"ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลพนมสารคาม" ศีล และ ธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
21 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
"ความฉลาดทางอารมณ์ และ ความสำเร็จในชีวิต"



ความฉลาดทางอารมณ์ EQ:Emotioal Quotient
มีตัวชี้วัดว่า ใครมีมากกว่า หรือ น้อย จากการดู 3 ตัวชี้วัด คือ
1. ความเก่ง
2. ความดี
3. ความมีความสุข
มีความเกี่ยวข้องกับจริยธรรม 2. ตัวชี้วัด คือ ความดี และ ความมีความสุข
ความเก่ง จะเกี่ยวข้องกับ ความฉลาดทางสติปัญญา IQ:Intelligent Quotient ซึ่งเกี่ยวกับกรรมพันธุ์ เปลี่ยนแปลงได้บ้างเล็กน้อย ต่างกับ ความดี และ ความมีความสุข สามารถ จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงด้วย การพัฒนาคุณธรรม และ จริยธรรม ของตนเองขึ้น ได้ด้วยการเลี้ยงดู การมีสิ่งแวดล้อม การมีตัวอย่าง ที่ดีให้เป็นแบบอย่าง และ การมีสังคมที่เอื้ออำนวย เช่น การเข้าร่วมชมรมจริยธรรม และ ร่วมติดตามข่าวชมรม และ ทำกิจกรรมชมรม ทาง
บล็อกแก็งค์ "ชมรมจริยธรรม ร.พ.พนมสารคาม"นี้ ทำให้พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์:EQ ได้



พบบทความจากกรมสุขภาพจิต เรื่อง อีคิว กับ ความสำเร็จในชีวิต
ซึ่งสรุปว่า อีคิว สำคัญ กว่า ไอคิว จึงนำมาเสนอในบทความจริยธรรม ของชมรมจริยธรรม ร.พ.พนมสารคาม เป็นข้อคำนึง ว่า จริยธรรม ได้แก่ ความดี และ ความมีความสุข สำคัญ ต่อความสำเร็จในชีวิต ตามเนื้อข่าว....
............................................................


การวัดอีคิว

เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ไม่มีแบบมาตรฐานที่แน่นอน เป็นเพียงการประเมินเพื่อให้ผู้วัดมองเห็นความบกพร่องของความสามารถทางด้านอารมณ์ที่ต้องพัฒนาแก้ไข กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์
โดยประเมินจากความสามารถด้านหลัก ๓ ด้านคือ ดี เก่ง สุข ซึ่งแยกเป็นด้านย่อยได้ ๙ ด้าน

ดี

๑. ควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง

๒. เห็นใจผู้อื่น

๓. รับผิดชอบ

เก่ง

๔. รู้จักและมีแรงจูงใจในตนเอง

๕. การตัดสินใจแก้ปัญหา

๖. มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น

สุข

๗. ภูมิใจในตนเอง

๘. พอใจในชีวิต

๙. มีความสุขสงบ



เนื่องจากไอคิวสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ จึงมีผู้ให้ความสำคัญกับไอคิวมาโดยตลอด เด็กที่เรียนเก่ง จะมีแต่คนชื่นชม พ่อแม่ครูอาจารย์รักใคร่ ต่างจากเด็กที่เรียนปานกลางหรือเด็กที่เรียนแย่มักไม่ค่อยเป็นที่สนใจ หรือถูกดุว่า ทั้ง ๆ ที่เด็กเหล่านี้อาจจะมีความสามารถทางด้านอื่น เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพียงแต่ไม่มีความถนัดเชิงวิชาการเท่านั้นเอง

มาในช่วงหลัง ๆ ความเชื่อมั่นในไอคิวเริ่มสั่นคลอนเมื่อมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการวัด และความสำคัญของไอคิว จนในที่สุดเมื่อหลายปีที่ผ่านมาจึงยอมรับกันว่า แท้จริงแล้ว ในความเป็นจริง ชีวิตต้องการทักษะและความสามารถในด้านอื่น ๆ อีกมากมายที่นอกเหลือไปจากการจำเก่ง การคิดเลขเก่ง หรือการเรียนเก่ง ความสามารถเหล่านี้อาจจะช่วยให้คน ๆ หนึ่งได้เรียน ได้ทำงานในสถานที่ดี ๆ แต่คงไม่สามารถเป็นหลักประกันถึงชีวิตที่มีความสุขได้
ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งในรัฐแม็ซซาซูเสท สหรัฐอเมริกาที่ศึกษาความสัมพันธ์ของไอคิวกับความสำเร็จในชีวิต โดยติดตามเก็บข้อมูลจากเด็ก ๔๕๐ คน นานถึง ๔๐ ปี พบว่า
ไอคิวมีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยกับความสามารถในการทำงานได้ดีหรือกับการดำเนินชีวิต และพบว่าปัจจัยที่สามารถจะทำนายถึงความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของชีวิตได้ดีกว่า กลับเป็นความสามารถด้านต่าง ๆ ในวัยเด็กที่ไม่เกี่ยวข้องกับไอคิว เช่น ความสามารถในการจัดการกับความผิดหวัง การควบคุมอารมณ์ และการเข้ากับบุคคลอื่น ๆ ได้ดี

ตัวอย่างงานวิจัยอีกเรื่องหนึ่ง คือการติดตามเก็บข้อมูลจากผู้ที่จบปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ ๘๐ คน ตั้งแต่ตอนที่ยังศึกษาอยู่ไปจนถึงบั้นปลายชีวิตในวัย ๗๐ ปี พบว่า ความสามารถทางด้านอารมณ์และสังคมมีส่วนทำให้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพและมีชื่อเสียงมากกว่าความสามารถทางเชาวน์ปัญญาหรือไอคิวถึง ๔ เท่า

--------------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- คู่มือความฉลาดทางอารมณ์

- กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข




Create Date : 21 ตุลาคม 2550
Last Update : 21 ตุลาคม 2550 17:13:31 น. 1 comments
Counter : 1218 Pageviews.

 
อ่านแล้วได้ความรู้ค่ะ


โดย: สามสิบเอ็ดธันวา วันที่: 21 ตุลาคม 2550 เวลา:17:40:43 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

panomsarakham
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




นายแพทย์สำเริง ไตรติลานันท์
นายแพทย์เชี่ยวชาญ
หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมชุมชน
แพทย์ครอบครัว ร.พ.พนมสารคาม และ
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ต.เขาหินซ้อน
ประธาน"ชมรมจริยธรรม ร.พ.พนมสารคาม"
..................................................

เธอจงระวังความคิดของเธอเพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ จงระวังความประพฤติของเธอเพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ จงระวังความเคยชินของเธอเพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอเธอ จงระวังอุปนิสัยของเธอเพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตาชีวิตของเธอชั่วชีวิต....หลวงพ่อชา
Friends' blogs
[Add panomsarakham's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.