DoN'T LoVe YoU nO MoRe i'M sOrRy.
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
15 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 
นายเสรี หวังในธรรม

นายเสรี หวังในธรรม
ศิลปินแห่ง ชาติ สาขาศิลปะการแสดง ( ศิลปะการละคร )

นายเสรี หวังในธรรม เกิดวันที่ ๓ มกราคม พุทธ ศักราช ๒๔๘๐ ที่กรุงเทพมหานคร รับ ราชการ เป็นศิลปินของกรมศิลปากร ด้านนาฏ ดุริ ยางคศิลป์ รวมทั้งศิลปะเกี่ยวเนื่องกับการ ละครอัน เป็นเอกลักษณ์ของชาติ มีผลงานดี เด่นตลอด ระยะเวลากว่า ๓๐ ปี ตั้งแต่เริ่มต้น รับราช การจนดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการ สังคีต กรม ศิลปากรในปัจจุบัน เป็นที่รู้จัก กว้างขวาง ในฐานะศิลปินที่สมบูรณ์ในความคิดสร้าง สรรค์และ ความสามารถรอบด้าน ทั้งในฐานะผู้จัด รายการ หรือผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับการแสดง ผู้ประพันธ์ เรื่องและแต่งบททั้งร้อยแก้วและร้อย กรอง และ เป็นผู้แสดงทั้งละคร ดนตรี ขับร้อง ทั้ง เป็นนัก พูด นักบรรยาย เป็นกวี และ พิธีกรใน งานต่าง ๆ ได้สร้างสรรค์รายการแสดงชุดต่าง ๆ ซึ่ง ได้ใช้เผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมไทย ให้ได้ รับความนิยมเพิ่มขึ้นตลอดมา ได้จัด การแสดง และให้ความรู้ชุดดนตรีไทยพรรณา นาฏ ยาภิ ธาน ขับขานวรรณคดี ศรีสุข นาฏกรรมและ ธรรมบันเทิง โดยเฉพาะรายการศรีสุขนาฏกรรม ซึ่งได้ รับความ นิยมติดต่อกันมา ๑๓ ปีเศษแล้ว และราย การชุดใหม่ที่ทำชื่อเสียงเป็นประวัติ การณ์ คือ ละครพันทาง เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ ซึ่งทำ ขึ้นจากบทประพันธ์ของยาขอบ ได้แสดงมาแล้ว ประมาณ ๔๐ ตอน ในระยะเวลาสามปีเศษ และยัง คงดำเนิน การต่อไป นับเป็นศิลปินที่เพียบพร้อม ทั้งพร สวรรค์ ความเชี่ยวชาญและคุณสมบัติอื่น ๆ

นาย เสรี หวังในธรรม สมควรได้รับการ ยกย่อง เชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะ การแสดง ( ศิลปะการละคร )

ประวัติชีวิตของนายเสรี หวังในธรรม

นายเสรี หวังในธรรม เกิดเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๐ บิดาชื่อขุนสาธกธนสาร ( เหลือ หวังในธรรม ) มารดาชื่อนางสง่า หวังในธรรม รับการศึกษาครั้ง แรก ในระดับชั้นอนุบาลที่โรงเรียนศรีจรุง ต่อ จากนั้นจึงไปรับการศึกษาต่อในระดับชั้น ประถม ศึกษาที่โรงเรียนปิยะวิทยาและชั้นมัธยม ศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนวัดชิโนรส ต่อมาย้าย ไป เรียนต่อที่โรงเรียนนาฏศิลป( ปัจจุบันเป็น วิทยาลัยนาฏศิลป )กรมศิลปากร ในระหว่างที่ เรียน อยู่ใน โรงเรียน นาฏศิลป นายเสรีได้ฝึก หัดวิชาศิลปะทุกสาขา เช่น ดุริยางค์ไทย ดุริยางค์สากล คีต ศิลป ไทย นาฏศิลปโขน เป็นต้น จนเป็นผู้มีความ รู้ความสามารถในศิลปะนั้นๆ เป็นอย่างดี นายเสรี รับ ราชการในตำแหน่งศิลปินจัตวา แผนกดุริยางค์ไทย กอง การสังคีต กรมศิลปากรตั้งแต่ยังเป็นนัก เรียน และเมื่อจบการศึกษาชั้นสูงจากโรงเรียนนาฏศิลป เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ก็ได้รับ การบรรจุแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการชั้นตรี ตำแหน่งศิลปินตรี แผนกดุริยางค์ไทย กองการสังคีต กรมศิล ปากร ในระหว่างรับราชการนั้น นายเสรีได้ เลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่งมาตามลำดับนับตั้งแต่เป็นหัว หน้าแผนกดุริยางค์ไทย หัวหน้างานวิชาการ จนเป็น ศิลปินระดับ ๘ ผู้อำนวยการกองสังคีต กรมศิลปา กร
ในด้านประสบการณ์และการศึกษาในต่าง ประเทศ

นายเสรีได้รับทุนจากต่างประเทศไปศึกษา วิชา การด้านศิลปะที่อีสต์เวสต์เซนเตอร์ ยูนิ เวอร์ซิตี้ ออฟฮาวาย สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ . ๒๕๐๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นเวลา ๓ ปี ได้นำความรู้ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ ในการรับราชการในตำแหน่งนักบริหารและใน ฐานะศิลปิน นายเสรี หวังในธรรม เป็นผู้ที่ มีความคิดริเริ่มในการจัดทำรายการ แสดง และ มีความรอบรู้ในเรื่องการออกแบบ รายการแสดง โดยจัดรายการแสดงที่มีทั้ง สาระประโยชน์ และความบันเทิง เช่น รายการชุดดนตรีไทยพรรณนา ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับดนตรีไทย เช่น ปี่พาทย์ ประชันวงการบรรยายและการสาธิตลักษณะวงดนตรีไทยทุกประเภท เป็นต้น รายการชุดนาฏยาภิธานว่า ด้วยเรื่องการแสดงละครแบบต่าง ๆ เป็นการเปรียบ เทียบกับรายการชัยธานวรรณคดี ว่าด้วยเรื่อง เกี่ยวกั บวรรณคดีต่าง ๆ ที่นำมาจัด ทำเป็นบทนาฏกรรม และการบรรยายความรู้สึกเกี่ยว กับเพลงต่าง ๆ จากบทกวีนิพนธ์ การบรรยายและ การสาธิตการเห่เรือและการพายเรือใน พระราชพิธี นอกจากนี้ยังมีการสาธิตการ อ่านทำนองเสนาะจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ประกอบนาฏ ลีลาอีกด้วย ได้คิดริเริ่มจัดรายการศรี สุขนาฏกรรม ซึ่งเป็นรายการประกอบการละเล่นต่าง ๆ นับ ตั้งแต่ โขน ละคร ลิเก ฟ้อน รำ ระบำ เซิ้ง และการ แสดงละคร แนวตลก จัดเป็นแบบสารพันบันเทิงและอีก รายการหนึ่งที่นายเสรี หวังในธรรม เป็นผู้ คิดริ เริ่มให้จัดแสดงคือ รายการธรรมบันเทิง ซึ่งเป็นการแสดงแบบต่าง ๆ ด้วยเรื่องเยาวกับ ธรรมและศิลธรรม รายการต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ มีชื่อคล้องจองกันและมักจัดแสดงในงาน มงคลวโรกาส เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันมหาจักรี เป็นต้น นับได้ว่านายเสรี หวังในธรรม เป็นศิลปิน ที่มีความคิดริเริ่มมีความเป็นตัวของ ตัวเอง มีความมั่นใจใน

ความคิดสร้างสรรค์ ใน การจัดรายการต่าง ๆ ดังกล่าว ซึ่งก็ล้วนเป็นรายการที่อำนวยประโยชน์ความรู้ให้แก่ประชาชนพร้อมไปกับความบันเทิง จึงนับได้ว่า บำเพ็ญประโยชน์ในฐานะศิลปินอย่างน่าชมเชย โดย เฉพาะรายการศรีสุขนาฏกรรมนั้น นับแต่เริ่มเสนอ สู่สายตาประชาชน ได้จัดแสดงเป็นประจำทุกวัน ศุกร์สุดท้ายและวันเสาร์รุ่งขึ้นของทุก ๆ เดือน จัดแสดงติดต่อกันมาเป็นเวลานานถึง ๑๓ ปี เป็นรายการที่ได้รับความนิยมชม ชอบอย่างสูงจึงปรากฏว่ามีหน่วยงานราชการ และ เอกชนนิยมขอให้กรมศิลปากร จัด แสดงรายการศรีสุขนาฏกรรมครั้งพิเศษ เพื่อหาราย ได้บำรุงการกุศลอยู่เนือง ๆ คุณค่าสำคัญที่ ควรกล่าวถึงอีกประการหนึ่งก็คือ การจัดราย การแสดงรายการดังกล่าวของนายเสรี หวังใน ธรรม นี้นอกจากจะเป็นที่นิยมแพร่หลาย ทำชื่อเสียง ให้แก่กรมศิลปากรเป็นอย่างมาก แล้ว ยังมีผลทำให้เยาวชนที่ไม่เคย สนใจศิลปะการแสดงแบบไทย เช่น โขน ละคร ฟ้อน รำ หันมาสนใจเข้าชมการแสดงที่นาย เสรี หวังในธรรม คิดประดิษฐ์จัดขึ้นในรายการ ต่าง ๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี รายการที่นักเรียน นักศึกษาและครูอาจารย์พากันสนใจ อย่างสูง มาก คือการสาธิตดนตรีไทยและนาฏศิลป ไทยในหัวข้อ " สิ่งควรรู้ก่อนดูโขน " ซึ่งนายเสรี หวังในธรรมเป็นผู้บรรยายและ สาธิตการแสดงเอง ซึ่งนายเสรี หวังในธรรม มี อัจฉริยภาพและมีความสามารถอย่างยอดเยี่ยมในการถ่ายทอดและอธิบายความรู้ที่ยากจะเข้า ใจและไม่เป็นที่สนใจมาก่อน ให้เป็น เรื่องสนุก สนานเข้าใจง่ายและเป็นที่ติดอกติดใจ ทำให้นักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ที่เข้าชมการบรรยายและสาธิตได้รับความรู้เกี่ยวกับการแสดงโขน และเกิดความกระตือรือร้นที่จะเข้าชมการ แสดงโขนเป็นชุด เป็นตอนยาว ๆ ต่อ ไป ซึ่งนายเสรี หวังในธรรม ก็ใช้ความคิด ริเริ่มปรับปรุงการแสดงโขนให้เข้ามาเล่น กับยุคสมัย และให้ดึงดูดความสนใจของ ผู้ชม โดยหยิบยกเอาคุณลักษณะพิเศษของตัว โขนมาประมวลจัดสร้างเป็นชุดโขนนำออกแสดงเผยแพร่ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่ประจักษ์ เพราะทุก ครั้งที่ กรมศิลปากรจัดการแสดงโขนชุดต่าง ๆ เช่น ชุดพาลีสอนน้อง ชุดมารซื่อชื่อ พิเภก ชุด ท้าวมาลีวราชว่าความ และชุดหนุมาน ชาญสมร เป็นต้น โดยนายเสรี หวังในธรรม จัดทำบท และ เป็นผู้แสดงด้วย การแสดงโขนดังกล่าว ทุกชุดได้รับความสนใจจากผู้ใหญ่และเด็กเข้าชมกันอย่างคับคั่ง โรงเรียนต่าง ๆ จัดนักเรียนและครูอาจารย์เข้าชมเป็นหมู่ขณะ จนต้องจัดรอบพิเศษแสดงให้โรงเรียนต่าง ๆ ชม เป็นประจำสัปดาห์ละหลายครั้ง นับว่านายเสรี หวังในธรรม มีบทบาทสำคัญในการนำเยาว ชนไทย ให้หันมาสนใจและนิยมตลอดจน สืบทอดอนุรักษ์งานนาฏศิลป์ อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญในด้านวัฒน ธรรมของชาติให้อยู่ยืนยงสืบต่อ ไป

การศึกษาของนายเสรี หวังในธรรม

ได้รับการศึกษาครั้ง แรกในระดับชั้นอนุบาล ที่โรงเรียนศรีจรุง ต่อ จากนั้นจึงไปรับ การศึกษาต่อในระดับชั้น ประถมศึกษาที่โรงเรียน ปิยะวิทยาและชั้นมัธยม ศึกษาตอนต้นที่โรง เรียนวัดชิโนรส ต่อมาย้าย ไปเรียนต่อที่โรง เรียนนาฏศิลป( ปัจจุบันเป็น วิทยาลัยนาฏศิลป )กรม ศิลปากร

ผลงานของ นายเสรี หวังในธรรม
นายเสรี หวังในธรรม มิได้มีอัจฉริยภาพในด้านการแสดงนาฏศิลปเท่านั้น หาก แต่ยังมีความรู้ความสามารถเจนจัดในด้าน ดนตรีและกวีนิพนธ์ โดยได้แต่งเพลงทั้งทำนองและ บท ร้องเพลงไทยสากลให้แก่กรมศิลปากร นับเป็นจำนวนมาก เช่น เพลงรอยเบื้องยุคลบาท เพลงสถิตย์ ในหทัยราษฏ์ เพลงกล่อมพระขวัญ เพลงเพื่อผู้ มีดนตรีการ เพลงเราคือคนไทย เพลงอย่าร้อง ให้ เพลงวิญญาณนาคร เพลงรัตนโกสินทร์จินตนา เพลง มาร์ชค่ายเสนาณรงค์ เพลงมิตรไมตรีเกาหลี - ไทย เพลง เกาหลี - ไทย ไมตรี เพลงมิตรไมตรีญี่ปุ่น - ไทย เพลง มาเลเซีย - ไทย ไมตรีเพลงมิตรมั่นใจ ไทย -มาเลเซีย เพลงนาถมาตา เพลงศิลปากร เพลงสมเด็จพระปิยชาติ เพลงสมเด็จพระมิ่งแม่ เพลงม หาวชิราลงกรณ์ เพลงลายสือ เพลงลาย ลักษณ์อักษรไทย เพลงบรมราชชนนีศรีนครินทร์ เพลงชาติ พลี เพลงพันธ์ไม้ เพลงข้าราชการพลเรือน เพลง สวัสดี เพลงเพลงอิฐเก่าก้อนเดียวเป็นต้น เพลงเหล่านี้ ได้ใช้ในการประกอบการแสดงต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศ เช่น ในงานต้อนรับพระราชอาคันตุกะและ แขกเมือง และบางเพลงได้แสดงในต่างประเทศด้วย

ในหน้าที่ผู้บริหารราชการนั้น นายเสรี หวังในธรรม ดำรงในตำแหน่งผู้อำนวยการกองการ สังคีต กรมศิลปากร นอกจากจะบริหารงานราช การด้วยความสามารถจนงานในหน้าที่ดำเนินรุด หน้าไปได้ดีเป็นที่ไว้วางใจของผู้ บังคับบัญชาแล้ว ยังมีความรู้ความสามารถแต่งบทโขน ละคร บทลิเก และบทขับร้องรำถวายพระ พร เนื่องในมงคลวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ใน โอกาสรับรองพระราชอาคันตุกะ และบทอวยพรผู้ บริหารประเทศตลอดจนผู้มีเกียรติทั่วไป นอกจาก นี้นายเสรี หวังในธรรม ยังมีความสามารถใน การ ขับร้องเพลง การพากย์เจรจาโขน การบรรเลงดนตรี ทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล ตลอดจนเป็นผู้แสดง โขน ละคร เป็นผู้บรรยายรายการสาธิตนาฏศิลป์และดนตรี ไทย และวัฒนธรรมสัญจรทั้งในกรุงและหัวเมือง ได้รับความสำเร็จสร้างชื่อเสียงให้แก่กรมศิล ปากร ฟื้นฟูให้ประชาชนทั่วไปเกิดความ สนใจเข้าชมการแสดงรายการต่าง ๆ ของ กรมศิลปากรเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน เช่น รายการศรีสุขนาฏกรรม ซึ่งแต่เดิมเคยแสดงเดือน ละ ๑ ครั้ง ต่อมาจนถึงปัจจุบันต้องแสดงถึง ๔ ครั้ง และในอนาคตอาจต้องเพิ่มวันแสดงให้ มากขึ้นอีก การแสดงที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ นำชื่อเสียงมาสู่กรมศิลปากร และเป็น การแสดงที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงยิ่ง เป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างมาก ได้แก่ การแสดงละครพันทาง เรื่องผู้ชนะสิบทิศ ที่นายเสรีเป็นผู้ถอด ความจากเรื่องเดิมของ " ยาขอบ " นำมา จัดทำเป็นบทละครพันทางมีบทบรรยายและบท เจรจาเป็นคำกลอน และตัวนายเสรี หวังในธรรม เองก็แสดงเป็นมหาเถรกุโสดอด้วย แต่เดิม เคยจัดแสดงที่สังคีตศาลา สัปดาห์ละครั้ง ต่อมา ประชาชนเรียกร้องถึงแย่งกันซื้อบัตรเข้าชม ปัจจุบันได้นำไปแสดงในโรงละครแห่งชาติ เพิ่ม รอบการแสดงเป็นทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ สัปดาห์ ที่ ๒ ของเดือนรวม ๘ รอบ ปรากฏว่าผู้ชม จำนวนมากขึ้นทุกที จนมีแนวโน้มว่า กรม ศิลปากรคงจะต้องเพิ่มวันแสดงขึ้นอีก เพื่อให้ประชาชนเข้าชมโดยทั่วถึงกัน ละคร พันทางเรื่องนี้แสดงมาแล้วประมาณ ๔๐ ตอน ในระยะ เวลา ๓ ปีเศษ และคงต้องแสดงต่อไปอีก นาน

เนื่องในมงคลวโรกาสเฉลิมพระเกียรติพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระชนมพรรษา ๕ รอบใน พ.ศ. ๒๕๓๐ นาย เสรี ร่วมกับโครงการแผ่นดินธรรม โดยการอนุเคราะห์ จากกรมศิลปากรให้เสนอภาพยนต์โทรทัศน์ เรื่อง " มหาเวชสันดร " ซึ่งนายเสรี หวัง ในธรรม ผู้ช่วยกำกับการแสดง แต่งบทประกอบเพลง และแสดงเป็นตัวชูชก นายเสรีเป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่ม นำเอาประวัติและบท บาทสำคัญ ๆ ของตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มาจัดทำเป็นบทโขนออกแสดงให้ประชาชนชม ณ โรง ละครแห่งชาติเป็นประจำ เช่น ชุดพาลีสอนน้อง ชุดมารซื่อชื่อพิเภก ชุดท้าวมหาชมพูผู้ทระนง ชุด พระรามสุริยวงศ์ ชุดหนุมานชาญสมร และ ชุดศรีดามารศรี เป็นต้น

นอกจากนี้การนำ ตัวเอกเด่น ๆ ในเรื่องรามเกียรติ์มาจัดทำเป็น บทโขนแล้วนายเสรียังได้นำบทเด่น ๆ ของตัวละครในเรื่องต่าง ๆ มาจัดทำเป็น บทละครโดยเน้นตัวละครนั้น ๆ โดยเฉพาะตั้ง ชื่อตอนให้เหมาะสมกับท้องเรื่องเพิ่มความสน ใจ ของผู้ชมให้กับละครเรื่องนั้น ๆ มาก ยิ่งขึ้น เช่นนำบทเด่น ๆ ของโกมินทร์ มาจัดทำเป็นละครนอกตอน " โกมินทร์ คะนอง " นำบทเด่น ๆ ของพระสังข์ มาจัด ทำเป็นบทละครนอกชุด " กิระเรื่องพระสังข์ " และนำบทเด่น ๆ ของสมิงนครอินทร์ใน เรื่องราชาธิราชมาจัดทำเป็นบทละครพันทางตอน " สัจจะ สมิง นครอินทร์ " เป็นต้น

นายเสรี หวังใน ธรรมได้แต่งบทละครปลุกใจให้รักชาติเรื่อง " อิฐเก่าก้อนเดียว " ซึ่งจัดแสดงเนื่องใน งานศิลปะหัตถกรรมที่เวทีใหม่สวนอัมพร ในปี พ .ศ. ๒๕๒๙ ได้รับความสนใจจากประชา ชน นิสิต นักศึกษา นักเรียนเข้าชมกันอย่างคับ คั่ง และในมงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระ นางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนารถ นายเสรีก็ได้นำบทละครเรื่อง อิฐเก่าก้อน เดียว มาปรับปรุงให้กระชับขึ้นนำออกแสดงทาง สถานี โทรทัศน์ช่อง ๕ โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าโสมสวลีพระวรชายาทรงร่วมแสดงเป็นตัวเอก ด้วย

นายเสรี หวังในธรรม เป็นผู้แต่งบท ละคร โขน ลิเก เพลงไทยสากล บทอวยพรและบท เบ็ดเตล็ด ไว้เป็นจำนวนมากกล่าวคือ บทโขน แต่ง เรื่องรามเกียรติ์ทุกตอน ตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบเรื่อง บางชุด บางตอนแต่งไว้ทั้งบทสำหรับแสดงแบบ บทโขนหน้าจอและโขนฉาก บางชุดบางตอน มีทั้งแบบพิสดารและแบบย่อ เพื่อแสดงให้พอ เหมาะกับเวลาที่กำหนด เช่น แสดงหน้าพระที่นั่ง ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาส ทรงรับรองพระราชอาคันตุกะ เป็นต้น นอกจากนี้ยัง มีบทโขนที่แต่งจากเรื่องนารายณ์สิบปาง และ แต่งบทโขนตามตำนานพื้นเมืองของจังหวัดลพบุรี คือ ตอนตำนานเขาวงพระจันทร์ ( ท้าวกกขนาก ) บทละคร แต่งทั้งบทละครใน ละครนอก ละครพันทาง ละครเสภา ละครพูด บางเรื่องแต่งตอนเดียวจบ แต่บางเรื่องแต่งขึ้นเพื่อใช้แสดงในเวลาประมาณ ๓ ชั่วโมง เช่น บทละครพันทางเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ ปัจจุบันแต่งมาถึงตอนที่ ๔๐ บทละครพันทางเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศแต่ละตอนมีความยาวประมาณ ๒๕ หน้ากระดาษพิมพ์ ( ยาว ) คำกลอนในแต่ ละหน้าประมาณ ๑๒ - ๑๖ คำกลอน บรรจุเพลงร้อง ประมาณ ๓ - ๔ เพลง เพลงประกอบการรำประมาณ ๒ เพลง บทละครเรื่องผู้ชนะสิบทิศแต่ละบทจึง มีคำประพันธ์ ยาวถึงประมาณ ๔๐๐ คำกลอน นับถึง ปัจจุบัน ( พฤศจิกายน ๒๕๓๑ ) จึงแสดงมาแล้วถึง ๑๖ ,๐๐๐ คำกลอน และเนื่องด้วยบทละครนี้คำ ประพันธ์ที่ไพเราะ กินใจ กระทัดรัดและแสดงได้ อย่างมีรส ละครเรื่องผู้ชนะสิบทิศนี้ จึง เป็นเรื่องที่ติดใจ ประทับใจผู้ชม ติดตาม ชมอย่างแน่นเนื่องตลอดมา

บทลิเก แต่งไว้ หลายเรื่อง เช่น เรื่องจันทโครพ พระหันอากาศ

บทเพลงไทย สากล แต่งไว้หลายเพลง เช่น เพลงรอย เบื้องยุคลบาท เพลงสถิตในหทัยราษฎ์ เพลงกล่อมพระ ขวัญ เพลงเพื่อ ผู้มีดนตรีการ เพลงเราคือคน ไทย เพลงอย่าร้องให้ เพลงวิญญาณนาคร เพลงรัตน โกสินทร์จินตนา เพลง มาร์ชค่ายเสนาณรงค์ เพลงมิตรไมตรี เกาหลี - ไทย เพลงเกาหลี - ไทย ไมตรี เพลงมิตรไมตรี ญี่ปุ่น - ไทย เพลงมาเลเซีย - ไทย ไมตรีเพลง มิตรมั่นใจ ไทย -มาเลเซีย เพลงนาถมาตา เพลงศิลปากร เพลงสมเด็จพระปิยชาติ เพลงสมเด็จ พระมิ่งแม่ เพลงมหาวชิราลงกรณ์ เพลงลาย สือ เพลงลายลักษณ์อักษรไทย เพลงบรมราชชนนี ศรีนครินทร์ เพลงชาติพลี เพลงพันธ์ไม้ เพลงข้าราชการพลเรือน เพลงสวัสดี เพลงเพลงอิฐเก่าก้อนเดียว ฯลฯ

บทอวยพร แต่งบทถวายพระพรพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ในมงคลวโรกาสต่าง ๆ ปีละ ประมาณ ๑๐ บท แต่งบทอวยพรใน งานต่าง ๆ ปีละประมาณ ๕๐ บท บทเบ็ดเตล็ด เช่น บทเพลงพื้น เมือง บันทึกเสียงออกเผยแพร่ทางสถานี วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และวิทยุศึกษา

นาย เสรี หวังใน ธรรม เป็นศิลปินที่มีความสามารถรอบ ด้าน แสดงได้ทุกตัว ทั้งพระ นาง ยักษ์ ลิง จน มีเกียรติได้แสดงหน้าพระที่นั่งทั้ง ในงาน ที่เป็นทางการ และส่วนพระองค์เป็นประจำ มี คุณสมบัติ ของศิลปินหลายลักษณะรวมอยู่ในตัว เป็น ศิลปินนักแสดงเอง ทั้งในการแสดงละครรำ ละคร ดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง การแสดง ประยุกต์ สามารถแสดงได้ ทั้งตัวเอกและตัวประกอบ หลากหลาย เช่น เป็นกษัตริย์ ฤๅษี พราหมณ์ ขุนนาง ทหาร เป็น ผู้หญิง เป็นคน แก่ เป็นเด็ก และอื่น ๆ และแสดงได้ เกือบทุก บท ทั้งบทตัวดี ตัวโกง ตัวตลก ฯลฯ แสดง ให้ เห็นความเป็นนาฏศิลปินที่มีอัจฉริยภาพ สูง บทบาท ที่นายเสรี หวังในธรรม เป็นผู้ แสดงทุกบท จะได้รับ ความชื่นชอบจากผู้ ชมเป็นอย่างมาก จนเป็นที่กล่าวขวัญ ว่าเป็น ตัวชูโรง ตัวละครสำคัญที่นายเสรี หวังใน ธรรม แสดง และได้รับคำชมเชยเป็นที่นิยม ของผู้ดู เป็นต้นว่า บทนางมณฑาในละครรำ เรื่องสังข์ทอง ตอน มณฑาลงกระท่อมหาเนื้อหาปลา บทชูชก ในการ แสดงเรื่อง พระเวชสันดอน เป็น " ท้าวเสนากุฏ " ในละครนอกเรื่อง สังข์ศิลปชัย เป็นเถรขวาดในเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เป็น อาจารย์คงในเรื่องไกรทอง เป็นป่อง เป๋อในเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เป็นมหาเถรกุโสดอ ในเรื่องผู้ ชนะสิบทิศ เป็นฤๅษี ปุโรหิต เสนาผู้ใหญ่ ใน เรื่องมโนราห์ เป็นพราหมณ์ผู้สอนเพลงปี่ให้พระอภัยมณี และฤๅษี เกาะแก้วพิศดารในเรื่องพระอภัยมณี เป็นฤๅษีอาจารย์ของโกมินทร์ใน เรื่องโกมินทร์ เป็นนายมั่น ปืนยาว ในเรื่อง พระร่วง เป็นนางเกศสุริยง แปลงในเรื่องสุวรรณหงส์ ตอนกุมภัณฑ์ถวายม้า เป็นตัวตลก ประกอบการแสดงเรื่อง อื่น ๆแทบทุกเรื่อง แสดงภาพยนต์ไทย ในโครงการ แผ่นดินธรรม เนื่องในมงคลวโรกาสที่ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา เป็นตัวชูชก แสดงโขนเป็นมโหทร พญา ยักษ์ พญาวานร และตัวตลก นอกจากเป็นผู้แสดง แล้ว ยังเป็นผู้พากย์เจรจาและขับร้องอีกด้วย นอกจาก จะเป็นผู้แสดงแล้วยังเป็นผู้ คิดรายการแสดงและ จัดรายการแสดงในงาน สำคัญคือ เป็นผู้ออกแบบ รายการแสดงในงาน พระราชพิธีต่าง ๆ ทุกครั้งที่ กรมศิลปา กรจัดการแสดงนาฏศิลปไทย เป็นผู้ออก แบบรายการในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า ให้กรมศิลปากรจัด การแสดงถวาย เพื่อทรงรับรองพระราชอาคันตุกะหน้า พระที่นั่งจักรีมหา ปราสาท ออกแบบจัดการแสดง ในโอกาสที่รัฐบาลมอบให้ กรมศิลปากร จัดการแสดงในงานรัฐพิธีต่าง ๆ ณ ทำเนียบ รัฐบาล ออกแบบรายการศิลปะวัฒนธรรม สัญจร ไปแสดงตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคใน ประเทศไทย เป็นผู้ออกแบบและจัดรายการดนตรี ไทย พรรณนา นาฏยาภิธาน ขับขานวรรณคดีศรีสุข นาฏกรรมและความบันเทิง เป็นผู้ออกแบบ และกำหนดรายการ ภาพยนต์สารคดีทุกชุด ใน รายการแผ่นดินธรรม จัดมาแล้วกว่า ๑๐๐ ครั้ง ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพ บกช่อง ๕

- ออกแบบระบำไมตรี ซีเกมส์

- จัดโขนในงาน สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ใช้ผู้แสดงถึง ๒,๕๒๖ คน กลางท้อง สนามหลวง

- จัดโขน ท้าวมาลีวราชว่าความ ในงาน มหามงคลเฉลิมพระ ชนมพรรษา ครบ ๖๐ พรรษา ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ร่วมกับกองทัพบก ที่สนามกีฬา กองทัพ บก

- จัดมหกรรมรัชมังคลาภิเษก ณ ศูนย์วัฒน ธรรมแห่งประเทศไทย นายเสรี หวังในธรรม ได้เคยนำ คณะนาฏศิลป์ไปแสดงต่างประเทศหลายครั้ง เมื่อ พ. ศ. ๒๕๒๔ ไปแสดงนาฏศิลปไทย ณ สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ ไปแสดง นาฏศิลปไทย ในประเทศภาคพื้นยุโรป ๑๐ ประเทศ เนื่องในมงคลวโรกาส เฉลิมฉลองกรุงเทพมหานคร ๒๐๐ ปี พ .ศ. ๒๕๒๗ ไปแสดงนาฏศิลปไทย ณ ประเทศบรูไน พ.ศ. ๒๕๒๗ ไปแสดงนาฏศิลป ไทยร่วมกับ ศิลปินญี่ปุ่น ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่องานแสดงมหกรรม X ; PO แวนคูเวอร์ ( สมเด็จพระบรม โอรสาธิ ราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จไปทอด พระเนตร ) สำหรับ การบรรยายทางวิชาการด้าน ดนตรี และนาฏ ศิลปไทยนั้น นายเสรี หวังใน ธรรม ได้บรรยายไว้หลายแห่ง หลายเรื่อง กล่าวคือ

- เป็นผู้ออกแบบและบรรยายเกี่ยวกับวิชาการทาง ด้านดนตรีและนาฏศิลปไทย ในรายการต่าง ๆ เช่น สิ่งที่ควรรู้ก่อนดูโขน กรมศิลปา กรจัดรายการโดยการสนับสนุนของธนาคารกรุงเทพ จำกัด ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕

- รายการ " วิวัฒนาการเสภา " บรรยายตามสถานที่ราชการ และสถาน ศึกษาทั่วไป

- รายการ " คู่ขวัญวรรณคดี " บรรยายตามสถาบันการศึกษาทั่วไป จัดเป็นประจำทั่ว ทุกภูมิภาค จัดมาแล้วกว่า ๔๐ จังหวัด

- ราย การ " ดนตรีไทยพรรณนา " บรรยายและสาธิตใน โอกาส วันสำคัญ ๆ ของทาง ราชการ

- รายการ " นาฏยาภิธาน " และ " ขับขานวร รณคดี " บรรยายและสาธิตในโอกาสที่ กรมศิลปากร จัดรายการเป็นพิเศษ ณ โรงละครแห่งชาติ

นอก จากนี้นายเสรี หวังในธรรม จะปฏิบัติหน้าที่ ในราชการประจำและรายการพิเศษ แล้ว ยัง ได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนาฏศิลป และดนตรีของภาคเอกชนอีกหลายแห่ง



Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 12:25:40 น. 0 comments
Counter : 14483 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

pattapon
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ป.ปลา ตากลม นิสัยดี๊ ดี
wellcome to pattapon'blog

Free Counter by Pliner.Net
singles, shopping, search, classifieds


lunar phases
Color Codes ป้ามด
Get this widget | Share | Track details
Friends' blogs
[Add pattapon's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.