่อมาจากภาคเหนือของเวียดนาม

พวกนามดิ่งห์ ฮานอย ห่านาม ห่าเติย น่ะครับ


โดย: บอส IP: 223.206.135.10 วันที่: 3 ตุลาคม 2554 เวลา:16:57:23 น.  

 
เลยธรรมเนียมต่างกันบ้างน่ะครับ

แต่นาจอก นครพนม มาจากตอนกลางเวียดนามน่ะครับ

คนภาคเหนือบ้านผมเขาเรียกว่าเหงื่อยบั๊ก

ภาคกลางว่าเหงื่อยจุง อ่ะครับ


โดย: บอส IP: 223.206.135.10 วันที่: 3 ตุลาคม 2554 เวลา:17:00:13 น.  

 
น้องบอสแล้วภาตใต้นี่เรียก ดง หรือเต่ย ครับ
ธรรมเนียมแบบเวียตนาม
แล้วเผายังไม่เคยเห็นนะที่นี่
แต่ว่าคงต้องได้เห็นสักวันเพราะ
โลกเปลี่ยนไปแล้วนะครับ

เกิวโด่ย ...ที่นาจอกไม่มีแล้วละ หาไม่ค่อยเจอ



โดย: peeradol33189 วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:20:50:54 น.  

 
เท่าที่ผมเรียนมากับลุงนะครับ

ลุงผมไปเวียดนามทุกเดือน

ดงแปลว่าตะวันออกมั้งนะครับ

เหมี่ยนจุงจะแปลว่าภาคกลาง

เขาเลยเอามาเรียนว่าเหงื่อยจุงน่ะครับ

สำเนียงเวียดนามอาจจะต่างกันน่ะครับ

เลยมีบางส่วนไม่เข้าใจ

เพราะที่นาจอกส่วนใหญ่มาจากตอนกลาง

ส่วนท่าบ่อมาจากตอนเหนือนะครับ


โดย: บอส IP: 223.206.217.90 วันที่: 13 ตุลาคม 2554 เวลา:22:37:41 น.  

 
คงใช่ครับคุณบอส
สำเนียงอาจทำให้การสื่อสารไม่ตรงกันได้


โดย: peeradol33189 วันที่: 16 ตุลาคม 2554 เวลา:15:32:34 น.  

 
หลาเจี่ยว ที่ท่าบ่อ

มีครับ แต่บางงาน เฉพาะคนเวียดนามจากภาคกลาง

มั้งนะครับ

ส่วนเกิวโด๋ยสมัยก่อนอาจมีนะครับ

แต่เดี่ยวนี้ไม่มีแล้ว

มีบางงานที่ญาติจากเวียดนามส่งมา


โดย: บอส IP: 49.48.115.60 วันที่: 16 ตุลาคม 2554 เวลา:18:27:54 น.  

 
ภาคใต้เรียกว่า นาม ครับ


โดย: บอส IP: 49.48.115.60 วันที่: 16 ตุลาคม 2554 เวลา:22:12:54 น.  

 
ว่าแต่คุณพี่ต้อมครับ

ที่โพนบกก่อนเขาศพบรรจุลงโลง

เขาทำพิธียังไงครับ


โดย: บอส IP: 49.48.115.60 วันที่: 17 ตุลาคม 2554 เวลา:17:59:37 น.  

 
*ก่อนเขาเอาศพลงโลงศพ


โดย: บอส IP: 49.48.115.60 วันที่: 17 ตุลาคม 2554 เวลา:18:00:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Gia Huy - Peeradol
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]




Air SurOundinG mE liKe mY besT frIendS !
แจกฟรีแบ๊คกราว
Friends' blogs
[Add Gia Huy - Peeradol's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.