สมุดบันทึกผู้หญิงชอบเที่ยว "ภัทรานิตย์" -- www.atourthai.com --

"เที่ยวเมืองไทยด้วยหัวใจ แล้วคุณจะรักเมืองไทยอย่างยั่งยืน"


<<
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
19 มิถุนายน 2556
 

PHUKET :: ทริปภูเก็ตวันฝนตก ตอนที่ 3 แวะชมความงานบ้านชินประชาที่มีอายุกว่าร้อยปี

ตอนที่แล้วพาไปชิมของอร่อยเมืองภูเก็ต ขนมจีนป้าติ่งและเดออีแต มาแล้ว สำหรับตอนนี้ จขบ.จะพาไปเที่ยว "บ้านชินประชา" เป็นสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจนะ จขบ.ชอบที่จะเที่ยวแนวนี้เวลาไปเมืองมรดกโลกก็จะเข้าชมสถานที่ที่เค้าแนะนำว่าเป็นบ้านเก่าอะไรประมาณนี้แหละ เหมือนเช่นบ้านชินประชาหลังนี้ที่เป็นสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีสหลังแรกในภูเก็ตเลยทีเดียว





ก่อนอื่นเรามารู้จักสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส (Sino-Portuguese Architecture) กันก่อนนะคะ  สถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีสเป็นการผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบจีนและแบบโปรตุกีสเข้าด้วยกัน โปรตุเกสเป็นชนชาติยุโรปชาติแรกที่เดินทางมาภูเก็ตและได้นำรูปแบบสถาปัตยกรรมมาเผยแพร่เมืองต่างๆ ทั้งที่ปีนัง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ก่อนที่ชาวยุโรปชาติอื่นจะเข้ามามีบทบาท มีการก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีสมากที่สุดระหว่างสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงปลาย รัชการที่ 6 (พ.ศ. 2411 - 2468) เนื่องจากเป็นช่วงที่กิจการเหมืองแร่ดีบุกในภูเก็ตได้รับการพัฒนามากที่สุดและขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงมาก ชาวจีนที่อพยพเข้ามาประสบความสำเร็จเป็นเจ้าของเหมืองมากที่สุดในยุคนี้ ปัจจุบันตึกเหล่านี้สามารถพบเห็นได้ปริเวณถนนพังงา ถนนถลาง ถนนเยาวราช ถนนดีบุกและถนนกระบี่



Sino-Portuguese architectural is a mixture of the Chinese and European style "SinoW refers to the Chinese aspeacts of the buildings while "Potuguese" refers to Portugal the first European
nation to arrive in Phuket and gave architectural influence to the province, in addition to Penang Malaysia Singapore and Indonesia before the advent of other European influences. Sino-Portuguese architecture had gained the highest popularly form the reign of King Rama V through towards the end of King Rama VI's reign (1868 - 1925 AD) The period was the peak
to the region's tin mining evolution as well as economic growth. Most of the prosperous and successful miners at that time were Chinese immigrants. A number of Sino-Portuguese buildings still remain to be seen on Phangnga, Yaowarat, Dibuk and Krabi Roads.



บ้านชินประชา ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 98 ถ.กระบี่ ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง ภูเก็ต 83000 เบอร์โทร 076-211281, 076-211167 (บอกเบอร์เผื่อใครจะติดต่อล่วงหน้า) วนๆ อยู่ในเมืองเนี่ยแหละเดี๋ยวก็เจอ ที่นี่เสียค่าเข้าชม 100 บาท เจ้าหน้าที่ก็จะให้เอกสารเกี่ยวความเป็นมาบ้านหลังนี้ค่ะ เอาล่ะตาม จขบ.เข้ามาในบ้านกันเลยค่ะ











จขบ.เดินเข้ามาด้านในขอบอกว่าอลังการมาก ข้าวของเครื่องใช้เยอะมาก ซึ่งหากจะเทียบกับบ้านในเมืองมรดกโลกที่อื่น ขอบอกว่าที่นี่สมบูรณ์แบบจริงๆ จขบ.ล่ะชอบตรงโซนกลางบ้านจังเลยค่ะ คือเค้าทำเป็นหลังคาโปร่งแสงอยู่ตรงกลางบ้าน ทำให้แสงส่องสว่างลงมากลางบ้านไม่ต้องใช้ไฟเลยล่ะ เข้าใจออกแบบดีจัง แถมกลางบ้านเป็นสระน้ำเลี้ยงปลาด้วยอ่ะ เก๋ตรงนี้แหละ เอาล่ะมาอ่านประวัติบ้านกันหน่อยเนอะ







"บ้านชินประชา" สร้างขึ้นในปี พ.ศ 2446 (ค.ศ 1903) ประมาณปลายสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระพิทักษ์ชินประชา (ดันม่าเสียง) บิดาของท่านคือ หลวงบำรุงจีนประเทศ (ดันเนียวยี่) ท่านถือกำเนิดในประเทศจีนมลฑลฮกเกี้ยน รับราชการทหารในตำแหน่ง "บุ๊เต็กจงกุน" ต่อมาท่่านได้เดินทางมายังประเทศไทยในปี พ.ศ. 2397 (ค.ศ 1854) หรือในปลายรัชกาลที่ 4 ได้ประกอบกิจการทำเหมืองแร่ดีบุกที่เกาะภูเก็ต และกิจการค้าขายที่เกาะปีนังในนามยี่ห้อ "เหลียนบี้"

"Chinpracha House" also know as "Baan Chinpracha" is over 107 years old and was built in 1903. The house was shaped is Sino-Portuguese design. The house's style was called "Angmor Lounge" by phuketians. the local people. It was the premiere Angmor Lounge in Phuket. There are actually just a few Angmor Lounges in Phuket Angmor means Westerners of Europeans Furniture for the house mostly was imported from China. Most furnishings belonged to his ancestors. Some pieces were imported bought from Europe the fences from Holland and Ceramic floor tlles form Italy.













พระพิทักษ์ชินประชา ถือกำเนิดที่เกาะภูเก็ตในปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) เมื่ออายุได้ 20 ปี ท่านได้สร้างบานหลังนี้ตามแบบชิโนโปรตุกิสเป็นหลังแรกของจังหวัดภูเก็ต หรือที่เรียกกันว่า "อังม่อเหลา" เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษเมืองจีน วัสดุส่วนอื่นของบ้านนั้นส่วนใหญ่นำเข้ามาจากตางประเทศ เนื่องจากการค้าขายทางเรือผ่านเกาะปีนังมายังภูเก็ต ในสมัยนั้นเฟื่องฟู เช่น รั้วบ้านจากฮอลแลนด์ กระเบื้องปูพื้นจากอิตาลี เป็นต้น ปัจจุบันบ้านชินประชามีอายุกว่า 101 ปี และมีลูกหลานนับเนื่องเป็นรุ่นที่ 6 แล้ว

Primarily known as Prapitak Chinpracha among Phuket locals, Mr.Tan Ma Siang was born in 1883 in Phuket. Mr.Tan Ma Slang was only twenty years old when he had the house built in 1903, during the late reign of King Rama 5. The current owners are sixth-generation Thai descendants of the original builder Prapltak Chinpracha (Mr.Tan Ma Siang) son of Mr.Tan Niaw yee, also knows as Luang Bamroong Jeenprated who was born in Fujian Region (Hok-Klan) China Mr.Tan Niaw Yee already had been a soldler, ranked "Boo Tek Jong Kun" in 1854 during the reign of King Rama 4. He moved to Thailand to administrate a heavy industry corporation in Phuket, his first business Tin Mining. He already owned another business named "Lian Bee" located on the isle of Penang. Chinpracha House is a historical market one of Phuket's cultural artifacts and a prime tourist attraction.














ภายในบ้านชินประชาก็มีอยู่หลายโซนเลยทีเดียว เฉพาะชั้นหนึ่งเนี่ยก็กว้างขวางแล้วล่ะ เฟอร์นิเจอร์ไม้งานฝั่งมุขงดงามมาก จขบ.เดินไปเดินมาจนมาถึงห้องจัดแสดงห้องนอน ชอบโต๊ะเครื่องแป้งจัง เตียงสมัยเก่าเค้าเนี่ยก็ดูคลาสสิคดีเนอะ วัสดุก็ดูแข็งแรงดีจริง จากนั้น จขบ.ก็เดินต่อไปยังห้องครัว





















ห้องครัวที่นี่มีอุปกรณ์อยู่ครบมาก จขบ.ไม่เคยเห็นปิ่นโตแถวยาวขนาดนี้มาก่อนเลยอ่ะ จะยาวไปไหนเครื่องกรองน้ำก็สวยดีอ่ะดูคลาสสิคอันนี้ก็ไม่เคยเห็น บอกตามตรง จขบ.ชอบไปเมืองมรดกโลก ทุกครั้งที่เห็นก็รู้สึกชื่นชมนะว่าเค้าอนุรักษ์ของพวกนี้ไว้เป็นอย่างดี ให้พวกเรารุ่นหลังได้รู้จักที่มาของสิ่งของต่างๆ ในยุคปัจจุบัน แต่เชื่อไหมว่าพอมาเห็นบ้านชินประชาต้องบอกว่าเลยว่าที่นี่เค้าเก็บรักษาของต่างๆ ไว้เป็นอย่างดี ของก็มีให้ดูเยอะกว่าที่อื่น เสียดายที่ภูเก็ตไม่ได้เป็นเมืองมรดกโลก ไม่งั้นบ้านชินประชาเนี่ยไม่แพ้บ้านเก่าหลังใดในเมืองมรดกโลกเลยล่ะ







มาเที่ยวทั้งที่ จขบ.ก็ขอถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกหน่อย เดี๋ยวจะหาว่ามาไม่ถึงค๊า อีกอย่างหนึ่งที่ จขบ.แอบสังเกตุเห็นของในบ้านเนี่ยมีข้าวของเกี่ยวกับพิธีแต่งงานเก็บไว้เยอะเชียว ขนาดเกี๊ยวเจ้าสาวยังมีตั้งหลายอันแนะ สงสัยบ้านนี้ลูกสาวสวยแน่ๆ เลยอ่ะ ในเมื่อชาตินี้ จขบ.คงไม่ได้เป็นเจ้าสาวใครอ่ะ ขอแอบนั่งเกี๊ยวเค้าบ้างไรบ้าง อิอิ



หากมองไปยังฝั่งตรงข้ามบ้านชินประชาก็จะพบอาคารสีเหลืออีกหลังหนึ่ง มองจากภายนอกสวยทีเดียวยังกะวังแนะ เจ้าหน้าที่บอก จขบ.ว่าเดิมที่ก็เป็นบ้านอีกหลังหนึ่งในบ้านชินประชาเนี่ยแหละ แต่ว่าปัจจุบันเค้ามาขอเช่าทำร้านอาหารล่ะ เสียดายจังจริงๆ แล้วบ้านเก่าเหล่านี้ต้องอนุรักษ์ไว้ ส่วนใหญ่เมืองอื่นที่เค้าขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เพราะเค้าอนุรักษ์ของเก่าแบบเดิมๆ เป๊ะไว้ ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใหม่ จริงๆ ภูเก็ตเนี่ยน่าจะเป็นเช่นนั้นนะ จขบ.ว่าภูเก็ตสวยไม่แพ้เมืองมรดกโลกอื่นๆ เลยล่ะ .. อ่านตอนต่อไปได้ที่นี่

ข้อมูลประกอบอ้างอิงจาก เอกสารแนะนำบ้านชินประชาข้อมูลโดยคุณประชา ตัณฑวนิช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2547



Photo and Story By
Patthanid C.
www.patthanid.bloggang.com
Facebook : Patthanid FC





Create Date : 19 มิถุนายน 2556
Last Update : 11 ธันวาคม 2556 0:32:41 น. 2 comments
Counter : 2277 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุณครับที่นำมาฝาก ว่างจะได้ไปเที่ยวดูบ้างครับ
สนใจเรื่องดวงชะตาอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้

 
 

โดย: ไกรศรี (ไกรศรี ) วันที่: 19 มิถุนายน 2556 เวลา:10:29:26 น.  

 
 
 
thx u crab
 
 

โดย: Kavanich96 วันที่: 20 มิถุนายน 2556 เวลา:5:03:07 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

patthanid
 
Location :
ราชบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 47 คน [?]




: การท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ
: คืออีกก้าวของประสบการณ์
: ทุกๆ ก้าวที่ก้าวเดิน
: มีจุดหมายที่อยากสัมผัส
: โลกใบกลมๆ ใบนี้

ติดต่อผู้เขียน
Email :: patthanids@hotmail.com
Line :: @atourthai
Facebook :: Patthanid Cheang
Fanpage :: โสดเที่ยวสนุก

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539 ห้ามผู้ใดละเมิดโดยนำภาพถ่าย
รูปภาพ, บทความ งานเขียนต่างๆ รวมถึง
ข้อความต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดของข้อความใน Blog แห่งนี้
ไปใช้ทั้งโดยเผยแพร่ไม่ว่าเป็นการส่วนตัว
หรือเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็น
ลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดี
ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด
New Comments
[Add patthanid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com