"ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลพนมสารคาม" ศีล และ ธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
2 พฤศจิกายน 2550
 
All Blogs
 
"เรากำลังใช้ปัญญา เพื่อแก้ปัญหา หรือ ใช้อวิชชา(ความหลง)เพื่อแก้เส้นทางสู่การแก้ปัญหา"

บทความนี้ เป็น ความเห็นของ เจ้าของบล็อกเอง เกี่ยวกับ เรื่อง
"สุขภาพดีถ้วนหน้า"
โพสท์ วันพุธ ที่ 31 ตุลาคม 2550 ที่ OKNATION.NETข้างล่าง

//www.oknation.net/blog/28-10-2550/2007/10/31/entry-2

และ ขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ด้วย

ในการแก้ปัญหาบางครั้งเราลืมใช้

"ปัญญา" ในการแก้ปัญหา แต่ไปหลง"อวิชชา" ไปมุ่งแก้ "วิธีแก้ปัญหา" โดยลืม"เป้าหมาย"ที่ต้องการแก้ปัญหา ไปอย่างน่าเสียดาย



มีเรื่องเล่าว่า ประเทศมหาอำนาจแห่งหนึ่ง ส่งนักบินอวกาศ ขึ้นไปสำรวจอวกาศ แต่มีปัญหาว่าไม่สามารถเขียนบันทึกในยานอวกาศได้ ปากกาที่นำขึ้นไปใช้บนยานอวกาศ ไม่สามารถเขียนได้เพราะ ในสภาพไร้น้ำหนัก หมึกซึมจะไม่ไหลออกมา ประเทศนั้นพยายามคิดค้น จนได้ ปากกาที่เขียนบนยานอวกาศได้ เสียเงิน 12 ล้านดอลล่าร์ และ เวลา 10 ปี ในการคิดค้น

แต่ประเทศมหาอำนาจอีกประเทศหนึ่ง แก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วยปัญญา เพราะ ปัญหา คือ ต้องการเขียนบนยานอวกาศ แก้การเขียนไม่ได้อย่าง ง่าย ๆ ด้วยวิธี การใช้ดินสอ แทนไปคิดวิธีหาปากกาวิเศษ มาเขียน จึงไม่ต้อง เสียเงิน และ เสียเวลาในการค้นหา เพราะ ใช้ปัญญา แก้ที่ปัญหา แทนที่จะใช้ความหลง ไปค้นหา ปากกา เพื่อเขียนได้ในยานอวกาศ



มีอีกเรื่องหนึ่ง โรงงาน บริษัทผลิตสบู่ บริษัทหนึ่ง ต้องการจะแก้ปัญหาว่าบางกล่องที่บรรจุสบู่ ที่ลำเลียงมาทางสายพาน ว่ากล่องไหนผิดพลาดไม่มีสบู่ จะทำให้โรงงานเสียชื่อเสียง โดย บริษัท ได้ผลิตเครื่องเอ็กซเรย์ ที่สามารถมองเห็นภายในกล่อง ได้ โดยเมื่อ ให้กล่องสบู่วิ่งผ่านเครื่องเอ็กเซเรย์ ทางสายพาน แล้วมีคนคอยมองภาพเอ็กซเรย์ ว่า ภายในกล่องมีสบู่ หรือ ไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล และ ยังมีความผิดพลาดจากการมองพลาดของคนดูภาพเอ็กซเรย์ อีก

แต่มีอีกบริษัทหนึ่งแก้ปัญหา ที่ตัวปัญหา ต้องการให้ทุกกล่องมีสบู่อยู่ภายใน ทำง่าย ๆ เพียงติดตั้งพัดลม ให้เป่ากล่องสบู่ที่วิ่งผ่านหน้าพัดลม ให้แรงลมพอเหมาะที่จะพัดกล่องเปล่าให้กระเด็นออกไป ส่วนกล่องที่มีสบู่ยังคงอยู่บนสายพานได้

นี้คือ ตัวอย่างสองตัวอย่าง ที่แสดงให้เห็นว่าการแก้ปัญหา ด้วยปัญญา จะมีประสิทธิภาพ กว่า การใช้ความเคยชิน ความหลง หรือ อวิชชา แก้เส้นทางสู่การแก้ปัญหา



สำหรับปัญหาการที่จะให้ประชาชนคนไทยมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ภายในปี ค.ศ.2000(Health For All by the Year 2000)

ประเทศเรายังไม่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายได้ เพราะ ว่า เราหลง(อวิชชา) ไปมุ่งพัฒนาสถานพยาบาลขนาดใหญ่ ไปผลิตแพทย์เฉพาะทาง ออกมาให้มาก ๆ เพื่อรักษาโรคยาก ๆ ที่พบน้อย เรื่องข้างต้นต้องใช้ค่าใช้จ่ายมหาศาล เพื่อจะช่วยคนป่วยที่เป็นส่วนน้อย ของประเทศ เหมือนการ

ขี่ช้างจับตั๊กแตน



แต่เป้าหมายของสุขภาพดีถ้วนหน้า คือ คนส่วนใหญ่ ของประเทศ ซึ่งเริ่มป่วยเล็กน้อย เรากลับ ไม่ลงทุนพัฒนาสถานีอนามัย ซึ่งเป็นสถานพยาบาลใกล้บ้าน ใกล้ใจ ประชาชน สามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย ให้เป็นศูนย์สุขภาพชุมชน ไม่ต้องใช้เครื่องมือแพง ๆ หรือ ใช้แพทย์เฉพาะทาง เพียงใช้ แพทย์ทั่วไปเรียนจบแพทย์ เพียง 6 ปีก็สามารถมาดูแลสุขภาพ ประชาชน ที่สถานีอนามัย ใกล้บ้านคนไข้ได้แล้ว เมื่อทำงาน ครบ 5 ปี ก็สามารถสอบอนุมัติบัตร เป็นแพทย์เฉพาะทาง สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว มีศักดิ์ศรี เท่ากับ แพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น ๆ แต่เป็นสาขา ที่ รู้เรื่องโรคทุกโรค ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชน จะป่วยด้วยโรคง่าย ๆ จึงสามารถรักษา ได้เกือบทั้งหมด หรือ ได้มากกว่า 90 % มีส่วนน้อยเท่านั้น ที่เกินความสามารถ ก็จะมีระบบส่งต่อไปสถานพยาบาลด่านสอง หรือ ด่านสามที่เหมาะสม ให้โดยไม่เสียค่ารักษาเลย

ประชาชน เองก็ไม่ต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย ในการเดินทางมาโรงพยาบาล กลายเป็น รอทีมสุขภาพ มาให้บริการทุกเช้า ถ้าป่วยเกินความสามารถก็จะได้ใบส่งตัวไปรักษาในที่ที่เหมาะสม โดยมีรถนำส่งให้ถ้าจำเป็นต้องนำส่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย

สรุป สุขภาพดีถ้วนหน้า ที่ไปไม่ ถึงเมื่อปี ค.ศ.2000 หรือ พ.ศ.2543 เพราะ เราหลง หรือ ขาดการวางแผน หรือ การใช้ปัญญา ในการแก้ ไม่พัฒนาให้เป็นรูปเครือข่ายที่ชัดเจน จัดแพทย์เฉพาะทางไปประจำโรงพยาบาลอำเภอ เพียงสาขาละคนเดียว ซึ่งตามหลักความเป็นจริง คนจะเริ่มป่วยจากเป็นเล็กน้อยก่อนจะเป็นหนัก จึงไม่จำเป็นต้องใช้แพทย์เฉพาะทางที่ด่านแรก คนป่วยที่ต้องใช้แพทย์เฉพาะทางน้อยมาก น้อยกว่า 10 % ทำให้ใช้บุคลากรไม่เหมาะสม แพทย์ทุกคนที่ไม่ใช่แพทย์เฉพาะทางสาขาที่คนไข้นอกเวลามาหา หรือ ในตึกผู้ป่วยที่นอนรักษาตัว ต้องการ ต้อง ดูแลคนไข้ที่ไม่ถนัดไม่ได้เรียนมา หรือ ถ้าจะปรึกษาแพทย์เฉพาะทางสาขานั้นก็ต้องรับปรึกษาตลอด24 ชั่วโมง แทนที่จะได้ไปอยู่รวมกันในแผนกที่เรียนมาที่ ร.พ.จังหวัด ทำให้ได้แพทย์เฉพาะทางเพิ่มขึ้น ทันทีจาก ร.พ.อำเภอ ที่มีแห่งละ 1 คน และ นำเครื่องมือเฉพาะทางที่อยู่ที่ ร.พ.อำเภอที่ให้เพียงคนเดียว ไปใช้รวมกันที่แผนกเฉพาะทางที่ ร.พ.จังหวัด จะคุ้มค่าของเครื่องมือมากกว่า รวมทั้งประชาชน ที่มาใช้บริการ ก็ตาม ต่างก็ต้องนอนสังเกตุอาการก่อนรอแพทย์เฉพาะทางเพียงคนเดียว แทนที่จะได้ไปสังเกตุอาการกับแพทย์เฉพาะทางหลายคนที่แผนกเฉพาะทางที่ ร.พ.จังหวัดที่จะได้รับการดูแลอย่างรวดเร็วจากทีมแพทย์เฉพาะทาง จึงกลายเป็น

"เครียดกันทุกคน ถ้วนหน้า แทน สุขภาพ ดีถ้วนหน้าในปี ค.ศ.2000"


ทำให้ แพทย์ลาออกปีละ 800-900 คนต่อปีตามข่าว

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=12-2006&date=15&group=9&gblog=1

อยากถ่ายทอดความคิดนี้ออกไปให้ถึงกับผู้ที่สามารถจัดการเปลี่ยนแปลงนี้ ให้เกิดการดูแลสุขภาพรูปเครือข่าย เหมือนในประเทศอังกฤษ หรือ ฟินแลนด์ ตามเวบบ์ไซด์ข้างล่าง

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4




Create Date : 02 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2550 21:30:53 น. 0 comments
Counter : 760 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

panomsarakham
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




นายแพทย์สำเริง ไตรติลานันท์
นายแพทย์เชี่ยวชาญ
หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมชุมชน
แพทย์ครอบครัว ร.พ.พนมสารคาม และ
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ต.เขาหินซ้อน
ประธาน"ชมรมจริยธรรม ร.พ.พนมสารคาม"
..................................................

เธอจงระวังความคิดของเธอเพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ จงระวังความประพฤติของเธอเพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ จงระวังความเคยชินของเธอเพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอเธอ จงระวังอุปนิสัยของเธอเพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตาชีวิตของเธอชั่วชีวิต....หลวงพ่อชา
Friends' blogs
[Add panomsarakham's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.