ลมหายใจของใบไม้
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
21 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 
:::ระบำตารีกีปัส:::




การแสดงพื้นเมือง “ระบำตารีกีปัส”

ประวัติความเป็นมา

ระบำตารีกีปัส เป็นการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ของประเทศไทย คำเรียกระบำชุดนี้เป็นภาษามลายูท้องถิ่น พจนานุกรมฉบันไทย – มลายู อธิบายไว้ว่า “ตารี” หรือ ตาเรียน หมายถึง การฟ้อนรำ ส่วนคำว่า “กีปัส” หรือ ฆีปัส ออกเสียงตามประชาชนท้องถิ่นปัตตานี หมายถึง พัด รวมความแล้วตารีกีปัส หมายถึง การฟ้อนรำที่ใช้พัดประกอบการแสดง การแสดงชุดนี้ได้รับการฟื้นฟูโดยคณะครูโรงเรียนยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อาจารย์สุนทร ปิยะวสันต์ ซึ่งได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศมาเลเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2518 ก็ได้ชมการแสดงของรัฐต่าง ๆ หลายชุด เมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทย ก็ได้เล่าถึงการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ของมาเลเซียที่ได้ไปชมให้ผู้เฒ่าผู้แก่ฟัง และได้ทราบว่าเมืองยะหริ่งเดิมก็เคยมีการแสดงที่คล้ายคลึงกันกับของมาเลเซียหลายชุด ดังนั้นจึงได้คิดฟื้นฟูการแสดงพื้นเมืองชุดต่าง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะชุดตารีกีปัส ได้นำออกแสดงครั้งแรกเนื่องในงานเลี้ยงเกษียณอายุข้าราชการครูโรงเรียนยะหริ่ง ต่อมาได้มีการถ่ายทอดการแสดงชุดตารีกีปัสไปสู่ประชาชนครั้งแรก โดยเปิดสอนให้กับคณะลูกเสือของจังหวัดปัตตานี เพื่อนำไปแสดงในงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ณ จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2522 และได้ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดปัตตานี เมื่อได้รับการคัดเลือกเป็นระบำชุดเปิดสนามงานกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 ของจังหวัดปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2524 นับว่าการแสดงชุดตารีกีปัสได้เผยแพร่ไปทั่วประเทศไทยและยังเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง

รูปแบบและลักษณะการแสดง

การแสดงชุดตารีกีปัส มีรูปแบบการแสดงเป็นหมู่ระบำ ซึ่งรูปแบบการแสดงมีอยู่ 2 ลักษณะคือ

1. การแสดงเป็นคู่ ระหว่างผู้ชายและผู้หญิง

2. การแสดงเป็นหมู่ระบำโดยใช้ผู้หญิงแสดงล้วน

เครื่องแต่งกาย

การแต่งกายแบบผู้หญิงล้วน แต่งกายตามแบบที่ได้รับการปรับปรุงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นการแต่งกายของตารีกีปัส ชุดพิธีเปิดสนามงานกีฬาเขตแห่งประเทศไทย (กีฬาแห่งชาติปัจจุบัน) ครั้งที่ 14 จังหวัดปัตตานี เมื่อปีพ.ศ. 2524 ประกอบด้วย

1. เสื้อในนาง ไม่มีแขนสีดำ

2. ผ้านุ่ง เป็นโสร่งบาติก หรือผ้าซอแกะ (Song Ket) สอดดิ้นเงิน – ทอง ประปรายแบบมาเลเซีย ตัดเย็บแบบหน้านาง หรือเลียนแบบจับจีบหางไหล

3. ผ้าสไบ สำหรับคลุมไหล่ จับจีบเป็นโบว์ด้านหน้า

4. เข็มขัด

5. สร้องคอ

6. ต่างหู

7. ดอกซัมเป็ง

ดนตรีและเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง

ใช้วงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งประกอบไปด้วย ไวโอลิน รำมะนา ฆ้อง แมนโดลิน ขลุ่ย และมาลากัส

เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง เป็นทำนองเพลงที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศมาเลเซีย คืออินัง ตังลุง เป็นเพลงผสมผสานระหว่างมลายูกับจีน


โอกาสที่ใช้ในการแสดง ใช้แสดงในงานรื่นเริงทั่วไป








Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 13 กันยายน 2555 0:52:37 น. 0 comments
Counter : 29504 Pageviews.

Peakroong
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]





"หากต้องตัดสินใครสักคน

เริ่มจาก "ทำไม"คงจะดีกว่า"อย่างไร"

เพราะสิ่งที่มองเห็นไม่แน่ว่ามีอยู่จริง

สิ่งที่มองไม่เห็นใช่ว่าไม่มี

สิ่งที่คิดว่าใช่อาจไม่ใช่

สิ่งที่ไม่คิดว่าใช่สำหรับคุณ

มันอาจใช่เลยสำหรับใครอีกคน"


"
๐ ให้ลมหายใจของใบไม้เป็นบันทึกคนกล่อง
คำเขียนของคนล้มลุกคลุกคลาน
แต่ยังมีลมหายใจเป็นของตัวเอง
แม้ไม่ใช่ทุกอย่างที่มีหากเป็นทุกอย่างที่เป็น
เก็บความว่างเปล่าไว้เติมเต็ม..

๐ ขอบคุณตัวละครทุกตัว
ทั้งที่มีอยู่จริงและที่ไม่มีตัวตน
ขอบคุณวันเวลา-ครูบา-อาจารย์
ที่สอนให้เก็บเกี่ยว ฝึกให้คิด สอนให้เขียน

๐ ขอบคุณเพื่อนเพื่อนชาวไซเบอร์
ที่กรุยทางให้สร้างสรรรค์บล็อคได้เท่าใจ
ขอบคุณทุกภาพงดงามจากบล็อกน้องญามี่ขอบคุณ https://www.thaipoem.com
ที่ให้เพลงประกอบเป็นอมตะนิรันดร์กาล

๐ ขอบคุณความเป็นเธอ..
ที่ส่งผ่านการ"ให้"มาเสมอฝัน
ขอบคุณความเป็นฉัน..
คนเกี่ยวประสบการณ์ระหว่างวันมาถักทอ


'ปีฆรุ้ง
27 มกราคม 2553


Friends' blogs
[Add Peakroong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.