สมุดบันทึกผู้หญิงชอบเที่ยว "ภัทรานิตย์" -- www.atourthai.com --

"เที่ยวเมืองไทยด้วยหัวใจ แล้วคุณจะรักเมืองไทยอย่างยั่งยืน"


<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
10 ตุลาคม 2554
 

KANCHANABURI :: อนุสรณ์สถานช่องเขาขาด พิพิธภัณฑ์สถานแห่งความทรงจำ

หลังจากที่เก็บสัมภาระเรียบร้อยก็อำลา จังเกิ้ลราฟท์รีสอร์ท พวกเรานั่งเรือออกมาจากรีสอร์ท วันนี้ฟ้าใสเชียวแหละ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไปล่องแพกระโดดน้ำเล่นสนุกสนาน แหม .. ถ้ามากับเพื่อนนะมีเฮ แต่นี่มากะอาคุงแม่เลยต้องนั่งมองเค้าเล่นน้ำตาปริบๆ อิอิ






พอถึงฝั่งก็มาถึงวินาทีลุ้นระทึก ก็ทางขึ้นไปเนี่ยสูงเอาเรื่องเลย แถม จขบ. ก็ไม่ค่อยชำนาญการขับรถขึ้นเขาลงเขาสักเท่าไหร่ กว่าจะขึ้นสู่ทางราบปกติเล่นเอาลุ้นแทบแย่ พอออกจากทางเข้าท่าเรือรีโซเทล พวกเราขับรถออกไปทางขวา จุดหมายต่อไปเพื่อไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาดล่ะ


พิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่ในเขตทหารดังนั้นต้องแลกบ้ตรก่อนเข้าไปชมล่ะ จากนั้นก็ขับรถตามเส้นทางเข้ามาเรื่อยๆ ก็เจอสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์แล้วล่ะ พวกเราก็เดินไปตามป้ายบอกทางเลย





พอเห็นบันไดลงเท่านั้นแหละอาคุงแม่ถึงกับถอย โห .. ทำไมดูมันไกลจังอ่ะ โชคดีที่มีน้องๆ กลุ่มหนึ่งเดินผ่านมา พวกเราถามว่าไปอีกไกลไหม เค้าบอกว่าไกลมาก เท่านั้นล่ะอาคุงแม่หันหลังกลับเลย แล้วก็ถึงบางอ้อว่าต้องเข้าไปในโซนพิพิธภัณฑ์ก่อนแล้วจึงเดินเท้าไปดูช่องเขาขาด




ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของการสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่า ซึ่งญี่ปุ่นได้รวบรวมแรงงานหลายชาติ เป็นแรงงานชาวเอเชียว ๒๕๐,๐๐๐ คน เชลยศึกออสเตรีย อังกฤษ ดัตซ์และอเมริกามากกว่า ๖๐,๐๐๐ คน การก่องสร้างเริ่มในเขตตอนใต้ของประเทศพม่า


และขณะเดียวกันก็เริ่มมีการก่อสร้างในประเทศไทย ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๔๘๖ รางรถไฟก็สามารถมาเชื่อมต่อกันที่จุดแก่งคอยท่าในเขตประเทศไทย


เครื่องมือที่ทันสมัยก็มีใช้งานน้อยมาก ในการก่อสร้างรางรถไฟครั้งนี้ การขุดดินหรือการกระเทาะหินนั้นใช้พลั่ว ชะแลง แล้วขนย้ายดินหรือหิน รวมทั้งการถมแนวรางรถไฟกใช้แรงงานคนเป็นหลัก เครื่องตอก หรือค้อนใหญ่ถูกใช้เพื่อตัดหิน เจาะรูและขุดหลุมเพื่อวางระเบิดสะพานตลอดแนวรางรถไฟสร้างด้วยไม้ที่ตัดจากป่าตามแนวรางรถไฟแทบทั้งหมด


เดือนเมษายน พ.ศ ๒๔๘๖ การก่อสร้างดำเนินการรุดหน้าไปเร็วมาก เนื่องเด้วยฝ่ายญี่ปุ่นต้องการให้การก่อสร้างแล้วเสร็จตามความคาดหมายคือเดือนสิงหาคม ถูกกำหนดเป็นเส้นตายของการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ จึงเป็นเหตุให้เชลยศึกและคนงานชาวเอเชียถูกลงโทษให้ทำงานจนค่ำ


ที่บริเวณซึ่งทำการตัดช่องเขาขาดนั้น แสงแวบๆ จากกองไฟส่องกระทบเรือนร่างที่ผอมโซของคนงาน จึงเป็นที่มาของชื่อ "ช่องไฟนรก" (Hellfire Pass) หรือช่องเขาขาด การก่อสร้างที่เร่งรีบประกอบกับการระบาดของอหิวาตกโรคได้คร่าชีวิตของเชลยศึกและคนงานไปหลายพันคน


สาเหตุของการเสียชีวิตของเชลยศึกและแรงงานชาวเอเซียนั้น เนื่องมาจากการขาดแคลนอาหารและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ รวมทั้งทหารญี่ปุ่นที่ดูแลการก่อสร้างยังดำเนินการทารุณกรรมต่อเชลยศึกและแรงงานพลเรือนด้วย



อาหารหลักสำหรับเชลยได้แก่ ข้าวกับผักแห้ง และปลาแห้งเพียงเล็กน้อย ซึ่งส่งผลให้เป็นโรงเหน็บชา โรคขาดวิตามิน เชลยศึกมีสุขภาพที่อ่อนแอและอยู่ในสภาพที่น่าเวทนา




จขบ. เชื่อว่าหากเพื่อนๆ ได้มาเดินอ่านประวัติและเรื่องราวต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แล้วจะรู้สึกถึงความทารุณโหดร้ายของสงคราม โดยเฉพาะวีดีโอที่ฉายภายในห้องแสดง ดูแล้วสงสารขึ้นมาจับใจเชียวล่ะ




พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกก่อตั้งโดย นายเจ จี ทอม มอร์ริส ที่เป็นหนึ่งในเชลยศึกและแรงงานพลเรือนในการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะแห่งนี้ เป็นเวลา ๔๐ ปี หลังจากการก่อสร้างรถไฟสายนี้ ทอมตัดสินใจเดินทางกลับมาประเทศไทย เพื่อหาที่ตั้งของจุดช่องเขาขาด และได้เสนอข้อมูลต่อรัฐบาลออสเตรียเพื่อรับรองและสร้างพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์

ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้คนรุ่นหลังตระหนักถึงภัยของสงคราม..


Photo and Story By
Patthanid C.
www.patthanid.bloggang.com
Facebook : Patthanidfc



Create Date : 10 ตุลาคม 2554
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2556 0:30:46 น. 2 comments
Counter : 2534 Pageviews.  
 
 
 
 
ตามมาเที่ยว มาชมค่ะ
 
 

โดย: Gunpung วันที่: 10 ตุลาคม 2554 เวลา:7:35:52 น.  

 
 
 


 
 

โดย: Kavanich96 วันที่: 11 ตุลาคม 2554 เวลา:9:04:34 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

patthanid
 
Location :
ราชบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 47 คน [?]




: การท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ
: คืออีกก้าวของประสบการณ์
: ทุกๆ ก้าวที่ก้าวเดิน
: มีจุดหมายที่อยากสัมผัส
: โลกใบกลมๆ ใบนี้

ติดต่อผู้เขียน
Email :: patthanids@hotmail.com
Line :: @atourthai
Facebook :: Patthanid Cheang
Fanpage :: โสดเที่ยวสนุก

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539 ห้ามผู้ใดละเมิดโดยนำภาพถ่าย
รูปภาพ, บทความ งานเขียนต่างๆ รวมถึง
ข้อความต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดของข้อความใน Blog แห่งนี้
ไปใช้ทั้งโดยเผยแพร่ไม่ว่าเป็นการส่วนตัว
หรือเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็น
ลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดี
ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด
New Comments
[Add patthanid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com