ลมหายใจของใบไม้
Group Blog
 
 
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
31 มกราคม 2554
 
All Blogs
 

:::ชนิดของกล้องดิจิตอลและข้อควรรู้;:::




กล้องดิจิตอลมีมากมายหลายประเภทแต่ถ้ายกเฉพาะที่ใช้กันแพร่หลายก็มีอยู่ 4 ประเภท

1.กล้องคอมแพค (Compact)
2.กล้อง DSLR
3.กล้อง DSLR-Like
4.กล้อง Mirrorless เช่น Micro 4/3

1.กล้องคอมแพค

กล้องประเภทนี้ หมายความรวมๆว่า "พกพาสะดวก" ฉะนั้น กล้องเล็กๆบางๆ หยิบพกสะดวก ก็เรียกว่าเป็นคอมแพคได้ทั้งนั้นส่วนใหญ่ถ่ายภาพออกมาชัดเจนพอจะล้างรูปขนาดจัมโบ้ได้ (4x6 นิ้ว) ... แต่ถ้ามากกว่านั้นความละเอียดก็จะลดลงตามลำดับราคาหลากหลาย มีตั้งแต่ถูกๆ ไม่แพงมาก และแพง

2.กล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex)

ถ้าแปลความหมาย จะแปลว่ากล้องสะท้อนเลนส์เดี่ยวแบบดิจิตอล
จำง่ายๆว่า "กล้องตัวดำๆใหญ่ๆ เปลี่ยนเลนส์ได้ ก็พอ(กล้องที่ไม่ดำ ไม่ใหญ่ เปลี่ยนเลนส์ได้ แต่ไม่ใช่ DSLR ก็มี ส่วนใหญ่ถ่ายภาพได้คมชัดกว่าคอมแพคและมีลูกเล่น ปรับโน่นปรับนี่ได้ ส่วนใหญ่พวกมืออาชีพ หรือคนที่ต้องการภาพที่สวยๆ จะใช้กล้องประเภทนี้ ราคาเมื่อเทียบกับคอมแพคก็มักจะแพงกว่า ถูกสุดก็ 1.5 หมื่นขึ้นไป

3.กล้อง DSLR-Like

กล้องนี้เป็นกล้อง "เหมือน DSLR" แต่ไม่ใช่ DSLR
คุณภาพกล้องสูสีกว่าคอมแพค บ้างก็ดีกว่า แต่ยังไม่เท่า DSLR ... เพียงแต่ปรับแต่งได้เยอะใกล้เคียง DSLR แต่ถอดเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้มีลักษณะดำๆใหญ่ๆเหมือนกับ DSLR ราคาใกล้เคียงคอมแพครุ่นกลางๆ-รุ่นแพงๆ เหมาะกับคนที่ต้องการภาพที่ดีในระดับโอเคกว่าคอมแพค และไม่ต้องการพกอุปกรณ์เยอะแยะไปกว่ากล้องตัวใหญ่ๆตัวหนึ่ง

4.กล้อง Mirrorless เช่น Micro 4/3 หรือ Sony E-mount
ไม่แน่ใจว่ากล้องประเภทนี้จะก้าวเข้าสู่ตลาดกล้องได้ดีแค่ไหน แต่ ณ ปัจจุบันนี้ก็เปิดตัวได้แรงพอดูเป็นกล้องแบบเดียวกับ DSLR ต่างกันตรงไม่มีเลนส์สะท้อนเท่านั้นเอง ทำให้มีขนาดที่เล็กกว่า DSLR มาก ได้เปรียบเรื่องการพกพาที่ใกล้เคียงคอมแพคคุณภาพไฟล์รูปเท่ากับ DSLR (DSLR รุ่นล่างๆ-รุ่นกลางๆ) ... แต่ส่วนใหญ่จะบ่นๆกันเรื่องที่มันจับถือและปรับแต่งไม่ถนัดแบบ DSLR


10 เรื่องที่ต้องรู้ เกี่ยวกับกล้องดิจิตอล

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากซื้อกล้องดิจิตอล 10 เรื่องต่อไปนี้คงเป็นการช่วยในการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี

1 การใช้งานง่าย
การเลือกใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของกล้องดิจิตอลและฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องการ เช่น การใช้งานกล้องแบบเมนวล สามารถกำหนดค่ารูรับแสงหรือความไวชัตเตอร์ได้เอง หรือเพียงแค่เลือกตำแหน่งของภาพ แล้วกดชัตเตอร์โดยการใช้โหมดอัตโนมัติก็เพียงพอแล้ว

2 จำนวนพิกเซล

ในกล้องดิจิตอลจะมีช่วงซูม 2 ช่วงคือ ออพติคอลซูมและดิจิตอลซูม ต้องให้ความสำคัญกับออพติคอลซูมมากกว่า เพราะดิจิตอลซูมเป็นเพียงแค่การย่อขนาดภาพให้ดูใกล้ขึ้นมาแค่นั้น กล้องดิจิตอลทั่วไป มีช่วงซูมเริ่มจากมุมกว้าง (Wide Angle 3x ประมาณ 28 มม. , 35 มม.) ซึ่งเหมาะกับการถ่ายภาพภูมิประเทศ วิว ทิวทัศน์ จนมาถึงช่วงซูมเทเล (Tele Photo 10x, 12x ประมาณ 200 มม., 35 มม.)


4 ขนาดของ LCD

แม้ว่า LCD ขนาด 2 นิ้ว สามารถใช้งานได้อย่างดีอยู่แล้วก็ตาม แต่ LCD เป็น 2.5 นิ้ว หรือ 3 นิ้ว ก็ช่วยได้ในเรื่องของการจัดวางตำแหน่งของภาพ การอ่านเมนู หรือการดูภาพที่ชัดเจนขึ้น แต่ LCD ที่มีขนาดใหญ่ จะเปลืองแบตฯ มากขึ้น ความละเอียด LCD ปกติทั่วไปใช้งานที่ขนาด 115,000 พิกเซล แต่ความละเอียดที่ 235,000 พิกเซลทำให้ดูภาพได้คมชัดขึ้น


5 Optical viewfinder

จำนวนพิกเซลที่มากไม่ได้หมายความว่าทำให้ภาพที่ถ่ายจะสวยหรือดูดีมากขึ้น จำนวนพิกเซลเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับว่าต้องการอัดภาพขนาดใหญ่เท่าไหร่ ถ้าปกติอัดแค่ขนาดจัมโบ้ การเลือกกล้องดิจิตอลที่มีจำนวนพิกเซลสูง ๆ ถือว่าเป็นการเลือกไม่คุ้มค่าและสิ้นเปลืองหน่วยความจำ ค่า PPI (Pixel Per Inch) เป็นค่าความละเอียดของภาพที่สามารถอัดลงกระดาษได้ เช่น ถ้าต้องการอัดภาพขนาด 8 x 10 นิ้ว ที่ความละเอียด 200 ppi จะต้องเป็นไฟล์ขนาด 1,600 x 2,000 พิกเซล หรือ กล้องดิจิตอล ขนาด 3.2 ล้านพิกเซล ถ้าต้องการอัดภาพขนาด 8 x 10 นิ้ว ที่ความละเอียด 300 ppi ต้องใช้กล้องดิจิตอล ขนาด 7.2 ล้านพิกเซล เป็นต้น


6 ประเภทของแบตเตอรี

กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่ใช้แบตเตอรีลิเธียม (Li-on) แบบชาร์จได้ จะมีบางยี่ห้อเท่านั้นที่ใช้แบตเตอรีแบบ AA ข้อดีของการใช้แบตเตอรี แบบ AA คือพกพาสะดวก มีขายทั่วไป สามารถหาซื้อได้ง่าย แต่อายุการใช้งานสั้น ทำให้เกิดความสิ้นเปลือง เพื่อความประหยัดและรักษาสิ่งแวดล้อม แนะนำว่าควรจะมีแบตเตอรี AA Ni-MH แบบชาร์จได้ ติดตัวไว้ซัก 1 หรือ 2 ชุด พร้อมแท่นชาร็จ

7 ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี

เป็นการแสดงจำนวนภาพสูงสุดที่สามารถถ่ายได้เมื่อใช้งานกับแบตเตอรีในรุ่นที่กำหนดไว้ เช่น ประมาณ 320 ภาพ (แบตเตอรี EN-MH1) หรือ แบตเตอรี ลิเธียม CR-V3 สามารถถ่ายภาพได้ถึง 510 ภาพ เป็นต้น

8 การ์ดหน่วยความจำ

ส่วนใหญ่กล้องดิจิตอล จะใช้การ์ด แบบ SD ซึ่งมีหลายขนาด และ ความเร็วของการ์ดที่หลากหลาย การเลือกใช้งานขนาดของการ์ดหน่วยความจำที่เหมาะสม ขึ้นกับจำนวนภาพที่ต้องการ และ จำนวนพิกเซล ที่ใช้ในการถ่ายภาพในแต่ละครั้ง (จำนวนพิกเซลเยอะ จะได้ไฟล์ใหญ่ ใช้พื้นที่เก็บบนการ์ดเยอะ) ควรสังเกตว่าสามารถรองรับการ์ดแบบ SDHC (Secure Digital High Capacity) เพื่อให้ใช้งานกับการ์ดทีมีความจุสูง 4GB ขึ้นไปได้

9 ช่องต่อสัญญาณ Video-Out

ถ้าต้องการต่อกล้องดิจิตอลเข้ากับ TV เพื่อที่จะดูภาพที่ถ่ายเก็บไว้ จะต้องใช้ช่องต่อสัญญาณนี้ ต่อผ่านสายสัญญาณ AV โดยที่สาย AV จะแถมมาให้อยู่แล้วเมื่อเราซื้อกล้องดิจิตอล

10 อุปกรณ์เสริม

อุปกรณ์เสริมจะช่วยให้การถ่ายภาพนั้นสะดวกและได้ภาพที่มีคุณภาพที่ดีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น แฟลชภายนอก ที่ช่วยให้ความสว่างกว่าแฟลช Built-in หรือ Housing ไว้สำหรับป้องกันกล้องเมื่อต้องการถ่ายภาพใต้น้ำ และสำหรับกล้องดิจิตอล SLR อุปกรณ์เสริมอย่างเช่นเลนส์ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง




 

Create Date : 31 มกราคม 2554
0 comments
Last Update : 31 มกราคม 2554 20:16:18 น.
Counter : 3366 Pageviews.


Peakroong
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]





"หากต้องตัดสินใครสักคน

เริ่มจาก "ทำไม"คงจะดีกว่า"อย่างไร"

เพราะสิ่งที่มองเห็นไม่แน่ว่ามีอยู่จริง

สิ่งที่มองไม่เห็นใช่ว่าไม่มี

สิ่งที่คิดว่าใช่อาจไม่ใช่

สิ่งที่ไม่คิดว่าใช่สำหรับคุณ

มันอาจใช่เลยสำหรับใครอีกคน"


"
๐ ให้ลมหายใจของใบไม้เป็นบันทึกคนกล่อง
คำเขียนของคนล้มลุกคลุกคลาน
แต่ยังมีลมหายใจเป็นของตัวเอง
แม้ไม่ใช่ทุกอย่างที่มีหากเป็นทุกอย่างที่เป็น
เก็บความว่างเปล่าไว้เติมเต็ม..

๐ ขอบคุณตัวละครทุกตัว
ทั้งที่มีอยู่จริงและที่ไม่มีตัวตน
ขอบคุณวันเวลา-ครูบา-อาจารย์
ที่สอนให้เก็บเกี่ยว ฝึกให้คิด สอนให้เขียน

๐ ขอบคุณเพื่อนเพื่อนชาวไซเบอร์
ที่กรุยทางให้สร้างสรรรค์บล็อคได้เท่าใจ
ขอบคุณทุกภาพงดงามจากบล็อกน้องญามี่ขอบคุณ https://www.thaipoem.com
ที่ให้เพลงประกอบเป็นอมตะนิรันดร์กาล

๐ ขอบคุณความเป็นเธอ..
ที่ส่งผ่านการ"ให้"มาเสมอฝัน
ขอบคุณความเป็นฉัน..
คนเกี่ยวประสบการณ์ระหว่างวันมาถักทอ


'ปีฆรุ้ง
27 มกราคม 2553


Friends' blogs
[Add Peakroong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.