DoN'T LoVe YoU nO MoRe i'M sOrRy.
Group Blog
 
 
มีนาคม 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
28 มีนาคม 2550
 
All Blogs
 

โลกร้อน...เกี่ยวข้องกับชีวิตเราอย่างไร

โลกร้อน-ทะเลทรายแล้ง ยูเอ็นเตือน-อีก50ปีอยู่ไม่ได้

ภูมิอากาศโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง ภาวะขาดแคลนน้ำที่รุนแรงมากขึ้นและแม้แต่การท่องเที่ยว ล้วนสร้างความกดดันให้กับระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

แต่ทะเลทรายซึ่งปัจจุบันกินพื้นที่ 1 ใน 4 ของผิวหน้าโลกและถูกมองว่าเป็นที่ดินไร้ค่า จะกลายเป็นแหล่งตักตวงผลประโยชน์มหาศาลในอนาคตได้ หากมีการจัดการที่ดีพอ

รายงาน "Global Deserts Outlook" ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน ชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายจะเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและวัฒนธรรม

ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ๆ ที่ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเน เจฟในอิสราเอล

อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายที่มีอยู่ 12 แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว แต่เป็นความแห้งแล้งเนื่องจากโลกร้อน ธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังละลาย น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งหากไม่มีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้า

ในอนาคตประชากร 500 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้ ซึ่งประเทศที่มีทะเลทรายอย่างสหรัฐอเมริกาและสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ที่จำนวนประชากรในรัฐทะเลทรายเพิ่มมากขึ้นก็เริ่มพบภาวะขาดแคลนแหล่งน้ำแล้ว

ความฝันทันสมัยของนักคิดในศตวรรษที่ 20 ที่จะสร้างสีเขียวให้ทะเลทรายด้วยการเปลี่ยนทางน้ำและการทำทางน้ำใต้ดิน จะกลายเป็นเรื่องเพ้อฝัน

แต่รายงานก็เสนอว่า ในศตวรรษหน้า ทะเลทรายซึ่งเป็นแหล่งรับพลังงานแสงอาทิตย์จะกลายเป็นโรงไฟฟ้าขนาดยักษ์ เช่น ทะเลทรายสะฮารา แค่เพียง 496 ตารางกิโลเมตรของเนื้อที่ทั้งหมด 640,000 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งรับพลังงานสุริยะที่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าป้อนคนทั้งโลก

ส่วนภาวะน้ำใต้ดินเค็มเกิดขึ้นแล้วในจีน อินเดีย ปากีสถานและออสเตรเลีย โดยในลุ่มแม่น้ำทาร์มของจีนสูญเสีญพื้นที่ทำนาเนื่องจากดินเค็มไปแล้วมากกว่า 8,000 ตารางกิโลเมตร ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

รายงานแนะว่า ประเทศในตะวันออกกลางอย่างซาอุดีอาระเบียซึ่งใช้น้ำจากทะเลทรายอย่างไม่เหมาะสม โดยใช้น้ำไปกับการเพาะปลูกข้าวสาลีและมะเขือเทศ ซึ่งเป็นอาหาารหลักของประชาชน ควรจะใช้น้ำเฉพาะกับสิ่งที่ให้มูลค่าสูงอย่างการปลูกอินทผลัมและการทำบ่อปลาเท่านั้น

แต่ปัญหาใหญ่ที่คุกคามคนและสัตว์ที่อาศัยอยู่ใกล้ทะเลทรายคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีผลกระทบใหญ่หลวงต่อพื้นที่ทะเลทรายมากกว่าภูมิประเทศอื่นๆ

โดยทะเลทรายดาชติ คบีร์ ในอิหร่านมีปริมาณฝนลดลง 16% ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ทะเลทรายคาลาฮารี ลดลง 12% ทะเลทรายอัตตาคามาในชิลีลดลง 8%

ทะเลทรายส่วนใหญ่จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 5-7 องศาเซลเซียส ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ขณะที่ปริมาณน้ำฝนจะลดลง 10-20% ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเพิ่มปริมาณการระเหยและพายุทรายมากขึ้นและจะส่งผลให้ทะเลทรายเคลื่อนเข้าใกล้ชุมชนที่คนอาศัยอยู่มากขึ้นด้วย


"โลกร้อน"น้ำทะเลอันดามันสูงผิดปกติ


นักวิทย์ส่งสัญญาณเตือนระวังภัยพิบัติ


เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.มณทิพย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวในเวทีสาธารณะเรื่อง ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : วิกฤตหรือโอกาส ซึ่งจัดโดยกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่า จากการคาดประมาณอุณหภูมิผิวโลกในอีก 100 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2643 พบว่า อุณหภูมิจะสูงขึ้นจากปัจจุบันราว 4.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากคาดการณ์ว่า จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงร้อยละ 63 และก๊าซมีเทนร้อยละ 27 ของก๊าซเรือนกระจก สำหรับประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส ในช่วง 40 ปี อย่างไรก็ตาม หากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส จะทำให้พายุไต้ฝุ่นเปลี่ยนทิศทาง เกิดความรุนแรงและมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 ในอนาคต นอกจากนี้ ฤดูร้อนจะขยายเวลายาวนานขึ้น ในขณะที่ฤดูหนาวจะสั้นลง

ดร.มณทิพย์กล่าวอีกว่า ทส.ได้ร่างยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีเป้าหมายเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศในการรับมือต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในภาวะปัจจุบันและอนาคต และหาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจก โดยแบ่งเป็น 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1.รับมือและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2.สร้างความพร้อมของประเทศเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3.การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกสาขา 4.เพิ่มขีดความสามารถขององค์กรและบุคลากร โดยให้การศึกษาและเสริมสร้างการมีส่วนร่วม 5.ผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ

ผศ.ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่า จากข้อมูลของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC ได้ประเมินความเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 คืออุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวโลกเพิ่มขึ้น 1.4-5.8 องศาเซลเซียส ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 0.09-0.88 เมตร ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำให้ช่วงวันที่ร้อนเพิ่มขึ้น ขณะที่วันที่หนาวลดลง ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้ร้อยละ 90-95 นอกจากนี้ ในเอเชียยังมีโอกาสร้อยละ 66-90 ที่อาจเกิดฝนกระหน่ำและมรสุมอย่างรุนแรง รวมถึงเกิดความแห้งแล้งในฤดูร้อนที่ยาวนาน ทั้งนี้ ในปี 2532-2545 ประเทศไทยเกิดความเสียหายจากอุทกภัย พายุ และภัยแล้ง คิดเป็นมูลค่าเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 70,000 ล้านบาท

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่า ล่าสุดระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยเพิ่มขึ้น 1-2 มิลลิเมตรต่อปี ยังอยู่ในระดับปกติ แต่ที่น่าสนใจ คือ ระดับน้ำทะเลในฝั่งอันดามันสูงขึ้นถึง 8-12 มิลลิเมตรต่อปี มีผลอย่างมากต่อการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากที่ผ่านมาปริมาณของระดับน้ำทะเลที่สูงเพียง 50 เซนติเมตร สามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในแต่ละภาคส่วน อาทิ ต้องมีระบบพยากรณ์ระยะกลาง แม้ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยาจะมีข้อมูลที่ไม่จำเพาะแต่สามารถพัฒนาได้ เพื่อช่วยให้ประชาชนเตรียมรับมือได้ทัน นอกจากนี้ ต้องมีระบบการประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ และระบบการกระจายความเสี่ยง

ด้านดร.ลีออนชิโอ อะมาโดเร นักวิทยาศาสตร์ด้านบรรยากาศ ประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้เกิดพายุฝน และความแห้งแล้งในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะความแห้งแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งก่อให้เกิดพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรง โดยเฉพาะในปี 2518-2545 มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 593 รายต่อปี และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน คิดเป็นมูลค่า 83 ล้านเหรียญสหรัฐ เสียหายต่อภาคเกษตร 55 ล้านเหรียญสหรัฐ และน่าวิตกว่าประเทศในภูมิภาคนี้ยังไม่มีความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ


น้ำท่วม กับ โลกร้อน โดยคุณbeeman
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


(อีก 50 ปี น้ำจะท่วมเกาะอังกฤษ)


ขอแสดงความรู้สึกเห็นใจกับผู้ที่ต้องรับชตากรรม "น้ำท่วม" ในหลายจังหวัดขณะนี้ เชียงใหม่ 1 ปี น้ำท่วม 3 รอบ แม่ฮ่องสอน เชียงราย และ น้ำที่ปล่อยจากเขือนกิ่วลมเข้าท่วมลำปาง

ก่อนหน้านี้ มีคนเล่าให้ผมฟังว่า นักวิทยาศาสตร์อังกฤษ บอกนายกรัฐมนตรีอังกฤษ โทนี่แบลร์ ว่า อีก 50 ปี น้ำจะท่วมบางส่วนของเกาะอังกฤษ ซึ่งโทนี่แบลร์ ก็พยักหน้ารับทราบ เพราะน้ำไม่ได้ท่วมเกาะอังกฤษเพียงแห่งเดียวแต่ท่วมทั่วโลกครับ

คนที่อยู่ในวงการคงทราบครับ แต่ผมขอเล่าให้คนที่ไม่ได้อยู่ในวงการได้ทราบบ้าง ว่า ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "ปรากฎการณ์เรือนกระจก Green House Effect" ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการเผาไหม้พวกไฮโดรคาร์บอน (มีธาตุคาร์บอน หรือ C เป็นองค์ประกอบ) ได้ก่อให้เกิดชั้นในบรรยากาศ ซึ่งเปรียบเหมือนกระจก คอยกั้นไม่ให้ความร้อนจากการแผ่รังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ สะท้อนกลับออกจากโลกได้ง่าย ๆ ผลก็คือทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของผิวโลกร้อนขึ้น เมื่อเป็นดังนี้ ภูเขาน้ำแข็งรวมทั้งธารน้ำแข็งที่มีอยู่ทั่วโลกเริ่มละลาย ทำให้น้ำในทะเลและมหาสมุทรเพิ่มขึ้น (ให้คิดง่ายๆ ว่าน้ำแข็งเบากว่าน้ำ ตอนเป็นน้ำแข็งบางส่วนลอยอยู่เหนือน้ำ) คิดง่าย ๆ ว่าธารน้ำแข็งซึ่งอยู่บนภูเขาต่าง ๆ หลอมละลายตัวมาเพิ่มปริมาตรของน้ำในทะเลและมหาสมุทร ทีนี้เกาะแก่งต่างๆ พื้นที่จะลดลง ที่ร้ายหน่อยก็คือบางประเทศที่เคยเป็นเกาะจะหายไปจากแผนที่โลกเลยละครับ

จากภาวะที่โลกร้อน จะทำให้พายุต่างๆ ในโลกนี้ เช่น เฮอริเคน ไต้ฝุ่น จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นดังที่เป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้ ภัยภิบัติต่างๆ จะเกิดกับมนุษย์มากขึ้น ฝนจะตก น้ำจะท่วม และจะมีคนตายปีละนับหมื่น นับแสน จนถึงนับล้าน ทุกปี จากเหตุน้ำท่วม (อุทกภัย) แผ่นดินไหว ลมพายุ (วาตภัย) คลื่นยักษ์สึนามิ

ขอให้ทุกคนจงตั้งอยู่ในความไม่ประมาทนะครับ อะไรที่ยังไม่ได้ทำก็รีบทำเสียนะครับ เวลาทุกคนบนโลกนี้เหลืออยู่ไม่มากแล้วครับ







 

Create Date : 28 มีนาคม 2550
9 comments
Last Update : 28 มีนาคม 2550 16:28:16 น.
Counter : 1023 Pageviews.

 

น้ำจะท่วมเกาะอังกฤษ และท่วมโลกด้วย ... โอ.. ป้ามดไม่ได้อยู่เห็นละสิ

 

โดย: ป้ามด 30 มีนาคม 2550 10:43:39 น.  

 

ขอบคุณนะครับ ป้ามดที่มาเยี่ยม blog ผม อิอิ

 

โดย: pattapon 30 มีนาคม 2550 13:05:46 น.  

 

ร้อนมากกกก

 

โดย: PPalone 1 เมษายน 2550 9:56:28 น.  

 

เมนท์ได้ยังฟระ

 

โดย: อิฐมอญ 1 เมษายน 2550 20:16:01 น.  

 

โลกเราเดี๋ยวนี้น่ากลัวมากค่ะ กลัวจะเป็นเหมือนในหนัง the day after tomorrow จัง

 

โดย: ลูกโป่งลอยฟ้า_ชิงช้าสวรรค์ 27 พฤษภาคม 2550 14:33:04 น.  

 

เข้ามาดู

 

โดย: หมีเซอะ 10 กรกฎาคม 2550 15:55:00 น.  

 

หัวหอมล่องลอยเต็มป๊ายหมด

น้ำจะท่วมโลกใช่มะ
ต้องรีบบอกสยาม ลิโด้ สกาล่า ย้ายโรงละ
เดี๋ยวเหลือแต่เมเจอร์ เซ็งเป็ด

 

โดย: nanoguy 23 กรกฎาคม 2550 21:58:21 น.  

 

เพลงเพราะอ่ะ
ชอบมากๆ

ฟังเเล้วเย็นดีจัง

 

โดย: เลดี้มาเฟีย 29 กรกฎาคม 2550 1:24:33 น.  

 

แวะมาเยี่ยมมมมคร้าบ สาระเพียบจริงๆ

โฮะๆๆ

 

โดย: Due_n 9 สิงหาคม 2550 14:57:02 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


pattapon
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ป.ปลา ตากลม นิสัยดี๊ ดี
wellcome to pattapon'blog

Free Counter by Pliner.Net
singles, shopping, search, classifieds


lunar phases
Color Codes ป้ามด
Get this widget | Share | Track details
Friends' blogs
[Add pattapon's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.