DoN'T LoVe YoU nO MoRe i'M sOrRy.
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
15 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 
นางสาวจำเรียง พุธประดับ

นางสาวจำเรียง พุธประดับ
ศิลปินแห่ง ชาติ สาขาศิลปะการแสดง ( นาฏศิลป์ - ละคร )


นางสาวจำเรียง พุธประดับ เกิดวันที่ ๑๑ มกราคม พุทธ ศักราช ๒๔๕๙ ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นศิลปิน ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย ของวิทยาลัย นาฏศิลป กรมศิลปากร มีความสามารถรอบรู้ กระบวนการ งานนาฏศิลป์ การแสดงละครทุกประเภทเป็นหลัก และแม่ แบบ โดยเฉพาะตัวนาง เป็นผู้อนุรักษ์แบบ แผนการ แสดงนาฏศิลป์การละคร รวมทั้งสร้างสรรค์ และ ประดิษฐ์ผล งานการแสดงของวิทยาลัยหลายชุด เป็นผู้ ร่วมพิจารณา หลักสูตรสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย และพัฒนาร่าง หลักสูตร รายวิชาตลอดจนสื่อการเรียนการสอน ระดับปริญญา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและวิทยากรในวิชาศิลปะ นิพนธ์ นิเทศ การสอนวิชานาฏศิลป์ไทย ทั้งในวิทยาลัยนาฏ ศิลปส่วน กลางและส่วนภูมิภาค เป็นวิทยากรอบรม วิชานาฏศิลป์ แก่หน่วยงานทางราชการ รัฐวิสาหกิจและ องค์กร ภาคเอกชน เป็นศิลปินผู้แสดงดีเด่น เป็นหัว หน้าคณะไปแลกเปลี่ยนศิลปะวัฒนธรรม ในต่าง ประเทศ เป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยจริยธรรม และคุณ ธรรม อุทิศตนเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาใน สาขาวิชานาฏศิลป์อย่างสม่ำเสมอมากว่า ๕๐ ปี ตลอดจน ให้คำ ปรึกษาแนะนำแก่ศิษย์และบริการงานสังคม อย่างดี ยิ่ง จนเป็นที่ยอมรับในวงการ นาฏดุ ริยางคศิลป์ ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน

นาง สาวจำเรียง พุธประดับ สมควรได้รับการ ยกย่อง เชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะ การแสดง ( นาฏศิลป์ - ละคร )
ประวัติชีวิตของนางสาวจำเรียง พุธประดับ

นางสาวจำเรียง พุธประดับ เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ณ ตำบลท่าทราย อำเภอ กระแซง จังหวัดเพชรบุรี บิดาชื่อ นายเปี่ยม มารดาชื่อ นาง เจิม ปัจจุบันตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านเลขที่ ๑๓ ซอย ศรีสุกรี ถนนสุขุมวิท ๗๑ คลองตัน กทม .
นางสาวจำเรียง พุธประดับ ได้เข้ารับราชการ ในกรมปี่พาทย์หลวง กระทรวงวังและได้รับคัด เลือกไห้ฝึกหัดละครหลวงเป็นตัวนางในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ รับพระราชทานเงินเดือนๆ ละ ๖ บาท ได้เบี้ย เลี้ยงวันละ ๑๐ สตางค์ โดยเป็นศิษย์ในความปก ครองของเจ้าจอมมารดาสาย และคุณจอมละม้ายใน พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครูผู้ช่วย ฝึกหัดละครคือ ครูศิริ ครูจุไร สุวรรณทั ต เริ่มฝึกหัดรำเพลงช้า เพลงเร็ว เชิด เสมอ หัดนั่ง หัดรำในท่านาฏศิลป์ เช่น นั่งกระทบจังหวะ เพื่อให้รู้จักจังหวะ หัดรำร่าย กล่อมตัว กล่อม หน้า กล่อมไหล่ ตีไหล่ ตีแง้ศีรษะ ฯลฯ เพื่อให้ รู้จักการใช้อวัยวะต่างๆ ก่อนที่จะหัดรำ ใช้บทและตีบทต่อไป

จากนั้นก็ หัดร้องและตีบทตามบทละครที่เป็นคำ กลอนประเภทละครนอกละครใน ซึ่งเป็นท่าที่ดัด แปลงจากธรรมชาติให้สวยงาม เป็นลีลาท่านาฏศิลป์ เช่น บทไป มา ท่าโกรธ ท่ารัก ท่าอาย ท่า เดิน ท่าคลาน ท่าหมอบกราบ เป็นต้น เมื่อหัดตีบท รำใช้บทได้ดีแล้ว จึงเริ่มหัดรำเป็น หมู่ ได้แก่ระบำสี่บทซึ่งเป็นแบบมาตรฐาน เพลง ที่ร้องและท่ารำค่อนข้างยากมาก ( ปัจจุบัน อยู่ในหลักสูตรของนักเรียนนาฏศิลป์ชั้นสูงของ วิทยาลัยนาฏศิลป์ ) นอกจากนั้นยังได้ฝึกหัดระบำ ดาวดึงส์ ระบำพรหมมาสตร์ รำบทนางเมฆขลา ซึ่ง เป็นท่าที่สวยงามและยากลำบากมาก ต้องใช้ เวลาฝึกหัดนานกว่าจะได้ดี

เมื่อครู ผู้ฝึกสอนพิจารณาเห็นว่า นางสาวจำเรียง ฝึกหัด รำตีบท ใช้บท รำเดี่ยวและรำเป็นหมู่ ได้ดีแล้วจึงคัดเลือกให้แสดงละครเป็นเรื่อง โดยแสดงเป็นตัวนาง ซึ่งศิลปะการแสดงละครนอก ผู้แสดงต้องแสดงให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินแบบ ละครชาวบ้าน โดยมุ่งการดำเนินเรื่อง มากกว่าลีลา ท่ารำ ด้วยเหตุที่นางสาวจำเรียง มีความ วิริยะ อุตสาหะ และได้รับการฝึกหัดตามกำหนดเวลา เป็น ประจำอย่างเคร่งครัด จึงสามารถทำให้จดจำ ท่า รำ จังหวะลีลาและท่าที อย่างแม่นยำจาก ครู ผู้สอนและจดจำอย่างไม่มีวันลืมนอก จากนั้นยังได้มีโอกาสได้รับการฝึก หัด นาฏศิลป์เพิ่มเติมที่บ้านเจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ ( ม.ร.ว. เย็น อิศร เสนา ) โดย มีหม่อมครูต่วน ( นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ) ครูแปลกและแม่ครูซึ่งเป็นผู้ฝึกสอน อีก ด้วย นางสาวจำเรียง ย้ายเข้ามารับราช การใน กรมศิลปากร ด้วยคำสั่งโอนโขน ละครหลวง จากกรมพิณพาทย์หลวง กระทรวงวังมาสังกัด กรมศิล ปากร โดยประจำอยู่ที่โรงเรียนศิล ปากร แผนกนาฏดุริยางค์ ( วิทยาลัยนาฏศิลในปัจจุบัน ) ได้ รับมอบหมายหน้าที่ให้เป็นครูสอน วิชานาฏศิลป์ ละคร และเป็นทั้งศิลปินผู้แสดง ซึ่งใน การแสดง นาฏศิลป์ชุดต่างๆ นั้น นางสาวจำเรียง พุธประดับ จะได้ รับคัดเลือกเป็นตัวนางอยู่คู่หน้า เสมอ เพราะ เหตุว่าเป็นผู้ที่จดจำท่ารำ ได้แม่น ยำมาก เช่น

- ระบำดาวดึงส์

- ระบำพรหม มาสตร์

- ระบำย่องหงิด

- ระบำ สี่บท

- ระบำ บุษบาชมศาล

นอกจากนี้ นางสาวจำเรียง ซึ่งแสดง เป็นนางเอกและตัวเอก ฝ่ายนางในการแสดง โขนละครหลายเรื่องเช่น

- แสดงเป็นนางนารายณ์ใน การแสดงโขนชุดนารายณ์ ปราบนนทุก

- แสดงเป็น พราหมณ์เกศสุริยงใน การแสดงละครนอกเรื่องสุวรรณหงส์ ตอนพราหมณ์ เล็กพราหมณ์ โต

- แสดงเป็นนางจันทร์ใน การแสดงละคร เรื่องพระร่วง

- แสดงเป็นนางรจนา ในการ แสดงละครนอกเรื่อง สังข์ทองตอนเลือกคู่

- แสดงเป็นนางเบญจกายแปลง ( นางสีดา ) ในการแสดงโขนชุดนางลอย

- แสดงเป็น นางพญาคำปิน ในการแสดงละครเรื่อง นาง พญาผานอง เป็นต้น

ซึ่งในการนี้ต้องศึกษา หา ความรู้นาฏศิลป์เพิ่มเติม จึงได้มอบตัวเป็น ลูก ศิษย์ของ หม่อมครูต่วน ( นางศุภลักษณ์ ภัทร นาวิก ) คุณหญิงเทศ นัฏภานุรักษณ์ คุณครู มัล ลี คงประภัศร์ คุณครูลมุล ยมะคุปต์ คุณ ครู ผัน โมยากุล ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์ เสนี ( ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ) และ คุณ ครูเฉลย ศุขะวณิช ( ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิล ปะการ แสดง )
การศึกษาของนางสาวจำเรียง พุธประดับ

นางสาวจำเรียง พุธประดับ สำเร็จการศึกษาชั้นประถม ศึกษาจากโรงเรียนประจำจังหวัดเพชรบุรี เมื่ออายุเพียง ๑๓ ขวบโดยไม่ยอมเรียนต่อ ในชั้นสูงขึ้นไป และหันมาฝึกฝนวิชานาฏศิลป์ไทย ทั้งนี้เพราะ ในระหว่างที่กำลังเรียนอยู่ที่โรงเรียนประจำจังหวัด เพชรบุรีนั้น เวลาปิดเทอมทุกครั้งไปได้มีโอกาส เดิน ทางไปกรุงเทพฯ เพื่อไปเยี่ยมญาติซึ่งเป็น ข้าราชบริพารรับใช้เบื้องยุคลบาทในวัง สวนกุหลาบ ได้เห็นการฝึกหัดโขนหลวงและละครหลวง บริเวณเรือนไทยในวังสวนกุหลาบ ทั้งศัพท์เสียง สำเนียง เครื่องดนตรีที่ดีดสีตีเป่าดังสนั่นหวั่น ไหว เสียงขับร้องเพลงไทย เสียงตบมือกระทืบเท้า เคาะ จังหวะและเสียงขับลำทำบทของครูและ ลูกศิษย์ดังอยู่ไม่ขาดระยะ ทำให้นางสาว จำเรียง เกิดความรู้สึกสนใจในการร้องรำ มากจึงขออนุญาตบิดามารดาเข้ารับการฝึกหัด ละครโดยไม่ยอมศึกษาวิชาสามัญชั้นสูงต่อไป
ผลงานของนางสาวจำเรียง พุธประดับ
ชีวิตรับราชการในกรมศิลปากรของนางสาวจำเรียง พุธประดับ ตั้งแต่เริ่มต้นนั้น ได้ ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ตามลำดับดังนี้

พ.ศ. ๒๔๙๖ ดำรงตำแหน่งศิลปินตรี แผนกนาฏศิลป์ กอง การสังคีต

พ.ศ. ๒๔๙๘ รักษาการใน ตำแหน่งหัวหน้าแผนกนาฏศิลป์ กองการสังคีต

พ. ศ . ๒๕๐๑ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกนาฏศิลป์ กองการสังคีต

พ.ศ. ๒๕๐๙ ดำรงตำแหน่งศิลปินเอก กองการ สังคีต

พ.ศ. ๒๕๑๙ ดำรงตำแหน่งนาฏ ศิลปิน ๗ ( ชั้นพิเศษ ) กองการสังคีตและเป็น นาฏศิลปินคนแรกของกรมศิลปากรที่ได้ระดับ ๗ ซึ่งในระหว่างรับราชการนี้ นอกจากจะ ต้องเป็นผู้แสดงนาฏศิลป์แล้วยังต้อง ปฏิบัติหน้าที่ ควบคุมการแสดงเป็นหัวหน้าควบคุมข้าราช การศิลปินและนักเรียน ไปเผยแพร่ และแลกเปลี่ยน ศิลปวัฒนธรรมไทย ทั้งในและต่างประเทศหลายครั้ง เช่น สหภาพพม่า สหราชอาณาจักรลาว เดนมาร์ก ญี่ปุ่น สหพันธ รัฐมาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งในการไปต่างประเทศ แต่ละครั้ง ได้มีโอกาสฝึกสอน วิชาให้ชาว ต่างประเทศนั้น ๆ รำไทย เช่น รำวง เป็นต้น นอก จากนั้นยังได้เดินทางไปเผย แพร่ศิลปวัฒน ธรรมไทยตามภูมิภาคต่าง ๆ แทบทุกจังหวัด และ ได้แสดงในโอกาสถวายการต้อนรับ พระราชอาคันตุกะ และรับรองแขกของรัฐบาล รวมทั้งหน่วยงาน ราชการ องค์การ รัฐวิสาหกิจ และเอก ชนทั่วไป การสอนวิชานาฏศิลป์นั้นแตกต่างกับการสอนวิชา สามัญ เพราะผู้เรียนมิได้ใช้ตำรา อ่านแต่ผู้ เรียนจะต้องฝึกหัดจดจำเลียนแบบท่ารำ ตลอดจนลีลาท่าทีจากครูผู้สอน นางสาว จำเรียง เป็นครูสอนนาฏศิลป์ที่มีหลักยึดถือปฏิบัติ ตลอดมาคือ

๑. เป็นผู้มีความสามารถ จด จำท่ารำได้แม่นยำและเชื่อมั่นตนเอง ไม่เปลี่ยนแปลงท่ารำบ่อย ๆ จนผู้เรียนเกิดความสับสน ต้องทำตนเป็น แม่แบบที่ดี มีความคล่องแคล่วว่องไว

๒. ต้องพยายามปรับ ปรุงตนเอง ฝึกหัดท่ารำและท่วงทีลีลาให้ อยู่ในระดับมาตรฐานและถูกต้องในการวางอวัยวะต่าง ๆ

๓. ไม่ปิดบังอำพรางวิชา มีความจริงใจและตั้งใจที่จะถ่ายทอด วิชาให้ศิษย์เต็มความสามารถ สอนอย่างไม่ปล่อยปละ ละเลย

๔. ต้องให้การเรียนนาฏศิลป์เป็นการ เรียนด้วยความสนุกสนาน โดยการทำอารมณ์ของครู ให้แจ่มใสอยู่เสมอ ใจเย็นหนักแน่นและอดทน

นางสาว จำเรียง พุธประดับ เป็นผู้มีความคิด ริเริ่มสร้าง สรรค์นาฏศิลป์ไทยโดยการประดิษฐ์ท่ารำ การแสดงเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ประดิษฐ์ท่ารำตามบทใน การแสดงละครและโขนชุดต่าง ๆ และประดิษฐ์ท่า รำชุด ระบำประทีปสุโขทัย เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังเป็น ผู้ถ่ายทอดท่ารำแบบมาตรฐานและปรับปรุง ให้ เหมาะสมสอดคล้องกับการแสดงยุคปัจจุบัน เป็น แม่แบบและเป็นที่ปรึกษาในการบันทึกภาพท่า รำโครงการงานวิจัยดนตรีและนาฏศิลป์ของกรมศิล ปากร อำนวยการฝึกซ้อมการแสดง งานประจำของ วิทยาลัยนาฏศิลป์ อำนวยการฝึกซ้อมงานแสดงงานประจำร่วม กับกองงานสังคีต ได้เคยเดินทางไปสอนนาฏศิลป์ ( ละครเรื่องมโนราห์ ) ณ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อแสดงใน งานครบร้อยปี ความสัมพันธ์ ไทย - ญี่ปุ่น นอกจาก นั้นยังได้รับโล่ห์กิตติคุณ จากสมเด็จพระ เทพ รัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาส เฉลิมฉลองพระชนม์พรรษาครบห้ารอบของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย

นางสาวจำเรียง พุธประดับ อายุครบเกษียณราชการเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐ แต่ด้วยเหตุที่เป็นผู้ที่มีความรู้และมีฝีมือในการ แสดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแสดงเป็นตัวนาง ยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้ กรมศิลปา กรจึงให้รับราชการต่อไปในตำแหน่ง ผู้ เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรม ศิลปากรจนถึงปัจจุบันนี้

ในการ ทำงาน นั้น นางสาวจำเรียง พุธประดับ มีคติประจำใจคือ " ปฏิบัติราชการงานอุทิศ สุจริตธรรม นำวิถี พรหมวิหารพูนเพิ่มเสริมความดี สม ศักดิ์ศรีศิลปินแห่งศิลปเอย "



Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 12:26:10 น. 0 comments
Counter : 30413 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

pattapon
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ป.ปลา ตากลม นิสัยดี๊ ดี
wellcome to pattapon'blog

Free Counter by Pliner.Net
singles, shopping, search, classifieds


lunar phases
Color Codes ป้ามด
Get this widget | Share | Track details
Friends' blogs
[Add pattapon's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.