DoN'T LoVe YoU nO MoRe i'M sOrRy.
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
15 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 
นางเฉลย ศุขะวณิช

นางเฉลย ศุขะวณิช ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(นาฏศิลป์)
นางเฉลย ศุขะวณิช เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๗ เป็นผู้เชี่ยวชาญการสอนและ ออกแบบนาฏศิลป์ไทย แห่งวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร เป็นศิลปินอาวุโส ซึ่งมีความรู้ความสามารถสูงใน กระบวนท่ารำทุกประเภท เป็นผู้อนุรักษ์แบบแผนเก่า และยังได้สร้างสรรค์และประดิษฐ์ผลงานด้านนาฏศิลป์ ขึ้นใหม่มากมาย ซึ่งกรมศิลปา กรและวงการนาฏศิลป์ทั่วประเทศได้ถือเป็นแบบ ฉบับของศิลปะการร่ายรำสืบทอดต่อมาจน ถึงทุกวันนี้ ทางราชการได้มอบหมายให้ เป็นผู้วางรากฐานจัดสร้างหลักสูตรการเรียน การสอนวิชานาฏศิลป์ตั้งแต่ระดับต้นจนถึงขั้น ปริญญา นิเทศการสอนในวิทยาลัยนาฏศิลป์ทุกสาขาทั้งใน ส่วนกลางและภูมิภาค ถ่ายทอดวิชาความรู้ทาง ด้านนาฏศิลป์แก่นักศึกษามาตลอดเวลากว่า ๔๐ ปี จนถึงปัจจุบัน ให้คำปรึกษาด้านวิชาการแก่สถาน ศึกษาและสถาบันต่าง ๆ เป็นผู้มีความเมตตาเอื้อ อารี อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและงานศิลป์ อย่างต่อเนื่อง จนสามารถแสดงให้แพร่หลายออกไป อย่างกว้างขวางทั้งในและนอกพระราชอาณาจักร ได้รับปริญญาครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานาฏศิลป์ สห วิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นางเฉลย ศุขะวณิช สมควรได้รับการยกย่องเชิด ชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลป์)

ประวัติชีวิต นางเฉลย ศุขะวณิช เป็นบุตรคนที่ ๕ ของนายเงินและนางเน้ ย แย้มสุด เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ. ศ. ๒๔๔๗

การศึกษา ได้เรียนวิสามัญระดับประถม ศึกษา ที่โรงเรียนราษฎร์ใกล้บ้าน มีความรู้พอ อ่านออกเขียนได้ เมื่ออายุประมาณ ๗ ขวบ มารดาได้ พาไปฝากไว้ให้อยู่ในความอุปการะของคุณ หญิงจรรยายุทธกิจ (เอี่ยม ไกรฤกษ์) ต่อมา ได้ติดตามไปอยู่กับคุณท้าวนารีวรคณา รักษ์ (เจ้าจอมแจ่มในรัชกาลที่ ๕) ซึ่งเป็นพี่สะใภ้ของคุณหญิงจรรยาฯ เพื่อฝึก หัดละครเมื่อได้มาอยู่กับคุณท้าวนารีฯ ณ วังสวนกุหลาบแล้วนายเฉลยก็ได้มีโอกาส ฝึกหัดละครจนกระทั่งได้รับ การถวายตัวกับ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา และได้อยู่ใน ความดูแลรับการฝึกฝนเป็นพิเศษจากท่าน ครูและท่านผู้ชำนาญการละครอีกหลายท่าน อาทิ
หม่อมครูนุ่ม หม่อมในกรมหมื่นสถิตธำรงสวัสดิ์ ( พระองค์เจ้าเนาวรัตน์)
หม่อมครูอึ่ง หม่อมใน สมเด็จพระบัณฑูร
หม่อมครูแย้ม หม่อมในสมเด็จเจ้าพระยาบรม มหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค)
เจ้าจอม มารดาเขียนในรัชกาลที่ ๔
เจ้าจอมมารดาสาย และเจ้าจอมละม้ายในรัชกาลที่ ๕
ท่านครูหงิบ
นอกจากนี้ ยังได้ฝึกหัดขับร้องสักวา และเพลงในการแสดงละครดึกดำบรรพ์รวมทั้ง ดนตรี-ปี่พาทย์ด้วย โดยได้ศึกษากับท่านครู ผู้ใหญ่ เช่น
หม่อมมาลัย หม่อมจันทร์ หม่อมอุบ และหม่อม เพื่อน(หม่อมในเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชรฯ) คุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ขุน ราม หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปากร)และ ท่านครเจริญ เป็นต้น

การทำงาน ต่อมาได้มีโอกาส แสดงละครประเภทต่าง ๆ เช่น ละครนอก ละครใน และ ละครดึกดำบรรพ์ โดยได้รับบทเป็นตัวเอก ของเรื่องแทบทุกครั้งจนกระทั่งอายุได้ ๒๑ ปี จึงได้สมรสกับพระยาอมเรศร์สมบัติ (ต่วน ศุ ขะวณิช) ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้ากรมกองผลประโยชน์ พระคลังข้างที่ หลังจากสมรส สามีขอร้องให้ เลิกการแสดง ท่านจึงต้องอำลาจากเวทีละครและ ปฏิบัติหน้าที่แม่บ้านเพียงอย่างเดียว นางเฉลยมี บุตรและธิดากับพระยาอมเรศร์สมบัติ ๔ คน และ เมื่ออายุ ๔๓ ปี พระยาอมเรศร์สมบัติผู้สามีถึง แก่อนิจกรรม นางเฉลยจึงได้กลับคืนมาสู่ วงการนาฏศิลป์อีกครั้งหนึ่ง

นางเฉลย ศุขะวณิช เข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ขณะ มีอายุ ๕๓ ปี ในตำแหน่งครูพิเศษ สอน นาฏศิลป ละคร วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ครั้นเกษียณอายุราช การแล้วทางราชการก็อนุมัติให้จ้างท่านใน ฐานะผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษตลอดจนถึงปัจจุบัน และ ได้รับการยกย่องให้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ การแสดงนาฏศิลป์ไทยได้เป็นผู้ฝึกหัด ฝึกซ้อม และควบคุมการแสดงโขน-ละคร ของกรมศิล ปากรแทบทุกเรื่อง

นางเฉลย ศุขะวณิช เป็น ผู้มีความสามารถยอดเยี่ยมและรอบรู้ในกระบวน การแห่งการแสดงละครรำทุกประเภท เช่น ละครนอก ละครใน ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง โดยเฉพาะการ รำเดี่ยวฝีมือตัวนางสามารถถ่ายทอดได้อย่าง ครบถ้วนและถูกต้องตามแบบแผน และยังเป็นผู้ ที่มีความสามารถยอดเยี่ยมและรอบรู้ในกระบวน แสดงละครร้อง สามารถถ่ายทอดได้อย่างครบถ้วนและถูก ต้องทั้งทางร้องและทางแสดง

นอกจากนั้น ท่านยังเป็นผู้มีความสามารถในการจัดการ เรียนการสอนวิชานาฏศิลป์ เป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมใน การร่างหลักสูตรวิชานาฏศิลป์ไทยระดับนาฏศิลป์ชั้นต้น จนถึงระดับปริญญา เป็นผู้พัฒนาหลักสูตรและสื่อ การเรียนการสอนระดับปริญญา วิทยาลัยนาฏศิลป์สมทบใน คณะนาฏศิลป์และดุริยางค์วิทยาลัยเทคโนโลยีและอา ชีวศึกษาให้ก้าวหน้าทันต่อวัตกรรมทางการ ศึกษา เป็นผู้คิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักประดิษฐ์ ลีลาท่ารำระบำต่าง ๆ ตลอดจนการแสดงให้ ผสมผสานตามยุค ตามโอกาสและสมัยนิยม
นางเฉลย ศุขะวณิช เป็นผู้มีผลงานการแสดงเป็น ที่ปรากฏมากมาย คือ

เป็นศิลปินประจำราชสำนัก วัง สวนกุหลาบ (สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา) และ วังเพชรบูรณ์ (สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์อินท ราชัย) มาตั้งแต่อายุ ๗-๒๑ ปี เป็น เวลา ๑๕ ปี แสดงละครประเภทต่าง ๆ หลายเรื่อง ส่วนมาก มักจะได้รับบทเป็นตัวนางตามความถนัด เช่น
ละครใน
เรื่องอิเหนา รับบทเป็น ประไหม สุหรี มะเดหวี ดรสา
เรื่องอุณรุท รับบทเป็น ศุภลักษณ์
เรื่องรามเกียรติ์ รับบทเป็น ชมพูพาน และหัว หน้ารากษส
ละครนอก
เรื่องสังข์ทอง รับบทเป็น มณฑา จันทา
เรื่องคาวี รับบทเป็น คันธมาลี เฒ่าทัศ ประสาท
เรื่องสังข์ศิลป์ชัย รับบทเป็น เกษรสุมณฑา
เรื่องพระอภัยมณี รับบทเป็น วาลี สุวรรณมาลี
ละครดึกดำบรรพ์
เรื่องอิเหนา รับบทเป็นมะเดหวี
เรื่องสังข์ทอง ตอน มณฑาลงกระท่อม รับบทเป็น มณฑา
เรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศูรปนขาขึ้นหึง รับบทเป็น ศูรปนขา (ตัวแปลง)
เรื่องคาวี รับบท เป็น คันธมาลี รับบทเป็น เฒ่าทัศประสาท
ทั้งยังเป็นนักร้องต้นเสียงร้องสักวา ของวงสักวาสวน กุหลาบ และเป็นนักร้องวงคอนเสิร์ตวังสวนกุหลาบ และ เป็นผู้แสดงท่ารำ ชุด เพลงหน้าพาทย์ (ตัว นาง) ของการบันทึกภาพท่ารำ วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรม ศิลปากร
นอกจากจะมีผลงานเกี่ยวกับ การแสดงแล้ว ท่านยังมีผลงานด้านวิชาการมาก มายดังนี้คือ เป็นผู้ถ่ายทอดท่ารำที่ เป็นแบบแผน บรรจุลงไว้ในหลักวิชานาฏศิลป์ระดับ นาฏศิลป์ชั้นกลาง-ชั้นสูง และปริญญา เช่น
- เชิดฉิ่งศุภลักษณ์ ของ หม่อมครูนุ่ม
- ศุภลักษณ์อุ้มสม ของ หม่อมครูนุ่ม และหม่อมครูอึ่ง - ฉุยฉายวัน ทอง -ฉุยฉายศูรปนขา ของ หม่อมครูนุ่ม -
- ฉุยฉายกิ่ง ไม้เงิน-ทอง (นาง) ของ เจ้าจอมละม้าย
- ฝรั่งคู่ (อุณรุทกับอุษา และอรชุนกับเมขลา ) ของหม่อมครูนุ่ม เป็นต้น
นอกจากนั้นท่านยังได้ร่วมจัดทำหลักสูตรการศึกษาวิชานาฏศิลป์ไทย ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ระดับนาฏศิลป์ชั้นต้น-กลาง -สูง และปริญญา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ จนถึงปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนและควบคุมการสอน วิชานาฏศิลป์ไทยระดับนาฏศิลป์ชั้นต้น-กลางและชั้น สูง ของวิทยาลัยนาฏศิลป์ เป็นเวลา ๓๐ ปี และเป็นอาจารย์สอนวิชานาฏศิลป์ไทยทั้งภาคทฤษฎีและ ปฏิบัติ หลักและเทคนิคการนอนวิชาเฉพาะ ระดับปริญญา วิทยาลัย นาฏศิลป์สมทบในคณะนาฏศิลป์และดุริยางค์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและ อาชีวศึกษา เป็นเวลา ๑๒ปี กรรมการที่ปรึกษาร่าง หลักสูตรรายวิชานาฏศิลป์ระดับปริญญาและเป็นที่ปรึกษาการ พัฒนาหลักสูตร และสื่อการเรียนการสอนระดับปริญญา ป็นคณาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาระดับปริญญา ในการจัดงานนิทรรศการวิชาการ 85-86 และ การแสดงบนเวที ณ บริเวณหอประชุมคุรุสภา เป็น คณาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาใน งานการบรรเลงและการแสดงนาฏศิลป์ ณ โรงละครแห่ง ชาติ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๐ จนถึงปัจจุบัน เป็นกรรมการสอบคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนต่อระดับ ปริญญาวิทยาลัยนาฏศิลป์สมทบในคณะนาฏศิลป์และดุริยางค์ วิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษา เป็นคณาจารย์ที่ปรึกษาฝ่ายวิชากา รหลักสูตร และการเรียนการสอนฝ่ายกิจกรรม งานการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลป์ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นวิทยากรในการประกอบพิธีไหว้ครูและครอบ โขน-ละคร ต่อเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงแก่นักศึก ษาวิทยาลัยนาฏศิลป์ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็น กรรมการที่ปรึกษาการเขียนหนังสือและคู่มือวิชาดนตรี ศึกษาระดับมัธยมต้นของกรมวิชาการ เป็นกรรมการตรวจ หนังสือและคู่มือครู วิชาศิลปกรรมระดับมัธยมปลาย ของกรมวิชาการ เป็นวิทยากรและที่ปรึกษาการอ บรมวิชาการละครเพื่อการศึกษา ระหว่างภาคฤดูร้อน (อ.ศ.ณ.) ณ วิทยาลัย นาฏศิลป์ ตั้ง แต่ พ.ศ.๒๕๑๓ จนถึงปัจจุบัน และเป็น กรรมการที่ปรึกษาโครงการค้นคว้าวิจัยดนตรีและนาฏศิลป์ ของกรมศิลปากร นอกจากผลงาน การแสดงดังที่กล่าวแล้ว นางเฉลย ศุ ขะวณิช ยังคิดและประดิษฐ์ท่ารำและระบำใหม่ ๆ ร่วมกับนางลมุล ยมะคุปต์ ขึ้นหลายชุดเช่น
- ระบำกินนร รำประกอบเพลงหน้าพาทย์กินนร (ในละครดึก ดำบรรพ์เรื่อง จันทกินรี) แสดงเป็นครั้งแรกใน งานปิดภาคเรียน ณ หอประชุมโรงเรียนนาฏศิลป์ พ .ศ. ๒๕๐๘
- ระบำโบราณคดี ๔ ชุด คือ ระบำทวารวดี ระบำศรีวิชัย ระบำลพบุรี และเชียงแสน แสดงเป็นครั้งแรกเนื่องในวโรกาสที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระ บรมราชินีนาถเสด็จเป็นประธานงานพิธีเปิดอาคารใหม่ ณ บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๑๐
- ฟ้อนแคน ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง ๓ พ.ศ. ๒๕๑๘
- ซิ้งสัมพันธ์ แสดงเป็นครั้งแรก เนื่องในงานรับรอง ฯพณฯ รอง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน (นาย เติ้ง เสี่ยวผิง) เมื่อวันที่ ๘พฤศจิกายน ๒๕๒๑
-ระบำฉิ่งธิเบต แสดงครั้งแรกเนื่องใน งานน้อมกล้าฯ ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อวัน ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ระบำกรับ แสดงครั้งแรกเนื่อง ในงานรับรองคณะโครงการเรือเยาวชน ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๒๔
- รำกิ่งไม้เงินทองถวาย (บทประพันธ์ของ น.ส. ปราณี สำราญวงศ์) เนื่องในวโรกาศอภิลักขิตสมัยมงคล เฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พล พ.ศ.๒๕๒๕
- เซิ้งสราญ แสดงในรายการเสาร์สโมสร ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๕ พ.ศ. ๒๕๒๕
- ระบำสวัสดิรักษา แสดงในรายการเสาร์สโมสร ออกอากาศทางสถานีโทร ทัศน์ช่อง ๕ พ.ศ.๒๕๒๘
- ระบำมิตรไมตรีซีเกมส์ แสดงในงานพิธีเปิดการแข่งขัน กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ ๑๓ ณ สนามกีฬาแห่งชาติ
-ระบำศรีชัยสิงห์ แสดงเนื่องในวโรกาสสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ เป็นประธานพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์เมืองเมื่อ วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๓๐ ณ จังหวัดกาญจนบุรี
-ระบำขอม แสดงเนื่องในงานลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ณ จังหวัดสุโขทัย ระหว่างวันที่ ๓-๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๐
จากผลงานต่าง ๆ นี้ ทำให้นางเฉลย ศุขะวณิช ได้รับการยกย่องและได้รับเกียรติคุณต่าง ๆ มากมาย เช่น ได้รับเครื่องราชอิสริยารณ์ ตริ ตราภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) รับพระ ราชทานโล่กิตติคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในงานเชิดชูเกียรติ ศิลปินอาวุโส เนื่องในวโรกาสงานสมโภช กรุงรัตน โกสินทร์ ๒๐๐ ปี ซึ่งธนาคารกรุงเทพ จำกัด เป็นผู้จัดเมื่อ วันที่ ๑๙พฤษภาคม ๒๕๒๕ และรับพระราชทานปริญญา กิตติมศักดิ์ สาขานาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ. ศ.๒๕๓๐






Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 12:26:49 น. 0 comments
Counter : 59596 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

pattapon
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ป.ปลา ตากลม นิสัยดี๊ ดี
wellcome to pattapon'blog

Free Counter by Pliner.Net
singles, shopping, search, classifieds


lunar phases
Color Codes ป้ามด
Get this widget | Share | Track details
Friends' blogs
[Add pattapon's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.