ลมหายใจของใบไม้
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
11 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
:::โรคจิตวิตก:::



โรคเครียด(Psychosomatic Disorders)

นพ. พนม เกตุมาน

ในบรรดาโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยนั้น โรคเครียดเป็นโรคที่จัดได้ว่าเกิดได้ง่ายที่สุด แทบทุกคนจะเคยมีประสบการณ์ของความเครียดไม่มากก็น้อย ความเครียดอาจจะเป็นความรู้สึกที่คู่กับมนุษย์ เนื่องจากสมองที่มีขนาดใหญ่ ทำให้มีการใช้ความคิดมากกว่าสัตว์อื่นๆ มีการคิดล่วงหน้า ซึ่งถ้ามองในด้านดีก็จะเห็นประโยชน์มากมายในการป้องกันปัญหาต่างๆ แต่ความคิดที่สลับซับซ้อนมากๆก็ทำให้คิดกังวลล่วงหน้าได้มาก คิดในแง่ร้ายได้มากเช่นกัน คนที่มีความทุกข์มากๆมักจะปล่อยใจให้หลงคิดและกังวลอยู่ในอดีตที่ผ่านไปแล้วแก้ไขไม่ได้ หรือกังวลล่วงหน้าในเรื่องอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ลืมอยู่กับปัจจุบัน ลืมชื่นชมปัจจุบันซึ่งจะทำให้ใจสงบและมีความสุขได้มากนะครับ

ในคนปกติความเครียดที่เกิดจะสัมพันธ์กับเหตุการณ์หรือ สิ่งแวดล้อม เช่น ในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย นักเรียนจะรู้สึกเครียด เพราะการสอบนั้นอาจไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ ความกังวลล่วงหน้าคือการคาดว่าผลที่จะเกิดขึ้นอาจไม่เป็นไปตามความต้องการหรือจะทำให้เกิดอันตราย นักเรียนก็จะเกิดความเครียด ความวิตกกังวล ในสัตว์ชั้นต่ำกว่าคนจะไม่มีความวิตกกังวลล่วงหน้าเช่นนั้น ความเครียดของสัตว์มักจะเกิดจากการถูกคุกคาม ต่อชีวิต ที่อยู่อาศัย เรื่องเพศ เรื่องอาหารซึ่งล้วนแล้วแต่จะเป็นการตอบสนองตามสันชาตญาน เพื่อให้ตนเองอยู่รอด ปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมเท่านั้นเพราะสัตว์ไม่มีปัญญาที่จะคิดไกลกว่านั้น คำศัพท์ที่อาจมีความหมายคล้ายกัน คือคำว่าความเครียด และความวิตกกังวล ความเครียดเป็นผลรวมของความคิด ความรู้สึก การกระทำและปฏิกิริยาทางร่างกายที่เกิดขึ้น ความวิตกกังวลเป็นภาวะทางอารมณ์ ขึ้นอยู่กับการคาดคะเนเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น ความเครียดจึงเกิดขึ้นได้ง่ายๆแม้ในคนธรรมดา คนที่ไม่เครียดเลยอาจแสดงว่าไม่ใส่ใจต่อการแก้ไขปัญหา ทำให้ไม่รู้สึกเครียด คนปกติทุกคนจึงมีความเครียดเป็นสิ่งกระตุ้นให้คิด แก้ไข ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เมื่อปัญหามีทางออก ความเครียดก็จะลดลง ความเครียดในคนที่เป็นโรคเครียด จะแตกต่างจากความเครียดปกติที่เกิดในคนทั่วๆไป คือจะเกิดอาการทางร่างกายซึ่งรบกวนหน้าที่การทำงานในชีวิตประจำวัน อาการที่พบบ่อยๆได้แก่ อาการปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดท้อง

อาการ

อาการของความเครียดจะเกิดขึ้นในอวัยวะที่ถูกกำกับควบคุมโดยประสาทอัตโนมัติ ทำให้ประสาทอัตโนมัติเหล่านั้นทำงานมากขึ้นจนเกิดอาการต่างๆ เช่น ในระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร เกิดการหลั่งกรดมากผิดปกติ ทำให้กระอาหารเป็นแผล ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน ลำไส้ เกิดการหดตัวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ถ่ายบ่อย ในระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจเต้นเร็ว เต้นผิดจังหวะหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบลง มีไขมันมาเกาะ ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง ระบบกล้ามเนื้อ มีการหดตัว เกร็งแข็ง เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อต่างๆทั่วตัวประสาทอัตโนมัติเป็นระบบที่ทำงานโดยไม่สามารถบังคับหรือสั่งการได้ หล่อเลี้ยงอวัยวะภายในทั้งหมด ได้แก่ หัวใจ ปอด ตับ ลำไส้ หลอดเลือด ประสาทอัตโนมัติมีความเกี่ยวข้องกับสมอง และไขสันหลังเป็นอย่างยิ่ง ความเครียดจะกระตุ้นอารมณ์ในสมอง ซึ่งจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติให้ทำงานผ่านแนวเชื่อมโยงกับไขสันหลัง การทำงานนั้นอยู่นอกการควบคุมของจิตใจ

 



ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคเครียดหรือไม่

โรคเครียดสามารถวินิจฉัยได้ง่าย เราทุกคนก็สามารถวินิจฉัยตัวเองได้ คือ เมื่อ มีอาการทางกายเกิดขึ้นสัมพันธ์กับความเครียด แต่ปัญหาใหญ่มักอยู่ที่ตัวเราเองไม่ค่อยยอมรับว่าเครียด ผมมีคนไข้โรคเครียดหลายรายที่ปฏิเสธอย่างแข็งขันในตอนแรกว่าไม่เครียด แต่เมื่อได้สัมภาษณ์ลงลึกก็มักจะพบว่ามีความเครียดจำนวนมากแฝงอยู่ เช่น ทำงานวันละ12-16 ชั่วโมง

การดำเนินของโรค

โรคนี้มักเป็นในวัยรุ่น และเป็นต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่ อาการเกิดสัมพันธ์กับความเครียดในการดำเนินชีวิต คนที่มีปัญหาบุคลิกภาพจะเกิดอาการได้มากกว่าคนทั่วไป ทำให้มีปัญหาในการทำงาน เกิดความเจ็บป่วยทางร่างกายมากๆจนไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ เมื่อชีวิตไม่มีปัญหา อาการจะสงบลง

การรักษา

การรักษาใช้หลายๆวิธีรวมกัน ได้แก่

1. การรักษาโรคทางกายให้สงบ ตามอาการที่เกิด เช่น ใช้ยาลดกรดในกระเพาะรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ยาลดความดันโลหิตรักษาโรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ การรักษานี้เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่ก็จำเป็นต้องทำก่อน เพื่อลดอาการต่างๆ ให้ผู้ป่วยสบายขึ้น มิฉะนั้นอาการต่างๆเหล่านั้นจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดต่อเนื่อง เป็นวงจรไม่รู้จบ

2. การรักษาทางจิตใจ
การผ่อนคลายความเครียด และทำใจให้สงบ
การแก้ไขปัญหาชีวิตให้สำเร็จ
มีการปรับตัวกับบุคคลอื่นได้ดี
การออกกำลังกายให้แข็งแรง จิตใจเผชิญความเครียดได้ดี
มีการผ่อนคลาย งานอดิเรก พักผ่อนหย่อนใจ

3. การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
สถานที่ทำงาน ที่อยู่อาศัย ไม่เครียด
การทำงานพอเหมาะ ไม่หนักมากเกินไป มีเวลาพักผ่อน


อย่างที่คนไทยทุกคนกำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ ตราบใดที่บ้านเมืองเรายังคงตกอยู่เป็นเป้าสายตาของกันและกัน พวกเราก็คงจะทำใจให้ร่าเริงและอยู่อย่างมีความสุขเหมือนเดิมได้น้อยลง จนกว่าทุกอย่างจะลงเอยด้วยดี ซึ่งก็อาจจะใช้เวลาและยังหาคำตอบสุดท้ายไม่ได้ แต่กว่าจะถึงตอนนั้น สุขภาพจิตที่ย่ำแย่ และเยียวยายากกว่าสุขภาพทางกาย ก็มักจะเหนี่ยวนำให้เราอ่อนแอ ผิดหวังในการดำเนินชีวิต ไม่มีความสุข และทำให้สุขภาพเสื่อม ถดถอย จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราเกิดภาวะโรคทางจิตอย่างถาวรได้ ซึ่งขณะนี้จิตแพทย์ต่างก็ออกมาแนะนำชี้หนทางแก้ไขปัญหาของโรคเครียดจากการเมือง (โรค Political Stress Syndrome หรือ PSS) เนื่องจากสถานการณ์การเมืองปัจจุบันได้ส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการดังกล่าวชัดเจนที่สุดในรอบ30 ปีและเกิดขึ้นกับประชากร 1 ใน 4 ของประเทศเลยทีเดียว

สำหรับกลุ่มอาการเครียดจากการเมืองนั้นไม่ใช่โรค ที่เกิดจากปัญหาทางสุขภาพจิต แต่เป็นปฏิกิริยาของอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่มีความสนใจปัญหาทางการเมือง ติดตามสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด หรือ เอนเอียงไปทางกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จนทำให้มีอาการทางกาย จิตใจ และจะกระทบต่อสัมพันธภาพกับผู้อื่น ที่สำคัญคือความคิดคาดการณ์ที่นำไปสู่ความรู้สึกวิตกกังวลหรือกังวลต่อเหตุการณ์ในอนาคต เช่น กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงเฉกเช่นอุบัติการณ์ในอดีต ซึ่งเป็นความหวั่นวิตกที่แฝงอยู่ในใจคนส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะคนที่คลั่งไคล้การเมืองมากจนเกินไป

เมื่อการดำเนินโรคของกลุ่มผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าวมากและเรื้อรังนานขึ้น ก็จะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตึงบริเวณขมับ ต้นคอ หรือตามแขน ขา มักจะนอนไม่หลับ หรือนอนหลับๆตื่นๆ หรือหลับแล้วตื่นกลางคืนและไม่สามารถหลับได้อีก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทั้งที่อยู่ในสภาพปกติ หายใจไม่อิ่ม อึดอัดในช่องท้อง แน่นท้อง ปวดท้อง ชาตามร่างกาย มือไม้เริ่มมีการเกร็งเป็นพักๆ คล้ายจะมีนิ้วจีบ และหายใจเต้นเร็ว ที่เรามักคุ้นกันว่า โรค Hyperventilation ได้เช่นกัน
สำหรับอาการทางใจจะส่งผลให้ผู้เครียดเกิดความวิตกกังวล ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดหวัง สิ้นหวัง รู้สึกไม่มีทางออก สมาธิไม่ดี ฟุ้งซ่านหรือหมกมุ่นมากเกินไป มักมีปัญหาพฤติกรรมและสัมพันธภาพกับผู้อื่น มีการโต้เถียงกันกับผู้อื่น หรือแม้แต่บุคคลในครอบครัว โดยใช้อารมณ์ตั้งแต่ปานกลาง ถึงรุนแรง โดยไม่สามารถยับยั้งตนเองได้ หรือแม้กระทั่งมีความคิดที่จะตอบโต้โดยใช้กำลังในการเอาชนะ มีการลงมือทำร้ายร่างกายเพื่อตอบโต้ มีการเอาชนะทางความคิดกับคนที่เคยมีสัมพันธภาพที่ดีมาก่อน จนทำให้เกิดปัญหาด้านสัมพันธภาพอย่างรุนแรง อันเป็นเหตุของปัญหาครอบครัวและสังคมใกล้ตัวและที่ทำงานตามมา ฟังดูแล้วน่ากลัวมากสำหรับปัญหาในด้านจิตใจที่บานปลายจนเกิดเป็นเรื่องใหญ่

จึงมีการแนะนำให้ใช้บัญญัติ 8 หนีโรคเครียดการเมืองของกรมสุขภาพจิต ซึ่งแนะนำให้ผู้ที่มีความเครียดดังกล่าว หาทางออกด้วยข้อแนะนำดังนี้
1. หันเหความสนใจไปเรื่องอื่น โดยหลีกเหลี่ยงการพูดคุยเรื่องการเมือง ปิดรับข่าวสารการเมืองทุกชนิดแล้วเปิดไปดูละครทีวี (ทั้งน้ำเน่าและน้ำดี) เพื่อความบันเทิงเริงใจไปก่อน
2. ลดความสำคัญของปัญหาลงมาชั่วขณะ ให้ความสำคัญกับเรื่องเร่งด่วน ตามหลักอื่นๆบ้าง
3. หาทางระบายออก โดยเลือกผู้ที่มีแนวคิดใกล้เคียงกัน
4. ออกกำลังกายและพักผ่อน โดยพยายามทำสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ และออกกำลังกายให้สม่ำเสมอขึ้น
5. ฝึกวิชาผ่อนคลายตัวเอง เช่น ฝึกสติและสมาธิ ฝึกโยคะ ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น การกำหนด ลมหายใจเข้า - ออก
6. หันหาวิธีการที่ทำให้สงบ อาจจะใช้ศาสนามาช่วยขัดเกลาจิตใจ เพื่อปล่อยวาง โดยการหาทางพัฒนาจิตใจให้มีภูมิคุ้มกัน เช่น หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด ซึ่งอาการดังกล่าว จะหายไปได้เอง เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง หรือละความสนใจในเรื่องอื่นบ้าง
7.ใช้ยาช่วยตามอาการ เช่น ยาคลายเครียด ยานอนหลับ ซึ่งต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งให้ และสุดท้าย
8 .หากมีอาการทั้งหมดเกินกว่า ๑ สัปดาห์ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาหรือจิตแพทย์




 



:::เพลงประกอบ : ของรักของหวง:::


 

 




Create Date : 11 ตุลาคม 2554
Last Update : 31 สิงหาคม 2566 6:11:47 น. 0 comments
Counter : 4439 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Peakroong
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]





"หากต้องตัดสินใครสักคน

เริ่มจาก "ทำไม"คงจะดีกว่า"อย่างไร"

เพราะสิ่งที่มองเห็นไม่แน่ว่ามีอยู่จริง

สิ่งที่มองไม่เห็นใช่ว่าไม่มี

สิ่งที่คิดว่าใช่อาจไม่ใช่

สิ่งที่ไม่คิดว่าใช่สำหรับคุณ

มันอาจใช่เลยสำหรับใครอีกคน"


"
๐ ให้ลมหายใจของใบไม้เป็นบันทึกคนกล่อง
คำเขียนของคนล้มลุกคลุกคลาน
แต่ยังมีลมหายใจเป็นของตัวเอง
แม้ไม่ใช่ทุกอย่างที่มีหากเป็นทุกอย่างที่เป็น
เก็บความว่างเปล่าไว้เติมเต็ม..

๐ ขอบคุณตัวละครทุกตัว
ทั้งที่มีอยู่จริงและที่ไม่มีตัวตน
ขอบคุณวันเวลา-ครูบา-อาจารย์
ที่สอนให้เก็บเกี่ยว ฝึกให้คิด สอนให้เขียน

๐ ขอบคุณเพื่อนเพื่อนชาวไซเบอร์
ที่กรุยทางให้สร้างสรรรค์บล็อคได้เท่าใจ
ขอบคุณทุกภาพงดงามจากบล็อกน้องญามี่ขอบคุณ https://www.thaipoem.com
ที่ให้เพลงประกอบเป็นอมตะนิรันดร์กาล

๐ ขอบคุณความเป็นเธอ..
ที่ส่งผ่านการ"ให้"มาเสมอฝัน
ขอบคุณความเป็นฉัน..
คนเกี่ยวประสบการณ์ระหว่างวันมาถักทอ


'ปีฆรุ้ง
27 มกราคม 2553


Friends' blogs
[Add Peakroong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.