<<
กรกฏาคม 2549
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
20 กรกฏาคม 2549
 

ถึงมาร์ค ม.7 ...ผมยกตัวอย่างเมืองศูนย์กลางการบิน(Aerotropolis)มาให้ดูครับ 7 เมือง


กรุงเทพฯ 22 มิ.ย.- “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ตั้งคำถามรัฐบาลตั้งโจทย์อย่างไร จึงได้คำตอบให้สร้างเมืองล้อมสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้ง ๆ ที่ย้ายสนามบินออกจากเมืองมาแล้ว และไม่มีที่ไหนในโลกที่เอาเมืองไปล้อมสนามบิน

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้ความเห็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการ ร่าง พ.ร.บ.สุวรรณภูมิมหานคร ว่า หลักง่าย ๆ คือ ไม่ควรเอาเมืองไปล้อมสนามบิน และไม่มีที่ไหนในโลกทำเช่นนี้ และว่ามีหลายรูปแบบที่จะจัดระบบ เพื่อให้กิจกรรมของสนามบินและกิจกรรมเกี่ยวเนื่องดำเนินไปได้ โดยไม่ต้องตั้งเป็นจังหวัด

------------------------------------------

วันนี้ผมเอาตัวอย่างมาให้ดู 7 เมืองครับที่ออกแบบการใช้พื้นที่รอบสนามในฐานะเมืองศูนย์กลางการบิน(AEROTROPOLIS)...ไล่ตามลำดับในกระทู้เลยนะครับ...

ที่มา : ข้อมูลส่วนหนึ่งในรายงาน "บทบาทสนามบินต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ" โดยดร. สุวัฒน์ วาณีสุบุตร สกภ. สศช
ตัวอย่างเมืองศูนย์กลางการบิน (Aerotropolis) ทั่วโลก

------------------------------------------------

1 สนามบิน Schiphol กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์

มีการจ้างงานในสนามบินวันละ 56,000 คน ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ประชากร 50,000 คนที่ใช้กำหนดสถานะการเป็นเมืองที่ใช้อยู่ในสหรัฐฯ ในพื้นที่ดังกล่าวมีทางมอเตอร์เวย์หลักสองสายที่เชื่อมสนามบินกับตัวเมืองอัมสเตอร์ดัม และพื้นที่อื่นๆ ของเมือง มีสถานีรถไฟสมัยใหม่ซึ่งอยู่ใต้อาคารผู้โดยสารเชื่อมโยงการเดินทางของสนามบินเข้ากับใจกลางของเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเชื่อมโยงกับส่วนต่างๆ ของประเทศเนเธอร์แลนด์และภูมิภาคโดยรอบภายในทวีปยุโรป

ภายในอาคารผู้โดยสารของสนามบิน Schiphol จะมีศูนย์การค้าสมัยใหม่ ประกอบด้วย ช็อปปิ้งอาเขต และแหล่งบันเทิงที่กว้างขวาง ซึ่งผู้โดยสารและประชาชนทั่วไปสามารถใช้บริการได้ก่อนที่จะผ่านเข้าไปยังด่านศุลกากร ผู้โดยสารเครื่องบินจะเดินผ่านทางเดินในอาคารที่มีร้านขายของแฟชั่น ภัตตาคาร มุมกาแฟแบบดัทช์แท้ๆ อินเตอร์เน็ตคาเฟ่ และซูเปอร์มาร์เก็ตอาหารดีๆ ส่วนกลุ่มร้านค้าปลีกที่เรียกว่าร้าน See Fly Buy จะอยู่ในเขตพื้นที่ส่วนที่ต่อจากด่านศุลกากรเข้าไปในพื้นที่เขตนี้จะมีภัตตาคารทุกประเภท ธนาคาร ศูนย์ธุรกิจ ตลอดจนห้องอบซาวน่า นวดตัว หรือพักผ่อนเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง จากการสร้างเป็นอาคารผู้โดยสารที่มีศูนย์การค้าเช่นนี้ ทำให้สนามบิน Schiphol มีรายได้เพิ่มจากการให้เช่าและจับจ่ายใช้สอยของผู้โดยสาร นอกจากนี้สนามบินสามารถดึงดูดประชาชนที่พักอาศัยในกรุงอัมสเตอร์ดัมให้มาช็อปปิ้งและหาความบันเทิงในอาคารสนามบินเฉพาะส่วนพื้นที่สำหรับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันอาทิตย์ เมื่อร้านค้าปลีกส่วนใหญ่ในเมืองไม่เปิดขาย


สำหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ตรงข้ามอาคารผู้โดยสารของสนามบิน Schiphol คือ World Trade Center ที่มีศูนย์ประชุมและการพาณิชย์ ตลอดจนสำนักงานภูมิภาคของบริษัทต่างๆ เช่น Thomson, CFS และ Unilever อีกทั้งมีโรงแรมระดับ 5 ดาว สองโรงติดกับศูนย์นี้ สำหรับในพื้นที่ซึ่งห่างออกไปขนาดเดิน 10 นาที จะเป็นกลุ่มอาคารสำนักงานคุณภาพระดับสูง ซึ่งเป็นที่ตั้งของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบินและบริษัทต่างประเทศด้านบริการทางพาณิชย์และการเงิน มูลค่าทางพาณิชย์ของทรัพย์สินเหล่านี้จะเห็นได้จากค่าเช่าสำนักงาน ซึ่งสามารถเรียกเงินกินเปล่าได้สูงมาก การค้นคว้าวิจัยของบริษัท Jones Lang LaSalle ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์นานาชาติ แสดงให้เห็นถึงค่าเช่าสำนักงานในพื้นที่สนามบินเมื่อปี พ.ศ. 2543 ซึ่งโดยเฉลี่ยมีราคาตารางเมตรละ 363 ยูโรต่อปี เทียบกับในกลางเมืองอัมสเตอร์ดัม ซึ่งมีราคาตารางเมตรละ 250 ยูโรต่อปี และในเขตชานเมืองอัมสเตอร์ดัมที่มีราคาตารางเมตรละ 226 ยูโรต่อปี ทั้งนี้ ในช่วงปี พ.ศ. 2540 และ 2545 อัตราค่าเช่าพื้นที่สำคัญๆ ของสนามบิน Schiphol เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 65

นอกจากนี้ตลอดริมเส้นทางมอเตอร์เวย์ A4 และ A9 ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางพาณิชย์ของสนามบินประมาณ 500 และ 1,000 เมตร จะมีกลุ่มอาคารสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาค กลุ่มธุรกิจ กลุ่มโลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค กลุ่มศูนย์จัดจำหน่าย กลุ่มศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร และศูนย์เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งบริษัททั้งหมดนี้จะเกี่ยวข้องกับผู้ที่ต้องใช้สนามบินในการทำธุรกิจทั้งสิ้น

2 สนามบินออนแทริโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

โดยที่ความเจริญเติบโตในเชิงพาณิชย์รอบสนามบินออนแทริโอ ซึ่งอยู่ตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนียได้ทำให้พื้นที่โดยรอบกลายเป็นเมืองศูนย์กลางการบิน ซึ่งเป็นรากฐานของศูนย์โลจิสติกส์หลักโดยอยู่ทางตะวันออกของเมืองลอสแอนเจลิส 64 กิโลเมตร และเป็นตัวอย่างที่ดีของสนามบินที่มีเส้นทางหลวงเชื่อมอย่างสมบูรณ์

สนามบินนี้ต่อเชื่อมโดยทางด่วนระหว่างรัฐสาย I-10 และ I-15 ซึ่งอยู่ในแนวตะวันออก-ตะวันตก และเหนือ-ใต้ ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการสร้างคลังสินค้าและพื้นที่การกระจายสินค้าเพิ่มมากกว่า 2.5 ล้านตารางเมตร ติดกับสนามบินและริมทางด่วนระหว่างรัฐทั้งสองสาย ต่อมาปี พ.ศ. 2544 และ 2545 ได้มีการสร้างพื้นที่เพิ่มอีก 2.5 ล้านตารางเมตร เพื่อการพาณิชย์แบบ E-Commerce และสถานที่อำนวยความสะดวกในการกระจายสินค้า


การขยายตัวของบริการการขนส่งด่วน ณ สนามบินออนแทริโอและพื้นที่โดยรอบช่วยเพิ่มความสำคัญของสนามบินนี้ในฐานะที่เป็นศูนย์โลจิสติกส์ และ E-Commerce โดยในปี พ.ศ. 2544 บริษัท UPS ซึ่งมีศูนย์ด้านฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่สนามบินออนแทริโอได้จัดส่งพัสดุน้ำหนักมากกว่า 300,000 ตัน ในขณะที่บริษัท FedEx จัดส่งมากกว่า 40,000 ตัน บริการส่งด่วนนี้ยังมีน้ำหนักรวมอีก 40,000 ตัน ที่ส่งโดยบริษัท BAX Global, Emory Worldwide และ Airborne Express การพัฒนาสนามบินออนแทริโอให้เป็นเมืองศูนย์กลางการบิน โดยมีพื้นฐานอยู่ที่โลจิสติกส์ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบเป็นศูนย์การค้าใหญ่ในเมืองที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของสหรัฐอเมริกา

3 สนามบินวีราโคโปส ในประเทศบราซิล

มีการสร้างเมืองศูนย์กลางการบินอยู่รอบสนามบินนานาชาติวีราโคโปส (Viracopos) ในเมืองคัมปินัสซึ่งอยู่ห่าง 80 กิโลเมตร ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเซาเปาโล ในพื้นที่ประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมไฮเทค การกระจายสินค้าและโลจิสติกส์ สนามบินวีราโคโปสได้กลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศและการจัดการ E-Commerce ในทวีปอเมริกาใต้อย่างรวดเร็ว โดยมีรูปแบบเป็นเมืองการบิน อันเป็นผลมาจากกลุ่มโลจิสติกส์และอุตสาหกรรมไฮเทคตามทางหลวงสายหลักจากสนามบิน
4 สนามบินนานาชาติฮ่องกง

ขณะนี้เมืองศูนย์กลางการบินในรูปแบบที่เด่นชัด กำลังเกิดอยู่โดยรอบสนามบินนานาชาติใหม่ๆ หลายแห่งในทวีปเอเซีย ตัวอย่างได้แก่ สนามบินนานาชาติแห่งใหม่ของฮ่องกง ซึ่งกำลังมีกลุ่มธุรกิจการค้าเกิดขึ้นใหม่เชื่อมต่อกับสนามบิน ขณะนี้กำลังมีการพัฒนาพื้นที่ 1 ล้านตารางเมตร เป็นย่านพาณิชย์ซึ่งอยู่ติดกับเขตสนามบิน บริเวณนี้มีชื่อว่าฮ่องกงสกายซิตี้ โดยจะประกอบด้วย อาคารสำนักงาน ร้านค้าปลีก ศูนย์ธุรกิจ โรงแรมขนาดใหญ่ ศูนย์บันเทิงและสันทนาการ นอกจากนี้ยังมีการสร้างศูนย์แสดงสินค้านานาชาติด้วยงบประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท วอลท์ ดิสนี่ย์ ได้แถลงว่าบริษัทจะสร้างสวนสนุกฮ่องกง ดิสนี่ย์แลนด์ ในพื้นที่ใกล้สนามบินเพื่อถือโอกาสจากการที่สนามบินแห่งนี้มีรถไฟเร็วและทางด่วนเชื่อมเกาลูนและฮ่องกง การตัดสินใจของบริษัทนี้ ไม่ต่างจากการที่บริษัทเลือกสร้างโตเกียว ดิสนี่ย์แลนด์ ที่อยู่ใกล้สนามบินนานาชาตินาริตะของญี่ปุ่น และยูโรดิสนี่ย์แลนด์ที่อยู่ใกล้สนามบินชาร์ลส์ เดอ โกล ที่ปารีส
สนามบินนานาชาติฮ่องกงยังสามารถเชื่อมต่อประเทศจีนตอนใต้โดยทางเรือเฟอรี่ข้ามฟากความเร็วสูง สำหรับผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าทางน้ำเชื่อมต่อศูนย์การผลิตอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ทางฝั่งทะเลของจีนแผ่นดินใหญ่ 14 แห่ง เข้ากับสนามบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นการเชื่อมการขนส่งทางทะเลกับการขนส่งทางอากาศผ่านอาคารผู้โดยสารสนามบิน ตลอดจนศูนย์ธุรกิจและนิคมโลจิสติกส์ของสนามบินและบริเวณใกล้เคียง

5 สนามบินนานาชาติอินชอน เกาหลีใต้

ขณะนี้รัฐบาลเกาหลีใต้กำลังก่อสร้างเมืองศูนย์กลางการบินตามแผนพัฒนาหลัก อยู่ใกล้สนามบินอินชอน เกาหลีใต้ โดยมีชื่อว่า Winged City ซึ่งจะเปิดให้บริการพาณิชย์ตลอด 24 ชั่วโมงบนเกาะย็องจ็อง ประมาณ 50 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโซล สนามบินนานาชาติอินชอนจะช่วยให้เกิดการขยายเมืองสนามบิน ซึ่งประกอบด้วย ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ภาคที่อยู่อาศัย และภาคการท่องเที่ยว จุดเด่นจะได้แก่ มีเดีย แวลลี่ย์ ซึ่งจะเป็นเสมือน ซิลิคอน แวลลี่ย์ ของเกาหลี (ที่เลียนแบบซิลิคอน แวลลี่ย์ ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นศูนย์กิจกรรม/การผลิตอุตสาหกรรรมไฮเทค) มีเดีย แวลลี่ย์กำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้างโดยการออกแบบให้เป็นศูนย์อุตสาหกรรมไฮเทคของโลก ตั้งอยู่บนพื้นที่ 3.6 ล้านตารางเมตร ติดกับสนามบิน ซึ่งจะรวมถึง Techno-park และศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัย จากสถิติในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามี 625 บริษัทส่งจดหมายแจ้งความจำนงว่า จะขอย้ายเข้ามาอยู่ที่มีเดีย แวลลี่ย์ ซึ่งในจำนวนนี้มี 49 บริษัท มาจากประเทศแคนาดา อิสราเอล ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2548 จะมีบริษัทจำนวน 2,000 บริษัท ตั้งอยู่ในมีเดีย แวลลี่ย์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนเมืองมหาวิทยาลัย

เมืองใหม่ดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างให้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ทำงานที่มีเดีย แวลลี่ย์ด้วย เมืองศูนย์กลางการบินแห่งนี้จะมีทางด่วนและรถไฟเชื่อมต่อไปยังตัวเมืองโซล และผู้ทำงานที่มีเดีย แวลลี่ย์ ตลอดจนผู้พักอาศัยอยู่ที่เมืองใหม่จะสามารถเดินทางเข้าไปที่สนามบินอินชอนได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

ในปี พ.ศ. 2548 สนามบินนานาชาติอินชอนจะสมบูรณ์ขึ้นโดยมีท่าเรือน้ำลึกและ Teleport ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง โดยมีแผนจะรวมเป็น Triport สำหรับการคมนาคมขนส่งและการกระจายสินค้า

6 สนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

โดยมีการสร้างเมืองศูนย์กลางการบินรอบๆ สนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ สนามบินใหม่ขนาดใหญ่นี้ออกแบบมาเพื่อเป็นรากฐานทางการบินสำหรับ Multimedia Super Corridor (MSC) ซึ่งเป็นโซนอุตสาหกรรมไฮเทค การพาณิชย์ การศึกษา และที่อยู่อาศัย MSC ได้รับการประชาสัมพันธ์ในระดับนานาชาติว่าเป็นศูนย์เทคโนโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเอเซียในอนาคต MSC จะประกอบด้วย เมืองใหญ่ 2 เมือง คือ Putrajaya เป็นเมืองราชการของรัฐบาลโดยย้ายส่วนราชการมาจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ และ Cyberjaya หรือ Cyber-city ทั้งนี้ แต่ละเมืองจะมีผู้อยู่อาศัยอยู่ประมาณสองแสนห้าหมื่นคน พร้อมด้วยมหาวิทยาลัยเพื่อฝึกอบรมผู้ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

7 สนามบินนานาชาติสิงคโปร์

สนามบิน Changi ของสิงคโปร์ถือได้ว่าเป็นเมืองสนามบินที่มีสมรรถนะมากที่สุดและมีศิลปะมากที่สุด ที่กำลังเปลี่ยนไปเป็นเมืองศูนย์กลางการบินเต็มรูปแบบ โดยตรงกลางด้านหน้าอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศจะมีอาเขตซึ่งจะเปิดตลอดเวลา 24 ชั่วโมง และประกอบไปด้วยร้านค้าปลีกที่ออกแบบจัดแต่งตามลักษณะสินค้าต่างๆ พร้อมทั้งมีภัตตาคาร ศูนย์กลางการบันเทิง และศูนย์ธุรกิจไว้บริการแก่ผู้โดยสารสนามบินและประชาชนสิงคโปร์เป็นการทั่วไป

จากคุณ : TRAT
//www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P4479231/P4479231.html



Create Date : 20 กรกฎาคม 2549
Last Update : 20 กรกฎาคม 2549 13:17:05 น. 0 comments
Counter : 657 Pageviews.  
 

~ Passer By ~
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ~ Passer By ~'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com