"ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลพนมสารคาม" ศีล และ ธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
15 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 
‘พัฒนา’ 3.5 หมื่นแห่ง ‘วัดต้นแบบ’ ฟื้น ‘สังคมคุณธรรม’

น.ส.พ.เดลินิวส์
วันจันทร์ ที่ 15 ตุลาคม 2550

ชาวพุทธยุคปัจจุบันมีพระสงฆ์ผู้ปวารณาตนเป็น “ผู้นำทัพธรรม” ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่มากนัก และนับวันจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ไม่ทันกับการมีเพิ่ม ล่าสุดก็เพิ่งสูญเสีย



“หลวงพ่อปัญญา” แห่งวัดชลประทานรังสฤษฏ์ ไปอีกหนึ่งรูป ท่ามกลางกระแสกิเลสที่ครอบงำสังคมไทยอย่างแรงกล้ามากขึ้นทุกขณะจิต ซึ่งทั้งพระ พุทธศาสนิกชนชาวไทย และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ต้องร่วมกันหันมาส่งเสริม “พระดี-วัดดี” ให้จริงจังมากขึ้น

“ผลักดันให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบและเข้าใจในหลักการที่ จะมีส่วนร่วมในการดูแลวัด และพระสงฆ์ ขณะเดียวกันคณะสงฆ์เองก็ต้อง กำหนดแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพสังคม ในปัจจุบัน สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของชุมชน” ...นี่เป็นแนวคิด-แนว นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันจากการระบุของ ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

และเป็นที่มาของโครงการ “วัดพัฒนาต้นแบบ”
อีกความคาดหวังในการฟื้นฟู “สังคมคุณธรรม”



จุฬารัตน์ บุณยากร

กับเรื่องนี้ จุฬารัตน์ บุณยากร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ แจงว่า...

โครงการ “วัดพัฒนาต้นแบบ” เบื้องต้นจะดำเนินงาน 5 ปี ระหว่างปี 2550-2554 กับ 35,000 วัดทั่วประเทศ และตั้งเป้าให้มีประชาชนในชุมชนรอบวัดสมัครใจเข้าเป็นอาสาสมัครดูแลวัด ศาสนสถาน พัฒนาวัด ช่วยคุ้มครองและเผยแผ่พระพุทธศาสนา วัดละ 100 คน

กล่าวคือ... ปีแรกนี้ดำเนินการ 2,000 วัด มีประชาชนเข้าร่วม 200,000 คน,
ปีที่สอง 4,000 วัด ประชาชน 400,000 คน,
ปีที่สาม 6,000 วัด ประชาชน 600,000 คน,
ปีที่สี่ 8,000 วัด ประชาชน 800,000 คน และ
ปีที่ห้าดำเนินการอีก 15,000 วัด ประชาชนเข้าร่วมอีก 1,500,000 คน

เมื่อรวม 35,000 วัด ก็จะมีประชาชน 3,500,000 คนหากดำเนินการได้ตามเป้านี่ย่อมเป็นผลดีแน่นอน !!

ถามว่า “วัดพัฒนาต้นแบบ” จะดำเนินการลักษณะใด ? ก็จะยึดโยงอยู่กับหลัก
“4 ส” คือ...
“สะอาด” หมายถึง ศีล ความประพฤติปฏิบัติทางกาย วาจา ที่ดีงาม,
“สงบ” หมายถึง สมาธิ ความตั้งมั่นแห่งจิต ความสำรวมใจให้แน่วแน่ โดยพิจารณาอย่างละเอียดเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นในสิ่งนั้น,
“สว่าง” หมายถึง ปัญญา ความรอบรู้ ความรู้ทัน ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด,
“สร้างความสุข” หมายถึง วิมุตติ ความพ้น ความหลุดพ้น ได้แก่ ความสุขที่เป็นผลมาจากการศึกษาและการปฏิบัติดี

ซึ่งโดยสรุปก็คือ.....

“พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรือง เป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรม และด้านอื่น ๆ ที่ดีงามตามความคาดหวังของประชาชน เพื่อจูงใจให้ชาวพุทธหันกลับมาสนใจเข้าวัด เพื่อให้วัดกลับมาเป็นศูนย์กลางของชุมชน และพัฒนาวัดไปสู่ความยั่งยืน”

ลงในรายละเอียดการดำเนินการ ทาง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ระบุว่า... หัวใจสำคัญของการดำเนินโครงการนี้คือ ดำเนินการให้สอดคล้อง-ส่งเสริม “ภารกิจของสงฆ์ 6 ด้าน” ประกอบด้วย...

1.ภารกิจด้านการปกครอง เจ้าอาวาส หรือเจ้าคณะปกครอง สอดส่องดูแลรักษาความเรียบร้อยดีงาม ให้พระภิกษุสามเณรในปกครองปฏิบัติตาม พระธรรมวินัย กฎหมาย ข้อบังคับ คำสั่งประกาศของมหาเถรสมาคม หรือพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราช,

2.ภารกิจด้านการศาสนศึกษา จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ทั้งแผนกธรรม-บาลี แผนกสามัญ การอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์สองแห่ง

3.ภารกิจด้านการเผยแผ่ ประกาศพระพุทธศาสนาในทุก ๆ วิธีที่ไม่ขัดพระธรรมวินัย โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจหลักธรรมแล้วนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน,

4.ภารกิจด้านการสาธารณูปการ พัฒนา ดูแลอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้สะอาดร่มรื่น สะดวก เหมาะสมจะใช้พำนักหรือประกอบศาสนกิจ บูรณปฏิสังขรณ์ในเขตพุทธาวาสและเขตสังฆา วาส บำรุงดูแลรักษาถาวรวัตถุหรือสาธารณสมบัติของวัด

5.ภารกิจด้านการศึกษาสงเคราะห์ จัดการศึกษาที่เน้นปลูกฝังคุณ ธรรมจริยธรรมเด็กและเยาวชน ให้มีความรู้ความเข้าใจหลักธรรมเพื่อดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองที่มีความรู้คู่คุณธรรม,

6.ภารกิจ ด้านสาธารณสงเคราะห์ วัด พระภิกษุ ช่วยเหลือสังคมรูปแบบต่าง ๆ ที่ไม่ขัดพระธรรมวินัย โดยมุ่งเน้นเพื่อประโยชน์และความสุขประชาชนเป็นสำคัญ เช่นให้วัดเป็นสถานที่จัดฝึกอบรมอาชีพ จัดให้มีโรงทาน เป็นต้น

ก็เป็นหลัก-ภารกิจที่วัดเคยเป็นมาอยู่แล้วในยุคอดีต
แต่ยุคหลัง ๆ เสื่อมถอยไป...จำเป็นต้องฟื้นฟูกลับมา

ทั้งนี้ 35,000 วัด ประชาชน 3,500,000 คน ไม่รวมพระเณร บวก กับวัดดี-ชุมชนดี-พุทธศาสนิกชนที่ดีที่ก็มีอยู่เดิมบ้างแล้ว การรื้อฟื้นศรัทธา การสร้างชุมชนคุณธรรม-สังคมคุณธรรมยุคใหม่ น่าจะมีความหวังสูง ตามที่ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ระบุถึงโครงการ “วัดพัฒนาต้นแบบ” ไว้ว่า...

“เมื่อโครงการนี้สิ้นสุดลง คาดหวังว่าจะทำให้พระพุทธศาสนาเกิดความ มั่นคง ประชาชนมีที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจสืบไป...”

แต่หวังนี้จะเป็นจริงได้ก็อยู่ที่ชาวพุทธไทยต้องร่วมใจร่วมมือกัน
หันกลับมาหาวัดกันมาก ๆ ฝูงการุมทึ้งพุทธศาสนาก็อยู่ไม่ได้
ผู้นำทัพธรรมที่กราบไหว้ยึดถือได้สนิทใจก็จะมีเพิ่มขึ้น !!!!!.




Create Date : 15 ตุลาคม 2550
Last Update : 15 ตุลาคม 2550 18:26:07 น. 0 comments
Counter : 565 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

panomsarakham
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




นายแพทย์สำเริง ไตรติลานันท์
นายแพทย์เชี่ยวชาญ
หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมชุมชน
แพทย์ครอบครัว ร.พ.พนมสารคาม และ
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ต.เขาหินซ้อน
ประธาน"ชมรมจริยธรรม ร.พ.พนมสารคาม"
..................................................

เธอจงระวังความคิดของเธอเพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ จงระวังความประพฤติของเธอเพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ จงระวังความเคยชินของเธอเพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอเธอ จงระวังอุปนิสัยของเธอเพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตาชีวิตของเธอชั่วชีวิต....หลวงพ่อชา
Friends' blogs
[Add panomsarakham's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.