สมุดบันทึกผู้หญิงชอบเที่ยว "ภัทรานิตย์" -- www.atourthai.com --

"เที่ยวเมืองไทยด้วยหัวใจ แล้วคุณจะรักเมืองไทยอย่างยั่งยืน"


<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
7 มิถุนายน 2554
 

BANGKOK :: พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด

เมื่อหลายเดือนก่อนขับรถผ่านไปทางถนนศรีอยุธยา รถติดอยู่นานเชียว สายตาก็ไปสะดุดกับป้ายหนึ่งเขียนว่า "วังสวนผักกาด" อืม น่าสนใจดีแฮะ พอมีเวลาว่างก็เลยลองแวะไปดู อยากรู้เหมือนกันว่าที่นี่มีอะไรนะ

"วังสวนผักกาดแห่งนี้แต่เดิมเป็นที่ประทับของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต หรือเสด็จในกรมฯ พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และชายาคือ ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ต่อมาภายหลังได้ตัดสินพระทัยว่าจะย้ายมาพักอาศัยจึงสร้างตำหนัก และย้ายมาอยู่เป็นการถาวรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยวังแห่งนี้ได้ชื่อว่า "วังสวนผักกาด" เนื่องจากเดิมพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นสวนผักกาดของคนจีน"




เอาล่ะทราบประวัติกันคร่าวๆ แล้ว เข้าไปชมด้านในกันเลยดีกว่า ก่อนเข้าไปด้านในต้องไปเสี่ยค่าธรรมเนียมการเข้าชมก่อนนะจ๊ะ คนละ ๕๐ บาทสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย และ ๑๐๐ บาทสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จากนั้นก็ทำการฝากกระเป๋าต่างๆ ไว้ที่เคาเตอร์ เพราะที่นี่เค้าห้ามนำกระเป๋าเข้าไปล่ะ นำเข้าไปได้เพียงแต่กล้องถ่ายภาพเท่านั้น จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็พาไปแนะนำห้องที่พวกเราสามารถเข้าชมได้ ตามไปดูกันนะคะ





เริ่มจากห้องบ้านเชียง จัดแสดงโบราณวัตถุในวัฒนธรรมบ้านเชียง มีอายุประมาณ ๑,๘๐๐ - ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งทราบกันดีว่าวัฒนธรรมบ้านเชียงนั้นเป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลกในเรื่องของงานโลหะกรรมและภาชนะดินเผาลายเขียนสี โดยภายในห้องได้จัดแสดง ภาชนะดินเผาลายเขียนสี ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบผสมลายขูดขีด อาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากสำริด หินสีที่มีค่าต่างๆ รวมไปถึงลูกปัดแก้วที่ใช้ทำเครื่องประดับอีกด้วย






งานแต่ละชิ้นในห้องนี้ล้วนแล้วแต่สวยงามเชียวล่ะ เราก็เดินๆ ถ่ายรูปได้นิดเดียว เจ้าหน้าที่เข้ามาบอกว่าห้ามถ่ายรูปนะครับ แป๋ว.. เข้าใจผิดซะงั้น เพราะตอนแรกได้ยินว่าเลยห้องนี้ไปถ่ายรูปไม่ได้ แต่จริงแล้วห้ามถ่ายรูปทุกห้องง่ะ แหม.. เกือบงานเข้า





เอาล่ะไปโซนต่อไปกันเลยดีกว่า "โซนเรือนไทย" เรือนไทยแต่ละหลังในวังสวนผักกาดแห่งนี้ จะจัดแสดงแตกต่างกันไป เริ่มจากเรือนไทยหลังที่ ๑ เป็นห้องดนตรีทูลกระหม่อมบริพัตรฯ (พระบิดาแห่งเพลงไทยสากล" ภายในห้องจัดแสดงประวัติและเครื่องดนตรีไทย ได้แก่ กลองโบราณขนาดใหญ่ ระนาด ฆ้อง ซอสามสาย

ส่วนชั้นบนก็จัดแสดงโบราณวัตถุในยุคต่างๆ ของไทยและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูป พระอุมา และเทวรูปพระอรรธนารีศร เป็นงานประติมากรรมที่มีความงดงามยิ่งนัก



เรือนไทยหลังที่ ๒ จัดแสดงหินและแร่ที่มีค่าและมีความสวยงาม ซึ่งห้องนี้มีชื่อว่า ถ้ำอาลีบาบา โดยชั้นบนจัดแสดงของสะสมสวยงาม เช่น สัปคัปหรือกูบสำหรับนั่งบนหลังช้าง ตู้พระไตรปิฏกลายรดน้ำ เครื่องเรือนต่างๆ รวมถึงของใช้เช่น ตะลุ่มหรือและเตียงประดับมุก ตลับงาช้าง ขวดน้ำหอมจากต่างประเทศ และบริเวณฝาผนังด้านนอกยังจัดแสดงตาลปัตรในราชสกุลบริพัตร


เรือนไทยหลังที่ ๓ จัดแสดงเครื่องถ้วยเบญจรงค์ เป็นเครื่องเคลือบที่มีการเขียนลวดลายลงยาด้วยสีจำนวน ๕ สี มีทั้งในส่วนที่ทำในประเทศไทยและสั่งทำจากจีน ซึ่งคนไทยเป็นผู้ออกแบบ นอกจากนี้ยังมีเครื่องถมเงินถมทอง ภาพเขียนเป็นคนไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย อีกทั้งยังมีเสลี่ยงคานหามและฉัตรอีกด้วย

เรือนไทยหลังที่ ๔ ในอดีตที่นี่เคยใช้สำหรับต้อนรับและรับประทานอาหารค่ำหน้าห้องพระมีหนังสือพระธรรมใบลาน ภายในเป็นห้องพระประกอบด้วยพระพุทธรูปสมัยต่างๆ ของไทย นอกจากนี้ยังมีภาพพระบฏ ผนังด้านนอกห้องจัดแสดงบานประตูฝังมุก สมัยอยุธยาตอนปลาย





เรือนไทยหลังที่ ๕ ชั้นบนจัดแสดงวัตถุโบราณบ้านเชียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ด้านล่างจัดแสดงหินและแร่ รวมถึงหอยและฟอสซิลปลา


เรือนไทยหลังที่ ๖ เรียกว่า "พิพิธภัณฑ์โขน" ภายในห้องจัดแสดงชฏา หุ่นละครเล็ก และหัวโขนขนาดเท่าของจริงซึ่งมีเพียงตัวละครหลักเท่านั้น ส่วนด้านล่างเรือนจัดแสดงตุ๊กตาดินเหนียวเรื่องรามเกียรติ์ตอนต่างๆ และกองทัพตุ๊กตาตอนศึกกุมภกรรณ



เรือนไทยหลังที่ ๗ จัดแสดงเครื่องชามสังคโลกสมัยสุโขทัย เครื่องถ้วยจีน เครื่องเคลือบสีเขียว ศิลปะพม่า และตุ๊กตาเสียกบาล ด้านนอกเรือนไทยจัดแสดงเครื่องมือหินและเครื่องปั้นดินเผา สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาต่างๆ ทางภาคเหนือ เช่น เตาเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย

เรือนไทยหลังที่ ๘ จัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ทั้งที่เป็นเครื่องแก้วลายทอง เครื่องแก้วคริสตัล เครื่องเงินและเครื่องลายคราม ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีแจกันรูปผักกาดที่เป็นสัญลักษณ์ของวังสวนผักกาดแห่งนี้อีกด้วย





เอาล่ะเดินชมเรือนไทยทั้ง ๘ หลังกันเรียบร้อยแล้ว เยอะเหมือนกันนะเนี่ย มีแต่ของที่หาดูได้ยากทั้งนั้นเลยอ่ะ มาที่นี่ต้องใช้เวลาพอสมควรเชียว ไปต่อกันเลยดีกว่า เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา





เรือพระที่นั่งเก้ากิ่งพยาม เป็นเรือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ซึ่งเป็นพระบิดาของเสด็จในกรมฯ เจ้าของวัง เพื่อใช้เป็นขบวนเรือตามเสด็จประพาสต้น ตัวเรือทำด้วยไม้ตะเคียนทอง ส่วนเก๋งเรือและหลังคาทำด้วยไม้สักทอง


ถัดจากเรือพระที่นั่งเก้ากิ่งพยามจะเป็นหอเขียน ว่ากันว่าหอเขียนหลังนี้อายุอยู่ในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย เสด็จในกรมฯ ได้ผาติกรรมมาจากวัดบ้านกลิ้ง จังหวัดอยุธยา ในปี พ.ศ ๒๕๐๑ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ในสถาปัตยกรรมของไทยคงอยู่ หอเขียนหลังนี้ถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของพิพิธภัณฑวังสวนผักกาดแห่งนี้เลยทีเดียว







ในการเข้าชมวังสวนผักกาดแห่งนี้ เค้าอนุญาตให้ถ่ายรูปได้เพียงด้านนอกเท่านั้น โชคดีจังที่แวะมาเซอร์เวย์ก่อน เพราะตอนแรกตั้งใจว่าจะชวนเพื่อนมาหัดถ่ายรูปกันที่นี่ .. สงสัยต้องเปลี่ยนสถานที่กันแล้วค่ะ




Create Date : 07 มิถุนายน 2554
Last Update : 4 กันยายน 2558 16:36:34 น. 3 comments
Counter : 4337 Pageviews.  
 
 
 
 
ตอนที่ ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ท่านยังมีชีวิตอยู่ี คุณแม่ของเราเคยพบท่านด้วยค่ะ

ขอบคุณสำหรับรูปสวยๆนะคะ
 
 

โดย: ตะแน๋วกิ๋วกิ้ว วันที่: 7 มิถุนายน 2554 เวลา:4:59:09 น.  

 
 
 
ขอเที่ยวด้วยคนนะคะ อยากไปที่นี่มานานแล้ว ยังไม่ได้ไปสักที...ขอบคุณที่พาเที่ยวนะคะ
 
 

โดย: auau_py วันที่: 7 มิถุนายน 2554 เวลา:20:33:10 น.  

 
 
 
ชอบภาพใบบัวในน้ำ สวยมากค่ะ
 
 

โดย: สดชื่น (abc011 ) วันที่: 21 กันยายน 2555 เวลา:5:12:45 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

patthanid
 
Location :
ราชบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 47 คน [?]




: การท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ
: คืออีกก้าวของประสบการณ์
: ทุกๆ ก้าวที่ก้าวเดิน
: มีจุดหมายที่อยากสัมผัส
: โลกใบกลมๆ ใบนี้

ติดต่อผู้เขียน
Email :: patthanids@hotmail.com
Line :: @atourthai
Facebook :: Patthanid Cheang
Fanpage :: โสดเที่ยวสนุก

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539 ห้ามผู้ใดละเมิดโดยนำภาพถ่าย
รูปภาพ, บทความ งานเขียนต่างๆ รวมถึง
ข้อความต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดของข้อความใน Blog แห่งนี้
ไปใช้ทั้งโดยเผยแพร่ไม่ว่าเป็นการส่วนตัว
หรือเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็น
ลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดี
ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด
New Comments
[Add patthanid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com